ทนายความ 49 ส่งทีมฟุตบอลเข้าร่วมแข่งขัน ฟุตบอล 7 คน (ครั้งที่ 1)

เปิดแข่งฟุตบอล 7 คน⚽️⚽️⚽️ (ครั้งที่ 1)
สำนักฝึกอบรม วิชาว่าความ แห่งสภาทนายความ จัดการแข่งขัน ฟุตบอล 7 คน (ครั้งที่ 1) โดยเปิดรับสมัคร ทนายความ หรือผู้ที่เป็นนักศึกษาของสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความตั้งแต่รุ่น 49 ถึงรุ่น 61 และผู้ฝึกหัดงาน 1 ปี ซึ่งเป็นผู้ที่มีใจรักในกีฬาฟุตบอลเข้าร่วม แข่งขัน รุ่นละอย่างต่ำ 1 ทีม รับสมัครตั้งแต่วันที่ 9 ถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2566 โดยมีวัตถุประสงค์ในการแข่งขัน ดังนี้
1. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมวิชาชีพทนายความ
2. เสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
3. พัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศ เพื่อเข้าแข่งขันระดับประเทศและนานาชาติ
แข่งขันที่สนามฟุตบอลวิชุปารามอินทรา กม. 8 ในวันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2566 เริ่ม จับฉลากเวลา 9:00 น.

หมิ่นประมาท

#กฎหมายง่ายๆที่คนไทยควรรู้
#คดีหมิ่นประมาท
เป็นคดีง่ายๆแต่ผิดทั้งประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
#ฟ้องคดีอาญา ทั้งปรับ ทั้งจำ หรือ ทั้งจำทั้งปรับ หรือ
#ฟ้องคดีแพ่ง เรียกค่าสินไหมได้

รู้ได้อย่างไร ว่า เป็น “คดีแพ่ง” หรือ “คดีอาญา”

นักกฎหมาย จะแยก “คดีแพ่ง” และ “คดีอาญา” ออกจากกันได้ไม่ใช่เรื่องยากเนื่องจากเป็นพื้นฐานของวิชาชีพกฎหมาย แต่สำหรับประชาชนทั่วไปแล้ว คงจะสับสนมิใช่น้อย ว่า เรื่องที่เกิดเป็นคดีขึ้นนั้น เป็นเรื่องทางแพ่ง หรือทางอาญากันแน่?

      หากเกิดเหตุการณ์  “รถชนกัน” เกิดความเสียหายขึ้นแต่เพียง รถ ของทั้งสองฝ่าย และทั้งสองฝ่าย ก็มิได้ทำประกันไว้เลยทั้งคู่ ถามว่าใคร? จะรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้น

เหตุการณ์นี้เป็นเพียงความเสียหายที่เกิดกับทรัพย์สินของทั้งสองฝ่ายเท่านั้น

 ถ้าความเสียหายนี้ยัง ไม่มี “คนตาย” หรือ ไม่มี คนบาดเจ็บ “สาหัส”

  มันก็เป็นเพียง “คดีแพ่ง” เท่านั้น

หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา เปลี่ยนคำขอโทษเป็นเงินสด

  สื่อออนไลน์ต่างๆ ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก บางท่านใช้งานอย่างสนุกสนายจนลืมไปว่า มีกฎหมายคุ้มครองการใช้งานอยู่หลายประการ สิ่งพื้นฐานที่ทุกคนควรรู้ และ สำนึกในความรับผิดชอบและใช้งานอย่างมีขอบเขต

  กฎหมายที่เกี่ยวข้องมากที่สุดคือ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ,มาตรา 328 และ มาตรา 393

แต่หากผู้เสียหายไปแจ้งความกล่าวหาโดยมีเจตนาการกลั่นแกล้งแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ก็อาจจะถูกดำเนินคดีกลับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 ได้เช่นกัน

ฉ้อโกง

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๑ ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

กรณี เป็น หรือ ไม่เป็น “หมิ่นประมาท” ทั้งทาง Facebook หรือทางอื่น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๖ ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่

การต่อสู้หรือขัดขวางอันจะเป็นความผิดตามมาตรานี้ จะต้องเป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ หรือต่อสู้ขัดขวางผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่ และการปฏิบัติหน้าที่นั้นก็ต้องเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายด้วย

กรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท

ในประมวลกฎหมายอาญา มีบัญญัติไว้ 7 มาตรา ที่เอาผิดผู้ที่กระทำโดยประมาท ได้แก่ มาตรา 205, มาตรา 225, มาตรา 239, มาตรา 291, มาตรา 300, มาตรา 311, มาตรา 390 เป็นองค์ประกอบภายใน ที่ผู้กระทำ ไม่มีเจตนาที่จะกระทำความผิด แต่กฎหมาย เอาผิด

ไม่มีเจตนา ก็ต้องรับผิด
“ถ้าคุณพิสูจน์ได้ว่า คุณไม่ได้ประมาท คุณก็พ้นผิด”
==================
แล้วความประมาท คืออะไร
==================
“กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่”
(ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่)

– ทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท
– ผู้คุมประมาททำให้ผู้ถูกคุมขังหลุด
– เจือสารพิษลงในอาหารหรือน้ำ
– ทำสิ่งที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตราย
– ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

ฟ้องขอเงินคืนเมื่อเที่ยวบินยกเลิกก่อนเวลาเดินทาง

ฟ้องขอเงินคืนเมื่อเที่ยวบินยกเลิกก่อนเวลาเดินทาง
กรณีผู้โดยสาร “ฟ้อง” สายการบินโดยตรง เป็นกรณีที่ ผู้บริโภค ฟ้องผู้ประกอบธุรกิจ กฎหมายที่ใช้ คือ “พระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551″

เอกสารที่ต้องเตรียม

1.ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ที่เข้าทำสัญญาซื้อบัตรโดยสาร และ/หรือ ผู้ชำระเงิน
2.หลักฐานการแจ้งบอกเลิกเที่ยวบินทั้งหมด
3.หลักฐานการชำระเงินที่ชำระไปแล้ว
4.หลักฐานทั้งหมดที่เกี่ยวกับเจรจา ข้อตกลง ที่ได้เจรจากันหลังจากที่เที่ยวบินยกเลิกแล้ว (หลักฐานการคุย เจรจา ผ่านแชท, อีเมลล์, โทรศัพท์)

ผู้บริโภคฟ้องผู้ประกอบธุรกิจ ไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง

กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค เริ่มใช้วันที่ 24 สิงหาคม 2551 เพื่อให้การดำเนินคดีรวดเร็ว ไม่มีค่าใช้จ่าย

ปัจจุบันระบบเศรษฐกิจมีการ
ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และมีการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตสินค้า
และบริการมากขึ้น ในขณะที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในเรื่องของคุณภาพสินค้าหรือบริการ
ตลอดจนเทคนิคการตลาดของผู้ประกอบธุรกิจ ทั้งยังขาดอำนาจต่อรองในการเข้าทำสัญญาเพื่อให้
ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ ทำให้ผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่เสมอ นอกจากนี้ เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้น
กระบวนการในการเรียกร้องค่าเสียหายต้องใช้เวลานานและสร้างความยุ่งยากให้แก่ผู้บริโภคที่จะต้อง
พิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ ซึ่งไม่อยู่ในความรู้เห็นของตนเอง อีกทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี
สูง ผู้บริโภคจึงตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบจนบางครั้งนำไปสู่การใช้วิธีการที่รุนแรงและก่อให้เกิดการ
เผชิญหน้าระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม อันส่งผลกระทบต่อ
ระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ สมควรให้มีระบบวิธีพิจารณาคดีที่เอื้อต่อการใช้สิทธิเรียกร้อง
ของผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายได้รับการแก้ไขเยียวยาด้วยความรวดเร็ว ประหยัด
และมีประสิทธิภาพ อันเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ขณะเดียวกัน เป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบ
ธุรกิจหันมาให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้น