ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 ผู้สนับสนุน

ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่น กระทำความผิด ก่อนหรือขณะกระทำความผิด แม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม ผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กำหนดไว้สำรับความผิดที่สนับสนุนนั้น

คดีแพ่ง มี 2 ประเภท

คดีแพ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ค […]

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172

คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ […]

ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 4

กฎหมายนั้น ต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่ง ต้องด้วยบทบัญญัติใด ๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษร หรือ ตาม

ความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้น ๆ

เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น

ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดี อาศัย เทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง

และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 มาตรา 68 มาตรา 72

มาตรา 67      กระทำความผิดด้วยความจำเป็น ไม่ต้องรับโทษ

มาตรา 68      ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีความผิด

มาตรา 72       บันดาลโทสะ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงไดก็ได้

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 บันดาลโทสะ

ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้

20 กุมภาพันธ์ วันทนายความ

วันที่ 20 กุมภาพันธ์  ของทุกปีเป็น “วันทนายความ”

พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528  ก่อตั้ง สภาทนายความ

พ.ศ. 2500 ก่อตั้งสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยขึ้น โดยจดทะเบียนก่อตั้ง เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500

พ.ศ.2528 ออกประกาศใช้เป็นกฎหมาย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2528 และมีผลบังคับใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่น ให้พ้นจากภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 กระทำความผิดด้วยความจำเป็น

ผู้ใดกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
(1) เพราะอยู่ในที่บังคับ หรือภายใต้อำนาจ ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ
(2) เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ เมื่อภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน
ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุแล้ว ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ