Thai-bar-lawyer

การสวมเสื้อครุยเนติบัณฑิต

ข่าวสาร, ทั่วไป
การสวมครุยเนติบัณฑิต
การสวมครุยเนติบัณฑิต

ความรู้ เรื่องการสวมเสื้อครุยเนติบัณฑิต

พิพิธภัณฑ์ศาลไทยและหอจดหมาย เหตุ มีข้อมูลสรุปความดังนี้ เสื้อครุยนักกฎหมายเป็นเสื้อครุยแสดงวิทยฐานะของผู้สวมใส่ ในประเทศไทยเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2240 ในสมัยที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงเป็นผู้สอนวิชากฎหมายและให้มีการสอบไล่วิชากฎหมายขึ้นเป็นครั้งแรกในโรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม เมื่อมีผู้สอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิต จะมีสิทธิสวมเสื้อครุยที่ทำด้วยผ้าหรือเสิร์จสีดำ ต่อมา พ.ศ.2457 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสภาพระราชทานนามว่า “เนติบัณฑิตยสภา” เพื่อส่งเสริมการศึกษานิติศาสตร์และการว่าความ ควบคุมความประพฤติของทนายความ

ปีเดียวกัน มีพระบรมราชโองการฯ ให้ประกาศใช้พระราชกำหนดเสื้อครุยเนติบัณฑิต พุทธศักราช 2457 เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเหยียบศาลยุติธรรม พระราชทานเสื้อครุยเนติบัณฑิตอย่างแบบไทยให้แก่เนติบัณฑิต เพื่อเป็นเกียรติยศแก่ผู้ที่สอบไล่ได้วิชากฎหมายชั้นเนติบัณฑิต โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้พิพากษาทุกชั้น บรรดาที่เป็นเนติบัณฑิต สวมเสื้อครุยเนติบัณฑิตในเวลาขึ้นบัลลังก์พิจารณาพิพากษาคดี และในเวลาแต่งเครื่องยศในงานที่เกี่ยวกับคณะผู้พิพากษาหรือคณะเนติบัณฑิต

เสื้อครุยเนติบัณฑิตอย่างแบบไทยเป็นเสื้อครุยทำด้วยผ้าโปร่งสีขาว มีสำรด (แถบสีพื้นที่ขอบเสื้อครุย ต้นแขน ปลายแขน) ติดขอบรอบต้นแขน ปลายแขนสำรดใช้ต่วนสีขาวทาบแถบทองขนาดกว้าง 1 ซ.ม. 3 แถบ 5 ม.ม. 4 แถบ รับพระราชทานสืบมากระทั่งปี 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต จึงได้งดการพระราชทานเสื้อครุยเนติบัณฑิตให้แก่ผู้ที่สอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตตั้งแต่นั้นมา

ต่อมา พ.ศ.2479 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มีพระบรมราชโองการฯ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติเสื้อครุยเนติบัณฑิต พุทธศักราช 2479 ยกเลิกเสื้อครุยเนติบัณฑิตอย่างแบบไทย ให้ใช้เสื้อครุยแบบใหม่ทำด้วยผ้าหรือเสิร์จสีดำ เย็บเป็นเสื้อครุยหลังจีบยาวเหนือข้อเท้าพอประมาณ มีแถบพื้นขาวลายทองพาดบ่าซ้าย สมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภามีสิทธิสวมเสื้อครุยเนติบัณฑิตในโอกาสอันควร แต่ห้ามมิให้สวมในเวลาที่เป็นจำเลยในคดีอาญาหรือคดีล้มละลาย หรือเวลาเป็นพยานในศาล

พ.ศ.2534 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระบรมราชโองการฯ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติเสื้อครุยข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม พุทธศักราช 2534 กำหนดให้มีเสื้อครุยข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรมขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงฐานะของข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม

เสื้อครุยข้าราชการตุลาการ เป็นเสื้อครุยทำด้วยผ้าสีดำยาวเหนือข้อเท้าพอประมาณ หลังจีบ ตัวเสื้อผ่าอกตลอด ติดซิป มีแถบกำมะหยี่สีดำกว้าง 6.5 ซ.ม. ตลอดด้านหน้าทั้ง 2 ข้าง และโอบรอบคอ แขนเสื้อจีบปลายบานยาวระดับศอก มีตราติดที่หน้าอกด้านซ้าย ลักษณะของตราเป็นโลหะวงกลมฉลุสีทอง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 ซ.ม. ด้านบนของตรามีตราดุลย์ตั้งอยู่บนพานสองชั้นโดยมีฐานรองรับ ด้านล่างของตรามีครุฑจับนาคซ้อนทับอยู่บนฐานรองรับ ด้านซ้ายและขวาของตรามีลายดอกบัวตูม ด้านละ 4 ดอกโอบล้อมด้านข้างของขอบวงกลม ซึ่งเป็นที่มาของการกำหนดตราศาลยุติธรรมในปัจจุบัน

เสื้อครุยดะโต๊ะยุติธรรม มีลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเสื้อครุยข้าราชการตุลาการ เว้นแต่เสื้อเป็นสีน้ำเงินเข้ม และแถบกำมะหยี่เป็นสีม่วงน้ำเงิน ข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรมอาจสวมเสื้อหรือใช้เสื้อครุยในงานที่เกี่ยวด้วยกิจศาลและกระทรวงยุติธรรม หรือในโอกาสอันควร แต่มิให้สวมในเวลาที่เป็นคู่ความ หรือเวลาที่เป็นพยานศาล

 

 

พรบ-ครุยเน_1
พรบ-ครุยเน_1
พรบ-ครุยเน_2
พรบ-ครุยเน_2
พรบ-ครุยเน_3
พรบ-ครุยเน_3

เสื้อครุยทนายความเป็นแบบที่เห็นในภาพไหม ? ขอเรียนให้ทราบว่า โดยปกติทนายความนั้น…

Posted by อาจารย์ ณัฎฐ์ สมบูรณ์ on Sunday, October 9, 2016

เสื้อครุยทนายความเป็นแบบที่เห็นในภาพไหม ?

ขอเรียนให้ทราบว่า โดยปกติทนายความนั้น ไม่มีเครื่องแบบหรือเครื่องหมายแบบข้าราชการ แต่ถ้าเวลาท่านมีโอกาสไปศาล (ถ้าจำเป็น) จะเห็นพนักงานอัยการ และ ทนายความ สวมเสื้อครุยเหมือนกัน เสื้อครุยดังกล่าวเป็นเสื้อครุยทนายความหรือไม่ ? ตอบเลยว่าไม่ เพราะไม่ว่าทนายความ หรือ ทนายความแผ่นดิน (พนักงานอัยการ) ก็ยืมเสื้อครุยของเนติบัณฑิตยสภามาใส่เวลาว่าความในศาลตามพระราชบัญญัติเสื้อครุยเนติบัณฑิต พุทธศักราช ๒๔๗๙ มาตรา ๕ สามัญสมาชิก สมาชิกวิสามัญ และ สมาชิกกิตติมศักดิ์ แห่ง เนติบัณฑิตยสภา มีสิทธิสวมเสื้อครุยเนติบัณฑิตในโอกาสอันควร แต่ห้ามมิให้สวม ในเวลาที่เป็นจำเลยในคดีอาญาหรือคดีล้มละลายหรือเวลาเป็นพยานในศาล ซึ่งพนักงานอัยการเป็นสามัญสมาชิก ส่วนทนายความนั้นส่วนใหญ่เป็นสมาชิกวิสามัญของเนติบัณฑิตยสภาอยู่แล้ว เพราะตามข้อบังคับเนติบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๕๐๗ หมวด ๓ สิทธิของสมาชิก ข้อ ๑๗ สามัญสมาชิก สมาชิกวิสามัญ และ สมาชิกกิตติมศักดิ์ มีสิทธิสวมเสื้อครุยเนติบัณฑิตตามกฎหมาย ว่าด้วยเสื้อครุยเนติบัณฑิต ส่วนท่านทนายความที่ไม่เป็นสามัญสมาชิก หรือ สมาชิกวิสามัญ ไม่มีสิทธิสวมเสื้อครุยเนติบัณฑิต เพราะตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. ๒๕๒๙ หมวด ๕ มรรยาทในการแต่งกาย ข้อ ๒๐ ในเวลาว่าความ ทนายความจะต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อยตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ (๑) ทนายความชาย แต่งตามแบบสากลนิยม เป็นชุดสีขาว หรือสีอื่นที่ไม่ฉูดฉาด เชิ้ตขาวผ้าผูกคอสีดำหรือสีอื่นที่สุภาพไม่ฉูดฉาดแบบเงื่อนกะลาสี หรือ แต่งเสื้อชุดไทยแบบแขนสั้นหรือยาวสีสุภาพไม่มีลวดลายแทนเสื้อชุดสากลก็ได้ รองเท้าหุ้มส้นสีขาว น้ำตาลหรือดำ ถุงเท้าสีคล้ายคลึงกับรองเท้า (๒) ทนายความหญิง แต่งตามแบบสากลนิยม กระโปรงและเสื้อสีสุภาพไม่ฉูดฉาด รองเท้าหุ้มส้น เท่านั้นนะครับ ยกเว้น ตาม (๔) ทนายความที่มีสิทธิสวมเสื้อครุยเนติบัณฑิต ต้องสวมเสื้อครุยนั้นด้วย

ดังนั้น อย่าสับสนนะครับว่า เสื้อครุยดังกล่าวเป็น เสื้อครุยทนายความ นะครับ เพราะเสื้อครุยดังกล่าวเป็นเสื้อครุยเนติบัณฑิต ทนายความไม่มีเสื้อครุยเป็นของตัวเองครับ

           ข้อมูลจาก Facebook >>  อาจารย์ ณัฎฐ์ สมบูรณ์

 

ครุย   คือ   เสื้อที่ใช้สวมคลุมเพื่อใช้เป็นเครื่องประกอบเกียรติยศ หรือแสดงหน้าที่ในพิธีการ   หรือแสดงวิทยฐานะ         เสื้อครุยที่ไทยใช้อยู่ยังหาหลักฐานแน่ชัดไม่ได้ว่าได้แบบอย่างมาจากชาติใด   บางท่านก็ว่าน่าจะมาจากประเทศจีน   โดยพระเจ้าแผ่นดินจีนถวายฉลองพระองค์ปักด้วยดิ้นหรือไหมทองเงินเป็นรูปต่าง ๆ   มากับเครื่องราชบรรณาการ   บางท่านก็ว่ามาจากประเทศอินเดีย   เพราะได้เห็นพวกพราหมณ์สวมเพื่อเข้าพิธี         การใช้ครุยในประเทศไทยพอจะอนุมานได้ว่าเริ่มขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ใน พ ศ ๒๒๒๘ เมื่อพระวิสูตรสุนทร โกษาปาน เป็นราชทูตออกไปเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ของฝรั่งเศส ในโอกาสนั้นท่านราชทูตแต่งตัวอย่างเต็มยศตามธรรมเนียมไทย คือ สวมเสื้อเยียรบับ มีกลีบทองและดอกไม้ทอง และสวมเสื้อครุย         ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีประกาศพระราชกำหนดเสื้อครุยเมื่อวันที่   ๑   กรกฎาคม   ร ศ ๑๓๐   พ ศ ๒๔๕๔ กำหนดเสื้อครุยข้าราชการไว้ ๓ ชั้น เรียกว่า เสื้อครุยเสนามาตย์ แบ่งเป็นชั้นตรี โท เอก         นอกจากเสื้อครุยเสนามาตย์แล้ว   ยังมีเสื้อครุยอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า ครุยวิทยฐานะ ใช้สวมเป็นที่เชิดชูเกียรติของผู้ที่สำเร็จวิชาการจากมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยชั้นสูง อาจกล่าวได้ว่าเสื้อครุยวิทยฐานะมีขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยประมาณ   เมื่อ   ร ศ ๑๑๖ พ ศ ๒๔๔๐ ในสมัยที่พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ พระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่   ๕   ภายหลังทรงกรมเป็นกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์   เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม โดยให้ผู้ที่สอบไล่วิชากฎหมายได้เป็นเนติบัณฑิตมีสิทธิสวมเสื้อครุย   ซึ่งครั้งนั้นเรียกว่า เสื้อเนติบัณฑิต         ครั้น พ ศ ๒๔๗๓ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระราชกำหนดเสื้อครุยบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ ศ ๒๔๗๓   เพื่อ   “ นิสิตที่เล่าเรียนสำเร็จตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย และได้รับปริญญานั้น   ควรมีโอกาสใช้เสื้อครุยมหาวิทยาลัยเป็นที่เชิดชูเกียรติให้เข้ารูปเยี่ยงนิสิตในสถานอุดมศึกษาทั้งหลายในนานาประเทศ ”   นับจากนั้นมา บัณฑิตจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ   จึงสวมครุยเมื่อเข้ารับพระราชทานปริญญาในพิธีประสาทปริญญาบัตร “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”

 

“”””____ ตาม​ พรบ.เสื้อครุยเนติบัณฑิต​ พ.ศ.๒๔๗๙ มาตรา​ ๕​ บอกว่า​ “””#ห้ามมิให้สวมเสื้อครุยเนติบัณฑิตในเวลาที่เป็นจำเลยในคดีอาญา ….”””

ข้อบังคับสภาทนายความ​ ว่าด้วย มรรยาททนายความ​ พ.ศ.๒๕๒๙ ออกตามความใน​ พรบ.ทนายความ​ พ.ศ.๒๕๒๘ ข้อ​ ๒๐ (๔) บอกว่า​ “”” ในขณะว่าความทนายความที่มีสิทธิสวมเสื้อครุยเนติบัณฑิต​ #ต้องสวมเสื้อครุยนั้นด้วย “”””

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย​ พ.ศ.๒๕๖๐ มาตรา​ ๒๙​ วรรคสอง​ บอกว่า “”” ในคดีอาญา​ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิดและก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด​ #จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้​ “””

🔥กรณีทนายความตกเป็นจำเลย และใส่ชุดผู้ต้องขังมาศาล และจะต้องทำการเป็นทนายความ​ #ถ้าศาลจะอนุญาต ให้ทนายความที่ใส่ชุดผู้ต้องขังทำหน้าที่ทนายความและอนุญาตให้สวมชุดครุยเนติบัณฑิต​ #ศาลจะต้องอ้างหลักการของรัฐธรรมนูญอันถือเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เพื่อรับรองให้ทนายความที่ตกเป็นจำเลยสามารถทำหน้าที่ทนายความและสวมครุยเนติฯได้​ _____”””

#คดีโลกคดีธรรม

———————

ในฐานะสามัญสมาชิกตลอดชีพแห่งเนติบัณฑิตยสภามีศักดิ์และสิทธิ์ที่จะสวมครุยเนติบัณฑิต อย่างเต็มภาคภูมิ

  • ผู้มีสิทธิ์สวมครุย เนติบัณฑิต ก็คือผู้เป็นสามัญสมาชิกซึ่งต้องสอบได้เป็นเนติบัณฑิตไทย ยกเว้น วิสามัญสมาชิก ปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต จาก 5 สถาบัน (มสธ. , มช. , รามฯ , จุฬาฯ , ธรรมศาสตร์) และผู้ที่สอบผ่านวิชาว่าความจากสภาทนายความฯ
  • ในอดีต ไม่ว่าผู้พิพากษาอัยการหรือทนายความ ต้องสวมครุยในการปฏิบัติหน้าที่ในศาล
  • เสื้อครุยเป็นเครื่องหมายแห่งเกียรติยศและภูมิปัญญาวิชาคุณ ไม่ใช่ของเล่นที่ใส่โชว์หรือถ่ายรูปอวดกัน
  • ในกรณี เป็นตัวความเองมีสิทธิ์ที่จะว่าความให้ตัวเองได้ จึงไม่ต้องสวมครุย
  • การมีสิทธิ์สวมครุยเนติบัณฑิต จึงต้องธำรงรักษาไว้ซึ่งเกียรติยศและศักดิ์ศรี แห่งครุยเนติบัณฑิตนั้น เพราะเป็นประกาศนียบัตรพระราชทาน ซึ่งในอดีตนั้นพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปพระราชทานด้วยพระองค์เองและในค่ำนั้นก็จะทรงเป็นองค์ประธานในงานสันนิบาตสโมสรเนติบัณฑิต และทรงพระเมตตาให้ความใกล้ชิดปฏิสันถารกับเนติบัณฑิต ที่ร่วมงานสันนิบาตสโมสรนั้น
  • พระเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จประทับบนพระราชบัลลังก์นั่งพิจารณาคดีความในศาลด้วยพระองค์เอง ท่ามกลางองค์คณะผู้พิพากษา ก็จะทรงครุยเนติบัณฑิตนี้
  •  ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาอื่นๆ เมื่อประกอบ วิชาชีพของตน ไม่ต้องสวมครุย มีก็แต่เฉพาะ วิชาชีพกฎหมายเท่านั้น ไม่ว่าผู้พิพากษาตุลาการอัยการและทนายความ อยู่ในบังคับต้องสวมครุย
  • ผู้มีสิทธิ์สวมครุยเนติบัณฑิต จึงต้องธำรงรักษาไว้ซึ่งเกียรติยศนี้
  • ผู้ที่ถูกสภาทนายความเพิกถอนใบอนุญาตทนายความ ไม่สามารถว่าความให้ผู้อื่นได้ แต่ว่าความให้ตัวเองได้ ซึ่งถ้าว่าความให้ตัวเองก็ไม่ต้องสวมครุย

ครุย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ครุย เป็นเสื้อคลุมประเภทหนึ่ง มีลักษณะหลวม ยาวถึงเข่าหรือทั้งตัว ใช้สวมหรือคลุมทับด้านนอก ทั้งชายและหญิงในยุโรปใส่ครุยกันมาตั้งแต่ยุคกลางตอนต้นจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ปัจจุบันครุยยังคงใช้สวมใส่เพื่อแสดงตำแหน่งฐานะในอาชีพที่มีรากฐานย้อนไปได้ถึงยุคกลาง เช่น ผู้พิพากษา ในวงวิชาการ ครุยยังใช้เพื่อแสดงวิทยฐานะอีกด้วย

ครุยในประเทศไทย

ในประเทศไทย, ครุยเป็นเสื้อคลุมประดับเกียรติยศ สวมทับบนเครื่องแบบเต็มยศตามหน้าที่ในพระราชพิธี ซึ่งมีหมายรับสั่งให้สวมครุย มี 3 แบบคือ ครุยพระราชวงศ์ ครุยเสนามาตย์ และครุยตำแหน่ง

ครุยพระราชวงศ์ เป็นฉลองพระองค์ครุยสำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ สำหรับฉลองพระองค์ครุยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นเรียกกันว่า ฉลองพระองค์บรมราชภูษิตาภรณ์

ครุยเสนามาตย์ ตามความในมาตรา 5 ของพระราชกำหนดเสื้อครุย (เพิ่มเติม) พุทธศักราช 2457 มีความว่า ผู้ซึ่งจะสวมครุยได้โดยบรรดาศักดิ์นั้น คือ ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงนับตั้งแต่ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า หรือจุลวราภรณ์ หรือจุลสุราภรณ์ขึ้นไป

ครุยตำแหน่ง ตามมาตรา 6 ของพระราชกำหนดเสื้อครุย (เพิ่มเติม) พุทธศักราช 2457 ได้กำหนดว่าผู้ที่จะสวมเสื้อนั้น คือ (ก) ผู้พิพากษาทุกชั้นให้สวมเสื้อครุยในเวลาแต่งเต็มยศทุกเมื่อ (ข) พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการผู้อ่านประกาศหรืออ่านคำถวายชัยมงคลในชั่วเวลาเฉพาะกาล และ (ค) ข้าราชการเข้าในหน้าที่พระราชพิธีอันมีกำหนดให้สวมเสื้อครุย เสื้อครุยเสนามาตย์มี 3 ชั้นคือ ชั้นเอก ชั้นโท และชั้นตรี ได้มีการกำหนดไว้แน่นอนว่าตำแหน่งและยศใดมีสิทธิ์สวมเสื้อครุยชั้นใด

นอกเหนือจากครุยที่ใช้สวมในพระราชพิธีแล้ว ยังมีครุยอีกสามสถาบัน ได้แก่

  1. ครุยอาจารย์และครุยครูของโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (วชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแก่ผู้ตรวจการพิเศษ กรรมการ อาจารย์ และครูของโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2456 ต่อมาได้พระราชทานแก่โรงเรียนที่อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์อีก 3 แห่ง (โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่ โรงเรียนราชวิทยาลัย โรงเรียนพรานหลวง)
  2. ครุยเนติบัณฑิต ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่สมาชิกเนติบัณฑิตยสภา เมื่อ พ.ศ. 2457
  3. ครุยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้เมื่อ พ.ศ. 2473

ครุยของสามสถาบันนี้นอกเหนือจากครุยของโรงเรียนวชิราวุธฯ ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ได้มีพระราชกำหนดว่าด้วยครุยของทั้งเนติบัณฑิตยสภา และของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ครุยวิทยฐานะ

ครุยวิทยฐานะไทยนั้นเป็นชุดพิธีการ ใช้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรซึ่งเป็นเครื่องแสดงวิทยฐานะทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยนั้น ๆ การที่มหาวิทยาลัยจะกำหนดรูปแบบและระเบียบในการสวมชุดครุยนั้น มหาวิทยาลัยจะต้องตรากฎขึ้นเป็นพระราชกฤษฎีกา

อ้างอิง

 

ครุย

 

 

 

 

 

0 0 votes
Article Rating
(Visited 19,607 times, 1 visits today)
Subscribe
Notify of
guest
2 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
นาวิน ขำแป้น
5 years ago

แถบพาดบ่าซ้ายของครุยเนติบัณฑิต” ที่ถูกต้องตาม
พ.ร.บ.เสื้อครุยเนติบัณฑิต พ.ศ. ๒๔๗๙ จะต้องเป็นไปตามมาตรา ๔ เท่านั้น กล่าวคือ

“มีแถบพื้นขาวลายทองพาดบ่าซ้าย”

ดังนั้น มีบางร้านที่ใช้แถบเป็นสีอื่นที่ไม่ใช่แถบสีทอง จึงได้ชื่อว่าเป็นชุดครุยที่ไม่ต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนด…