พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับ 27

ห้าม Post ให้ประชาชนกลัว เมื่อประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ

ข้อกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 27) ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 10 กรกฏาคม 2564 ข้อ 11 นั้น

มีข้อสังเกตุว่า เอาผิด คนที่ นำเสนอ ข้อมูลข่าวสารที่อาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว

ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับ ไม่เกิน สี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ต้องรับผิด-เมื่อ-ประมาท

กรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท

ในประมวลกฎหมายอาญา มีบัญญัติไว้ 7 มาตรา ที่เอาผิดผู้ที่กระทำโดยประมาท ได้แก่ มาตรา 205, มาตรา 225, มาตรา 239, มาตรา 291, มาตรา 300, มาตรา 311, มาตรา 390 เป็นองค์ประกอบภายใน ที่ผู้กระทำ ไม่มีเจตนาที่จะกระทำความผิด แต่กฎหมาย เอาผิด

ไม่มีเจตนา ก็ต้องรับผิด
“ถ้าคุณพิสูจน์ได้ว่า คุณไม่ได้ประมาท คุณก็พ้นผิด”
==================
แล้วความประมาท คืออะไร
==================
“กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่”
(ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่)

– ทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท
– ผู้คุมประมาททำให้ผู้ถูกคุมขังหลุด
– เจือสารพิษลงในอาหารหรือน้ำ
– ทำสิ่งที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตราย
– ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย