ฟ้องสายการบิน-ขอเงินคืน

ฟ้องขอเงินคืนเมื่อเที่ยวบินยกเลิกก่อนเวลาเดินทาง

กฎหมายผู้บริโภค
ฟ้องสายการบิน-ขอเงินคืน
ฟ้องสายการบิน-ขอเงินคืน

ขั้นตอนการฟ้องขอเงินค่าโดยสารคืน  เมื่อ “สายการบิน” ยกเลิกเที่ยวบิน ก่อนกำหนดเดินทาง

กรณีผู้โดยสาร “ฟ้อง” สายการบินโดยตรง เป็นกรณีที่ ผู้บริโภค ฟ้องผู้ประกอบธุรกิจ กฎหมายที่ใช้ คือ พระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551″ 

โดยมาตราที่สำคัญที่จะต้องพิจารณาโดยละเอียดคือ

 

มาตรา 10 

        บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่บังคับให้นิติกรรมใดต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้นั้น มิให้นำมาใช้บังคับแก่ผู้บริโภคในการฟ้องบังคับให้ผู้ประกอบธุรกิจชำระหนี้

        ในกรณีที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับให้สัญญาที่ทำขึ้นระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจจะต้องทำตามแบบอย่างใดอย่างหนึ่ง ถึงแม้สัญญาดังกล่าวยังมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบนั้น แต่หากผู้บริโภคได้วางมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วนแล้ว ให้ผู้บริโภคมีอำนาจฟ้องบังคับ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทำสัญญาให้เป็นไปตามแบบที่กฎหมายกำหนดหรือชำระหนี้เป็นการตอบแทนได้

        ในการดำเนินคดีตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง มิให้นำมาตรา 94 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับแก่ผู้บริโภคในการฟ้องคดีผู้บริโภคและการพิสูจน์ถึงนิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ

 

พรบ-วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค-2551-มาตรา-10
พรบ-วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค-2551-มาตรา-10
พรบ-วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค-2551-มาตรา-10
พรบ-วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค-2551-มาตรา-10

 

มาตรา 11

        ประกาศ โฆษณา คำรับรอง หรือการกระทำด้วยประการใดๆ ของผู้ประกอบธุรกิจซึ่งทำให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ในขณะทำสัญญาว่าผู้ประกอบธุรกิจตกลงจะมอบให้ หรือจัดหาให้ซึ่งสิ่งของ บริการ หรือสาธารณูปโภคอื่นใด หรือจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ผู้บริโภค เพื่อเป็นการตอบแทนที่ผู้บริโภคเข้าทำสัญญา หรือข้อตกลงใดๆ ที่ผู้ประกอบธุรกิจจะให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้บริโภคเพิ่มเติมขึ้นจากที่ได้ทำสัญญาไว้ ให้ถือว่า ข้อความ การกระทำ หรือข้อตกลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งผู้บริโภคสามารถนำสืบพยานบุคคล หรือพยานหลักฐานเกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าวได้ ถึงแม้ว่า การทำสัญญาเช่นว่านั้น กฎหมายจะกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือและไม่ปรากฏข้อตกลงนั้นในหนังสือที่ได้ทำขึ้นก็ตาม

 

พรบ-วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค-2551-มาตรา-11
พรบ-วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค-2551-มาตรา-11

 

มาตรา 12

        ในการใช้สิทธิ์แห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี ผู้ประกอบธุรกิจต้องกระทำด้วยความสุจริต โดยคำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสม ภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรม

พรบ-วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค-2551-มาตรา-12
พรบ-วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค-2551-มาตรา-12

 

มาตรา 30

        ถ้าภายหลังที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีผู้บริโภคแล้วปรากฏว่ามีการฟ้องผู้ประกอบธุรกิจรายเดียวกันเป็นคดีผู้บริโภคอีกโดยข้อเท็จจริงที่พิพาทเป็นอย่างเดียวกับคดีก่อนและศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยไว้แล้ว ศาลในคดีหลังอาจมีคำสั่งให้ถือว่าข้อเท็จจริงในประเด็นนั้นเป็นอันยุติเช่นเดียวกับคดีก่อนโดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐาน เว้นแต่ศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงในคดีก่อนนั้นยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยชี้ขาดคดี หรือเพื่อให้โอกาสแก่คู่ความที่เสียเปรียบต่อสู้คดี ศาลมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบเองหรืออนุญาตให้คู่ความนำพยานหลักฐานมาสืบเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควรก็ได้

 

พรบ-วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค-2551-มาตรา-30
พรบ-วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค-2551-มาตรา-30
พรบ-วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค-2551-มาตรา-30
พรบ-วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค-2551-มาตรา-30

 

เอกสารที่ต้องเตรียม

  1. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ที่เข้าทำสัญญาซื้อบัตรโดยสาร และ/หรือ ผู้ชำระเงิน 
  2. หลักฐานการแจ้งบอกเลิกเที่ยวบินทั้งหมด
  3. หลักฐานการชำระเงินที่ชำระไปแล้ว
  4. หลักฐานทั้งหมดที่เกี่ยวกับเจรจา ข้อตกลง ที่ได้เจรจากันหลังจากที่เที่ยวบินยกเลิกแล้ว (หลักฐานการคุย เจรจา ผ่านแชท, อีเมลล์, โทรศัพท์)

 

ผู้บริโภคฟ้องผู้ประกอบธุรกิจ ไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง

3 2 votes
Article Rating
(Visited 1,938 times, 1 visits today)
Subscribe
Notify of
guest
3 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
ทนายความ คอมพิวเตอร์

มาตรา 20
การฟ้อง คดีผู้บริโภค โจทก์จะฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ ในกรณีที่โจทก์ประสงค์จะฟ้องด้วยวาจา ให้เจ้าพนักงานคดีจัดให้มีการบันทึกรายละเอียดแห่งคำฟ้องแล้วให้โจทก์ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
คำฟ้องต้องมีข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีรวมทั้งคำขอบังคับชัดเจนพอที่จะทำให้เข้าใจได้ หากศาลเห็นว่าคำฟ้องนั้นไม่ถูกต้องหรือขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องในส่วนนั้นให้ถูกต้องหรือชัดเจนขึ้นก็ได้