กฎหมายลักษณอาญา-มาตรา-52-53

ทำตามคำสั่งเจ้าพนักงาน-กฎหมายลักษณอาญา

ภาค 1, ประมวลกฎหมายอาญา, ประมวลกฎหมาย, กฎหมายอาญา1, กฎหมาย

 

หนังสือประมวลกฎหมายอาญา หนังสือประมวลกฎหมายอาญา point

ภาค ๑ บทบัญญัติทั่วไป

ลักษณะ ๑ บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป

มาตรา ๗๐

หมวด ๔ ความรับผิดในทางอาญา

ลักษณะ ๑ บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป

หมวด ๔ ความรับผิดในทางอาญา

 

     มาตรา ๗๐  ผู้ใดกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน แม้คำสั่งนั้นจะมิชอบด้วยกฎหมาย ถ้าผู้กระทำมีหน้าที่หรือเชื่อโดยสุจริตว่ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ เว้นแต่จะรู้ว่าคำสั่งนั้นเป็นคำสั่งซึ่งมิชอบด้วยกฎหมาย



คำอธิบาย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 70


ท่านศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์ อาจารย์ผู้บรรยายกฎหมายอาญา แห่งสำนักอบรมกฎหมายศึกษาแห่งเนติบัณฑิตยสภา และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายหลักกฎหมายข้อนี้ไว้ ดังนี้
การกระทำตามคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายของเจ้าพนักงาน ผู้กระทำจะได้รับการยกเว้นโทษ (หมายถึง มีความผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ) ต่อเมื่อเข้าลักษณะดังต่อไปนี้
1. กระทำความผิดตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
2. คำสั่งนั้นมิชอบด้วยกฎหมาย
3. ผู้กระทำไม่รู้ว่าคำสั่งนั้นมิชอบด้วยกฎหมาย
4 .ผู้กระทำมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม หรือไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามแต่เชื่อโดยสุจริตว่ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม

ข้อสังเกต
ถ้าผู้กระทำควรรู้ได้ว่าเป็นคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมาย เช่น ผู้บังคับบัญชาสั่งให้จับคนร้าย ถ้าจับเป็นไม่ได้ ก็ให้จับตาย กรณีเช่นนี้ ผู้กระทำควรรู้ได้ว่าคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่สั่งให้ยิงผู้ที่มิได้ต่อสู้นั้น เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น จึงอ้างเหตุยกเว้นโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 70 [กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 52 และ กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 53] ไม่ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 738/2491)

กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา ๕๒ บัญญัติว่า
"ผู้ใดกระทำการตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย ท่านว่าผู้นั้นไม่ควรรับอาญา
ที่ว่ากระทำการตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายนั้น ท่านอธิบายไว้ดังนี้ คือ
(๑) การที่กระทำเป็นการต้องตามพระราชกำหนด กฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลานั้น
(๒) บุคคลกระทำการ ตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน ฝ่ายทหารก็ดี พลเรือนก็ดี อันตนมีหน้าที่ จะต้องฟังบังคับบัญชา แม้ว่าคำสั่งนั้นจะผิดกฎหมาย ถ้าปรากฎว่าผู้รับคำสั่งไปกระทำ กระทำโดยเชื่อว่าชอบด้วยกฎหมาย โดยเหตุผลอันสมควร ท่านก็ให้ถือว่าผู้รับคำสั่งไปกระทำการนั้น ไม่ควรรับอาญาเหมือนกัน"

กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา ๕๓ บัญญัติว่า
"ถ้าผู้ใดที่กระทำความผิด อันต้องด้วยลักษณยกเว้นประการหนึ่งประการใด ตามที่ว่ามาตั้งแต่มาตรา ๔๙ จนถึงมาตรา ๕๒ นั้น ได้กระทำเกินไปกว่าสมควรแก่เหตุก็ดี หรือเกินไปกว่าที่กฎหมาย อนุญาตให้ทำได้ก็ดี ท่านว่าผู้นั้นควรมีโทษ แต่ศาลจะลดหย่อนอาญาที่กฎหมายบัญญัติไว้ สำหรับความผิดเช่นนั้น ให้เบาลงก็ได้"

อาญา-มาตรา-371





คำพิพากษาศาลฎีกา ประกอบ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 70


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 738/2491

คำพิพากษาย่อสั้น
ถ้าบุคคลซึ่งจะถูกจับหลบหนีหรือพยายามจะหลบหนี ผู้ทำการจับมีอำนาจใช้วิธีหรือความป้องกันทั้งหลายเท่าที่เหมาะแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับผู้นั้น
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใหญ่บ้าน จำเลยที่ 2 เป็นผู้ช่วย ได้ปฏิบัติการตามหน้าที่โดยจับกุมผู้ตาย ซึ่งเป็นผู้ร้ายสำคัญเรื่องปล้นทรัพย์ ผู้ตายวิ่งหนี จำเลยที่ 1 เกรงความผิด จึงสั่งให้จำเลยที่ 2 ยิง ดั่งนี้ ถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 83 วรรค 2 แต่กระทำเกินสมควรแก่เหตุ หรือเกินไปกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้ทำได้ ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 53 [เทียบกับ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 70] (อ้างฎีกา 618/2461)

คำพิพากษาย่อยาว
คดีนี้ได้ความว่า ท้องที่อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท มีผู้ร้ายชุกชุม ทางการสั่งให้ทางอำเภอจัดกำนันผู้ใหญ่บ้านออกตรวจตราโจรผู้ร้าย ได้มีผู้มาแจ้งต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านว่ามีผู้ร้ายชั้นเสือมาพักอยู่ในเขตอำเภอหันคา จำเลยที่ 1 จึงเกณฑ์ราษฎรคือจำเลยที่ 2-4 และคนอื่นอีก 2 คน ไปทำการจับกุม ระหว่างทางพบชายคนหนึ่งภายหลังทราบว่าชื่อเพี้ยนหรือประคองเดินสวนมาได้เกิดจับกุมตัวนายเพี้ยน ๆ ขัดขวางชักปืนออกจะยิง แต่บุคคลเหล่านั้นได้ช่วยกันจับได้และมัดไว้ นำตัวจะไปส่งกำนัน ระหว่างทางมีผู้มาชี้ตัวว่านายเพี้ยนเป็นผู้ร้ายปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 1 หยุดปัสสาวะ นายเพี้ยนวิ่งหนี้ จำเลยที่ 1 ร้องว่าทำไมไม่ยิง จำเลยที่ 2 จึงยิงไป 1 นัดถูกนายเพี้ยนตาย โจทก์จึงฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา จำเลยที่ 1 ให้การว่าทางการสั่งให้ปราบปรามโจรผู้ร้าย ผู้ตายเป็นผู้ร้ายสำคัญเรื่องปล้นทรัพย์ระหว่างถูกจับตัวมาวิ่งหนีจึงเกิดยิงกันตาย จำเลยที่ 2 ปฏิเสธ จำเลยที่ 3-4 ว่าจำเลยที่ 1 ส่งไปช่วยจับไม่ได้สมคบกันฆ่าศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยที่ 1-2 ทำการ ตามหน้าที่เพื่อมิให้ผู้ตายหลบหนี แต่กระทำเกินกว่าเหตุ จึงลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 63, 64, 249, 52, 53 จำคุกคนละ 1 ปี แต่ให้รอการลงอาญาไว้ ยกฟ้องจำเลยที่ 3-4 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกาว่า คดีไม่เข้าตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 52, 53ไม่ควรลดอาญาแก่จำเลยที่ 1-2
ศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยที่ 1-2 ได้ปฏิบัติการตามหน้าที่โดยจับกุมผู้ตายซึ่งเป็นผู้ร้ายสำคัญเรื่องปล้นทรัพย์ ผู้ตายวิ่งหนีจำเลยที่ 1 เกรงความผิดจึงสั่งให้จำเลยที่ 2 ยิง ประกอบกับมีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83(2) ว่า ถ้าบุคคลซึ่งจะถูกจับหลบหนี หรือพยายามจะหลบหนี ผู้ทำการจับมีอำนาจใช้วิธีหรือความป้องกันทั้งหลายเท่าที่เหมาะแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับผู้นั้น จึงถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว แต่หากกระทำเกินไปกว่าสมควรแก่เหตุหรือเกินไปกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้กระทำได้ต้อง ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 53 [เทียบกับ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 70] พิพากษายืน

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 52 [เทียบกับ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 70]
กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 53 [เทียบกับ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 70]
กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 249 [เทียบกับ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288]

หมายเหต : กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 52 และ กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 53 รวมเป็น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 70 มาตราเดียว

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83

ผู้พิพากษา
มนูภันย์วิมลสาร
เลขวณิชธรรมวิทักษ์
พิบูลย์ไอศวรรย์

กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา ๕๒ บัญญัติว่า
"ผู้ใดกระทำการตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย ท่านว่าผู้นั้นไม่ควรรับอาญา
ที่ว่ากระทำการตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายนั้น ท่านอธิบายไว้ดังนี้ คือ
(๑) การที่กระทำเป็นการต้องตามพระราชกำหนด กฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลานั้น
(๒) บุคคลกระทำการ ตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน ฝ่ายทหารก็ดี พลเรือนก็ดี อันตนมีหน้าที่ จะต้องฟังบังคับบัญชา แม้ว่าคำสั่งนั้นจะผิดกฎหมาย ถ้าปรากฎว่าผู้รับคำสั่งไปกระทำ กระทำโดยเชื่อว่าชอบด้วยกฎหมาย โดยเหตุผลอันสมควร ท่านก็ให้ถือว่าผู้รับคำสั่งไปกระทำการนั้น ไม่ควรรับอาญาเหมือนกัน"

กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา ๕๓ บัญญัติว่า
"ถ้าผู้ใดที่กระทำความผิด อันต้องด้วยลักษณยกเว้นประการหนึ่งประการใด ตามที่ว่ามาตั้งแต่มาตรา ๔๙ จนถึงมาตรา ๕๒ นั้น ได้กระทำเกินไปกว่าสมควรแก่เหตุก็ดี หรือเกินไปกว่าที่กฎหมาย อนุญาตให้ทำได้ก็ดี ท่านว่าผู้นั้นควรมีโทษ แต่ศาลจะลดหย่อนอาญาที่กฎหมายบัญญัติไว้ สำหรับความผิดเช่นนั้น ให้เบาลงก็ได้"

กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา ๒๔๙ บัญญัติว่า
"ผู้ใดกระทำโดยเจตนา ให้ผู้หนึ่งผู้ใดถึงแก่ความตาย ท่านว่ามันฆ่าคนโดยเจตนามีความผิดให้ลงอาญาแก่มัน ตามโทษานุโทษเป็นสามสฐาน คือ สฐานหนึ่งให้ประหารชีวิตร์ ให้มันตายตกไปตามกัน สฐานหนึ่งให้จำคุกไว้จนตลอดชีวิตร์ สฐานหนึ่งให้จำคุกตั้งแต่สิบห้าปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี"


อาญา-มาตรา-371



กฎหมายลักษณอาญา-มาตรา-52-53
กฎหมายลักษณอาญา-มาตรา-52-53
1 1 vote
Article Rating
(Visited 1,214 times, 1 visits today)
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments