ฟ้องซ้อน ฟ้องซ้ำ

ฟ้องซ้อน ฟ้องซ้ำ

กฎหมายวิธีสบัญญัติ1, กฎหมาย, สรุปจากตำรา
ฟ้องซ้อน ฟ้องซ้ำ
ฟ้องซ้อน ฟ้องซ้ำ

มาตรา 173 วรรคหนึ่ง

“เมื่อศาลได้รับคำฟ้องแล้ว ให้ศาลออกหมายส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยเพื่อแก้คดี และภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันยื่นคำฟ้อง ให้โจทก์ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายนั้น”

     เมื่อศาลรับฟ้องโจทก์แล้ว กฎหมายให้ศาลออกหมายส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยเพื่อแก้คดี หมายที่ออกเป็นหมายเรียก และคำฟ้องที่ส่งเป็นสำเนาคำฟ้อง ไมใช่ต้นฉบับซึ่งต้องเก็บเป็นสำนวนคดีที่ศาลตาม มาตรา 46 วรรคสอง แม้ตาม มาตรา 70 วรรคสอง จะใช้คำฟ้องก็ตามและสำเนาคำฟ้องนี้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้มีหน้าที่ส่ง โดยโจทก์มีหน้าที่จัดการนำส่งสำเนาคำฟ้องนี้จะส่งไปพร้อมกับหมายเรียกให้จำเลยแก้คดี โจทก์ต้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายเรียกภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ยื่นฟ้อง หากโจทก์ไม่ดำเนินการดังกล่าว ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง 

มาตรา 173 วรรคสอง (1)

“นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา และผลแห่งการนี้
(1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น และ
(2) ถ้ามีเหตุเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในพฤติการณ์อันเกี่ยวด้วยการยื่นฟ้องคดีต่อศาลที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้น เช่น การเปลี่ยนแปลงภูมิลำนาของจำเลย การเปลี่ยนแปลงเช่นว่านี้หาตัดอำนาจศาลที่รับฟ้องคดีไว้ในอันที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไม่”

     ตามมาตรา 173 วรรคสอง (1) นี้ มีเจตนารมณ์มาจากหลัก Ne bis in idem (ภาษาลาติน) “not twice for the same” อันมีความหมายว่า บุคคลไม่ควรถูกพิจารณาในมูลคดีเดียวกัน 2 ครั้ง ดังนั้น เมื่อคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาหากโจทก์มายื่นฟ้องเรื่องเดียวกันอีก ทางปฏิบัติเรียกกันสั้นๆ ว่า “ฟ้องซ้อน” ปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนเป็นเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่ง เป็นบัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตามมาตรา 142 (5)

     คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6383/2550

     ปัญหาเรื่องฟ้องช้อนหรือไม่ เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่ง เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องชอบที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาวินิฉัยปัญหานี้ไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้ก่อนได้

 

มาตรา 148 วรรคหนึ่ง

“คดีที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว ห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอึกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน”

     จากบทบัญญัติดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว ซึ่งผลของคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นที่ยุติผูกพันคู่ความในคดี ดังนั้น คู่ความเดียวกันในคดีเดิมที่มีคำพิพากษา
หรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วจะนำประเด็นที่ศาลได้มีคำวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันมาฟ้องเป็นคดีใหม่อีกไม่ได้
     

     จากบทบัญญัติดังกล่าวแยกออกเป็นหลักเกณฑ์ได้ดังนี้
         1. คดีที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
         2. ห้ามมีให้คู่ความเดียวกัน
         3. รื้อร้องฟ้องกันอีก
         4. ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน

3.7 3 votes
Article Rating
(Visited 8,218 times, 1 visits today)
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments