หนังสือมอบอำนาจ-นาวิน-ขำแป้น

หนังสือมอบอำนาจ

หนังสือมอบอำนาจ, หนังสือ, ติวสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ
หนังสือมอบอำนาจ
หนังสือมอบอำนาจ
รูปแบบหนังสือมอบอำนาจ
รูปแบบหนังสือมอบอำนาจ

หนังสือมอบอำนาจที่กล่าวถึงนี้เป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไป (ไม่ไช่แบบฟอร์มศาล [ใบมอบฉันทะ (๑๐)] ที่ทนายความมอบฉันทะให้เสมียนทนายความ)

รูปแบบการทำหนังสือมอบอำนาจ

๑. ระบุบนหัวกระดาษว่า “หนังสือมอบอำนาจ”

๒. ระบุสถานที่ทำหนังสือมอบอำนาจ

๓. ระบุวันที่ทำหนังสือมอบอำนาจ

๔. ระบุชื่อ ที่อยู่ (เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน) ของทั้งผู้มอบอำนาจและของผู้รับมอบอำนาจ

๕. ระบุกิจการที่ต้องการมอบอำนาจ

๖. ระบุว่ากิจการใดที่ผู้รับมอบอำนาจได้กระทำไปตามหนังสือมอบอำนาจให้ถือเสมือนว่าผู้มอบอำนาจได้กระทำด้วยตนเอง

๗. ลงชื่อ ผู้มอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจ และพยาน

หลักกฎหมาย

(๑) ใครมอบ

(๒) มอบอำนาจให้ใคร

(๓) ให้ทำอะไร (ให้ดำเนินคดีแทน)

(๔) การกระทำของผู้รับมอบอำนาจ ถือเป็นการกระทำของผู้มอบอำนาจทุกประการ

(๕) ลงชื่อ ผู้มอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจ และพยาน

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๖๐

คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือผู้แทนโดยชอบธรรมในกรณีที่คู่ความเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือผู้แทนในกรณีที่คู่ความเป็นนิติบุคคล จะว่าความด้วยตนเองและดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวงตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์ของตนหรือจะแต่งตั้งทนายความคนเดียวหรือหลายคนให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตนก็ได้

ถ้าคู่ความหรือผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นผู้แทนตนในคดี ผู้รับมอบอำนาจเช่นว่านั้นจะว่าความอย่างทนายความไม่ได้แต่ย่อมตั้งทนายความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาได้

หนังสือมอบอำนาจ
หนังสือมอบอำนาจ

 

หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2542 

การมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน นิติสัมพันธ์ระหว่างผู้มอบอำนาจกับผู้รับมอบอำนาจ ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797เรื่องตัวแทน แต่การมอบหมายให้บุคคลอื่นมาดำเนินการทางศาลแทนมิใช่เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาผูกนิติสัมพันธ์กับศาลแทนอันจะก่อให้เกิดนิติกรรมสัญญาต่อกันระหว่างศาลกับผู้มอบอำนาจหากแต่เป็นการใช้สิทธิในการดำเนินคดีทางศาลซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับ (ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15) และกรณีการแต่งตั้งตัวแทนให้ดำเนินกระบวนพิจารณาทางศาลแทนมีบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 60 ถึง 64 แต่เฉพาะกรณีตามมาตรา 61 กับ 63 และ 64หากมีการแต่งตั้งให้บุคคลอื่นดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวแทนกฎหมายบัญญัติว่าจะต้องทำเป็นหนังสือตามแบบของการดำเนินการนั้น ๆและต้องยื่นหนังสือนั้นต่อศาล ดังนี้หากมีการทำเป็นหนังสือแต่มิได้นำหนังสือดังกล่าวมายื่นต่อศาลอันอาจถือเป็นความบกพร่องซึ่งศาลอาจสั่งให้แก้ไขหรือมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคแรกช่วงท้ายได้ ต่างกับกรณีที่ไม่มีเจตนาทำเป็นหนังสือเกี่ยวกับการมอบอำนาจนั้น ๆ เท่ากับจงใจฝ่าฝืนไม่ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบจำต้องให้เพิกถอนเสีย และไม่ใช่หน้าที่ศาลที่จะสั่งให้ไปแก้ไขหรือทำมาใหม่ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842/2509,179/2518,699/2521)หากเป็นการมอบอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 60 แม้กฎหมายกำหนดให้ทำเป็นหนังสือ แต่มิได้บังคับให้ต้องยื่นหนังสือดังกล่าวพร้อมกับคำฟ้อง และหากจำเลยให้การแต่เพียงว่า ผู้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจไม่มีสิทธิที่จะกระทำการแทนโจทก์ อันถือว่าจำเลยยอมรับว่ามีการมอบอำนาจเป็นหนังสือแต่เถียงว่าผู้ลงนามไม่มีอำนาจ ดังนี้โจทก์ย่อมไม่ต้องส่งหนังสือแต่เถียงว่าผู้ลงนามไม่มีอำนาจ ดังนี้โจทก์ย่อมไม่ต้องส่งหนังสือมอบอำนาจต่อศาล และเมื่อกรณีไม่มีเหตุสงสัยศาลย่อมไม่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 47(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271-1273/2508)

การมอบฉันทะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 64 บัญญัติห้ามไว้เฉพาะกรณีที่ศาลได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่นเมื่อคดีมีเหตุผลพิเศษอันเกี่ยวกับคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทนายความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ หากมิได้อยู่ในข้อยกเว้นย่อมมอบฉันทะให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทนได้ และกรณีการมอบอำนาจหรือการมอบฉันทะนี้หากทนายความมอบฉันทะให้เสมียนทนายมาดำเนินการแทน จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ ต่างกับการมอบฉันทะให้ผู้ที่ไม่ใช่เสมียนทนายหรือกรณีผู้อื่นซึ่งไม่อยู่ในข้อยกเว้น จำต้องปิดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วนเสียก่อน และผู้รับมอบฉันทะซึ่งมีฐานะเป็นตัวแทนย่อมมีสิทธิเท่าที่รับ มอบฉันทะมาจนเสร็จการ เช่นมอบฉันทะให้บุคคลอื่นมาฟังคำพิพากษาหากมิได้ระบุเฉพาะว่าเป็นวันใด แม้ศาลเลื่อนการอ่านคำพิพากษาผู้รับมอบฉันทะยังมีสิทธิมาฟังคำพิพากษาแทนได้ โดยไม่จำต้องทำใบมอบฉันทะใหม่ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 277-278/2504)แต่หากเป็นกรณีที่กระบวนพิจารณาใด ที่ต้องกระทำโดยตัวความหรือทนายความโดยเฉพาะ ย่อมอยู่ในข้อห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 64 ดังเช่นการขอเลื่อนคดีด้วยวาจา จะต้องกระทำโดยตัวความหรือทนายความ ดังนั้นตัวความหรือทนายความจึงไม่อาจมอบฉันทะให้ผู้อื่นมาแถลงขอเลื่อนคดีด้วยวาจาแทนได้(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3615/2530)

กรณีที่โจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัด ในคดีอาญานี้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา บัญญัติไว้โดยเฉพาะในมาตรา 166ให้ศาลยกฟ้องเสีย การยกฟ้องเช่นนี้จะต้องทำเป็นคำพิพากษาโดยมีผู้พิพากษาเป็นองค์คณะให้ครบถ้วน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2528) ส่วนกรณีจำเลยหากไม่มาศาล ย่อมไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาได้ เพราะศาลไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาลับหลังจำเลยได้ เว้นแต่บางคดีที่อาจมีการพิจารณาลับหลังจำเลยได้เท่านั้นดังนั้นจึงไม่อาจนำเรื่องขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับได้ และไม่อาจนำเรื่องการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับได้เช่นกัน(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1574/2525) และกรณีที่โจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดตามมาตรา 166 นี้ คำว่ากำหนดนัดดังกล่าวจะต้องเป็นการนัดพิจารณาคดีคือนัดที่โจทก์มีหน้าที่ต้องนำพยานมาสืบซึ่งมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่จะต้องมาศาลและโจทก์ต้องทราบกำหนดนัดดังกล่าวแล้ว (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1570/2515,947/2533) หากเป็นกรณีที่โจทก์ไม่มีหน้าที่จะต้องมาศาล แม้ศาลจะมีคำสั่งให้โจทก์มาศาลก็ตาม แต่หากโจทก์ไม่มาตามกำหนดนัด ก็ไม่อาจพิพากษายกฟ้องตามมาตรา 166 นี้ได้เช่นศาลนัดให้จำเลยมาแก้คดี ไม่เป็นกิจจะลักษณะว่าศาลจะออกนั่งพิจารณาอ่านคำฟ้องและถามจำเลยในวันนั้น จะถือว่าเป็นนัดพิจารณายังไม่ได้ แม้โจทก์ทราบนัดแล้วไม่มาก็ไม่เรียกว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและไม่ใช่การทิ้งฟ้อง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2500)หรือกรณีที่ศาลหมายนัดโจทก์และจำเลยมาศาลเพื่อสอบถามเรื่องคดีแพ่งที่ให้รอฟังผลอยู่ และเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปก็ไม่ใช่เป็นการนัดไต่สวนหรือนัดพิจารณา (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1570/2515) และวันนัดฟังประเด็นกลับก็มิใช่นัดสืบพยานหรือนัดพิจารณาตามมาตรา 166(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2516)และกรณีวันนัดสืบพยานจำเลยโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อศาลเพียงเสียสิทธิซักค้านพยานจำเลย เมื่อโจทก์ไม่มาศาลจึงไม่ถือว่าโจทก์ไม่มาตามกำหนดนัด (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1256/2521)หรือแม้กรณีที่อัยการโจทก์ยื่นฟ้อง ศาลชั้นต้นสั่งว่ารับฟ้องวันนี้นัดพิจารณาเวลา 11.30 นาฬิกา ซึ่งไม่เป็นกิจจะลักษณะว่านัดพิจารณาอะไร หลังจากยื่นฟ้อง 1 ชั่วโมงเศษ เป็นเวลากะทันหันยากที่โจทก์จะปฏิบัติได้ทันท่วงที จึงไม่เป็นเหตุให้ศาลพิพากษายกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166,181(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2524) แต่หากโจทก์ไม่มาศาลหลังสืบพยานโจทก์ไปบ้างแล้วศาลยกฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227/2527) และหากโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณา โดยไม่ปรากฏเหตุขัดข้องศาลชอบที่จะยกฟ้องไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยมาศาลในวันนัดด้วยหรือไม่และจำเลยอยู่ในอำนาจศาลแล้วหรือไม่ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3754/2530) แต่อาจเป็นเหตุขอพิจารณาใหม่ได้ภายใน 15 วัน(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2530,1005/2531) แต่หากศาลยกฟ้องตามมาตรา 166 นี้ทั้งที่โจทก์ไม่ทราบกำหนดนัด โจทก์ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องยื่นคำขอพิจารณาใหม่ใน 15 วัน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5049/2533,2178/2536) และหากโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาแต่แทนที่ศาลจะพิพากษายกฟ้อง กลับสั่งจำหน่ายคดีแทน โจทก์ย่อมฟ้องใหม่ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162-163/2506) หากโจทก์ไม่มาศาลแต่ศาลทราบเหตุขัดข้อง เช่นฝ่ายจำเลยบางคนไม่มาเพราะยังส่งหมายเรียกไม่ได้ ศาลชอบจะเลื่อนคดี (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2523) แต่กรณีที่โจทก์แถลงไว้ในนัดที่แล้วว่าหากพยานโจทก์ไม่มาศาลในนัดหน้าถือว่าโจทก์ไม่ติดใจสืบพยาน ก็หามีความหมายถึงกรณีที่โจทก์ไม่มาศาลในนัดหน้าด้วย และเมื่อถึงกำหนดนัดโจทก์ไม่มาศาล ศาลชอบที่จะพิพากษายกฟ้องตามมาตรา 166,181(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5564/2534)

กรณีคำฟ้องคดีนี้ โจทก์อ้างว่าจำเลยเป็นชาวต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งเร่ขายโรตีอันเป็นงานที่กฎหมายห้ามคนต่างด้าวทำในราชอาณาจักร (ความผิดเกี่ยวกับการทำงานนี้มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจศาลแขวง)จึงมีข้อน่าสังเกตว่าหากศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ย่อมฟ้องใหม่ไม่ได้แต่หากศาลไม่ประทับฟ้อง โจทก์ยังอาจยื่นฟ้องใหม่ให้ถูกต้องได้และจำเลยหากเป็นชาวต่างด้าว ซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจริงตามคำฟ้องจึงน่าสงสัยเกี่ยวกับเรื่องอิสรภาพที่ควรจะได้รับก่อนคดีจะถึงที่สุด ว่าถูกควบคุมตัวเพื่อรอส่งออกนอกราชอาณาจักรหรือไม่ และเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วหากโจทก์จะต้องยื่นฟ้องใหม่ชาวต่างด้าวผู้นี้จะรู้สึกถึงความเป็นธรรมอย่างไร เมื่อกระบวนการพิจารณามีบทบัญญัติไว้เสมือนกติกา ผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามกติกานี้คือนักกฎหมายโดยอาชีพ หากแพ้เพราะผิดกติกาผู้ที่ต้องเสียหายจากคดี กลับมิใช่นักกฎหมาย และคดีนี้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าศาลชั้นต้นประกาศเรียกโจทก์ทั้งให้เจ้าหน้าที่โทรศัพท์แจ้งให้โจทก์มาศาลเพื่อสอบถามแล้วแต่โจทก์ไม่มา ดังนี้หากข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไปเป็นว่าโจทก์มา ผลของคดีนี้อาจไม่เป็นเช่นนี้และหากโจทก์มาศาล โดยไม่ทำใบมอบฉันทะ เพียงแต่แถลงหรือทำคำร้องยอมรับหรือให้สัตยาบันการยื่นคำฟ้องนี้ จะทำให้คำฟ้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ผู้เขียนเห็นว่ากรณีนี้เป็นเรื่องมอบฉันทะให้ผู้อื่นมายื่นคำฟ้องแทน ซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าจะต้องทำใบมอบฉันทะมายื่นต่อศาลด้วย เมื่อกรณีการมอบฉันทะให้มายื่นคำฟ้องนี้มิใช่การทำนิติกรรมสัญญากับศาล จึงไม่อาจนำเรื่องการให้สัตยาบันหรือยอมรับการกระทำของตัวแทนมาใช้ได้ และใบมอบฉันทะจะต้องทำตามรูปแบบของศาล ดังนั้นการทำเป็นคำร้องย่อมไม่สมบูรณ์ตามรูปแบบของการมอบฉันทะ แต่หากโจทก์ทำใบมอบฉันทะมายื่นต่อศาลก่อนมีคำพิพากษาหรือคำสั่งจำหน่ายคดีอาจถือเป็นการแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องผิดระเบียบนั้นได้ และศาลอาจมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ศาลเห็นสมควร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 แต่หากโจทก์นำใบมอบฉันทะดังกล่าวมายื่นชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกา ผู้เขียนเห็นว่าการแก้ไขเช่นนี้จะต้องแก้ไขก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ดังนั้นจึงไม่อาจแก้ไขในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้

โดยท่านพิเชฐ จันทรธวัชสันติ

Sheet-สรุป-แบบฝึกหัด-สอบทนายความ
Sheet-สรุป-แบบฝึกหัด-สอบทนายความ

______________________________

นับถอยหลัง สอบทนายความภาคทฤษฎี รุ่นที่ 63

กำหนดสอบวันที่ 4 สิงหาคม 2567

______________________________

 

4.3 3 votes
Article Rating
(Visited 25,925 times, 4 visits today)
Subscribe
Notify of
guest
5 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
trackback
6 years ago

[…] หนังสือมอบอำนาจ […]

Wichaiwat Junsantor
Wichaiwat Junsantor
2 years ago

แล้วกรณีของหนังสือมอบอำนาจช่วงละครับ ถ้าดำเนินลงนามสัญญาเสร็จกระบวนการแล้ว แต่ภายหลังฝ่ายกฎหมายตรวจสอบพบว่า หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ต้องแก้ไข แต่บริษัทฯแก้ไขต้นฉบับของหนังสือมอบอำนาจไม่ได้ แต่ทำการออกเป็นหนังสือยืนยันมติจากคณะกรรมการบริหารแทน สามารถทดแทนได้ไหมครับ และหนังสือดังกล่าวลงวันที่เป็นปัจจุบัน คือภายหลังวันที่ในสัญญาไปแล้ว กรณีแบบนี้มีผลอย่างไรทางกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างกับภาครัฐบ้างครับ

alex
alex
1 year ago

สัญญาเช่าซื้อที่ลงนามโดยผู้รับมอบอำนาจให้ลงนามแทน ต้องระบุในสัญญาหรือไม่ว่าเป็นผู้รับมอบอำนาจมา และต้องแจ้งอีกฝ่ายถึงหนังสือมอบอำนาจหรือไม่?