ประมวลกฎหมายอาญา-ฉบับอิเล็กทรอนิกส์

ประมวลกฎหมายอาญา ฉบับอิเล็กทรอนิกส์

ประมวลกฎหมายอาญา ฉบับอิเล็กทรอนิกนี้ ปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติมความถูกต้องของเนื้อหาอย่างสม่ำเสมอ และยังคิดค้นพัฒนา นำเทคโนโลยีมาใช้ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีผู้ใช้ให้เกิดประโยชน์กับสังคมต่อไป 

ประมวลกฎหมายอาญา-มาตรา-83-ตัวการร่วม

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 (ตัวการร่วม)

ตัวการในการกระทำความผิด คือ บุคคลที่มีการกระทำร่วมและเจตนาร่วมกับบุคคลอื่นในการกระทำความผิดอาญา
การกระทำร่วมกันอาจเป็นกรณีที่บุคคลตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไปร่วมกระทำส่วนใดส่วนหนึ่งอันเป็นองค์ประกอบความผิด หรือเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ หรือร่วมอยู่ในที่เกิดเหตุในลักษณะที่สามารถเข้าช่วยเหลือผู้กระทำคนอื่นทันทีก็ได้ ผู้กระทำความผิดทุกคนมีเจตนาร่วมกัน ได้รู้ถึงการกระทำของกันและกัน และต่างถือเอาการกระทำของคนอื่นเป็นการกระทำของตนเอง การรับโทษของตัวการแต่ละคนต้องรับโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับการกระทำที่เป็นความผิดนั้น แต่อาจจะรับโทษเท่ากันหรือไม่ก็ได้

กฎหมายลักษณอาญา-มาตรา-52-53

ทำตามคำสั่งเจ้าพนักงาน-กฎหมายลักษณอาญา

ท่านศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์ อาจารย์ผู้บรรยายกฎหมายอาญา แห่งสำนักอบรมกฎหมายศึกษาแห่งเนติบัณฑิตยสภา และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายหลักกฎหมายข้อนี้ไว้ ดังนี้
การกระทำตามคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายของเจ้าพนักงาน ผู้กระทำจะได้รับการยกเว้นโทษ (หมายถึง มีความผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ) ต่อเมื่อเข้าลักษณะดังต่อไปนี้
1. กระทำความผิดตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
2. คำสั่งนั้นมิชอบด้วยกฎหมาย
3. ผู้กระทำไม่รู้ว่าคำสั่งนั้นมิชอบด้วยกฎหมาย
4 .ผู้กระทำมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม หรือไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามแต่เชื่อโดยสุจริตว่ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม

ต้องรับผิด-เมื่อ-ประมาท

กรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท

ในประมวลกฎหมายอาญา มีบัญญัติไว้ 7 มาตรา ที่เอาผิดผู้ที่กระทำโดยประมาท ได้แก่ มาตรา 205, มาตรา 225, มาตรา 239, มาตรา 291, มาตรา 300, มาตรา 311, มาตรา 390 เป็นองค์ประกอบภายใน ที่ผู้กระทำ ไม่มีเจตนาที่จะกระทำความผิด แต่กฎหมาย เอาผิด

ไม่มีเจตนา ก็ต้องรับผิด
“ถ้าคุณพิสูจน์ได้ว่า คุณไม่ได้ประมาท คุณก็พ้นผิด”
==================
แล้วความประมาท คืออะไร
==================
“กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่”
(ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่)

– ทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท
– ผู้คุมประมาททำให้ผู้ถูกคุมขังหลุด
– เจือสารพิษลงในอาหารหรือน้ำ
– ทำสิ่งที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตราย
– ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดลหุโทษ

บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดลหุโทษ

กฎหมายได้บัญญัติให้นำหลักเกณฑ์ทั่วไปของกฎหมายอาญาในลักษณะ 1 มาใช้กับความผิดลหุโทษด้วย เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษในมาตรา 104,105 และ 106 ซึ่งกฎหมายได้บัญัติให้แตกต่างไปจากความผิดสามัญ

กระทำความผิดอีก

การกระทำความผิดอีก

ผู้ที่เคยถูกลงโทษจำคุกมาแล้ว หากได้กระทำความผิดอีกภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและศาลจะลงโทษจำคุก
ผู้นั้นอาจถูกเพิ่มโทษให้หนักขึ้นอีกหนึ่งในสามได้

ผู้ที่เคยถูกลงโทษจำคุกไม่น้อยกว่า 6 เดือนมาแล้ว หากได้กระทำความผิดซ้ำในความผิดประเภทเดียวกันอีก ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและศาลจะลงโทษจำคุก ผู้นั้นอาจจะถูกเพิ่มโทษให้นักขึ้นอีกกึ่งหนึ่งได้

ความผิดที่กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ และความผิดซึ่งกระทำในขณะมีอายุยังไม่เกิน 18 ปี ไม่ถือเป็นเหตุเพิ่มโทษ

การกระทำความผิดหลายบทหรืหลายกระทง

การกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทง

มาตรา 90
เมื่อการกระทำใดอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด
มาตรา 91
เมื่อปรากฎว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนด ดังต่อไปนี้

(1) สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี

(2) ยี่สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี

(3) ห้าสิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสิบปีขึ้นไป เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต

ตัวการและผู้สนันสนุน

ตัวการและผู้สนับสนุน

ตัวการในการกระทำความผิด คือ บุคคลที่มีการกระทำร่วมและเจตนาร่วมกับบุคคลอื่นในการกระทำความผิดอาญา

ผู้ใช้ คือ บุคคลที่ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด โดยที่ตนเองมิได้มีส่วนร่วมกระทำความผิดนั้นด้วย ผู้ใช้อาจเจาะจงให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือใช้วิธีโฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปก็ได้

ผู้สนับสนุน เป็นผู้ที่ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำผิดก่อนหรือในขณะกระทำความผิด

พยายามกระทำความผิด

มาตรา 80
ผู้ใดลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอด หรือกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล ผู้นัันพยายามกระทำความผิด
มาตรา 81
ผู้ใดกระทำการโดยมุ่งต่อผลซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด แต่การกระทำนั้นไม่สามารถจะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำหรือเหตุแห่งวัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อให้ถือว่าผู้นั้นพยายามกระทำความผิดแต่ให้ลงโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
ถ้าการกระทำดังกล่าวในวรรคแรกได้กระทำไปโดยความเชื่ออย่างงมงาย ศาลจะไม่ลงโทษก็ได้
มาตรา 82
ผู้ใดพยายามกระทำความผิด หากยับยั้งเสียเองไม่กระทำการให้ตลอด หรือกลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทำนั้นบรรลุผล ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับการพยายามกระทำความผิดนั้น แต่ถ้าการที่ได้กระทำไปแล้วต้องตามบทกฎหมายที่บัญญัติเป็นความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้นๆ

ประมวลกฎหมายอาญา-โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย

โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย

หมวด 3 โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย
– ส่วนที่ 1 โทษ (18-38)
– ส่วนที่ 2 วิธีการเพื่อความปลอดภัย (39-50)
– ส่วนที่ 3 วิธีเพิ่มโทษ ลดโทษ และการรอการลงโทษ (51-58)

ประมวลกฎหมายอาญา-มาตรา-1-นาวิน-ขำแป้น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 บทนิยาม

(1) “โดยทุจริต”
(2) “ทางสาธารณะ ”
(3) “สาธารณสถาน”
(4) “เคหสถาน”
(5) “อาวุธ”
(6) “ใช้กำลังประทุษร้าย”
(7) “เอกสาร”
(8) “เอกสารราชการ”
(9) “เอกสารสิทธิ”
(10) “ลายมือชื่อ”
(11) “กลางคืน”
(12) “คุมขัง”
(13) “ค่าไถ่”
(14) “บัตรอิเล็กทรอนิกส์”
(15) “หนังสือเดินทาง”
(16) “เจ้าพนักงาน”
(17) “สื่อลามกอนาจารเด็ก”
(18) “กระทำชำเรา”

ไม่มีความผิด-ไม่มีโทษ-ถ้าไม่มีกฎหมาย

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ ถ้าไม่มีกฎหมาย

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2
บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้ารับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง

ประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป

ลักษณะ 1 : บทบัญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป
หมวด 1 บทนิยาม (1)
หมวด 2 การใช้กฎหมายอาญา (2-17)
หมวด 3 โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย
– ส่วนที่ 1 โทษ (18-38)
– ส่วนที่ 2 วิธีการเพื่อความปลอดภัย (39-50)
– ส่วนที่ 3 วิธีเพิ่มโทษ ลดโทษ และการรอการลงโทษ (51-58)
หมวด 4 ความรับผิดในทางอาญา (59-79)
หมวด 5 การพยายามกระทำความผิด (80-82)
หมวด 6 ตัวการและผู้สนับสนุน (83-89)
หมวด 7 การกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทง (90-91)
หมวด 8 การกระทำความผิดอีก (92-94)
หมวด 9 อายุความ (95-101)
ลักษณะ 2 : บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดลหุโทษ (102-106)

กระทำความผิดด้วยความจำเป็น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 กระทำความผิดด้วยความจำเป็น เพื่อให้ผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึง ไม่ต้องรับโทษ

ผู้ใดกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
(1) เพราะอยู่ในที่บังคับ หรือภายใต้อำนาจ ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ
(2) เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ เมื่อภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน
ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุแล้ว ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

ประมวลกฎหมายอาญา-67-68-72-นาวิน-ขำแป้น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 มาตรา 68 มาตรา 72

มาตรา 67      กระทำความผิดด้วยความจำเป็น ไม่ต้องรับโทษ

มาตรา 68      ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีความผิด

มาตรา 72       บันดาลโทสะ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงไดก็ได้

ป-อาญา-มาตรา-72-นาวิน-ขำแป้น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 บันดาลโทสะ

ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้

ป-อาญา-มาตรา-68

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่น ให้พ้นจากภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด

ประมวลกฎหมาย-อาญา-มาตรา-67

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 กระทำความผิดด้วยความจำเป็น

ผู้ใดกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
(1) เพราะอยู่ในที่บังคับ หรือภายใต้อำนาจ ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ
(2) เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ เมื่อภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน
ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุแล้ว ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ