คำร้องทุกข์-นาวิน-ขำแป้น

แจ้งความร้องทุกข์ (คำร้องทุกข์)

คำร้อง : คดีอาญา, คำร้องทุกข์ (แจ้งความ ร้องทุกข์), ติวสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ
คำร้องทุกข์-นาวิน-ขำแป้น
คำร้องทุกข์-นาวิน-ขำแป้น

ต้องบรรยายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2 (7) และมาตรา 123

1. ต้องระบุ วัน เดือน ปี ที่ร้องทุกข์ ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ร้องทุกข์

2. ลักษณะแห่งความผิดพฤติการณ์ต่างๆที่ความผิดนั้นได้กระทำลง

3. ความเสียหายที่ได้รับ

4. ชื่อ หรือ รูปพรรณ ของผู้กระทำผิดเท่าที่จะบอกได้

5. มีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ

6. ลายมือชื่อของผู้ร้องทุกข์

คำร้องทุกข์-1
คำร้องทุกข์-1
คำร้องทุกข์-2-1
คำร้องทุกข์

 

จากตัวอย่างเป็น ข้อสอบภาคทฤษฎีรุ่น 36/2554

– คำร้องทุกข์ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 123 กำหนดให้ระบุ วัน เดือน ปี ที่ร้องทุกข์ ชื่อ ที่อยู่ ผู้ร้องทุกข์ลักษณะของความผิด ความเสียหาย ชื่อ รูปพรรณของผู้กระทำผิด และต้องลงลายมือชื่อผู้ร้องทุกข์

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) บัญญัติว่า

” คำร้องทุกข์ หมายความถึง การที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดย มีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ “

– จากบทบัญญัติ มาตรา 2(7) ดังกล่าว สาระสำคัญของคำร้องทุกข์ที่ลืมไม่ได้ คือ ต้องให้พนักงานสอบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หากเพียงมาแจ้งความไว้เป็นหลักฐานไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์

– สถานที่เกิดเหตุต้องอยู่ในเขตอำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนด้วย เช่นตามตัวอย่าง เหตุเกิดที่ ถนนลาดพร้าว ซอย 12 แขวงจอมพล เขตจตุจักร จึงต้องร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลพหลโยธิน

 

ร้องทุกข์-กล่าวโทษ-นอกเขตอำนาจสอบสวน-01
ร้องทุกข์-กล่าวโทษ-นอกเขตอำนาจสอบสวน-01
ร้องทุกข์-กล่าวโทษ-นอกเขตอำนาจสอบสวน-02
ร้องทุกข์-กล่าวโทษ-นอกเขตอำนาจสอบสวน-02
ร้องทุกข์-กล่าวโทษ-นอกเขตอำนาจสอบสวน-03
ร้องทุกข์-กล่าวโทษ-นอกเขตอำนาจสอบสวน-03

______________________________

นับถอยหลัง สอบทนายความภาคทฤษฎี รุ่นที่ 62

กำหนดสอบวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2567

______________________________

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2530

การร้องทุกข์ที่ชอบด้วยกฎหมายจะต้องเป็นการแจ้งความในลักษณะของการกล่าวหาโดยมีเจตนาให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี เมื่อบันทึกการแจ้งความมีข้อความแสดงชัดว่า ในขณะที่แจ้งโจทก์ไม่มีเจตนาให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลย ซึ่งถือว่าไม่เป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมายการที่โจทก์มาฟ้องคดีเองในภายหลัง ก็หามีผลให้คำร้องทุกข์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวกลับกลายเป็นชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่ โจทก์แจ้งความว่า จึงมอบอำนาจให้ผู้แจ้งมาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อประสงค์ให้จำเลยได้รับโทษตามกฎหมายและโจทก์ประสงค์ขอรับเช็ของกลางคืนไปเพื่อดำเนินการฟ้องร้องกับจำเลยและผู้เกี่ยวข้องในทางศาลเองต่อไป โดยไม่ขอมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการแต่อย่างใดดังนี้แม้แจ้งความดังกล่าวมีข้อความว่า มาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อประสงค์ให้จำเลยรับโทษตามกฎหมาย แต่ก็มีข้อความต่อไปว่าโจทก์ขอรับเช็คคืนเพื่อดำเนินการฟ้องร้องเอง จึงเห็นเจตนาของโจทก์ได้ว่าไม่ประสงค์ให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลย การแจ้งความดังกล่าวจึงไม่ใช่คำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (7)

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22267 /2555

กฎหมายมิได้กำหนดรูปแบบของการร้องทุกข์ว่าต้องดำเนินการอย่างไร การที่โจทก์ร่วมแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า ประสงค์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลย และพนักงานสอบสวนได้สอบปากคำโจทก์ร่วมไว้ จึงถือว่าเป็นการร้องทุกข์แล้ว แม้พนักงานสอบสวนไม่ได้บันทึกการมอบคดีความผิดอันยอมความไว้ก็ตาม พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนและโจทก์มีอำนาจฟ้อง

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8782/2558

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) บัญญัติว่า “ผู้เสียหาย หมายความถึง บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง …” ซึ่งบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดดังกล่าวต้องพิจารณาในขณะที่ความผิดเกิดขึ้นว่า บุคคลนั้นได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดนั้นหรือไม่ อีกทั้งสิทธิของการเป็นผู้เสียหายเป็นสิทธิเฉพาะตัว และไม่อาจโอนสิทธิความเป็นผู้เสียหายไปยังบุคคลอื่นได้ สิทธิในการเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาจึงต้องพิจารณาในขณะที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โจทก์โอนสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาในคดีแพ่งให้แก่บริษัท บ. แล้วก็ตาม แต่วันที่จำเลยกระทำความผิดโจทก์ยังเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าว เมื่อจำเลยโอนขายที่ดินของจำเลยให้แก่ แ. เพื่อมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน โจทก์จึงเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ของจำเลย โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องจำเลยได้

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5172/2557

การที่โจทก์ร่วมไปหาจำเลยที่ห้องพักซึ่งแม้จะได้ความตามที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ร่วมรบกวนการครอบครองห้องพักโดยปกติสุขของจำเลย แต่โจทก์ร่วมก็ไม่ได้บอกให้จำเลยกล่าวถ้อยคำอันเป็นการหมั่นประมาทโจทก์ร่วม จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ร่วมมีส่วนร่วมหรือก่อให้เกิดการกระทำความผิด อันจะเป็นเหตุที่ทำให้โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4)

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4436/ 2531

การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจสืบสวนสอบสวนคดีอาญาได้รับแจ้งความจาก ช. ว่ามีคนร้ายลักเรือและเครื่องยนต์ของผู้เสียหายไป แต่ไม่ยอมลงรับแจ้งความในประจำวันเป็นหลักฐานและเมื่อจับคนร้ายที่ลักทรัพย์ดังกล่าวแล้ว จำเลยกลับปล่อยตัวคนร้ายไปเสีย ถือได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และยังเป็นการกระทำการในตำแหน่งหน้าที่อันเป็นการมิชอบเพื่อจะช่วยคนร้ายมิให้ต้องโทษตามมาตรา 200 วรรคแรก การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทหนัก

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2533

การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 หมายถึง หน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงตามที่กฎหมายบัญญัติไว้หรือได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่นั้นๆเท่านั้น ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่โดยตรงแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ การที่จำเลยเบิกความเป็นพยานที่ศาลไม่ใช่หน้าที่ราชการหรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยตรงของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว

 

แบบพิมพ์ศาลที่ออกสอบบ่อย และใช้ฝึกในการสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความภาคปฏิบัติ

ชีตสรุป แบบฝึกหัด สอบทนายความ ภาคทฤษฎี

ทบทวน สรุปย่อ สอบทนายความ ภาคปฏิบัติ

3.8 5 votes
Article Rating
(Visited 41,854 times, 21 visits today)
Subscribe
Notify of
guest
3 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
นาวิน ขำแป้น
5 years ago

จะไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ ก็ต้องทำตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2(7) และ มาตรา 123 จึงจะดำเนินคดีกับผู้ต้องหาได้นะครับ.