ประมวลกฎหมายอาญา ฉบับอิเล็กทรอนิกส์

ประมวลกฎหมายอาญา ฉบับอิเล็กทรอนิกนี้ ปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติมความถูกต้องของเนื้อหาอย่างสม่ำเสมอ และยังคิดค้นพัฒนา นำเทคโนโลยีมาใช้ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีผู้ใช้ให้เกิดประโยชน์กับสังคมต่อไป 

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 (ตัวการร่วม)

ตัวการในการกระทำความผิด คือ บุคคลที่มีการกระทำร่วมและเจตนาร่วมกับบุคคลอื่นในการกระทำความผิดอาญา
การกระทำร่วมกันอาจเป็นกรณีที่บุคคลตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไปร่วมกระทำส่วนใดส่วนหนึ่งอันเป็นองค์ประกอบความผิด หรือเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ หรือร่วมอยู่ในที่เกิดเหตุในลักษณะที่สามารถเข้าช่วยเหลือผู้กระทำคนอื่นทันทีก็ได้ ผู้กระทำความผิดทุกคนมีเจตนาร่วมกัน ได้รู้ถึงการกระทำของกันและกัน และต่างถือเอาการกระทำของคนอื่นเป็นการกระทำของตนเอง การรับโทษของตัวการแต่ละคนต้องรับโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับการกระทำที่เป็นความผิดนั้น แต่อาจจะรับโทษเท่ากันหรือไม่ก็ได้

หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา เปลี่ยนคำขอโทษเป็นเงินสด

  สื่อออนไลน์ต่างๆ ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก บางท่านใช้งานอย่างสนุกสนายจนลืมไปว่า มีกฎหมายคุ้มครองการใช้งานอยู่หลายประการ สิ่งพื้นฐานที่ทุกคนควรรู้ และ สำนึกในความรับผิดชอบและใช้งานอย่างมีขอบเขต

  กฎหมายที่เกี่ยวข้องมากที่สุดคือ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ,มาตรา 328 และ มาตรา 393

แต่หากผู้เสียหายไปแจ้งความกล่าวหาโดยมีเจตนาการกลั่นแกล้งแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ก็อาจจะถูกดำเนินคดีกลับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 ได้เช่นกัน

ประมาททำให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส

ถ้าคุณขับรถโดยประมาทและทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
ผมขอแนะนำให้คุณทำดังนี้ แล้วจะช่วยบรรเทาผลร้ายที่จะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี
1. ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บอย่างสุดความสามารถ
2. โทรเรียกประกัน โทรเรียกตำรวจ รวบรวมพยานหลักฐาน ถ่ายภาพเก็บไว้
3. ระหว่างที่ผู้บาดเจ็บยังรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล ให้คุณไปเยี่ยมเยียนถามอาการอย่างใกล้ชิด
4. เยียวยาผู้เสียหายในเบื้องต้น
ถ้าคุณนิ่งเฉย หนีหาย เตรียมรับคดีทั้งทางแพ่ง และทางอาญา

ฉ้อโกง

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๑ ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

กรณี เป็น หรือ ไม่เป็น “หมิ่นประมาท” ทั้งทาง Facebook หรือทางอื่น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๖ ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

เขียนหมายเลขทะเบียนรถของผู้อื่น แล้วนำไปใช้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 317 / 2521 :
จำเลยเขียนหมายเลขทะเบียนรถจักรยานยนต์ของผู้อื่นลงไว้ที่แผ่นเหล็กท้ายรถจักรยานยนต์คันของกลางแม้จำเลยจะเขียนหมายเลขดังกล่าวด้วยตนเองโดยมีลักษณะขนาดตัวหนังสือและตัวเลขไม่เหมือนกับป้ายหมายเลขทะเบียนที่แท้จริง ซึ่งทางราชการกรมตำรวจจัดทำขึ้นก็ตามแต่เมื่อจำเลยกระทำด้วยเจตนาทำเทียมเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง และโดยลักษณะที่อาจจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนแล้วการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการและเมื่อจำเลยได้ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางที่ติดป้ายหมายเลขทะเบียนปลอมที่จำเลยทำขึ้นดังกล่าวขับขี่ไปจนถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้ จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมด้วย

ทำตามคำสั่งเจ้าพนักงาน-กฎหมายลักษณอาญา

ท่านศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์ อาจารย์ผู้บรรยายกฎหมายอาญา แห่งสำนักอบรมกฎหมายศึกษาแห่งเนติบัณฑิตยสภา และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายหลักกฎหมายข้อนี้ไว้ ดังนี้
การกระทำตามคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายของเจ้าพนักงาน ผู้กระทำจะได้รับการยกเว้นโทษ (หมายถึง มีความผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ) ต่อเมื่อเข้าลักษณะดังต่อไปนี้
1. กระทำความผิดตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
2. คำสั่งนั้นมิชอบด้วยกฎหมาย
3. ผู้กระทำไม่รู้ว่าคำสั่งนั้นมิชอบด้วยกฎหมาย
4 .ผู้กระทำมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม หรือไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามแต่เชื่อโดยสุจริตว่ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม

กรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท

ในประมวลกฎหมายอาญา มีบัญญัติไว้ 7 มาตรา ที่เอาผิดผู้ที่กระทำโดยประมาท ได้แก่ มาตรา 205, มาตรา 225, มาตรา 239, มาตรา 291, มาตรา 300, มาตรา 311, มาตรา 390 เป็นองค์ประกอบภายใน ที่ผู้กระทำ ไม่มีเจตนาที่จะกระทำความผิด แต่กฎหมาย เอาผิด

ไม่มีเจตนา ก็ต้องรับผิด
“ถ้าคุณพิสูจน์ได้ว่า คุณไม่ได้ประมาท คุณก็พ้นผิด”
==================
แล้วความประมาท คืออะไร
==================
“กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่”
(ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่)

– ทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท
– ผู้คุมประมาททำให้ผู้ถูกคุมขังหลุด
– เจือสารพิษลงในอาหารหรือน้ำ
– ทำสิ่งที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตราย
– ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

ฉ้อโกงประชาชน โทษหนักขึ้น แถมยอมความไม่ได้

กระทำความผิดฐานฉ้อโกงมาตรา 343 นี้เป็นเหตุที่ทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้นอีกเหตุหนึ่งเช่นเดียวกับมาตรา 342 ดังนี้จึงต้องมีองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 ครบถ้วนเสียก่อนและมีเหตุในมาตรานี้เพิ่มขึ้นมาจึงจะต้องรับโทษหนักขึ้น

ค้นคำไหนก็เจอ ในประมวลกฎหมายอาญา

ประมวลกฎหมายอาญา ที่สามารถค้นหาได้ ว่าคำนี้ อยู่ภาคไหน? ลักษณะไหน? หมวดไหน? ส่วนไหน? และ มาตราไหน? ให้ที่นี่เป็นตัวช่วยในการค้นหา www.keybookme.com

อย่าพูดคำว่า “ไอ้แก่”

การที่บุตรเรียกบิดาว่า “ไอ้แก่” ก็เป็นคำด่าแล้ว

จำเลยได้พูดด่าทอว่าโจทก์ต่อหน้าผู้อื่นว่า “ไอ้แก่ แก่แล้วเลอะเลือน” เป็นการด่าว่าโจทก์ผู้เป็นบิดาโดยไม่ให้ความเคารพนับถือยำเกรง เป็นถ้อยคำที่หยาบคายแสดงถึงการเหยียดหยาม ดูถูกดูแคลน ไม่นับถือว่าโจทก์เป็นบิดา เพราะใช้คำว่า “ไอ้แก่” ถือได้ว่าเป็นคำที่ด่าว่าโจทก์ เป็นถ้อยคำที่หมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง ทำให้โจทก์รู้สึกกระทบกระเทือนจิตใจอย่างมาก ประกอบกับการที่จำเลยเบิกความว่า โจทก์รักจำเลยมากกว่าบุตรคนอื่น ดังนั้น การที่จำเลยเป็นผู้พูดประโยคดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิถอนคืนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณตาม ป.พ.พ. มาตรา 531(2)

ใช้งาน ประมวลกฎหมายอาญา ฉบับออนไลน์

แนะนำการใช้งาน ประมวลกฎหมายอาญา ฉบับออนไลน์

ประมวลกฎหมายอาญา ฉบับออนไลน์ สามารถเพิ่ม
– คำอธิบาย
– คำพิพากษาศาลฎีกา
– แสดงความคิดเห็น
– บันทึกส่วนตัว

ลองดูขั้นตอนการใช้งาน

ประกันด้วยบุคคล (ค้ำประกัน)

บทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยค้ำประกัน ใน บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 11 มาตรา 680 ถึง มาตรา 701 เป็นเรื่องการค้ำประกันด้วยบุคคล และมีการแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557 และ (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2558

หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
หมวด 2 ผลก่อนชำระหนี้
หมวด 3 ผลภายหลังชำระหนี้
หมวด 4 ความระงับสิ้นไปแห่งการค้ำประกัน

ครอบครองปรปักษ์ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ไม่ได้

ครอบครองปรปักษ์ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ไม่ได้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 171

ในการตีความการแสดงเจตนานั้น ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษร

แก้ไข ปรับปรุง และดาวน์โหลด บันทึกประมวลกฎหมายอาญา ฉบับอิเล็กทรอนิกส์

ประมวลกฎหมายอาญา เป็นกฎหมายหลักของผู้ที่ศึกษาวิชากฎหมายทุกคนจำเป็นต้องทำความเข้าใจ จดจำ จนสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ การฝึกฝน ทบทวนอย่างสม่ำเสมอ ทั้งตัวบท คำอธิบาย คำพิพากษาศาลฎีกา จึงจะทำให้ผู้นำไปใช้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม กฎหมายก็ยังต้องเปลี่ยนแปลงตามพัฒนาการของสังคม การนำเทคโนโลยีมาช่วยลดความผิดพลาด เพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำ การใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถในยุคที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น เป็นหนทางที่จะนำไปสู่การพัฒนาบนรากฐานที่มั่นคง แข็งแรง ต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

ประมวลกฎหมายอาญาฉบับนี้รวบรวมขึ้นเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาระบบการค้นคว้ารวบรวมความรู้ คำอธิบาย ความคิดเห็น คำพิพากษาศาลฎีกา แจ้งเตือนการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง มีเป้าหมายในการเชื่อมโยงผู้ใช้งานให้ร่วมกัน และยังสร้างความถูกต้อง แม่นยำ แจ้งการปรับปรุงแก้ไข ให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาผ่านสื่อกลาง Website :

“ https://www.keybookme.com/ “

นอกจากผู้จัดทำ ปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติมความถูกต้องของเนื้อหาอย่างสม่ำเสมอแล้ว ยังคิดค้นพัฒนาและนำเทคโนโลยีมาใช้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีผู้ใช้ให้เกิดประโยชน์กับสังคมต่อไป

ความผิดเกี่ยวกับศพ

การกระทําชําเราศพ การกระทํา
อนาจารแก่ศพ การกระทําให้ศพเสียหาย และการดูหมิ่นเหยียดหยามศพ เป็นการละเมิดต่อสิทธิของบุคคล
ในครอบครัว เกียรติยศ และชื่อเสียง กฎหมายจึงบัญญัติให้ผู้กระทำมีความผิด

ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์

– สิทธิในทรัพย์เป็นสิ่งที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง การเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นถือเป็นความผิดที่ผู้กระทำต้องรับโทษ

– การลักทรัพย์ของผู้อื่นโดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ต้องระวางโทษหนักขึ้นกว่าการลักทรัพย์โดยทั่วไป

– ความผิดฐานกรรโชกและรีดเอาทรัพย์เป็นความผิดลักษณะผสมระหว่างความผิดต่อเสรีภาพและความผิดต่อทรัพย์เป็นการข่มขืนใจผู้อื่นให้เขายอมให้ประโยชน์ในทางทรัพย์สินโดยการใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะทำอันตราย

– ความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นรูปแบบหนึ่งของความผิดฐานลักทรัพย์ซึ่งมีการใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายร่างกายด้วย ทำให้ความผิดมีลักษณะร้ายแรงขึ้น

– ความผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นรูปแบบหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ซึ่งมีผู้ร่วมกระทำความผิดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่มีลักษณะร้ายแรงที่สุด

– ความผิดฐานฉ้อโกงเป็นการประทุษร้ายต่อทรัพย์โดยที่เจ้าของทรัพย์ไม่ยินยอมส่งมอบให้ โดยผู้กระทำผิดมิได้แย่งการครอบครอง หากแต่เจ้าของส่งมอบให้เพราะถูกผู้กระทำผิดหลอกลวง

– ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองการบังคับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ เพื่อมิให้ลูกหนี้ทำการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของตน หรือทำความเสียหายแก่หลักประกันในการชำระหนี้

– ความผิดฐานยักยอกส่วนมากจะเกิดจากความไว้เนื้อเชื่อใจของเจ้าทรัพย์ที่ส่งมอบทรัพย์ให้คนอื่นครอบครองแทนและผู้ครอบครองกลับเบียดบังเอาทรัพย์นั้นไป

– ความผิดฐานฉ้อโกง ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ และความผิดฐานยักยอกมักจะมีลักษณะเป็นเรื่องส่วนตัวระหว่างผู้กระทำความผิดกับเจ้าของทรัพย์ กฎหมายจึงกำหนดให้เป็นความผิดอันอาจยอมความได้

ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง

– มนุษย์ทุกคนย่อมต้องการเสรีภาพไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพในการที่จะกระทำหรือไม่กระทำการใด หรือเสรีภาพในการเคลื่อนไหวร่างกาย ตลอดจนเสรีภาพในการเลือกที่อยู่โดยไม่ถูกจำกัด ร่วมทั้งเสรีภาพในการที่จะไม่ต้องตกเป็นทาสใคร ซึ่งเสรีภาพของบุคคลนั้นถือว่าเป็นสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่งที่กำหนดศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ รัฐจึงต้องบัญญัติกฎหมายขึ้นเพื่อคุ้มครองเสรีภาพของบุคคล โดยผู้ที่ฝ่าฝืนย่อมมีความผิด

– เนื่องจากเด็กหรือผู้เยาว์เป็นผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงต้องอยู่ในความดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครองซึ่งจะเป็นผู้กำหนดที่อยู่ของบุตรหรือผู้อยู่ใต้อำนาจปกครองด้วย การเอาเด็กหรือผู้เยาว์ไปจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลย่อมเป็นการละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดา หรือผู้ปกครองยิ่งเอาไปโดยทุจริตหรือเพื่อหากำไรหรือเพื่อการอนาจารก็ย่อมเป็นภัยต่อเด็กและผู้เยาว์นั้นด้วย ผู้กระทำจึงมีความผิด

– การเลือกถิ่นที่อยู่ของบุคคลในราชอาณาจักรย่อมได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายการเนรเทศบุคคลไปนอกราชอาณาจักรต้องกระทำตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น การพาหรือส่งคนออกไปนอกราชอาณาจักรโดยวิธีการที่มิชอบจึงเป็นความผิด

– ความลับของบุคคลที่ปกปิดในการสื่อสารถึงกันก็ดี ในการอื่นก็ดี ตลอดจนความลับเกี่ยวกับอุตสาหกรรม การค้นพบ หรือการนิมิตรในวิทยาศาสตร์ก็ดี หากเปิดเผยหรือล่วงรู้แก่บุคคลอื่นอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของความลับหรือผู้อื่น กฎหมายจึงต้องลงโทษผู้กระทำ

– การใส่ความผู้อื่นก็ดี ใส่ความผู้ตายก็ดี ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด ย่อมเป็นการล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น เพราะบุคคลมีสิทธิตามกฎหมายในการรักษาชื่อเสียงเกียรติคุณของเขาไว้ การทำให้เขาต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงเกียรติคุณถือว่าเป็นความผิดกฎหมายจึงต้องลงโทษผู้กระทำเช่นกัน

ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย

– ชีวิตของบุคคลย่อมเป็นที่หวงแหนแก่ผู้เป็นเจ้าของยิ่งกว่าทรัพย์สิน ถ้าหากบุคคลปราศจากความปลอดภัยในชีวิต ความสงบสุขในสังคมย่อมจะมีไม่ได้ นอกจากนี้ชีวิตของบุคคลย่อมมีความสำคัญต่อประเทศชาติทั้งในด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงกฎหมายจึงต้องให้ความคุ้มครอง

– ความผิดต่อชีวิตอาจเกิดจากการกระทำโดยเจตนา การกระทำโดยไม่เจตนา การกระทำโดยประมาท การกระทำอันเป็นเหตุให้ผู้อื่นฆ่าตนเองหรือพยายามฆ่าตนเองหรือการเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย กฎหมายกำหนดอัตราโทษไว้หนักเบาแตกต่างกันตามลักษณะของการกระทำความผิด

– ความปลอดภัยในร่างกายและจิตใจของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมาย การทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจเป็นความผิดและถ้าผลแห่งการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสกฎหมายกำหนดโทษหนักขึ้น

– การเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้กันถือว่าเป็นภัยต่อสังคมดังนั้นถ้ามีการเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้กันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป เป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดทั้งที่เข้าร่วมชุลมุนต่อสู้หรือไม่ได้เข้าร่วมชุลมุนต่อสู้ได้รับอันตรายสาหัสกฎหมายกำหนดโทษแก่ผู้เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้นั้นทุกคนนอกจากเข้าข้อยกเว้นที่กฎหมายกำหนดไว้

– การกระทำโดยประมาทบางกรณีมีผลกระทบต่อความปลอดภัยในร่างกายของบุคคลดังนั้นการที่บุคคลใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสกฎหมายจึงกำหนดโทษไว้ด้วย

ความผิดเกี่ยวกับเพศ

– การกระทำชำเราผู้อื่นจะเป็นความผิดเมื่อผู้อื่นไม่สมัครใจเย็นยอมให้กระทำและผู้กระทำอาจต้องรับโทษหนักขึ้น หรือยอมความได้ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ในเรื่องนั้นๆโดยเฉพาะ

– การกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี เป็นความผิดที่ยอมความไม่ได้ ไม่ว่าเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่

– การกระทำอนาจารแก่หญิงหรือชายอายุเกินกว่า 15 ปี จะเป็นความผิดถ้าบุคคลนั้นไม่ยินยอมให้กระทำแต่การกระทำอนาจารกับเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ย่อมเป็นความผิดเสมอไม่ว่าเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่

– การเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาชายหรือหญิงหรือเด็กไปเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่นหรือเพื่อการอนาจารเป็นความผิด ไม่ว่าผู้นั้นจะยินยอมหรือไม่ กฎหมายลงโทษทั้งผู้กระทำ ผู้สนับสนุนการกระทำดังกล่าวและผู้รับตัวชายหรือหญิงหรือเด็กนั้นไว้

– การพาบุคคลอายุเกินกว่า 15 ปีแต่ยังไม่เกิน 18 ปีไป หรือพาเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีไป แม้ผู้นั้นจะยินยอมหรือพาผู้อื่นที่ไม่ยินยอมไป เพื่อการอนาจารเป็นความผิด กฎหมายลงโทษทั้งผู้พาและผู้ซ่อนเร้นบุคคลหรือเด็กหรือผู้อื่นนั้น

– บุคคลอายุเกินกว่า 16 ปีดำรงชีพอยู่จากรายได้ของผู้ซึ่งค้าประเวณีย่อมมีความผิด เว้นแต่ได้รับการเลี้ยงดูจากผู้นั้นตามกฎหมาย หรือตามธรรมจรรยา

– การผลิต การค้า การทำให้แพร่หลาย การโฆษณา หรือการกระทำอื่นๆ แก่วัตถุหรือสิ่งลามก อาจเป็นความผิด ถ้าได้กระทำเพื่อการค้า การแจกจ่าย การแสดงอวดแก่ประชาชนหรือเพื่อช่วยทำให้แพร่หลายซึ่งวัตถุหรือสิ่งลามกดังกล่าว

ความผิดเกี่ยวกับการค้า

– การใช้หรือมีไว้ซึ่งเครื่องชั่งเครื่องตวงหรือเครื่องวัดที่ผิดอัตราจะเป็นความผิดก็ต่อเมื่อกระทำเพื่อเอาเปรียบในการค้า แต่การมีเครื่องเช่นว่านั้นไว้เพื่อขายก็ผิดเช่นกัน แม้ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ากระทำเพื่อเอาเปรียบในการค้า

– การขายของโดยหลอกลวงนั้นต้องเป็นการหลอกให้หลงเชื่อในเรื่องแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือปริมาณของของที่ขายเท่านั้น และต้องไม่ถึงขนาดเป็นความผิดฐานฉ้อโกง

– การเอาเปรียบในทางการค้าอาจทำโดยหลอกลวงให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าหรือสถานการค้าของผู้อื่น หรือโดยไขข่าวแพร่หลายข้อความเท็จเพื่อให้เสียความเชื่อถือในกิจการ

– การปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นนั้น จะเป็นความผิดได้ก็ต่อเมื่อ เป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้ว

– การนําเข้ามาในราชอาณาจักรจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความในทางการค้าหรือเครื่องหมายการค้าที่ปลอมหรือเลียนมา เป็นความผิดอาญา

ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง

– เงินตราเป็นวัตถุกลางเพื่อการแลกเปลี่ยนและการชำระหนี้โดยทั่วไปจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องตรากฎหมายขึ้นใช้บังคับโดยลงโทษผู้กระทำการอย่างใดๆ อันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับเงินตรานอกจากนี้พันธบัตรรัฐบาลก็เป็นเครื่องมือสำคัญที่รัฐจะหารายได้เพื่อจุนเจือการใช้จ่ายของประเทศถ้าผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลรัฐก็จำต้องลงโทษผู้นั้นเช่นเดียวกัน

– ดวงตรา รอยตราต่างๆ ของรัฐหรือของหน่วยงานของรัฐ พระปรมาภิไธยแสตมป์ ที่รัฐออกใช้และตั๋วที่จำหน่ายให้แก่ประชาชนทั่วไป ก็เป็นสิ่งที่รัฐจำต้องมีมาตรการลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งดังกล่าวด้วยเช่นกัน

– เอกสารคือหลักฐานแห่งความหมายซึ่งบุคคลให้ความเชื่อถือและยอมรับนับถือให้เป็นพยานหลักฐานที่ดี รัฐจึงต้องลงโทษผู้ที่ทำการปลอมหรือกระทำการอย่างอื่นต่อเอกสารซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด

– บัตรอิเล็กทรอนิกส์ มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรมต่างๆของบุคคลในสังคมปัจจุบันค่อนข้างสูง บางกรณีเป็นวัตถุที่เป็นสื่อในการชำระหนี้จึงจำเป็นที่กฎหมายต้องให้ความคุ้มครองและลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย

– หนังสือเดินทางเป็นสิ่งสำคัญสำหรับบุคคลซึ่งใช้แสดงในการเดินทางระหว่างประเทศ การกระทำความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทางบางกรณีอาจส่งผลกระทบถึงความมั่นคงของประเทศ รัฐจึงต้องลงโทษผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง

ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน

– การวางเพลิงเผาทรัพย์เป็นการเผาทรัพย์ของผู้อื่นโดยเจตนา มิใช่เผาทรัพย์ของตนเองหรือที่ตนเองเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย หรือเผาทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของกฎหมายบัญญัติให้ผู้กระทำผิดต้องรับโทษหนักขึ้นในกรณีการวางเพลิงเผาทรัพย์ที่สำคัญอันหนึ่งแม้เพียงตระเตรียมการวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น ก็ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับความผิดฐานพยายามวางเพลิง

– การทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุหรือทรัพย์ของตนเองหรือทรัพย์ไม่มีเจ้าของเป็นความผิดได้ หากการกระทำนั้นน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์ของผู้อื่น

– การทำให้เกิดระเบิดจะเป็นความผิดก็ต่อเมื่อมีลักษณะน่าจะเป็นอันตรายแก่ผู้อื่นหรือทรัพย์ของผู้อื่น

– ผู้วางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่นหรือทำให้เกิดระเบิดต้องรับโทษหนักขึ้นหากจะทำให้ผู้อื่นตายหรือรับอันตรายสาหัสผู้วางเพลิงเผาทรัพย์หรือทำให้เกิดเพลิงไหม้วัตถุหรือทำให้เกิดระเบิดต้องระวางโทษน้อยลงหากกระทำต่อทรัพย์ที่มีราคาน้อยหรือการกระทำนั้นไม่น่าจะเป็นอันตรายแก่ผู้อื่น

– การทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทจะเป็นความผิดเมื่อเป็นเหตุให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหายหรือน่าจะเป็นอันตรายแก่ชีวิตของผู้อื่น

ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน

– อังยี่ ได้แก่คณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย เมื่อบุคคลเป็นสมาชิกของอั้งยี่ ย่อมมีความผิดโดยไม่จำต้องมีการกระทำตามความมุ่งหมายนั้นแล้ว และจะต้องรับโทษหนักขึ้นถ้ามีตำแหน่งหน้าที่ในอั้งยี่นั้น

– การสมคบกันในความผิดอันเป็นซ่องโจรนั้น จะต้องมีการประชุมหารือระหว่างผู้ร่วมกระทำผิดตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปและต้องมีการตกลงในการที่จะกระทำความผิดที่บัญญัติในประมวลกฎหมายอาญาภาค 2 ที่มีโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป มิใช่เพียงแต่มาประชุมหรือหารือกัน มิได้มีการตกลงหรือตกลงกันไม่ได้

– ผู้เข้าร่วมประชุมในที่ประชุมอั้งยี่หรือซ่องโจร มีความผิดฐานเป็นอั้งยี่หรือซ่องโจรด้วยแม้ว่าจะไม่ได้เป็นสมาชิกอังยี่หรือพรรคพวกซ่องโจรก็ตาม

– ผู้ที่ช่วยเหลือหรืออุปการะอังยี่หรือซ่องโจร โดยให้ทรัพย์หรือโดยประการอื่นจัดหาที่ประชุมหรือที่พำนักช่วยจำหน่ายทรัพย์ หรือชักชวนผู้อื่นให้เข้าเป็นสมาชิกอังยี่หรือพรรคพวกซ่องโจร แม้จะมิใช่สมาชิกอังยี่หรือพรรคพวกซ่องโจรก็ตาม ต้องระวางโทษในอัตราเดียวกันกับสมาชิกหรือพรรคพวกซ่องโจร

– สมาชิกอังยี่หรือพรรคพวกซ่องโจรต้องรับโทษในความผิดที่สมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจรคนอื่นกระทำไปตามความมุ่งหมายของอั้งยี่หรือซ่องโจร แม้ว่าตนเองจะไม่ได้เป็นผู้กระทำผิดหรือร่วมกระทำความผิดนั้นก็ตาม

– การจัดหาที่พำนักที่ซ่อนเร้นหรือที่ประชุม ให้แก่ผู้กระทำผิดที่บัญญัติไว้ในมาตรา 2 ประมวลกฎหมายอาญา หากทำเป็นปกติธุระ เป็นความผิดอาญา

– การมั่วสุมจะเป็นความผิดต่อเมื่อ ได้ใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญ หรือทำให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองขึ้นแล้ว ลำพังแต่การมั่วสุมเพื่อการกระทำผิดยังไม่เป็นความผิด แต่หากเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้ว ไม่ยอมเลิก ก็เป็นความผิด แต่ต้องสั่งก่อนผู้ที่มั่วสุมจะลงมือใช้กำลังประทุษร้ายขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง

ความผิดเกี่ยวกับศาสนา

ศาสนาเป็นสถาบันที่สำคัญของสังคม กฎหมายจึงต้องให้ความคุ้มครองแก่ศาสนาและให้ความคุ้มครองโดยเท่าเทียมกันทุกศาสนา แต่การคุ้มครองนี้เป็นการคุ้มครองแก่ตัวสถาบัน มิไช่คุ้มครองตัวบุคคลโดยเฉพาะ

ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม

– ในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนนั้น เจ้าพนักงานในการยุติธรรมมีส่วนอย่างสำคัญ ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างถูกต้องรวดเร็วเป็นธรรมและทั่วถึง

– เจ้าพนักงานในการยุติธรรม เป็นเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน การกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรมผู้กระทำผิดจึงต้องมีโทษต่างจากการกระทำผิดต่อเจ้าพนักงานอื่น

– เจ้าพนักงานในการยุติธรรม เป็นเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนในด้านกฎหมายและการยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกันและเป็นธรรม การที่เจ้าพนักงานในการยุติธรรมปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบจึงต้องมีโทษหนักกว่าเจ้าพนักงานอื่น

ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

– เจ้าพนักงานเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญยิ่งต่อการบริหารงานของรัฐ รัฐจึงต้องให้ความคุ้มครองแก่เจ้าพนักงานไว้เป็นพิเศษ เช่น บัญญัติถึงการลงโทษแก่ผู้ที่ดูหมิ่น ต่อสู้ขัดขวางให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน

– โดยที่เจ้าพนักงานดังกล่าวนั้น กฎหมายได้ให้อำนาจในอันที่จะปฏิบัติตามหน้าที่ รัฐจึงจำเป็นต้องควบคุมหรือวางกรอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน มิให้ใช้อำนาจในทางที่ไม่ถูกไม่ควร โดยบัญญัติลงโทษแก่เจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือให้เกิดความเสียหาย

ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร

– กฎหมายให้ความคุ้มครองพระมหากษัตริย์ในฐานะเป็นองค์พระประมุขแห่งรัฐและคุ้มครองพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในฐานะซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อความมั่นคงของประเทศกฎหมายจึงต้องให้ความคุ้มครองเป็นพิเศษเหนือกว่าบุคคลทั่วไป

– การคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยของรัฐไม่ว่าการคุกคามนั้นจะมาจากภายในประเทศ เช่น การกบฏ หรือมาจากภายนอกประเทศ เช่น การเป็นกบฏ หรือการทำให้เอกราชของรัฐสูญสิ้น หรือเสื่อมไปกฎหมายจึงต้องบัญญัติเป็นความผิดเพื่อเป็นการคุ้มครองสวัสดิภาพของรัฐ

– กฎหมายจำต้องให้ความคุ้มครองเป็นพิเศษแก่ประมุขของรัฐต่างประเทศซึ่งมีสัมพันธไมตรีกับไทย และแก่ผู้แทนรัฐต่างประเทศที่มาประจำในราชสำนักเพื่อให้สัมพันธไมตรีกับมิตรประเทศดำเนินไปโดยราบรื่น

– การก่อการร้ายเป็นการกระทำที่รุนแรงของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลโดยมุ่งต่อผลทางจิตใจและพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมือง ศาสนา หรือลัทธิหรืออุดมการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ กฎหมายจึงต้องบัญญัติเป็นความผิดเพื่อคุ้มครองรัฐและประชาชนของรัฐ

บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดลหุโทษ

กฎหมายได้บัญญัติให้นำหลักเกณฑ์ทั่วไปของกฎหมายอาญาในลักษณะ 1 มาใช้กับความผิดลหุโทษด้วย เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษในมาตรา 104,105 และ 106 ซึ่งกฎหมายได้บัญัติให้แตกต่างไปจากความผิดสามัญ

อายุความอาญา

การฟ้องคดีและฟ้องขอให้กักกันผู้กระทำความผิดต่อศาลนั้น จะต้องกระทำภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นจะฟ้องร้องผู้นั้นไม่ได้

การลงโทษผู้กระทำความผิดตามคำพิพากษาของศาล จะต้องกระทำภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

การบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัยจะต้องกระทำภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

การกระทำความผิดอีก

ผู้ที่เคยถูกลงโทษจำคุกมาแล้ว หากได้กระทำความผิดอีกภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและศาลจะลงโทษจำคุก
ผู้นั้นอาจถูกเพิ่มโทษให้หนักขึ้นอีกหนึ่งในสามได้

ผู้ที่เคยถูกลงโทษจำคุกไม่น้อยกว่า 6 เดือนมาแล้ว หากได้กระทำความผิดซ้ำในความผิดประเภทเดียวกันอีก ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและศาลจะลงโทษจำคุก ผู้นั้นอาจจะถูกเพิ่มโทษให้นักขึ้นอีกกึ่งหนึ่งได้

ความผิดที่กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ และความผิดซึ่งกระทำในขณะมีอายุยังไม่เกิน 18 ปี ไม่ถือเป็นเหตุเพิ่มโทษ

การกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทง

มาตรา 90
เมื่อการกระทำใดอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด
มาตรา 91
เมื่อปรากฎว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนด ดังต่อไปนี้

(1) สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี

(2) ยี่สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี

(3) ห้าสิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสิบปีขึ้นไป เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต

ตัวการและผู้สนับสนุน

ตัวการในการกระทำความผิด คือ บุคคลที่มีการกระทำร่วมและเจตนาร่วมกับบุคคลอื่นในการกระทำความผิดอาญา

ผู้ใช้ คือ บุคคลที่ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด โดยที่ตนเองมิได้มีส่วนร่วมกระทำความผิดนั้นด้วย ผู้ใช้อาจเจาะจงให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือใช้วิธีโฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปก็ได้

ผู้สนับสนุน เป็นผู้ที่ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำผิดก่อนหรือในขณะกระทำความผิด

พยายามกระทำความผิด

มาตรา 80
ผู้ใดลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอด หรือกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล ผู้นัันพยายามกระทำความผิด
มาตรา 81
ผู้ใดกระทำการโดยมุ่งต่อผลซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด แต่การกระทำนั้นไม่สามารถจะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำหรือเหตุแห่งวัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อให้ถือว่าผู้นั้นพยายามกระทำความผิดแต่ให้ลงโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
ถ้าการกระทำดังกล่าวในวรรคแรกได้กระทำไปโดยความเชื่ออย่างงมงาย ศาลจะไม่ลงโทษก็ได้
มาตรา 82
ผู้ใดพยายามกระทำความผิด หากยับยั้งเสียเองไม่กระทำการให้ตลอด หรือกลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทำนั้นบรรลุผล ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับการพยายามกระทำความผิดนั้น แต่ถ้าการที่ได้กระทำไปแล้วต้องตามบทกฎหมายที่บัญญัติเป็นความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้นๆ

โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย

หมวด 3 โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย
– ส่วนที่ 1 โทษ (18-38)
– ส่วนที่ 2 วิธีการเพื่อความปลอดภัย (39-50)
– ส่วนที่ 3 วิธีเพิ่มโทษ ลดโทษ และการรอการลงโทษ (51-58)

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 บทนิยาม

(1) “โดยทุจริต”
(2) “ทางสาธารณะ ”
(3) “สาธารณสถาน”
(4) “เคหสถาน”
(5) “อาวุธ”
(6) “ใช้กำลังประทุษร้าย”
(7) “เอกสาร”
(8) “เอกสารราชการ”
(9) “เอกสารสิทธิ”
(10) “ลายมือชื่อ”
(11) “กลางคืน”
(12) “คุมขัง”
(13) “ค่าไถ่”
(14) “บัตรอิเล็กทรอนิกส์”
(15) “หนังสือเดินทาง”
(16) “เจ้าพนักงาน”
(17) “สื่อลามกอนาจารเด็ก”
(18) “กระทำชำเรา”

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ ถ้าไม่มีกฎหมาย

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2
บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้ารับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ความผิดฐานยักยอก

ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่นหรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใดหรือเป็นทรัพย์สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระวางโทษแต่เพียงกึ่งหนึ่ง

ประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ความผิด

ลักษณะ 1 ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
ลักษณะ 1/1 ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย
ลักษณะ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง
ลักษณะ 3 ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม
ลักษณะ 4 ความผิดเกี่ยวกับศาสนา
ลักษณะ 5 ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน
ลักษณะ 6 ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน
ลักษณะ 7 ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง
ลักษณะ 8 ความผิดเกี่ยวกับการค้า
ลักษณะ 9 ความผิดเกี่ยวกับเพศ
ลักษณะ 10 ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
ลักษณะ 11 ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง
ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
ลักษณะ 13 ความผิดเกี่ยวกับศพ

ประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป

ลักษณะ 1 : บทบัญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป
หมวด 1 บทนิยาม (1)
หมวด 2 การใช้กฎหมายอาญา (2-17)
หมวด 3 โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย
– ส่วนที่ 1 โทษ (18-38)
– ส่วนที่ 2 วิธีการเพื่อความปลอดภัย (39-50)
– ส่วนที่ 3 วิธีเพิ่มโทษ ลดโทษ และการรอการลงโทษ (51-58)
หมวด 4 ความรับผิดในทางอาญา (59-79)
หมวด 5 การพยายามกระทำความผิด (80-82)
หมวด 6 ตัวการและผู้สนับสนุน (83-89)
หมวด 7 การกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทง (90-91)
หมวด 8 การกระทำความผิดอีก (92-94)
หมวด 9 อายุความ (95-101)
ลักษณะ 2 : บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดลหุโทษ (102-106)

ประมวลกฎหมายอาญา มี 3 ภาค

ประมวลกฎหมายอาญา มี 3 ภาค

ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป – (มาตรา 1-106)

ภาค 2 ความผิด – (มาตรา 107-366/4)

ภาค 3 ลหุโทษ – (มาตรา 367-398)

การฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตร

การฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรเป็นกรณีที่ฝ่ายเด็กประสงค์จะให้เด็กนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาผู้ให้กำเนิด ซึ่งอาจเป็นกรณีที่บิดาไม่เต็มใจที่จะรับเด็กนั้นไว้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายทั้งที่เด็กนั้นเป็นบุตรของตนหรือกรณีที่บิดาตายก่อนที่จะสมรสกับมารดา หรือก่อนจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 ความผิดฐานปลอมเอกสาร

ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใดเติมหรือตัดทอนข้อความหรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในเอกสารที่แท้จริง หรือประทับตราปลอมหรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสาร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดกรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม หรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อื่นนั้น ถ้าได้กระทำเพื่อนำเอาเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชน ให้ถือว่าผู้นั้นปลอมเอกสารต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 กระทำความผิดด้วยความจำเป็น เพื่อให้ผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึง ไม่ต้องรับโทษ

ผู้ใดกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
(1) เพราะอยู่ในที่บังคับ หรือภายใต้อำนาจ ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ
(2) เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ เมื่อภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน
ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุแล้ว ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้ว จึงจะขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ แต่การจะขอตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก ผู้ที่มีสิทธิจะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก คือ ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกที่มีสิทธิรับมรดก เช่น บุตร บิดา มารดา คู่สมรสของเจ้ามรดก ผู้รับพินัยกรรมของเจ้ามรดก หรืออาจเป็นบุคคลภายนอก ผู้มีส่วนได้เสียก็ได้ เช่น เจ้าของร่วมในทรัพย์สินของเจ้ามรดก หรือพนักงานอัยการ

ผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดก ต้องบรรลุนิติภาวะแล้ว และไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ และไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย

การยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ต้องยื่นคำร้องที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลนั้นในขณะถึงแก่ความตายแต่ในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไทย ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตอำนาจศาล

ผู้จัดการมรดก เป็นตัวแทนของทายาททั้งหมด มีหน้าที่ในการรวบรวมทรัพย์มรดก แบ่งให้กับทายาท ทั้งมีอำนาจในการดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญา ต่อผู้ที่กระทำความเสียหายแก่กองมรดกด้วย

การเขียนคำร้องขอให้ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์

ประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 1382
” บุคคลใดครองครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ โดยความสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ “

สัญญาประนีประนอมยอมความในศาล [แบบพิมพ์ศาล หมายเลข (๒๙)]

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๓๘ บัญญัติว่า
” ในคดีที่คู่ความตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดี โดยมิได้มีการถอนคำฟ้องนั้น และข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความกันนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ให้ศาลจดรายงานพิสดารแสดงข้อความแห่งข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความเหล่านั้นไว้แล้วพิพากษาไปตามนั้น

ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาเช่นว่านี้ เว้นแต่ในเหตุต่อไปนี้

(๑) เมื่อมีข้อกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล

(๒) เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

(๓) เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่ามิได้เป็นไปตามข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความ

ถ้าคู่ความตกลงกันเพียงแต่ให้เสนอคดีต่ออนุญาโตตุลาการ ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับ “

ป้องกัน: ระยะเวลาการทำหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 686

ไม่มีคำเกริ่นนำเพราะว่านี่เป็นเรื่องที่ถูกป้องกัน

ป้องกัน: การยื่นบัญชีระบุพยาน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88

ไม่มีคำเกริ่นนำเพราะว่านี่เป็นเรื่องที่ถูกป้องกัน

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(3) “คำฟ้อง”

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ […]

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(6) “คำแถลงการณ์”

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ […]

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(7) “กระบวนพิจารณา”

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ […]

ผู้มีหน้าที่ชันสูตรพลิกศพ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150

ผู้มีหน้าที่ชันสูตรพลิกศพ&nbsp […]

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 พาอาวุธไปในเมือง

ผู้ใดพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผย หรือโดยไม่มีเหตุสมควร หรือพาไปในชุมนุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริงหรือการอื่นใด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท และให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบอาวุธนั้น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 ดูหมิ่นซึ่งหน้า (คำพูดที่ผิดกฎหมาย)

ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า หรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 ผู้สนับสนุน

ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่น กระทำความผิด ก่อนหรือขณะกระทำความผิด แม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม ผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กำหนดไว้สำรับความผิดที่สนับสนุนนั้น

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172

คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ […]

ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 4

กฎหมายนั้น ต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่ง ต้องด้วยบทบัญญัติใด ๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษร หรือ ตาม

ความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้น ๆ

เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น

ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดี อาศัย เทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง

และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 มาตรา 68 มาตรา 72

มาตรา 67      กระทำความผิดด้วยความจำเป็น ไม่ต้องรับโทษ

มาตรา 68      ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีความผิด

มาตรา 72       บันดาลโทสะ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงไดก็ได้

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 บันดาลโทสะ

ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่น ให้พ้นจากภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 กระทำความผิดด้วยความจำเป็น

ผู้ใดกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
(1) เพราะอยู่ในที่บังคับ หรือภายใต้อำนาจ ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ
(2) เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ เมื่อภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน
ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุแล้ว ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ