ฟุตบอล-7-คน-ทนายความ-ครั้งที่1-00

ทนายความ 49 ส่งทีมฟุตบอลเข้าร่วมแข่งขัน ฟุตบอล 7 คน (ครั้งที่ 1)

เปิดแข่งฟุตบอล 7 คน⚽️⚽️⚽️ (ครั้งที่ 1)
สำนักฝึกอบรม วิชาว่าความ แห่งสภาทนายความ จัดการแข่งขัน ฟุตบอล 7 คน (ครั้งที่ 1) โดยเปิดรับสมัคร ทนายความ หรือผู้ที่เป็นนักศึกษาของสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความตั้งแต่รุ่น 49 ถึงรุ่น 61 และผู้ฝึกหัดงาน 1 ปี ซึ่งเป็นผู้ที่มีใจรักในกีฬาฟุตบอลเข้าร่วม แข่งขัน รุ่นละอย่างต่ำ 1 ทีม รับสมัครตั้งแต่วันที่ 9 ถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2566 โดยมีวัตถุประสงค์ในการแข่งขัน ดังนี้
1. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมวิชาชีพทนายความ
2. เสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
3. พัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศ เพื่อเข้าแข่งขันระดับประเทศและนานาชาติ
แข่งขันที่สนามฟุตบอลวิชุปารามอินทรา กม. 8 ในวันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2566 เริ่ม จับฉลากเวลา 9:00 น.

หมิ่นประมาท

หมิ่นประมาท

#กฎหมายง่ายๆที่คนไทยควรรู้
#คดีหมิ่นประมาท
เป็นคดีง่ายๆแต่ผิดทั้งประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
#ฟ้องคดีอาญา ทั้งปรับ ทั้งจำ หรือ ทั้งจำทั้งปรับ หรือ
#ฟ้องคดีแพ่ง เรียกค่าสินไหมได้

รู้ได้อย่างไรว่า-คดีแพ่ง-คดีอาญา

รู้ได้อย่างไร ว่า เป็น “คดีแพ่ง” หรือ “คดีอาญา”

นักกฎหมาย จะแยก “คดีแพ่ง” และ “คดีอาญา” ออกจากกันได้ไม่ใช่เรื่องยากเนื่องจากเป็นพื้นฐานของวิชาชีพกฎหมาย แต่สำหรับประชาชนทั่วไปแล้ว คงจะสับสนมิใช่น้อย ว่า เรื่องที่เกิดเป็นคดีขึ้นนั้น เป็นเรื่องทางแพ่ง หรือทางอาญากันแน่?

      หากเกิดเหตุการณ์  “รถชนกัน” เกิดความเสียหายขึ้นแต่เพียง รถ ของทั้งสองฝ่าย และทั้งสองฝ่าย ก็มิได้ทำประกันไว้เลยทั้งคู่ ถามว่าใคร? จะรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้น

เหตุการณ์นี้เป็นเพียงความเสียหายที่เกิดกับทรัพย์สินของทั้งสองฝ่ายเท่านั้น

 ถ้าความเสียหายนี้ยัง ไม่มี “คนตาย” หรือ ไม่มี คนบาดเจ็บ “สาหัส”

  มันก็เป็นเพียง “คดีแพ่ง” เท่านั้น

หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา

หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา เปลี่ยนคำขอโทษเป็นเงินสด

  สื่อออนไลน์ต่างๆ ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก บางท่านใช้งานอย่างสนุกสนายจนลืมไปว่า มีกฎหมายคุ้มครองการใช้งานอยู่หลายประการ สิ่งพื้นฐานที่ทุกคนควรรู้ และ สำนึกในความรับผิดชอบและใช้งานอย่างมีขอบเขต

  กฎหมายที่เกี่ยวข้องมากที่สุดคือ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ,มาตรา 328 และ มาตรา 393

แต่หากผู้เสียหายไปแจ้งความกล่าวหาโดยมีเจตนาการกลั่นแกล้งแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ก็อาจจะถูกดำเนินคดีกลับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 ได้เช่นกัน

ฉ้อโกง

ฉ้อโกง

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๑ ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หมิ่นประมาทใน-Facebook

กรณี เป็น หรือ ไม่เป็น “หมิ่นประมาท” ทั้งทาง Facebook หรือทางอื่น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๖ ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ต่อสู้-ขัดขวาง-เจ้าพนักงาน

ต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่

การต่อสู้หรือขัดขวางอันจะเป็นความผิดตามมาตรานี้ จะต้องเป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ หรือต่อสู้ขัดขวางผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่ และการปฏิบัติหน้าที่นั้นก็ต้องเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายด้วย

ต้องรับผิด-เมื่อ-ประมาท

กรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท

ในประมวลกฎหมายอาญา มีบัญญัติไว้ 7 มาตรา ที่เอาผิดผู้ที่กระทำโดยประมาท ได้แก่ มาตรา 205, มาตรา 225, มาตรา 239, มาตรา 291, มาตรา 300, มาตรา 311, มาตรา 390 เป็นองค์ประกอบภายใน ที่ผู้กระทำ ไม่มีเจตนาที่จะกระทำความผิด แต่กฎหมาย เอาผิด

ไม่มีเจตนา ก็ต้องรับผิด
“ถ้าคุณพิสูจน์ได้ว่า คุณไม่ได้ประมาท คุณก็พ้นผิด”
==================
แล้วความประมาท คืออะไร
==================
“กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่”
(ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่)

– ทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท
– ผู้คุมประมาททำให้ผู้ถูกคุมขังหลุด
– เจือสารพิษลงในอาหารหรือน้ำ
– ทำสิ่งที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตราย
– ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

ฟ้องสายการบิน-ขอเงินคืน

ฟ้องขอเงินคืนเมื่อเที่ยวบินยกเลิกก่อนเวลาเดินทาง

ฟ้องขอเงินคืนเมื่อเที่ยวบินยกเลิกก่อนเวลาเดินทาง

กรณีผู้โดยสาร “ฟ้อง” สายการบินโดยตรง เป็นกรณีที่ ผู้บริโภค ฟ้องผู้ประกอบธุรกิจ กฎหมายที่ใช้ คือ “พระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551″

เอกสารที่ต้องเตรียม

1.ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ที่เข้าทำสัญญาซื้อบัตรโดยสาร และ/หรือ ผู้ชำระเงิน

2.หลักฐานการแจ้งบอกเลิกเที่ยวบินทั้งหมด

3.หลักฐานการชำระเงินที่ชำระไปแล้ว

4.หลักฐานทั้งหมดที่เกี่ยวกับเจรจา ข้อตกลง ที่ได้เจรจากันหลังจากที่เที่ยวบินยกเลิกแล้ว (หลักฐานการคุย เจรจา ผ่านแชท, อีเมลล์, โทรศัพท์)

ผู้บริโภค-ฟ้อง-ผู้ประกอบธุรกิจ

ผู้บริโภคฟ้องผู้ประกอบธุรกิจ ไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง

กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค เริ่มใช้วันที่ 24 สิงหาคม 2551 เพื่อให้การดำเนินคดีรวดเร็ว ไม่มีค่าใช้จ่าย

ปัจจุบันระบบเศรษฐกิจมีการ
ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และมีการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตสินค้า
และบริการมากขึ้น ในขณะที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในเรื่องของคุณภาพสินค้าหรือบริการ
ตลอดจนเทคนิคการตลาดของผู้ประกอบธุรกิจ ทั้งยังขาดอำนาจต่อรองในการเข้าทำสัญญาเพื่อให้
ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ ทำให้ผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่เสมอ นอกจากนี้ เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้น
กระบวนการในการเรียกร้องค่าเสียหายต้องใช้เวลานานและสร้างความยุ่งยากให้แก่ผู้บริโภคที่จะต้อง
พิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ ซึ่งไม่อยู่ในความรู้เห็นของตนเอง อีกทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี
สูง ผู้บริโภคจึงตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบจนบางครั้งนำไปสู่การใช้วิธีการที่รุนแรงและก่อให้เกิดการ
เผชิญหน้าระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม อันส่งผลกระทบต่อ
ระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ สมควรให้มีระบบวิธีพิจารณาคดีที่เอื้อต่อการใช้สิทธิเรียกร้อง
ของผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายได้รับการแก้ไขเยียวยาด้วยความรวดเร็ว ประหยัด
และมีประสิทธิภาพ อันเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ขณะเดียวกัน เป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบ
ธุรกิจหันมาให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้น