กำหนดการสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความภาคปฏิบัติ รุ่นที่ 61

** 19 พฤษภาคม 2567 : วันสอบ **

วันที่ 1-10 พฤษภาคม 2567, เวลา 9.00 – 16.00 น.
บรรยายภาคปฏิบัติ รุ่นที่ 61

* วันที่ 19 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.30 – 17.30 น.**
กำหนดสอบ ภาคปฏิบัติ

กำหนดการสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความภาคทฤษฎี รุ่นที่ 63

** 4 สิงหาคม 2567 : วันสอบ **
กำหนดการสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ รุ่นที่ 63 สอบภาคทฤษฎีในวันที่ 4 สิงหาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง อบรมภาคทฤษฎีในวันที่ 10-21, 26-30 มิถุนายน 2567

ผลสอบทนายความ สำหรับผู้ผ่านการฝึกงานในสำนักงาน ครั้งที่ 1/2567

ตามที่สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ แห่งสภาทนายความในพระบรมราชปถัมภ์ได้จัดให้มีการทดสอบผู้ผ่านการฝึกหัด
งานในสำนักงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
หัวหมาก กรุงเทพมหานคร ปรากฎผลการทดสอบดังนี้

ผู้ลงทะเบียนทดสอบ    จำนวน  1,309 คน
ผู้เข้ารับการทดสอบ      จำนวน  1,152 คน
ผู้ขาดการทดสอบ    จำนวน  157 คน
ผู้ผ่านการทดสอบ    จำนวน  73 คน
ผู้ไม่ผ่านการทดสอบ  จำนวน  1,079 คน

ผลสอบทนายความ ภาคทฤษฎี รุ่นที่ 62

ตามที่สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ แห่งสภาทนายความในพระบรมราชปถัมภ์ได้จัดให้มีการทดสอบทนายความ ภาคทฤษฎีรุ่นที่ 62 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2567 ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
หัวหมาก กรุงเทพมหานคร ปรากฎผลการทดสอบดังนี้

ผู้สมัครเข้ารับการอบรม    จำนวน     7,151 คน
ผู้เข้ารับการทดสอบ      จำนวน     5,825 คน
ผู้ขาดการทดสอบ    จำนวน    1,326 คน
ผู้ผ่านการทดสอบ   จำนวน    2,033 คน
ผู้ไม่ผ่านการทดสอบ  จำนวน  3,792 คน

กำหนดการสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ สำหรับผู้ผ่านการฝึกหัดงานในสำนักงานทนายความมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ครั้งที่ 1/2567

เปิดรับลงทะเบียนในระหว่างวันที่ 1-16 กุมภาพันธ์ 2567
กำหนดสอบ วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม 2567 เวลา 13.30 – 17.30

กำหนดการสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความภาคทฤษฎี รุ่นที่ 62

** 25 กุมภาพันธ์ 2567 : วันสอบ **
กำหนดการสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ รุ่นที่ 62 สอบภาคทฤษฎีในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2567 ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง อบรมภาคทฤษฎีในวันที่ 10-20, 22-26 มกราคม 2567

ผลสอบทนายความ ภาคปฏิบัติ รุ่นที่ 60

ตามที่สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ แห่งสภาทนายความในพระบรมราชปถัมภ์ได้จัดให้มีการทดสอบ ทนายความภาคปฏิบัติ รุ่นที่ 60 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2566 ปรากฎผลการทดสอบดังนี้

ผู้ลงทะเบียนสอบทั้งหมด    จำนวน     4,982 คน
ผู้เข้ารับการทดสอบ      จำนวน     4,358 คน
ผู้ขาดการทดสอบ    จำนวน    624 คน
ผู้ผ่านการทดสอบ   จำนวน    1,353 คน
ผู้ไม่ผ่านการทดสอบ  จำนวน  3,005 คน

ผลสอบทนายความ ภาคทฤษฎี รุ่นที่ 61

ตามที่สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ แห่งสภาทนายความในพระบรมราชปถัมภ์ได้จัดให้มีการทดสอบภาคทนายความทฤษฎีรุ่นที่ 61 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหงหัวหมาก กรุงเทพมหานคร ปรากฎผลการทดสอบดังนี้

ผู้สมัครเข้ารับการอบรม    จำนวน     8,235 คน
ผู้เข้ารับการทดสอบ      จำนวน     6,607 คน
ผู้ขาดการทดสอบ    จำนวน    1,628 คน
ผู้ผ่านการทดสอบ   จำนวน    753 คน
ผู้ไม่ผ่านการทดสอบ  จำนวน  5,854 คน

กำหนดการสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความภาคปฏิบัติ รุ่นที่ 60

** 12 พฤศจิกายน 2566 : วันสอบ **

วันที่ 27-31 ตุลาคม 2566,1-5 พฤศจิกายน 2566 เวลา 9.00 – 16.30 น.
บรรยายภาคปฏิบัติ รุ่นที่ 60

วันที่ 1-7 พฤศจิกายน 2566
ลงทะเบียนสอบ

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.30 – 17.30 น.
กำหนดสอบ ภาคปฏิบัติ

กำหนดการ โครงการอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมและฝึกทักษะแก่ผู้สอบทนายความ ภาคทฤษฎี รุ่นที่ 61

เตรียมความพร้อมและฝึกทักษะแก่ผู้สอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ ภาคทฤษฎี รุ่นที่ 61
วันเสาร์ที่ 9 กันยายน 2566 เวลา 08.30 – 16.30 น.
ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 4 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม
และถ่ายทอดผ่านระบบออนไลน์ (Zoom)
หมายเลขห้อง (Meeting ID) : 983 6106 8276 รหัสเข้าห้อง (Passcode) : 830341

กำหนดการสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ สำหรับผู้ผ่านการฝึกหัดงานในสำนักงานทนายความมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ครั้งที่ 3/2566

เปิดรับลงทะเบียนในระหว่างวันที่ 4 – 15 กันยายน 2566

เอกสารประกอบการลงทะเบียนทดสอบ

– กรณียังไม่เคยเข้าทดสอบ
1. ใบรับรองการฝึกหัดงานครบ 1 ปี
2. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว (ไม่เกิน 6 เดือน) จำนวน 3 รูป
3. ค่าธรรมเนียมการสอบ 1,500.-บาท
4. ใบนัดการฝึกหัดงาน

– กรณีเคยเข้าทดสอบแล้ว
1. บัตรสอบครั้งล่าสุด
2. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว (ไม่เกิน 6 เดือน) จำนวน 3 รูป
3. ค่าธรรมเนียมการสอบ 1,500.-บาท

ไม่รับทางไปรษณีย์ สามารถให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทนได้

ผลสอบทนายความ สำหรับผู้ผ่านการฝึกงานในสำนักงาน ครั้งที่ 2/2566

ตามที่สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ แห่งสภาทนายความในพระบรมราชปถัมภ์ได้จัดให้มีการทดสอบผู้ผ่านการฝึกหัด
งานในสำนักงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 2 กรกฏาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
หัวหมาก กรุงเทพมหานคร ปรากฎผลการทดสอบดังนี้

ผู้ลงทะเบียนทดสอบ    จำนวน  1,177 คน
ผู้เข้ารับการทดสอบ      จำนวน  1,055 คน
ผู้ขาดการทดสอบ    จำนวน  122 คน
ผู้ผ่านการทดสอบ    จำนวน  129 คน
ผู้ไม่ผ่านการทดสอบ  จำนวน  926 คน

ขอแสดงความยินดีกับ “นางสาวมาลินี วัชราสิน” สอบผ่าน ทนายความ รุ่นที่ 59

ขอแสดงความยินดีกับ “นางสาวมาลินี วัชราสิน” สอบผ่าน ทนายความ รุ่นที่ 59

ผลสอบทนายความ ภาคปฏิบัติ รุ่นที่ 59

ตามที่สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ แห่งสภาทนายความในพระบรมราชปถัมภ์ได้จัดให้มีการทดสอบ ทนายความภาคปฏิบัติ รุ่นที่ 59 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2566 ปรากฎผลการทดสอบดังนี้

ผู้ลงทะเบียนสอบทั้งหมด    จำนวน     2,788 คน
ผู้เข้ารับการทดสอบ      จำนวน     2,332 คน
ผู้ขาดการทดสอบ    จำนวน    456 คน
ผู้ผ่านการทดสอบ   จำนวน    1,253 คน
ผู้ไม่ผ่านการทดสอบ  จำนวน  1,079 คน

กำหนดการสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความภาคทฤษฎี รุ่นที่ 61

** 17 กันยายน 2566 : วันสอบ **
กำหนดการสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ รุ่นที่ 61 สอบภาคทฤษฎีในวันที่ 17 กันยายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง อบรมภาคทฤษฎีในวันที่ 8-18, 21-25, 28-30 สิงหาคม 2566, 4-9 กันยายน 2566

กำหนดการสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความภาคปฏิบัติ รุ่นที่ 59

** 23 เมษายน 2566 : วันสอบ **

วันที่ 7-11,13-17 มีนาคม 2566 เวลา 9.00 – 16.30 น.
บรรยายภาคปฏิบัติ รุ่นที่ 59

วันที่ 9-15 มีนาคม 2566
ลงทะเบียนสอบ

วันที่ 23 เมษายน 2566 เวลา 13.30 – 17.30 น.
กำหนดสอบ ภาคปฏิบัติ

ผลสอบทนายความ สำหรับผู้ผ่านการฝึกงานในสำนักงาน ครั้งที่ 1/2566

ตามที่สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ แห่งสภาทนายความในพระบรมราชปถัมภ์ได้จัดให้มีการทดสอบผู้ผ่านการฝึกหัด
งานในสำนักงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566 ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
หัวหมาก กรุงเทพมหานคร ปรากฎผลการทดสอบดังนี้

ผู้ลงทะเบียนทดสอบ    จำนวน  1,133 คน
ผู้เข้ารับการทดสอบ     จำนวน  1,045 คน
ผู้ขาดการทดสอบ   จำนวน    88 คน
ผู้ผ่านการทดสอบ    จำนวน    66 คน
ผู้ไม่ผ่านการทดสอบ  จำนวน  979 คน

ทบทวน สรุปย่อ สอบทนายความ ภาคปฏิบัติ

รวบรวมมาให้แล้ว Sheet สรุป เตรียมสอบใบอนุญาตทนายความ ทบทวน สรุปย่อ เตรียมความพร้อมก่อนสอบภาคปฏิบัติ
แถม ฟรี!!! แบบพิมพ์ศาลใช้ฝึกเขียนพร้อมหมุดเย็บสำนวน
ค่าส่ง ฟรี!!!

กำหนดการสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความภาคทฤษฎี รุ่นที่ 60

** 12 มีนาคม 2566 : วันสอบ **
กำหนดการสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ รุ่นที่ 60 สอบภาคทฤษฎีในวันที่ 12 มีนาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สถิติข้อสอบเก่า สอบใบอนุญาตทนายความภาคทฤษฎี

สถิติข้อสอบเก่า สอบใบอนุญาตทนายความภาคทฤษฎี
– ฟ้องแพ่ง
– ฟ้องอาญา
– คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
– คำร้องขอให้เป็นคนสาบสูญ
– คำร้องขอให้ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์
– คำร้องขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้โจทก์ชนะคดีโดยขาดนัด
– คำร้อง/คำบอกกล่าว ขอถอนฟ้อง
– คำร้องขอรวมคดี
– คำร้องขอเลื่อนคดี
– คำร้องขอหมายเรียกพยานบุคคล
– คำร้องขอให้ชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย
– คำร้องขอขยายระยะเวลา
– คำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
– คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว
– คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวกรณีฉุกเฉิน
– คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง
– คำร้องขอเรียกคู่ความเข้ามาแทนที่คู่ความผู้มรณะ
– คำร้องขอดำเนินคดีต่างผู้ตาย
– คำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ
– คำร้องทุกข์ (แจ้งความ ร้องทุกข์)
– คำแถลงขอให้ปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
– คำแถลงขอปิดหมายและส่งหมายข้ามเขต
– คำแถลงขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม
– คำแถลงขอคัดคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล
– คำแถลงขอรับเงินค่าขึ้นศาลคืน
– หนังสือบอกกล่าวทวงถาม (Notice)
– หนังสือบอกเลิกสัญญา
– หนังสือให้ความยินยอมในการร้องจัดการมรดก
– หนังสือบอกกล่าวบังคับจำนอง
– หนังสือมอบอำนาจ
– หนังสือให้คำปรึกษากฎหมาย
– สัญญากู้ยืมเงิน
– หนังสือสัญญาเช่าบ้าน
– หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
– หนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาล
– หนังสือรับสภาพหนี้
– พินัยกรรม
– มรรยาททนายความ

ชีตสรุป แบบฝึกหัด สอบทนายความ ภาคทฤษฎี

Sheet สรุป เตรียมสอบใบอนุญาตทนายความ ทบทวน สรุปย่อ เตรียมความพร้อมก่อนสอบ
แถม สมุดฝึกเขียน ฟรี!!!

ติวสอบทนายความ

เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังเรียนนิติศาสตร์อยู่ และ ต้องการปูพื้นฐานเพื่อก้าวสู่อาชีพทนายความในอนาคต หรือผู้ที่กำลังวางแผนสอบทนายความภาคทฤษฏี

1. เอกสารที่ใช้ในการฝึก ส่งไปให้ที่บ้าน
2. เรียน Online ทาง Google Meet ทุกวันเสาร์ เวลา 10.00 น.
3. นัดติวแบบส่วนตัว (Offline) ได้เดือนละ 1 ครั้ง (ณ. สำนักงานทนายความ นาวิน ขำแป้น)
4. มี Course เก็บตัวติวเข้ม (3 วัน 2 คืน ณ Resort ส่วนตัว)

ทนายความ 49 รับประกาศนียบัตร

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2561 สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ แห่งสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดให้มีพิธีมอบประกาศนียบัตร ผู้ผ่านการอบรมวิชาว่าความ รุ่นที่ 49 และผู้ผ่านการทดสอบกรณีฝึกหัดงานในสำนักงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ประจำปี พ.ศ. 2561 ครั้งที่ 2/2561 และครั้งที่ 3/2561 โดยจัดขึ้น ณ หอประชุมอาคารภัทรมหาราช มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ในช่วงเช้า สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความฯ ได้จัดให้มีการอบรมจริยธรรม ในหัวข้อ “จริยธรรมในการประกอบวิชาชีพทนายความ” โดย พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ และว่าที่ ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ อบรม หัวข้อ “จริยธรรมมรรยาททนายความ” ให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมฯ ได้รับทราบถึงการปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบของจริยธรรม และศีลธรรมอันดีของวิชาชีพทนายความและผดุงความยุติธรรม เพื่อรับใช้ประชาชน และในช่วงบ่ายมีพิธีมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ผ่านการอบรมวิชาว่าความฯ โดยมี ศาสตราจารย์ (พิเศษ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ องคมนตรี ให้เกียรติมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ผ่านการอบรมวิชาว่าความฯ พร้อมด้วยว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ, ว่าที่พันตรี สมบัติ วงศ์กำแหง ผู้อำนวยการสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ แห่งสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์, นายดำรงศักดิ์ เครือแก้ว อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ, นายเกษม รังสุวรรณ์ เหรัญญิก/รองเลขาธิการ, นายชัยวัธน์ ประจงใจ นายทะเบียน, นางสาวเสาวรียา ไชยยังธัญทวี กรรมการฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย/ปฏิคม, นายเกียรติศักดิ์ เหลืองอังกูร กรรมการสวัสดิการ, ดร.สมพงษ์ สิงห์สมบุญ กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 1, นายนิพนธ์ จันทเวช กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 6, นายนุกูล สิริสุวรรณ์ กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 7 และคณะกรรมการสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความฯ เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้มีผู้ผ่านการฝึกอบรมวิชาว่าความ รุ่นที่ 49 และผู้รักษาสถานภาพฯ มีจำนวน 739 คน กรณีผู้ผ่านการฝึกหัดงานในสำนักงานแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ประจำปี พ.ศ. 2561 ครั้งที่ 2/2561 จำนวน 25 คน และครั้งที่ 3/2561 จำนวน 198 คน และกรณีสมทบ 42 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,004 คน.

ติวสอบ ทนายความ 49 (7 กันยายน 2561)

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2561 คณะกรรมการทนายความ รุ่นที่ 49 ได้จัดติวผู้อบรมวิชาว่าความภาคปฏิบัติ ณ ห้อง 3202 ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ มหาวิทยาลัยเกริก

คำฟ้อง กู้ยืมเงิน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 653
การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว

คำร้องขอให้เป็นคนสาบสูญ

คำร้องขอให้เป็นคนสาบสูญ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 61 บัญญัติว่า
“ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลำเนาเดิมหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ตลอดระยะเวลา 5 ปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญก็ได้
ระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ลดเหลือ 2 ปี
(1) นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบหรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว
(2) นับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปาง ถูกทำลายหรือสูญหายไป
(3) นับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) หรือ (2) ได้ผ่านพ้นไป ถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น”

คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้ว จึงจะขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ แต่การจะขอตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก ผู้ที่มีสิทธิจะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก คือ ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกที่มีสิทธิรับมรดก เช่น บุตร บิดา มารดา คู่สมรสของเจ้ามรดก ผู้รับพินัยกรรมของเจ้ามรดก หรืออาจเป็นบุคคลภายนอก ผู้มีส่วนได้เสียก็ได้ เช่น เจ้าของร่วมในทรัพย์สินของเจ้ามรดก หรือพนักงานอัยการ

ผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดก ต้องบรรลุนิติภาวะแล้ว และไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ และไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย

การยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ต้องยื่นคำร้องที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลนั้นในขณะถึงแก่ความตายแต่ในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไทย ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตอำนาจศาล

ผู้จัดการมรดก เป็นตัวแทนของทายาททั้งหมด มีหน้าที่ในการรวบรวมทรัพย์มรดก แบ่งให้กับทายาท ทั้งมีอำนาจในการดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญา ต่อผู้ที่กระทำความเสียหายแก่กองมรดกด้วย

คำขอให้ชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย

หลักกฎหมาย ประมวลกฎหมายวิธีพิจ […]

คำร้องขอฟ้องคดีโดยยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล (อย่างคนอนาถา)

คำร้องขอฟ้องคดีโดยยกเว้นค่าธรร […]

คำร้องขอในเหตุฉุกเฉิน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 266

คำร้องขอในเหตุฉุกเฉิน ตามประมว […]

คำร้องขอหมายเรียกพยานบุคคล คดีแพ่ง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ […]

คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง

หลักการบรรยาย

1. คดีอยู่ในขั้นตอนใด
2. ขอแก้ข้อความจากคำฟ้องหน้าที่เท่าไร บรรทัดที่เท่าไร
3. ข้อความเดิมมีว่าอย่างไร
4. นอกจากที่แก้ไขใหม่ ให้คงเป็นไปตามคำฟ้องเดิมทุกประการ
5. เป็นการแก้ไขคำฟ้องเล็กน้อยเนื่องจากเหตุผลใด เช่น พิมพ์ผิดพลาด หรือ คำนวนตัวเลขผิดพลาด

คำร้องขอให้ชนะคดีโดยขาดนัด

การพิจารณาโดยขาดนัด อยู่ใน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ภาค 2 วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น
ลักษณะ 2 วิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้น
หมวด 2 การพิจารณาโดยขาดนัด
ส่วนที่ 1 การขาดนัดยื่นคำให้การ

คำร้องขอเรียกคู่ความเข้ามาแทนที่คู่ความผู้มรณะ

หลักการบรรยาย
1. โจทก์หรือจำเลยถึงแก่กรรมเมื่อไร
2. ทายาทของโจทก์หรือจำเลยผู้มรณะคือไคร
3. ขอให้ศาลหมายเรียกทายาทของโจทก์หรือจำเลยผู้มรณะเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่

คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 254

คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว ตามปร […]

คำแถลงขอให้ปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ […]

ป้องกัน: คำแถลงขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม

ไม่มีคำเกริ่นนำเพราะว่านี่เป็นเรื่องที่ถูกป้องกัน

คำแถลงขอคัดคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147
    “คำพิพากษาหรือคำสั่งใด ซึ่งตามกฎหมายจะอุทธรณ์หรือฎีกาหรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้นั้น ให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านเป็นต้นไป
     คำพิพากษาหรือคำสั่งใด ซึ่งอาจอุทธรณ์ฎีกา หรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ได้นั้นถ้ามิได้อุทธรณ์ฎีกา หรือร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายในเวลาที่กำหนดไว้ ให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาเช่นว่านั้นได้สิ้นสุดลง ถ้าได้มีอุทธรณ์ฎีกา หรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาหรือศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาคดีเรื่องนั้นใหม่ มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 132 คำพิพากษาหรือคำสั่งเช่นว่านั้น ให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่วันที่มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ
     คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาคดีนั้น ให้ออกใบสำคัญแสดงว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว”

คำแถลงขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องทางไปรษณีย์

คำแถลงขอให้ส่งหมายเรียกและสำเน […]

คำร้องขอหมายเรียกพยานบุคคล

ตัวอย่างการเขียน หมายเรียกพยาน […]

ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ

ขอถอนฟ้องเพื่อเข้าเป็นโจทก์ร่ว […]

แจ้งความร้องทุกข์ (คำร้องทุกข์)

สาระสำคัญของคำร้องทุกข์ที่ลืมไม่ได้ คือ ต้องให้พนักงานสอบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หากเพียงมาแจ้งความไว้เป็นหลักฐานไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์

พินัยกรรม

พินัยกรรมแบ่งออกเป็น 6 แบบ คือ
1. พินัยกรรมแบบธรรมดา
2. พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
3. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
5. พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา
6. พินัยกรรมแบบทำตามกฎหมายต่างประเทศ

สัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 850, 851, 852

    สัญญาประนีประนอม […]

สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาต […]

การเขียนคำร้องขอให้ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์

ประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 1382
” บุคคลใดครองครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ โดยความสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ “

สัญญาประนีประนอมยอมความในศาล [แบบพิมพ์ศาล หมายเลข (๒๙)]

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๓๘ บัญญัติว่า
” ในคดีที่คู่ความตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดี โดยมิได้มีการถอนคำฟ้องนั้น และข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความกันนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ให้ศาลจดรายงานพิสดารแสดงข้อความแห่งข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความเหล่านั้นไว้แล้วพิพากษาไปตามนั้น

ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาเช่นว่านี้ เว้นแต่ในเหตุต่อไปนี้

(๑) เมื่อมีข้อกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล

(๒) เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

(๓) เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่ามิได้เป็นไปตามข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความ

ถ้าคู่ความตกลงกันเพียงแต่ให้เสนอคดีต่ออนุญาโตตุลาการ ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับ “

ป้องกัน: ถอดเทปจากการบรรยายการฝึกอบรมเพื่อ สอบ ทนายความ ภาคปฏิบัติรุ่น 48

ไม่มีคำเกริ่นนำเพราะว่านี่เป็นเรื่องที่ถูกป้องกัน

สัญญากู้เงิน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 653  การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
         ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว

ป้องกัน: หนังสือให้คำปรึกษากฎหมาย

ไม่มีคำเกริ่นนำเพราะว่านี่เป็นเรื่องที่ถูกป้องกัน

ป้องกัน: หนังสือบอกกล่าวทวงถาม

ไม่มีคำเกริ่นนำเพราะว่านี่เป็นเรื่องที่ถูกป้องกัน

ผลสอบภาคปฏิบัติทนายความรุ่นที่ 47

ผลสอบภาคปฏิบัติทนายความรุ่นที่ […]

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172

คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น