ประมวลกฎหมายอาญา-มาตรา-1-นาวิน-ขำแป้น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 บทนิยาม

ภาค 1, ประมวลกฎหมายอาญา

 

ประมวลกฎหมายอาญา

แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๒๗) : ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒

ภาค ๑

บทบัญญัติทั่วไป

ลักษณะ ๑

บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป

หมวด ๑

บทนิยาม

     มาตรา ๑  ในประมวลกฎหมายนี้

(๑) "โดยทุจริต"   หมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น

 

(๒) "ทางสาธารณะ"  หมายความว่า ทางบกหรือทางน้ำสำหรับประชาชนใช้ในการจราจร และให้หมายความรวมถึงทางรถไฟและทางรถรางที่มีรถเดิน สำหรับประชาชนโดยสารด้วย

 

(๓) "สาธารณสถาน"  หมายความว่า สถานที่ใดๆ ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้

 

(๔) "เคหสถาน"  หมายความว่า ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น เรือน โรง เรีอหรือแพ ซึ่งคนอยู่อาศัย และให้หมายความรวมถึง บริเวณของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยนั้นด้วย จะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม

 

(๕) "อาวุธ"  หมายความรวมถึงสิ่งซึ่งไม่เป็นอาวุธโดยสภาพแต่ซึ่งได้ใช้หรือเจตนาจะใช้ประทุษร้ายร่างกายถึงอันตรายสาหัสอย่างอาวุธ

 

(๖) "ใช้กำลังประทุษร้าย"  หมายความว่า ทำการประทุษร้ายแก่กายหรือจิตใจของบุคคล ไม่ว่าจะทำด้วยใช้แรงกายภาพหรือด้วยวิธีอื่นใด และให้หมายความรวมถึงการกระทำใดๆ ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ไม่ว่าจะโดยใช้ยาทำให้มึนเมา สะกดจิต หรือใช้วิธีอื่นใดอันคล้ายคลึงกัน

 

(๗) "เอกสาร"  หมายความว่า กระดาษหรือวัตถุอื่นใดซึ่งได้ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่น จะเป็นโดยวิธีพิมพ์ถ่ายภาพหรือวิธีอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น

 

(๘) "เอกสารราชการ"  หมายความว่า เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ และให้หมายความรวมถึง สำเนาเอกสารนั้นๆ ที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ด้วย

 

(๙) "เอกสารสิทธิ"  หมายความว่า เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ

 

(๑๐) "ลายมือชื่อ"  หมายความรวมถึงลายพิมพ์นิ้วมือและเครื่องหมายซึ่งบุคคลลงไว้แทนลายมือชื่อของตน

 

(๑๑) "กลางคืน"  หมายความว่า เวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกและพระอาทิตย์ขึ้น

 

(๑๒) "คุมขัง"  หมายความว่า คุมตัว ควบคุม ขัง กักขังหรือจำคุก

 

(๑๓) "ค่าไถ่"  หมายความว่า ทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่เรียกเอาหรือให้เพื่อแลกเปลี่ยนเสรีภาพของผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือผู้ถูกกักขัง

 

(๑๔) "บัตรอิเล็กทรอนิกส์"  หมายความว่า

 

     (ก) เอกสารหรือวัตถุอื่นใดไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใดที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิ์ใช้ ซึ่งจะระบุชื่อหรือไม่ก็ตาม โดยบันทึกข้อมูลหรือรหัสไว้ด้วยการประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกันซึ่งรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสงหรือวิธีการทางแม่เหล็กให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข รหัส หมายเลขบัตร หรือสัญลักษณ์อื่นใด ทั้งที่สามารถมองเห็นและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

 

     (ข) ข้อมูล รหัส หมายเลขบัญชี หมายเลขชุดทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องมือทางตัวเลขใดๆ ที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ โดยมิได้มีการออกเอกสารหรือวัตถุอื่นใดให้ แต่มีวิธีการใช้ในทำนองเดียวกับ (ก) หรือ

 

     (ค) สิ่งอื่นใดที่ใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของ

 

* มาตรา ๑(๑๔) เพิ่มเติมโดย มาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ.๒๕๔๗ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑ ตอนพิเศษ ๖๕ ก หน้า ๒๒ วันที่ ๒๕๔๗)

 

(๑๕) "หนังสือเดินทาง"  หมายความว่า เอกสารสำคัญประจำตัวไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใดที่รัฐบาลไทย รัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศออกให้แก่บุคคลใด เพื่อใช้แสดงตนในการเดินทางระหว่างประเทศ และให้หมายความรวมถึงเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางและแบบหนังสือเดินทางที่ยังไม่ได้กรอกข้อความเกี่ยวกับผู้ถือหนังสือเดินทางด้วย

 

* มาตรา ๑(๑๕) เพิ่มเติมโดย มาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๑๘) พ.ศ.๒๕๕๐ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๔๒ ก หน้า ๑ วันที่ ๒๕๕๐)

 

(๑๖) "เจ้าพนักงาน"  หมายความว่า บุคคลซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าเป็นเจ้าพนักงานหรือได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ไม่ว่าเป็นประจำหรือครั้งคราว และไม่ว่าจะได้รับค่าตอบแทนหรือไม่

 

* มาตรา ๑(๑๖) เพิ่มเติมโดย มาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ.๒๕๕๘ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑๐ ก หน้า ๔๓ วันที่ ๒๕๕๘)

 

(๑๗) "สื่อลามกอนาจารเด็ก"  หมายความว่า วัตถุหรือสิ่งที่แสดงให้รู้หรือเห็นถึงการกระทำทางเพศของเด็กหรือกับเด็กซึ่งมีอายุไม่เกินสิบแปดปี โดยรูป เรื่อง หรือลักษณะสามารถสื่อไปในทางลามกอนาจาร ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของเอกสาร ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนต์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพหรือรูปแบบอื่นใด ในลักษณะทำนองเดียวกันและให้หมายรวมถึง วัตถุหรือสิ่งต่างๆ ข้างต้นที่จัดเก็บในระบบคอมพิวเตอร์หรือในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นที่สามารถแสดงผลให้เข้าใจความหมายได้

 

* มาตรา ๑(๑๗) เพิ่มเติมโดย มาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ.๒๕๕๘ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๘๖ ก หน้า ๘๔ วันที่ ๒๕๕๘)

 

(๑๘) "กระทำชำเรา"  หมายความว่า กระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำ โดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำล่วงล้ำอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น

 

* มาตรา ๑(๑๘) เพิ่มเติมโดย มาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๗) พ.ศ.๒๕๖๒ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๙ ก หน้า ๑๒๗ วันที่ ๒๕๖๒)

 

กฎหมายอาญา มาตรา 1

หมวด 2 การใช้กฎหมายอาญา – (2-17)
หมวด 3 โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย
– ส่วนที่ 1 โทษ – (18-38)
– ส่วนที่ 2 วิธีการเพื่อความปลอดภัย – (39-50)
– ส่วนที่ 3 วิธีเพิ่มโทษ ลดโทษ และการรอการลงโทษ – (51-58)
หมวด 4 ความรับผิดในทางอาญา – (59-79)
หมวด 5 การพยายามกระทำความผิด – (80-82)
หมวด 6 ตัวการและผู้สนับสนุน – (83-89)
หมวด 7 การกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทง – (90-91)
หมวด 8 การกระทำความผิดอีก – (92-94)
หมวด 9 อายุความ – (95-101)

ลักษณะ 2 : บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดลหุโทษ – (102-106)

สารบัญ ประมวลกฎหมายอาญา

ประมวลกฎหมายอาญา เรียงมาตรา

0 0 votes
Article Rating
(Visited 8,681 times, 3 visits today)
Subscribe
Notify of
guest
3 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
trackback
4 years ago

[…] – หมวด 1 บทนิยาม – (1) – หมวด 2 การใช้กฎหมายอาญา – (2-17) […]

trackback
4 years ago

[…] ลักษณะ 1 : บทบัญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไปหมวด 1 บทนิยาม – (1)หมวด 2 การใช้กฎหมายอาญา – (2-17)หมวด 3 โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย– ส่วนที่ 1 โทษ – (18-38)– ส่วนที่ 2 วิธีการเพื่อความปลอดภัย – (39-50)– ส่วนที่ 3 วิธีเพิ่มโทษ ลดโทษ และการรอการลงโทษ – (51-58) หมวด 4 ความรับผิดในทางอาญา – (59-79)หมวด 5 การพยายามกระทำความผิด – (80-82)หมวด 6 ตัวการและผู้สนับสนุน – (83-89)หมวด 7 การกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทง – (90-91)หมวด 8 การกระทำความผิดอีก – (92-94)หมวด 9 อายุความ – (95-101) […]

trackback
4 years ago

[…] ลักษณะ 1 : บทบัญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไปหมวด 1 บทนิยาม – (1)หมวด 2 การใช้กฎหมายอาญา – (2-17)หมวด 3 โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย– ส่วนที่ 1 โทษ – (18-38)– ส่วนที่ 2 วิธีการเพื่อความปลอดภัย – (39-50)– ส่วนที่ 3 วิธีเพิ่มโทษ ลดโทษ และการรอการลงโทษ – (51-58) หมวด 4 ความรับผิดในทางอาญา – (59-79)หมวด 5 การพยายามกระทำความผิด – (80-82)หมวด 6 ตัวการและผู้สนับสนุน – (83-89)หมวด 7 การกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทง – (90-91)หมวด 8 การกระทำความผิดอีก – (92-94)หมวด 9 อายุความ – (95-101) […]