ผู้บริโภค-ฟ้อง-ผู้ประกอบธุรกิจ

ผู้บริโภคฟ้องผู้ประกอบธุรกิจ ไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง

กฎหมายผู้บริโภค
วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค มาตรา 18

ระบบกฎหมายไทย ปกติแล้วจะเป็นระบบกล่าวหา กล่าวคือ ผู้ใดกล่าวอ้างผู้นั้นนำสืบเพื่อนำพยานหลักฐานมาเสนอต่อศาล และศาลหรือผู้พิพากษาจะรับฟังพยาน หลักฐาน ของคู่กรณีแล้วนำมาชั่งน้ำหนักเพื่อตัดสินคดี นี้เป็นกรณีสำหรับคดีแพ่งทั่วไป แต่ในวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคมีลักษณะพิเศษ คือนำระบบไต่สวนเข้ามาผสมกับระบบกล่าวหาด้วย กล่าวคือ ศาลสามารถถามหาพยานหลักฐานได้เองเพื่อนำมาพิจารณาตัดสินคดี ไม่เคร่งครัด หรือ ไม่เป็นทางการมากนัก เพื่อให้ประหยัด สะดวก รวดเร็ว แต่คู่ความทั้งสองฝ่ายต้องกระทำการโดยหลักสุจริต

พระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551

หากในวันนัดพิจารณา คู่ความฝ่ายใดไม่มาศาล ไม่ว่าจะเป็นวันนัดพิจารณาครั้งแรกหรือวันนัดพิจารณาที่เลื่อนออกไป ศาลจะดำเนินกระบวนพิจารณาดังนี้

ข้อ ๑ หากโจทก์ไม่มาในวันนัดพิจารณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ไม่ว่าจำเลยจะมาศาลหรือไม่ กฎหมายให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ เว้นแต่ตามพฤติการณ์แห่งคดี ศาลเห็นสมควรให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว โดยให้ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา

ข้อ ๒ หากจำเลยไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาและไม่ให้การ กฎหมายให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยมีสิทธิเพียงถามค้านพยานโจทก์ที่ยังสืบไม่บริบรูณ์ในขณะที่ตนมาศาล แต่จะนำเสนอพยานหลักฐานของตนไม่ได้

ข้อ ๓ หากจำเลยยื่นคำให้การแล้ว แต่ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณา กฎหมายให้ถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา และให้ศาลพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว โดยห้ามไม่ให้ศาลอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบ
หากจำเลยมาศาลเมื่อพ้นเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบแล้ว และห้ามไม่ให้ศาลยอมให้จำเลยคัดค้านพยานหลักฐานของโจทก์ที่สืบไปแล้วด้วยการ ถามค้าน คัดค้านการระบุเอกสารของโจทก์ คัดค้านคำขอที่ให้ศาลไปทำการตรวจหรือให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญของศาลแต่หากโจทก์ นำพยานหลักฐานเข้าสืบยังไม่บริบูรณ์ ให้ศาลอนุญาตให้จำเลยหักล้างได้แต่เฉพาะพยานหลักฐานที่นำสืบภายหลังที่ตนมา ศาล

ดังนั้น เมื่อศาลกำหนดวันนัดพิจารณาแล้ว โจทก์และจำเลยควรมาศาลตามกำหนดนัดโดยเคร่งครัด ทั้งนี้เพื่อมิให้เสียสิทธิในการเสนอพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนคำฟ้องของตน หรือหักล้างพยานหลักฐานของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง

นวันนัดพิจารณา เมื่อโจทก์และจำเลยมาพร้อมกันแล้ว ศาลจะดำเนินกระบวนพิจารณา ดังนี้

ข้อ ๑ ศาลจะให้เจ้าพนักงานคดีไกล่เกลี่ยและช่วยเหลือให้คู่ความบรรลุถึงข้อตกลงร่วมกัน เว้นแต่ในกรณี
มีเหตุสมควร ศาลจะแต่งตั้งให้ผู้ประนีประนอมประจำศาลทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยแทน

ข้อ ๒ หากคู่ความมีความประสงค์ร่วมกันที่จะให้บุคคลใดเป็นผู้ไกล่เกลี่ย และแจ้งต่อเจ้าพนักงานคดีพร้อมสถานที่ติดต่อและหมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลนั้น ศาลจะให้เจ้าพนักงานคดีติดต่อไปยังบุคคลดังกล่าวเพื่อให้มาทำหน้าที่เป็นผู้ ไกล่เกลี่ยแทน เว้นแต่จะทำให้คดีเนิ่นช้าเสียหาย

ข้อ ๓ หากคู่ความไม่สามารถตกลงกันได้ และคู่ความฝ่ายใดประสงค์จะยื่นคำให้การหรือบัญชีระบุพยาน ศาลอาจมอบหมายให้เจ้าพนักงานคดีช่วยเหลือคู่ความฝ่ายนั้นในการจัดทำคำให้การ หรือบัญชีระบุพยานดังกล่าวให้เรียบร้อย

ข้อ ๔ จำเลยจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือด้วยตนเองในวันนัดพิจารณาหรือก่อนวันนัดพิจารณาก็ได้

ดังนั้น เมื่อศาลกำหนดวันนัดพิจารณาแล้ว โจทก์และจำเลยควรหาแนวทางเพื่อบรรลุข้อตกลงร่วมกันมาก่อนวันนัดพิจารณา

ฟ้องขอเงินคืนเมื่อเที่ยวบินยกเลิกก่อนเวลาเดินทาง

 

0 0 votes
Article Rating
(Visited 597 times, 1 visits today)
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments