ประมวลกฎหมายอาญา มี 3 ภาค

ประมวลกฎหมายอาญา มี 3 ภาค

ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป – (มาตรา 1-106)

ภาค 2 ความผิด – (มาตรา 107-366/4)

ภาค 3 ลหุโทษ – (มาตรา 367-398)

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 ความผิดฐานปลอมเอกสาร

ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใดเติมหรือตัดทอนข้อความหรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในเอกสารที่แท้จริง หรือประทับตราปลอมหรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสาร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดกรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม หรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อื่นนั้น ถ้าได้กระทำเพื่อนำเอาเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชน ให้ถือว่าผู้นั้นปลอมเอกสารต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

คำฟ้อง กู้ยืมเงิน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 653
การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 กระทำความผิดด้วยความจำเป็น เพื่อให้ผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึง ไม่ต้องรับโทษ

ผู้ใดกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
(1) เพราะอยู่ในที่บังคับ หรือภายใต้อำนาจ ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ
(2) เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ เมื่อภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน
ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุแล้ว ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

คำร้องขอให้เป็นคนสาบสูญ

คำร้องขอให้เป็นคนสาบสูญ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 61 บัญญัติว่า
“ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลำเนาเดิมหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ตลอดระยะเวลา 5 ปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญก็ได้
ระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ลดเหลือ 2 ปี
(1) นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบหรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว
(2) นับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปาง ถูกทำลายหรือสูญหายไป
(3) นับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) หรือ (2) ได้ผ่านพ้นไป ถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น”

คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้ว จึงจะขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ แต่การจะขอตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก ผู้ที่มีสิทธิจะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก คือ ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกที่มีสิทธิรับมรดก เช่น บุตร บิดา มารดา คู่สมรสของเจ้ามรดก ผู้รับพินัยกรรมของเจ้ามรดก หรืออาจเป็นบุคคลภายนอก ผู้มีส่วนได้เสียก็ได้ เช่น เจ้าของร่วมในทรัพย์สินของเจ้ามรดก หรือพนักงานอัยการ

ผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดก ต้องบรรลุนิติภาวะแล้ว และไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ และไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย

การยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ต้องยื่นคำร้องที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลนั้นในขณะถึงแก่ความตายแต่ในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไทย ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตอำนาจศาล

ผู้จัดการมรดก เป็นตัวแทนของทายาททั้งหมด มีหน้าที่ในการรวบรวมทรัพย์มรดก แบ่งให้กับทายาท ทั้งมีอำนาจในการดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญา ต่อผู้ที่กระทำความเสียหายแก่กองมรดกด้วย

คำขอให้ชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย

หลักกฎหมาย ประมวลกฎหมายวิธีพิจ […]

คำร้องขอฟ้องคดีโดยยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล (อย่างคนอนาถา)

คำร้องขอฟ้องคดีโดยยกเว้นค่าธรร […]

คำร้องขอในเหตุฉุกเฉิน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 266

คำร้องขอในเหตุฉุกเฉิน ตามประมว […]

คำร้องขอหมายเรียกพยานบุคคล คดีแพ่ง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ […]

คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง

หลักการบรรยาย

1. คดีอยู่ในขั้นตอนใด
2. ขอแก้ข้อความจากคำฟ้องหน้าที่เท่าไร บรรทัดที่เท่าไร
3. ข้อความเดิมมีว่าอย่างไร
4. นอกจากที่แก้ไขใหม่ ให้คงเป็นไปตามคำฟ้องเดิมทุกประการ
5. เป็นการแก้ไขคำฟ้องเล็กน้อยเนื่องจากเหตุผลใด เช่น พิมพ์ผิดพลาด หรือ คำนวนตัวเลขผิดพลาด

คำร้องขอให้ชนะคดีโดยขาดนัด

การพิจารณาโดยขาดนัด อยู่ใน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ภาค 2 วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น
ลักษณะ 2 วิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้น
หมวด 2 การพิจารณาโดยขาดนัด
ส่วนที่ 1 การขาดนัดยื่นคำให้การ

คำร้องขอเรียกคู่ความเข้ามาแทนที่คู่ความผู้มรณะ

หลักการบรรยาย
1. โจทก์หรือจำเลยถึงแก่กรรมเมื่อไร
2. ทายาทของโจทก์หรือจำเลยผู้มรณะคือไคร
3. ขอให้ศาลหมายเรียกทายาทของโจทก์หรือจำเลยผู้มรณะเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่

คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 254

คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว ตามปร […]

คำแถลงขอให้ปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ […]

ป้องกัน: คำแถลงขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม

ไม่มีคำเกริ่นนำเพราะว่านี่เป็นเรื่องที่ถูกป้องกัน

คำแถลงขอคัดคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147
    “คำพิพากษาหรือคำสั่งใด ซึ่งตามกฎหมายจะอุทธรณ์หรือฎีกาหรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้นั้น ให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านเป็นต้นไป
     คำพิพากษาหรือคำสั่งใด ซึ่งอาจอุทธรณ์ฎีกา หรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ได้นั้นถ้ามิได้อุทธรณ์ฎีกา หรือร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายในเวลาที่กำหนดไว้ ให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาเช่นว่านั้นได้สิ้นสุดลง ถ้าได้มีอุทธรณ์ฎีกา หรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาหรือศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาคดีเรื่องนั้นใหม่ มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 132 คำพิพากษาหรือคำสั่งเช่นว่านั้น ให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่วันที่มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ
     คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาคดีนั้น ให้ออกใบสำคัญแสดงว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว”

คำแถลงขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องทางไปรษณีย์

คำแถลงขอให้ส่งหมายเรียกและสำเน […]

คำร้องขอหมายเรียกพยานบุคคล

ตัวอย่างการเขียน หมายเรียกพยาน […]

ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ

ขอถอนฟ้องเพื่อเข้าเป็นโจทก์ร่ว […]

แจ้งความร้องทุกข์ (คำร้องทุกข์)

สาระสำคัญของคำร้องทุกข์ที่ลืมไม่ได้ คือ ต้องให้พนักงานสอบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หากเพียงมาแจ้งความไว้เป็นหลักฐานไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์

พินัยกรรม

พินัยกรรมแบ่งออกเป็น 6 แบบ คือ
1. พินัยกรรมแบบธรรมดา
2. พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
3. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
5. พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา
6. พินัยกรรมแบบทำตามกฎหมายต่างประเทศ

สัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 850, 851, 852

    สัญญาประนีประนอม […]

สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาต […]

การเขียนคำร้องขอให้ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์

ประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 1382
” บุคคลใดครองครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ โดยความสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ “

สัญญาประนีประนอมยอมความในศาล [แบบพิมพ์ศาล หมายเลข (๒๙)]

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๓๘ บัญญัติว่า
” ในคดีที่คู่ความตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดี โดยมิได้มีการถอนคำฟ้องนั้น และข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความกันนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ให้ศาลจดรายงานพิสดารแสดงข้อความแห่งข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความเหล่านั้นไว้แล้วพิพากษาไปตามนั้น

ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาเช่นว่านี้ เว้นแต่ในเหตุต่อไปนี้

(๑) เมื่อมีข้อกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล

(๒) เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

(๓) เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่ามิได้เป็นไปตามข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความ

ถ้าคู่ความตกลงกันเพียงแต่ให้เสนอคดีต่ออนุญาโตตุลาการ ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับ “

ป้องกัน: การยื่นบัญชีระบุพยาน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88

ไม่มีคำเกริ่นนำเพราะว่านี่เป็นเรื่องที่ถูกป้องกัน

สัญญากู้เงิน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 653  การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
         ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว

ตอบข้อสอบกฎหมายอาญา

ตอบข้อสอบกฎหมายอย่างไรให้ได้คะแนน กฎหมาย อาญา แก้ไขเพิ่มเติมล่าสุด 2560

อาจารย์ สมชาย พงษ์พัฒนาศิลป์

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 ผู้สนับสนุน

ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่น กระทำความผิด ก่อนหรือขณะกระทำความผิด แม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม ผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กำหนดไว้สำรับความผิดที่สนับสนุนนั้น

คดีแพ่ง มี 2 ประเภท

คดีแพ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ค […]

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172

คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ […]

ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 4

กฎหมายนั้น ต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่ง ต้องด้วยบทบัญญัติใด ๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษร หรือ ตาม

ความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้น ๆ

เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น

ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดี อาศัย เทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง

และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 มาตรา 68 มาตรา 72

มาตรา 67      กระทำความผิดด้วยความจำเป็น ไม่ต้องรับโทษ

มาตรา 68      ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีความผิด

มาตรา 72       บันดาลโทสะ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงไดก็ได้

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 บันดาลโทสะ

ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้

20 กุมภาพันธ์ วันทนายความ

วันที่ 20 กุมภาพันธ์  ของทุกปีเป็น “วันทนายความ”

พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528  ก่อตั้ง สภาทนายความ

พ.ศ. 2500 ก่อตั้งสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยขึ้น โดยจดทะเบียนก่อตั้ง เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500

พ.ศ.2528 ออกประกาศใช้เป็นกฎหมาย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2528 และมีผลบังคับใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่น ให้พ้นจากภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 กระทำความผิดด้วยความจำเป็น

ผู้ใดกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
(1) เพราะอยู่ในที่บังคับ หรือภายใต้อำนาจ ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ
(2) เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ เมื่อภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน
ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุแล้ว ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ