ไม่มีความผิด-ไม่มีโทษ-ถ้าไม่มีกฎหมาย

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ ถ้าไม่มีกฎหมาย

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2
บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้ารับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง

10369-2559-ลักทรัพย์นายจ้าง-ทนายความ-นาวิน-ขำแป้น

ลักทรัพย์นายจ้าง คำพิพากษาฎีกาที่ 10369/2559

จำเลยขายสินค้าของผู้เสียหายได้รับเงินค่าสินค้ามา แทนที่จำเลยจะรวบรวมนำส่งเงินไปฝากธนาคาร แต่จำเลยนำเงินนั้นไปเป็นของจำเลยแล้วใช้วิธีการเปลี่ยนแปลงรายการสินค้าในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้ยอดสินค้าในระบบคอมพิวเตอร์ตรงกับจำนวนเงินที่ผู้เสียหายควรได้รับมาจากการจำหน่าย #อันเป็นวิธีการที่ผู้เสียหายจะไม่ทราบว่าจำเลยไม่ได้นำส่งเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้เสียหาย ต่อเมื่อตรวจสอบสต๊อกสินค้าแล้วจึงจะทราบว่าจำนวนสินค้าไม่ตรงกับจำนวนเงินที่มีการจำหน่าย ดังนี้เงินที่จำเลยรับมาจากลูกค้าซึ่งได้จากการจำหน่ายสินค้า #เป็นการรับเงินไว้ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะของลูกจ้างของผู้เสียหาย เพียงแต่ให้จำเลยยึดถือไว้ชั่วคราวอำนาจในการครอบครองควบคุมดูแลทรัพย์สินยังเป็นของนายจ้างผู้เสียหายไม่ได้ส่งมอบการครอบครองให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยเอาเงินของผู้เสียหายไป #จึงเป็นการเอาเงินไปโดยเจตนาทุจริตเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ของผู้เสียหายที่เป็นนายจ้างตาม ป.อ. มาตรา 335(11) วรรคแรก มิใช่ความผิดฐานยักยอก

กฎหมายอาญา มาตรา 352 ยักยอกทรัพย์

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ความผิดฐานยักยอก

ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่นหรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใดหรือเป็นทรัพย์สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระวางโทษแต่เพียงกึ่งหนึ่ง

ประมวลกฎหมายอาญา-ภาค-2-ความผิด-นาวิน-ขำแป้น

ประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ความผิด

ลักษณะ 1 ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
ลักษณะ 1/1 ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย
ลักษณะ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง
ลักษณะ 3 ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม
ลักษณะ 4 ความผิดเกี่ยวกับศาสนา
ลักษณะ 5 ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน
ลักษณะ 6 ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน
ลักษณะ 7 ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง
ลักษณะ 8 ความผิดเกี่ยวกับการค้า
ลักษณะ 9 ความผิดเกี่ยวกับเพศ
ลักษณะ 10 ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
ลักษณะ 11 ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง
ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
ลักษณะ 13 ความผิดเกี่ยวกับศพ

ประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป

ลักษณะ 1 : บทบัญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป
หมวด 1 บทนิยาม (1)
หมวด 2 การใช้กฎหมายอาญา (2-17)
หมวด 3 โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย
– ส่วนที่ 1 โทษ (18-38)
– ส่วนที่ 2 วิธีการเพื่อความปลอดภัย (39-50)
– ส่วนที่ 3 วิธีเพิ่มโทษ ลดโทษ และการรอการลงโทษ (51-58)
หมวด 4 ความรับผิดในทางอาญา (59-79)
หมวด 5 การพยายามกระทำความผิด (80-82)
หมวด 6 ตัวการและผู้สนับสนุน (83-89)
หมวด 7 การกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทง (90-91)
หมวด 8 การกระทำความผิดอีก (92-94)
หมวด 9 อายุความ (95-101)
ลักษณะ 2 : บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดลหุโทษ (102-106)

ประมวลกฎหมายอาญา มี 3 ภาค

ประมวลกฎหมายอาญา มี 3 ภาค

ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป – (มาตรา 1-106)

ภาค 2 ความผิด – (มาตรา 107-366/4)

ภาค 3 ลหุโทษ – (มาตรา 367-398)

ฟ้อง-รับเด็กเป็นบุตร-ทนายความ-นาวิน-ขำแป้น

การฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตร

การฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรเป็นกรณีที่ฝ่ายเด็กประสงค์จะให้เด็กนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาผู้ให้กำเนิด ซึ่งอาจเป็นกรณีที่บิดาไม่เต็มใจที่จะรับเด็กนั้นไว้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายทั้งที่เด็กนั้นเป็นบุตรของตนหรือกรณีที่บิดาตายก่อนที่จะสมรสกับมารดา หรือก่อนจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร

ปิดการลงชื่อเพื่อเข้าร่วมงาน สังสรรค์ ทนายความ

ลงชื่อเพื่อร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์ปีใหม่ทนายความ 2562 ในวันที่ 1 มีนาคม 2562

ลงชื่อเพื่อเข้าร่วมงานเลียงสังสรรค์ 2562 สำหรับทนายความ (ฟรี)

สวัสดีปีใหม่-อ-รัตนา-ปืนแก้ว

ทนายความ 49 กราบขอบพระคุณ และ ขอพรปีใหม่จาก ท่านอาจารย์รัตนา ปืนแก้ว แห่งสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์

คณะกรรมการผู้ผ่านการสอบวิชาว่าความ รุ่นที่ 49 เข้ากราบคารวะ สวัสดีปีใหม่ 2562 และ ขอพรปีใหม่จาก ท่านอาจารย์รัตนา ปืนแก้ว แห่งสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์

สวัสดีปีใหม่-ดร-ถวัลย์-รุยาพร

ทนายความ 49 สวัสดีปีใหม่ 2562 ท่านนายกสภาทนายความฯ

เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2562 คณะกรรมการผู้สอบผ่านวิชาว่าความภาคปฏิบัติ รุ่นที่ 49 นำโดย นายนาวิน ขำแป้น ประธานผู้สอบผ่านวิชาว่าความภาคปฏิบัติ รุ่นที่ 49 นำกระเช้าของขวัญเข้า สวัสดีปีใหม่ และ ขอพรปีใหม่จาก ท่านว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร

อบรม-วิชาว่าความ-001

ทนายความ 49 ร่วมอำนวยความสะดวก การอบรมวิชาว่าความ

กิจกรรม คณะกรรมการผู้ผ่านการสอบวิชาว่าความภาคปฏิบัติ รุ่นที่ 49 เข้าร่วมประสานงานและอำนวยความสะดวกให้ผู้เข้ารับการอบรม ภาคทฤษฎี รุ่นที่ 51 ณ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ชั้น 5

ทนายความ-รุ่น-49

ทนายความ 49 รับประกาศนียบัตร

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2561 สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ แห่งสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดให้มีพิธีมอบประกาศนียบัตร ผู้ผ่านการอบรมวิชาว่าความ รุ่นที่ 49 และผู้ผ่านการทดสอบกรณีฝึกหัดงานในสำนักงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ประจำปี พ.ศ. 2561 ครั้งที่ 2/2561 และครั้งที่ 3/2561 โดยจัดขึ้น ณ หอประชุมอาคารภัทรมหาราช มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ในช่วงเช้า สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความฯ ได้จัดให้มีการอบรมจริยธรรม ในหัวข้อ “จริยธรรมในการประกอบวิชาชีพทนายความ” โดย พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ และว่าที่ ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ อบรม หัวข้อ “จริยธรรมมรรยาททนายความ” ให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมฯ ได้รับทราบถึงการปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบของจริยธรรม และศีลธรรมอันดีของวิชาชีพทนายความและผดุงความยุติธรรม เพื่อรับใช้ประชาชน และในช่วงบ่ายมีพิธีมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ผ่านการอบรมวิชาว่าความฯ โดยมี ศาสตราจารย์ (พิเศษ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ องคมนตรี ให้เกียรติมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ผ่านการอบรมวิชาว่าความฯ พร้อมด้วยว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ, ว่าที่พันตรี สมบัติ วงศ์กำแหง ผู้อำนวยการสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ แห่งสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์, นายดำรงศักดิ์ เครือแก้ว อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ, นายเกษม รังสุวรรณ์ เหรัญญิก/รองเลขาธิการ, นายชัยวัธน์ ประจงใจ นายทะเบียน, นางสาวเสาวรียา ไชยยังธัญทวี กรรมการฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย/ปฏิคม, นายเกียรติศักดิ์ เหลืองอังกูร กรรมการสวัสดิการ, ดร.สมพงษ์ สิงห์สมบุญ กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 1, นายนิพนธ์ จันทเวช กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 6, นายนุกูล สิริสุวรรณ์ กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 7 และคณะกรรมการสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความฯ เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้มีผู้ผ่านการฝึกอบรมวิชาว่าความ รุ่นที่ 49 และผู้รักษาสถานภาพฯ มีจำนวน 739 คน กรณีผู้ผ่านการฝึกหัดงานในสำนักงานแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ประจำปี พ.ศ. 2561 ครั้งที่ 2/2561 จำนวน 25 คน และครั้งที่ 3/2561 จำนวน 198 คน และกรณีสมทบ 42 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,004 คน.

ติวสอบทนายความ-รุ่น-49

ติวสอบ ทนายความ 49 (7 กันยายน 2561)

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2561 คณะกรรมการทนายความ รุ่นที่ 49 ได้จัดติวผู้อบรมวิชาว่าความภาคปฏิบัติ ณ ห้อง 3202 ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ มหาวิทยาลัยเกริก

มาตรา-264-ทำเอกสารปลอม

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 ความผิดฐานปลอมเอกสาร

ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใดเติมหรือตัดทอนข้อความหรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในเอกสารที่แท้จริง หรือประทับตราปลอมหรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสาร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดกรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม หรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อื่นนั้น ถ้าได้กระทำเพื่อนำเอาเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชน ให้ถือว่าผู้นั้นปลอมเอกสารต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

คำฟ้อง-กู้ยืมเงิน

คำฟ้อง กู้ยืมเงิน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 653
การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว

กระทำความผิดด้วยความจำเป็น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 กระทำความผิดด้วยความจำเป็น เพื่อให้ผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึง ไม่ต้องรับโทษ

ผู้ใดกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
(1) เพราะอยู่ในที่บังคับ หรือภายใต้อำนาจ ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ
(2) เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ เมื่อภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน
ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุแล้ว ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

คำร้องขอให้เป็นคนสาบสูญ

คำร้องขอให้เป็นคนสาบสูญ

คำร้องขอให้เป็นคนสาบสูญ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 61 บัญญัติว่า
“ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลำเนาเดิมหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ตลอดระยะเวลา 5 ปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญก็ได้
ระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ลดเหลือ 2 ปี
(1) นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบหรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว
(2) นับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปาง ถูกทำลายหรือสูญหายไป
(3) นับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) หรือ (2) ได้ผ่านพ้นไป ถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น”

ผู้จัดการมรดก

คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้ว จึงจะขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ แต่การจะขอตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก ผู้ที่มีสิทธิจะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก คือ ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกที่มีสิทธิรับมรดก เช่น บุตร บิดา มารดา คู่สมรสของเจ้ามรดก ผู้รับพินัยกรรมของเจ้ามรดก หรืออาจเป็นบุคคลภายนอก ผู้มีส่วนได้เสียก็ได้ เช่น เจ้าของร่วมในทรัพย์สินของเจ้ามรดก หรือพนักงานอัยการ

ผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดก ต้องบรรลุนิติภาวะแล้ว และไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ และไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย

การยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ต้องยื่นคำร้องที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลนั้นในขณะถึงแก่ความตายแต่ในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไทย ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตอำนาจศาล

ผู้จัดการมรดก เป็นตัวแทนของทายาททั้งหมด มีหน้าที่ในการรวบรวมทรัพย์มรดก แบ่งให้กับทายาท ทั้งมีอำนาจในการดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญา ต่อผู้ที่กระทำความเสียหายแก่กองมรดกด้วย

คำร้องขอให้ชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย

คำขอให้ชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย

หลักกฎหมาย ประมวลกฎหมายวิธีพิจ […]

คำร้องขอฟ้องคดีโดยยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล

คำร้องขอฟ้องคดีโดยยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล (อย่างคนอนาถา)

คำร้องขอฟ้องคดีโดยยกเว้นค่าธรร […]

คำร้องขอในเหตุฉุกเฉิน

คำร้องขอในเหตุฉุกเฉิน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 266

คำร้องขอในเหตุฉุกเฉิน ตามประมว […]

คำร้องขอหมายเรียกพยานบุคคล

คำร้องขอหมายเรียกพยานบุคคล คดีแพ่ง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ […]

คำร้องขอแก้ไขชื่อจำเลย

คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง

หลักการบรรยาย

1. คดีอยู่ในขั้นตอนใด
2. ขอแก้ข้อความจากคำฟ้องหน้าที่เท่าไร บรรทัดที่เท่าไร
3. ข้อความเดิมมีว่าอย่างไร
4. นอกจากที่แก้ไขใหม่ ให้คงเป็นไปตามคำฟ้องเดิมทุกประการ
5. เป็นการแก้ไขคำฟ้องเล็กน้อยเนื่องจากเหตุผลใด เช่น พิมพ์ผิดพลาด หรือ คำนวนตัวเลขผิดพลาด

คำร้องขอให้ชนะคดีโดยขาดนัด

คำร้องขอให้ชนะคดีโดยขาดนัด

การพิจารณาโดยขาดนัด อยู่ใน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ภาค 2 วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น
ลักษณะ 2 วิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้น
หมวด 2 การพิจารณาโดยขาดนัด
ส่วนที่ 1 การขาดนัดยื่นคำให้การ

คำร้องขอเรียกคู่ความเข้ามาแทนที่คู่ความผู้มรณะ

คำร้องขอเรียกคู่ความเข้ามาแทนที่คู่ความผู้มรณะ

หลักการบรรยาย
1. โจทก์หรือจำเลยถึงแก่กรรมเมื่อไร
2. ทายาทของโจทก์หรือจำเลยผู้มรณะคือไคร
3. ขอให้ศาลหมายเรียกทายาทของโจทก์หรือจำเลยผู้มรณะเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่

คำร้องของคุ้มครองชั่วคราว

คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 254

คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว ตามปร […]

คำแถลงขอให้ปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง

คำแถลงขอให้ปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ […]

คำแถลงขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม

ป้องกัน: คำแถลงขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม

ไม่มีคำเกริ่นนำเพราะว่านี่เป็นเรื่องที่ถูกป้องกัน

คำแถลงขอคัดคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล

คำแถลงขอคัดคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147
    “คำพิพากษาหรือคำสั่งใด ซึ่งตามกฎหมายจะอุทธรณ์หรือฎีกาหรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้นั้น ให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านเป็นต้นไป
     คำพิพากษาหรือคำสั่งใด ซึ่งอาจอุทธรณ์ฎีกา หรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ได้นั้นถ้ามิได้อุทธรณ์ฎีกา หรือร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายในเวลาที่กำหนดไว้ ให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาเช่นว่านั้นได้สิ้นสุดลง ถ้าได้มีอุทธรณ์ฎีกา หรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาหรือศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาคดีเรื่องนั้นใหม่ มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 132 คำพิพากษาหรือคำสั่งเช่นว่านั้น ให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่วันที่มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ
     คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาคดีนั้น ให้ออกใบสำคัญแสดงว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว”

คำแถลงขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องทางไปรษณีย์

คำแถลงขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องทางไปรษณีย์

คำแถลงขอให้ส่งหมายเรียกและสำเน […]

หมายเรียกพยานบุคคล-01

คำร้องขอหมายเรียกพยานบุคคล

ตัวอย่างการเขียน หมายเรียกพยาน […]

ขอเข้าเป็นโจทก์-ร่วมกับพนักงานอัยการ

ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ

ขอถอนฟ้องเพื่อเข้าเป็นโจทก์ร่ว […]

คำร้องทุกข์-นาวิน-ขำแป้น

แจ้งความร้องทุกข์ (คำร้องทุกข์)

สาระสำคัญของคำร้องทุกข์ที่ลืมไม่ได้ คือ ต้องให้พนักงานสอบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หากเพียงมาแจ้งความไว้เป็นหลักฐานไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์

พินัยกรรม-โดย-นาวิน-ขำแป้น

พินัยกรรม

พินัยกรรมแบ่งออกเป็น 6 แบบ คือ
1. พินัยกรรมแบบธรรมดา
2. พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
3. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
5. พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา
6. พินัยกรรมแบบทำตามกฎหมายต่างประเทศ

สัญญาประนีประนอมยอมความ-นอกศาล-โดย-นาวิน-ขำแป้น

สัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 850, 851, 852

    สัญญาประนีประนอม […]

สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง

สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาต […]

มาตรา-1382-ครอบครองปรปักษ์-by-นาวิน-ขำแป้น

การเขียนคำร้องขอให้ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์

ประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 1382
” บุคคลใดครองครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ โดยความสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ “

สัญญาประนีประนอมยอมความในศาล [แบบพิมพ์ศาล หมายเลข (๒๙)]

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๓๘ บัญญัติว่า
” ในคดีที่คู่ความตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดี โดยมิได้มีการถอนคำฟ้องนั้น และข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความกันนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ให้ศาลจดรายงานพิสดารแสดงข้อความแห่งข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความเหล่านั้นไว้แล้วพิพากษาไปตามนั้น

ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาเช่นว่านี้ เว้นแต่ในเหตุต่อไปนี้

(๑) เมื่อมีข้อกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล

(๒) เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

(๓) เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่ามิได้เป็นไปตามข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความ

ถ้าคู่ความตกลงกันเพียงแต่ให้เสนอคดีต่ออนุญาโตตุลาการ ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับ “

ถอดเทป-บรรยาย-ปฏิบัติ-48-by-นาวิน-ขำแป้น

ป้องกัน: ถอดเทปจากการบรรยายการฝึกอบรมเพื่อ สอบ ทนายความ ภาคปฏิบัติรุ่น 48

ไม่มีคำเกริ่นนำเพราะว่านี่เป็นเรื่องที่ถูกป้องกัน

ระยะเวลาแจ้งผู้ค้ำประกัน-นาวิน-ขำแป้น

ป้องกัน: ระยะเวลาการทำหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 686

ไม่มีคำเกริ่นนำเพราะว่านี่เป็นเรื่องที่ถูกป้องกัน

ป-วิแพ่ง-มาตรา-88-นาวิน-ขำแป้น

ป้องกัน: การยื่นบัญชีระบุพยาน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88

ไม่มีคำเกริ่นนำเพราะว่านี่เป็นเรื่องที่ถูกป้องกัน

สัญญากู้เงิน-นาวิน-ขำแป้น

สัญญากู้เงิน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 653  การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
         ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว

หนังสือ-ให้คำปรึกษากฎหมาย-นาวิน-ขำแป้น

ป้องกัน: หนังสือให้คำปรึกษากฎหมาย

ไม่มีคำเกริ่นนำเพราะว่านี่เป็นเรื่องที่ถูกป้องกัน

notice-หนังสือ-บอกกล่าว-ทวงถาม-ติวทนาย-นาวิน-ขำแป้น

ป้องกัน: หนังสือบอกกล่าวทวงถาม

ไม่มีคำเกริ่นนำเพราะว่านี่เป็นเรื่องที่ถูกป้องกัน

ผลสอบภาคปฏิบัติทนายความรุ่นที่ 47

ผลสอบภาคปฏิบัติทนายความรุ่นที่ […]

คำฟ้อง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(3) “คำฟ้อง”

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ […]

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(6) "คำแถลงการณ์"

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(6) “คำแถลงการณ์”

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ […]

กระบวนพิจารณา

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(7) “กระบวนพิจารณา”

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ […]

ป-วิ-อ-มาตรา-150

ผู้มีหน้าที่ชันสูตรพลิกศพ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150

ผู้มีหน้าที่ชันสูตรพลิกศพ&nbsp […]

อาญา-มาตรา-371-นาวิน-ขำแป้น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 พาอาวุธไปในเมือง

ผู้ใดพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผย หรือโดยไม่มีเหตุสมควร หรือพาไปในชุมนุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริงหรือการอื่นใด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท และให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบอาวุธนั้น

ป-อาญา-มาตรา-393-นาวิน-ขำแป้น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 ดูหมิ่นซึ่งหน้า (คำพูดที่ผิดกฎหมาย)

ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า หรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ท่อง-อาญา-มาตรา-86-Q

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 ผู้สนับสนุน

ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่น กระทำความผิด ก่อนหรือขณะกระทำความผิด แม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม ผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กำหนดไว้สำรับความผิดที่สนับสนุนนั้น

คดีแพ่ง-2-ประเภท-นาวิน-ขำแป้น

คดีแพ่ง มี 2 ประเภท

คดีแพ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ค […]

คำฟ้องคดีแพ่ง ป.วิ.แพ่ง. ม.172-นาวิน-ขำแป้น

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172

คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55-นาวิน-ขำแป้น

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ […]

ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์-มาตรา-4-นาวิน-ขำแป้น

ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 4

กฎหมายนั้น ต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่ง ต้องด้วยบทบัญญัติใด ๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษร หรือ ตาม

ความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้น ๆ

เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น

ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดี อาศัย เทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง

และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป

ประมวลกฎหมายอาญา-67-68-72-นาวิน-ขำแป้น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 มาตรา 68 มาตรา 72

มาตรา 67      กระทำความผิดด้วยความจำเป็น ไม่ต้องรับโทษ

มาตรา 68      ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีความผิด

มาตรา 72       บันดาลโทสะ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงไดก็ได้

ป-อาญา-มาตรา-72-นาวิน-ขำแป้น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 บันดาลโทสะ

ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้

20 กุมภาพันธ์ วันทนายความ

20 กุมภาพันธ์ วันทนายความ

วันที่ 20 กุมภาพันธ์  ของทุกปีเป็น “วันทนายความ”

พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528  ก่อตั้ง สภาทนายความ

พ.ศ. 2500 ก่อตั้งสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยขึ้น โดยจดทะเบียนก่อตั้ง เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500

พ.ศ.2528 ออกประกาศใช้เป็นกฎหมาย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2528 และมีผลบังคับใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้