อายุความอาญา

อายุความอาญา

ประมวลกฎหมายอาญา

 

หมวด ๙ อายุความ

 

     มาตรา ๙๕  ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ

    (๑) ยี่สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี

    (๒) สิบห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปี แต่ยังไม่ถึงยี่สิบปี

    (๓) สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี

    (๔) ห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งเดือนถึงหนึ่งปี

    (๕) หนึ่งปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือนลงมา หรือต้องระวางโทษอย่างอื่น

    ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำความผิดหลบหนีหรือวิกลจริต และศาลสั่งงดการพิจารณาไว้ จนเกินกำหนดดังกล่าวแล้วนับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกัน

 

     มาตรา ๙๖  ภายใต้บังคับมาตรา ๙๕ ในกรณีความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ

 

     มาตรา ๙๗  ในการฟ้องขอให้กักกัน ถ้าจะฟ้องภายหลังการฟ้องคดีอันเป็นมูลให้เกิดอำนาจฟ้องขอให้กักกัน ต้องฟ้องภายในกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ฟ้องคดีนั้น มิฉะนั้นเป็นอันขาดอายุความ

 

     มาตรา ๙๘  เมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ใด ผู้นั้นยังมิได้รับโทษก็ดี ได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีก็ดี ถ้ายังมิได้ตัวผู้นั้นมาเพื่อรับโทษนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือนับแต่วันที่ผู้กระทำความผิดหลบหนี แล้วแต่กรณี เกินกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ เป็นอันล่วงเลยการลงโทษ จะลงโทษผู้นั้นมิได้

    (๑) ยี่สิบปี สำหรับโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกยี่สิบปี

    (๒) สิบห้าปี สำหรับโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่ถึงยี่สิบปี

    (๓) สิบปี สำหรับโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี

    (๔) ห้าปี สำหรับโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีลงมาหรือโทษอย่างอื่น

 

     มาตรา ๙๙  การยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินเพื่อใช้ค่าปรับหรือการกักขังแทนค่าปรับ ถ้ามิได้ทำภายในกำหนดห้าปีนับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด จะยึดทรัพย์สินอายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินหรือกักขังไม่ได้

    ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในกรณีการกักขังแทนค่าปรับซึ่งทำต่อเนื่องกับการลงโทษจำคุก

* มาตรา ๙๙  แก้ไขโดย มาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ.๒๕๖๐ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๓๒ ก หน้า ๕๑ วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐)

 

     มาตรา ๑๐๐  เมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้กักกันผู้ใด ถ้าผู้นั้นยังมิได้รับการกักกันก็ดี ได้รับการกักกันแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีก็ดี ถ้าพ้นกำหนดสามปีนับแต่วันที่พ้นโทษ โดยได้รับโทษตามคำพิพากษาแล้วหรือโดยล่วงเลยการลงโทษ หรือนับแต่วันที่ผู้นั้นหลบหนีระหว่างเวลาที่ต้องกักกัน เป็นอันล่วงเลยการกักกัน จะกักกันผู้นั้นไม่ได้

 

     มาตรา ๑๐๑  การบังคับตามคำสั่งของศาลตามความในมาตรา ๔๖ หรือการร้องขอให้ศาลสั่งให้ใช้เงินเมื่อผู้ทำทัณฑ์บนประพฤติผิดทัณฑ์บนตามความในมาตรา ๔๗ นั้น ถ้ามิได้บังคับหรือร้องขอภายในกำหนดสองปีนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งหรือนับแต่วันที่ผู้ทำทัณฑ์บนประพฤติผิดทัณฑ์บน จะบังคับหรือร้องขอมิได้

อายุความอาญา

สารบัญ ประมวลกฎหมายอาญา

0 0 votes
Article Rating
(Visited 1,297 times, 1 visits today)
Subscribe
Notify of
guest
4 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
trackback
4 years ago

[…] ลักษณะ 1 : บทบัญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไปหมวด 1 บทนิยาม – (1)หมวด 2 การใช้กฎหมายอาญา – (2-17)หมวด 3 โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย– ส่วนที่ 1 โทษ – (18-38)– ส่วนที่ 2 วิธีการเพื่อความปลอดภัย – (39-50)– ส่วนที่ 3 วิธีเพิ่มโทษ ลดโทษ และการรอการลงโทษ – (51-58) หมวด 4 ความรับผิดในทางอาญา – (59-79)หมวด 5 การพยายามกระทำความผิด – (80-82)หมวด 6 ตัวการและผู้สนับสนุน – (83-89)หมวด 7 การกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทง – (90-91)หมวด 8 การกระทำความผิดอีก – (92-94)หมวด 9 อายุความ – (95-… […]

trackback
4 years ago

[…] หมวด 2 การใช้กฎหมายอาญา – (2-17)หมวด 3 โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย– ส่วนที่ 1 โทษ – (18-38)– ส่วนที่ 2 วิธีการเพื่อความปลอดภัย – (39-50)– ส่วนที่ 3 วิธีเพิ่มโทษ ลดโทษ และการรอการลงโทษ – (51-58) หมวด 4 ความรับผิดในทางอาญา – (59-79)หมวด 5 การพยายามกระทำความผิด – (80-82)หมวด 6 ตัวการและผู้สนับสนุน – (83-89)หมวด 7 การกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทง – (90-91)หมวด 8 การกระทำความผิดอีก – (92-94)หมวด 9 อายุความ – (95-… […]

trackback
4 years ago

[…] ลักษณะ 1 : บทบัญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไปหมวด 1 บทนิยาม – (1)หมวด 2 การใช้กฎหมายอาญา – (2-17)หมวด 3 โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย– ส่วนที่ 1 โทษ – (18-38)– ส่วนที่ 2 วิธีการเพื่อความปลอดภัย – (39-50)– ส่วนที่ 3 วิธีเพิ่มโทษ ลดโทษ และการรอการลงโทษ – (51-58) หมวด 4 ความรับผิดในทางอาญา – (59-79)หมวด 5 การพยายามกระทำความผิด – (80-82)หมวด 6 ตัวการและผู้สนับสนุน – (83-89)หมวด 7 การกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทง – (90-91)หมวด 8 การกระทำความผิดอีก – (92-94)หมวด 9 อายุความ – (95-… […]

trackback
4 years ago

[…] ลักษณะ 1 : บทบัญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไปหมวด 1 บทนิยาม – (1)หมวด 2 การใช้กฎหมายอาญา – (2-17)หมวด 3 โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย– ส่วนที่ 1 โทษ – (18-38)– ส่วนที่ 2 วิธีการเพื่อความปลอดภัย – (39-50)– ส่วนที่ 3 วิธีเพิ่มโทษ ลดโทษ และการรอการลงโทษ – (51-58) หมวด 4 ความรับผิดในทางอาญา – (59-79)หมวด 5 การพยายามกระทำความผิด – (80-82)หมวด 6 ตัวการและผู้สนับสนุน – (83-89)หมวด 7 การกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทง – (90-91)หมวด 8 การกระทำความผิดอีก – (92-94)หมวด 9 อายุความ – (95-… […]