คลังข้อสอบเก่า เนติบัณฑิต

(อาญา สมัยที่ 60)

การสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 60 ปีการศึกษา 2550
กฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

วันอาทิตย์ 30 กันยายน 2550

คำถาม 10 ข้อ ให้เวลาตอบ 4 ชั่วโมง (14.00 น. ถึง 18.00 น.) ให้ยกเหตุผลประกอบคำตอบด้วย


ข้อ 1.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 2.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 205/2516
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 205/2516
คำพิพากษาย่อสั้น
ผู้ตาย ผู้เสียหาย และจำเลย ร่วมดื่มสุราด้วยกันจนเมาแล้วผู้ตายกับจำเลยทะเลาะกัน ผู้เสียหายจึงชวนจำเลยกลับบ้าน ผู้ตายตามมาต่อยและเตะจำเลยจนล้ม ลุกขึ้นก็ยังถูกเตะอีก เมื่อผู้ตายเตะ จำเลยก็ใช้มีดปลายแหลมที่ติดตัวไปแทงสวนไปสองสามครั้ง ถูกผู้ตาย ระหว่างนั้นผู้เสียหายเข้าขวางเพื่อห้าม จึงถูกมีดได้รับบาดเจ็บ ส่วนผู้ตายถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยต่อผู้ตายเป็นการกระทำโดยป้องกันพอสมควรแก่เหตุ แม้จะพลาดไปถูกผู้เสียหายเข้าด้วย ซึ่งตามมาตรา 60 ประมวลกฎหมายอาญา จะถือว่าจำเลยมีเจตนาแทงผู้เสียหายก็ดี แต่การกระทำของจำเลยก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากจำเลยแทงผู้ตายเพื่อป้องกันสิทธิ พอสมควรแก่เหตุอันไม่เป็นความผิด จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายด้วย
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยพาอาวุธมีดปลายแหลมไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรแล้วใช้มีดนั้นแทงนายกำพล ศรีบัว ถึงแก่ความตายและแทงนายสุเทพ ทรงวิรัชธร ผู้เสียหาย ถูกที่ใต้ไหปลาร้าขวาได้รับบาดเจ็บ จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 295, 371, 90, 91
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า จำเลยแทงผู้ตายเพื่อป้องกันพอสมควรแก่เหตุ ไม่มีความผิด จำเลยคงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย และฐานพาอาวุธไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรให้ลงโทษตามมาตรา 295 ซึ่งเป็นกระทงหนักที่สุด
โจทก์อุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันและศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตามมาตรา 295 เบาไป
ศาลอุทธรณ์คงเห็นพ้องกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยแทงผู้ตายเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ และวินิจฉัยความผิดตามมาตรา 295 ต่อไปว่า บาดแผลของผู้เสียหายอาจเกิดจากถูกมีดเอง โดยจำเลยมิได้แทงก็ได้ หรือหากเกิดจากแทงพลาดก็ถือว่าขาดเจตนาอีกทั้งเป็นกรณีเกิดจากการป้องกันตัวโดยชอบด้วย จำเลยไม่มีความผิด คงมีความผิดฐานพาอาวุธไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร
โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295
คดีมีปัญหาขึ้นมาสู่ศาลฎีกาเฉพาะข้อหาฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเพียงฐานเดียว
ศาลฎีกาเห็นว่า คืนเกิดเหตุ จำเลยกับผู้เสียหายพากันไปบ้านงานบวชนาคและจำเลยกับผู้ตายเกิดโต้เถียงกัน ผู้เสียหายจึงชวนจำเลยกลับ มาได้ประมาณ 10 เมตร ผู้ตายตามมาเรียกให้หยุด แล้วต่อยเตะจำเลย จำเลยล้มลง ลุกขึ้นก็ยังถูกเตะอีก เมื่อผู้ตายเตะ จำเลยก็ใช้มีดปลายแหลมที่ติดตัวแทงสวนไป กระทำอยู่เช่นนี้ 2-3 ครั้ง ระหว่างนั้นผู้เสียหายเข้าขวางเพื่อห้าม จึงถูกมีดได้รับบาดเจ็บการที่ผู้เสียหายถูกแทงนั้น จำเลยไม่มีเจตนาแทงผู้เสียหายโดยตรงแม้ตามมาตรา 60 แห่งประมวลกฎหมายอาญา จะถือว่าจำเลยมีเจตนาแทงผู้เสียหายก็ดี แต่การกระทำของจำเลยเป็นผลสืบเนื่องมาจากจำเลยแทงผู้ตายเพื่อป้องกันสิทธิพอสมควรแก่เหตุ อันไม่เป็นความผิดแม้ผลของการกระทำอาจเกิดแก่ผู้เสียหายโดยพลาดไป ก็ต้องถือว่าการกระทำโดยพลาดไปนั้น เป็นการป้องกันสิทธิของจำเลยพอสมควรแก่เหตุเช่นเดียวกัน จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานนี้ชอบแล้ว ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
ผู้พิพากษา
ธวัช สิทธิชัย
บุณยเกียรติ อรชุนะกะ
รัตน์ ศรีไกรวิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 892/2515
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 892/2515
คำพิพากษาย่อสั้น
จำเลยตั้งใจยิงคนร้ายที่ปล้ำอยู่กับบุตรสาวและบุตรเขยของจำเลยในน้ำลึกถึงเอว เพื่อช่วยให้บุตรสาวและบุตรเขยพ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายที่กำลังมีอยู่ โดยไม่พินิจพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อนว่าคนไหนเป็นคนร้าย คนไหนเป็นบุตรสาวบุตรเขย คนร้ายมีอาวุธอะไรหรือไม่ เมื่อลูกกระสุนปืนที่จำเลยยิงพลาดไปถูกบุตรเขยถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานฆ่าคนโดยเจตนาเพื่อป้องกันผู้อื่นเกินสมควรแก่เหตุ
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยใช้ปืนยิงนายแดงหรือวันชัย กลิ่นขจร ลูกเขยของจำเลยโดยเจตนาฆ่า กระสุนปืนถูกนายแดงหรือวันชัยถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ริบปืนและหัวกระสุนปืนที่ใช้ทำผิด
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 จำคุก 15 ปี ริบของกลาง
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยยิงโดยเจตนาเพื่อจะป้องกันนางทวีบุตรสาวกับนายแดง บุตรเขยให้พ้นจากการถูกคนร้ายทำร้าย เป็นการกระทำการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ พิพากษากลับยกฟ้องโจทก์
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า คนร้ายขึ้นไปจี้ขู่เอาเงินจากผู้ตายกับนางทวีบนเรือ นางทวีร้องเรียกจำเลยให้ช่วย จำเลยไปช่วยเห็นนางทวีและผู้ตายกำลังปล้ำอยู่กับคนร้ายในน้ำ จำเลยจึงใช้ปืนยิงไป กระสุนปืนไปถูกผู้ตายถึงแก่ความตาย ศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยใช้ปืนยิงคนร้ายขณะที่ปล้ำกับนางทวีและผู้ตายในน้ำลึกถึงเอว เพื่อช่วยเหลือนางทวีกับผู้ตายให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายที่กำลังมีอยู่ โดยจำเลยไม่รู้ว่าคนไหนเป็นผู้ตายหรือนางทวี คนไหนเป็นคนร้าย และคนร้ายมีอาวุธอะไรหรือไม่ เพราะมืด เป็นการขาดการพินิจพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน เมื่อลูกกระสุนปืนที่จำเลยตั้งใจยิงคนร้ายพลาดไปถูกผู้ตายถึงแก่ความตาย เช่นนี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฆ่าคนโดยเจตนากระทำเพื่อป้องกันผู้อื่นเกินสมควรแก่เหตุ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาว่าจำเลยไม่มีความผิด ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย
พิพากษากลับ จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 60, 69 พฤติการณ์แห่งคดีสมควรลงโทษจำเลยสถานเบา ให้จำคุกหนึ่งปี แต่จำเลยต้องขังมาพอแก่โทษแล้ว ให้ปล่อยตัวไป
ผู้พิพากษา
อุดม เพชรคุปต์
ชวน พูนคำ
กฤษณ์ โสภิตกุล


ข้อ 3.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 433/2546
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 433/2546
คำพิพากษาย่อสั้น
การฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน หมายความว่า ก่อนทำการฆ่าผู้กระทำผิดได้คิดไตร่ตรองทบทวนแล้วจึงตกลงใจกระทำความผิด ไม่ใช่กระทำไปโดยปัจจุบันทันด่วนเพราะเมาสุราหรือบันดาลโทสะ การไตร่ตรองไว้ก่อนเป็นเหตุเกี่ยวกับเจตนาส่วนตัวของผู้กระทำผิด ผู้ร่วมกระทำผิดที่มิได้ไตร่ตรองไว้ก่อนไม่มีความผิดด้วยเพราะกฎหมายมุ่งถึงการไตร่ตรองไว้ก่อนซึ่งเป็นสภาพจิตใจของแต่ละคน การจะเป็นตัวการร่วมกันฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจึงต้องมีลักษณะเป็นการวางแผนการคบคิดกันมาแต่ต้นที่จะไปฆ่าผู้อื่น หรือด้วยการใช้จ้างวาน หรือไปดักฆ่าผู้อื่นโดยมีพฤติการณ์ร่วมกันมาแต่ต้น แต่การที่จำเลยที่ 1 ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ตายมาก่อน และเป็นญาติพี่น้องกับผู้ตาย ทั้งก่อนเกิดเหตุได้มีการดื่มสุรากันโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ร่วมวางแผนกับจำเลยที่ 2 มาก่อน การที่จำเลยที่ 1 ร่วมไปฆ่าผู้ตายจึงเป็นการตัดสินใจในทันทีทันใดลักษณะตกกระไดพลอยโจนมากกว่า ดังนี้ จำเลยที่ 1 คงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 เท่านั้นไม่เป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4)
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 83, 91, 289, 371 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ, 72, 72 ทวิ ริบปลอกกระสุนปืนของกลาง
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ระหว่างพิจารณานางสุธินี สิตะรุโน ภริยาผู้ตายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ศาลชั้นต้นอนุญาตเฉพาะความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 371, 83 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 วรรคสาม, 72 ทวิ วรรคสอง การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่น จำคุกคนละ 20 ปี ฐานร่วมกันมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุกคนละ 6 เดือนฐานร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมืองหมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกคนละ 4 เดือน รวมจำคุกคนละ 20 ปี 10 เดือนคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ในชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 13 ปี 10 เดือน 20 วัน ริบปลอกกระสุนปืนของกลาง
จำเลยที่ 2 โจทก์และโจทก์ร่วมอุทธรณ์
ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 9 จำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมสำหรับจำเลยที่ 2 เป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(1) ให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 2ออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ภาค 9
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4), 83 ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนให้ลงโทษประหารชีวิต จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52(1) ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ให้จำคุกจำเลยที่ 1 ไว้ตลอดชีวิตและเมื่อลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ตลอดชีวิตแล้ว ก็ไม่อาจนำโทษจำคุกในความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและพาอาวุธปืนมารวมได้อีกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3)รวมทุกกระทงให้จำคุกจำเลยที่ 1 ไว้ตลอดชีวิต นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับนายธนิตหรือแนบและจำเลยที่ 2 ฆ่านายชุ่ม สิตะรุโน ผู้ตาย โดยนายธนิตหรือแนบ ธรรมโชติ เป็นคนใช้อาวุธปืนลูกซองยาวยิงผู้ตาย สำหรับข้อหาความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับนายธนิตหรือแนบและจำเลยที่ 2 ฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ ได้ความจากพยานของโจทก์และโจทก์ร่วมว่า นายธนิตหรือแนบมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ตายมาก่อน โดยก่อนเกิดเหตุประมาณ 2 ปี ผู้ตายได้สร้างบ้านหลังที่เกิดเหตุเสร็จ นายธนิตหรือแนบต้องการรับจ้างทาสีบ้านให้ผู้ตายแต่ผู้ตายกลับไปจ้างผู้อื่นทาสี ทำให้นายธนิตหรือแนบไม่พอใจ ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่พอใจผู้ตายเนื่องจากจำเลยที่ 2 สมัครรับเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ตำบลทำนบ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา แข่งกับนายถวิล สังฆะโร ผู้ตายสนับสนุนนายถวิลแต่นายธนิตหรือแนบสนับสนุนจำเลยที่ 2 ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้เป็นผู้ใหญ่บ้านผู้ตายเคยพูดตำหนิว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ใหญ่บ้านขี้เมาวัน ๆ ดีแต่ดื่มสุราไม่คิดพัฒนาหมู่บ้าน นอกจากนี้เมื่อประมาณปลายเดือนมกราคม 2541 นายธนิตหรือแนบได้ชกต่อยนายถาวร มณีโชติ ญาติของผู้ตาย ผู้ตาบอกว่าหากเป็นผู้ตายจะไม่ยอม ถ้ามีอาวุธปืนก็จะยิง เหตุดังกล่าวเชื่อว่ามีส่วนทำให้นายธนิตหรือแนบและจำเลยที่ 2 ไม่พอใจ เพราะนายธนิตหรือแนบเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ใหญ่บ้าน การกระทำของผู้ตายย่อมทำให้คนทั้งสองรู้สึกในทางที่ไม่ดีต่อผู้ตายนายชวก คงฆะ พยานโจทก์และโจทก์ร่วมเบิกความว่า เหตุการณ์เรื่องทาสีบ้านทำให้นายธนิตหรือแนบเสียหน้า ประกอบกับวันเกิดเหตุได้ความจากคำเบิกความของจำเลยที่ 1 เองว่า จำเลยที่ 1 นายธนิตหรือแนบและจำเลยที่ 2 ได้ดื่มสุราด้วยกันจนเมาสุราจึงทำให้คิดจะไปยิงผู้ตาย โจทก์ร่วมและนายณรงค์สังฆะโร เบิกความว่า เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2541 พันตำรวจตรีคณิต รัตนมณี พนักงานสอบสวนได้ให้โจทก์ร่วมและนายณรงค์พบกับจำเลยที่ 1 ในห้องทำงานซึ่งมีบุคคลอื่น ๆอยู่ด้วย นายณรงค์ถามจำเลยที่ 1 ว่าเหตุใดจึงทำกันอย่างนี้ จำเลยที่ 1 ได้ร้องไห้พร้อมกับยกมือไหว้และพูดว่าผมผิดไปแล้วที่ทำไปเพราะเมาและขัดใจเพื่อนไม่ได้ เมื่อสอบถามถึงสาเหตุที่ต้องยิงผู้ตายก็ได้ความว่านายธนิตหรือแนบไม่พอใจเรื่องทาสีบ้าน ส่วนนายชูไม่พอใจเรื่องการสมัครรับเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านดังกล่าว โจทก์ร่วมเบิกความตอบคำถามค้านของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ได้เล่าให้ฟังอีกว่า ก่อนจะไปยิงผู้ตายนั้น จำเลยที่ 1 ที่ 2และนายธนิตหรือแนบได้ดื่มสุรากันที่บ้านของจำเลยที่ 2 หลังจากดื่มสุราเมาเต็มที่แล้วจำเลยที่ 2 จึงพูดว่าไปยิงผู้ตายดีกว่า พันตำรวจโทคณิต รัตนมณี พนักงานสอบสวนพยานโจทก์และโจทก์ร่วมก็เบิกความยืนยันว่า ได้ไปตรวจสถานที่เกิดเหตุพบปลอกกระสุนปืนลูกซองเบอร์ 12 จำนวน 1 ปลอก ตกอยู่ที่ริมรั้วหน้าบ้านของผู้ตาย ต่อมาวันที่ 14 ธันวาคม 2541 จึงจับจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ทั้งนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ ตามบันทึกคำให้การ บันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำสารภาพ และภาพถ่าย หมาย จ.16 ถึง จ.18 ซึ่งบันทึกคำให้การเอกสารหมาย จ.16มีรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำความผิดสอดคล้องกับที่จำเลยที่ 1 เล่าให้โจทก์ร่วมและนายณรงค์ฟัง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 และนายธนิตหรือแนบร่วมกันฆ่าผู้ตายเพราะมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ตาย ส่วนจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยเพราะเมาสุราโดยไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ตายแต่อย่างใดอย่างไรก็ตาม การฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนนี้ หมายความว่าก่อนทำการฆ่าผู้กระทำผิดได้คิดไตร่ตรองทบทวนแล้วจึงตกลงใจกระทำความผิด ไม่ใช่กระทำไปโดยปัจจุบันทันด่วนเพราะเมาสุรา หรือบันดาลโทสะ การไตร่ตรองไว้ก่อนเป็นเหตุเกี่ยวกับเจตนาส่วนตัวของผู้กระทำผิด ผู้ร่วมกระทำผิดที่มิได้ไตร่ตรองไว้ก่อนไม่มีความผิดด้วยเพราะกฎหมายมุ่งถึงการไตร่ตรองไว้ก่อนซึ่งเป็นสภาพจิตใจของแต่ละคน การจะเป็นตัวการร่วมกันฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจึงต้องมีลักษณะเป็นการวางแผนการคบคิดกันมาแต่ต้นที่จะไปฆ่าผู้อื่นหรือด้วยการใช้จ้างวาน หรือไปดักฆ่าผู้อื่นโดยมีพฤติการณ์ร่วมกันมาแต่ต้น แต่สำหรับคดีนี้จำเลยที่ 1ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ตายมาก่อน และเป็นญาติพี่น้องกับผู้ตาย ทั้งปรากฏจากคำเบิกความของจำเลยที่ 1 และคำให้การชั้นสอบสวนว่าก่อนเกิดเหตุได้มีการดื่มสุรากันโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ร่วมวางแผนกับจำเลยที่ 2 และนายธนิตหรือแนบมาก่อนการที่จำเลยที่ 1 ร่วมไปฆ่าผู้ตายจึงเป็นการตัดสินใจในทันทีทันใดลักษณะตกกระไดพลอยโจนมากกว่า ดังนี้ จำเลยที่ 1 คงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 เท่านั้น ไม่เป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยที่ 1 ฟังขึ้น"
พิพากษากลับให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ผู้พิพากษา
ประพันธ์ ทรัพย์แสง
ดลจรัส รัตนโศภิต
จิระวรรณ ศิริบุตร


ข้อ 4.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 4495/2548
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 4495/2548
คำว่า "เอกสาร" ในประมวลกฎหมายอาญา หมายความว่า กระดาษหรือวัตถุอื่นใดซึ่งได้ทำให้ปรากฎความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่น จะเป็นโดยวิธีพิมพ์ถ่ายภาพหรือวิธีอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น ดังนั้น เอกสารจะมีขึ้นในรูปใดๆ ก็ได้ การปลอมเอกสารจึงมิต้องมีเอกสารที่แท้จริงอยู่ก่อน

จำเลยปลอมหนังสือลาออกจากตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและคำรับรองความเห็นชอบของกำนันด้วยลงลายมือชื่อปลอมบุคคลทั้งสองในหนังสือลาออกกับฟอร์มหนังสือขอแต่งตั้งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน โดยจำเลยลงลายมือชื่อปลอมของกำนันลงในเอกสารเพื่อแสดงว่าจำเลยได้ร่วมกับกำนันพิจารณาคัดเลือกและจัดทำหนังสือขอแต่งตั้งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เสนอต่อนายอำเภอตามระเบียบ เป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับ จึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร


ข้อ 5.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 6.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 229/2510
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 229/2510 (ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาย่อสั้น
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างรายวันของเทศบาลนครกรุงเทพ มีหน้าที่ขับรถยนต์ของเทศบาลฯ บรรทุกคนงานไปทำการล้างท่อและซ่อมท่อระบายน้ำ จำเลยที่ 2 เป็นคนล้างท่อและซ่อมท่อจำเลยมีหน้าที่เพียงดูแลรักษารถยนต์และน้ำมันเท่านั้น เทศบาลมิได้มอบการครอบครองรถยนต์และน้ำมันให้จำเลยครอบครองแต่อย่างใดฉะนั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ครอบครองรถยนต์และน้ำมันเบนซินในถังของรถยนต์นั้น เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ร่วมกันดูดเอาน้ำมันเบนซินไปจากถังรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับ แล้วนำเอาน้ำมันนั้นไปขายให้จำเลยที่ 3 ดังนี้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7)(11) จำเลยที่ 3 รับไว้โดยรู้ ก็ต้องมีความผิดฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2510)
คำพิพากษาย่อยาว
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างรายวันของเทศบาลนครกรุงเทพ จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ขับรถยนต์ของเทศบาลนครกรุงเทพ บรรทุกคนงานล้างท่อระบายน้ำ จำเลยที่ 2 เป็นคนงานล้างท่อและซ่อมท่อระบายน้ำ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2507 จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้บังอาจลักน้ำมันเบนซินจำนวน 2 กระป๋องราคา 11.50 บาท โดยใช้สายปลาสติกดูดลักเอาไปจากถังน้ำมันรถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับ และตามวันเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 3 ได้บังอาจรับเอาน้ำมันเบนซิน 2 กระป๋องนั้นโดยรู้อยู่ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7)(11), 83, 357 กับขอให้สั่งคืนของกลางแก่ผู้เสียหายและขอให้ริบท่อปลาสติกของกลาง
จำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธตลอดข้อหา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างรายวันของเทศบาลนครกรุงเทพมีหน้าที่ขับรถยนต์บรรทุกรับส่งคนงานไปทำการล้างท่อเมื่อจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ขับรถยนต์ก็เห็นได้ในตัวว่าจำเลยมีหน้าที่ดูแลรักษารถยนต์ตลอดถึงน้ำมันรถยนต์ด้วย เพราะอยู่ในหน้าที่ความครอบครองของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 บังอาจร่วมกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างรายวันเช่นเดียวกันดูดเอาน้ำมันรถยนต์ไปโดยทุจริตเช่นนี้ การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดฐานยักยอก หาใช่ความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ และการที่จำเลยที่ 3 รับซื้อไว้ก็หาใช่โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ดังที่โจทก์บรรยายฟ้องไม่ เพราะเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการยักยอกข้อเท็จจริงที่ได้ความตามทางพิจารณาจึงต่างกับฟ้อง พิพากษายกฟ้องคืนของกลางให้แก่ผู้เสียหาย ริบสายปลาสติกของกลาง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกาว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นผิดฐานลักทรัพย์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามฟ้อง
ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับศาลชั้นต้น และโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่าการที่จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ขับรถยนต์ จำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องดูแลรักษารถยนต์ตลอดถึงน้ำมันเบนซินในรถยนต์ด้วยตามนัยฎีกาที่ 1092/2505 ก็จริงอยู่แต่จำเลยก็มีหน้าที่เพียงดูแลรักษาเท่านั้น เทศบาลนครกรุงเทพมิได้มอบการครอบครองรถยนต์และน้ำมันเบนซินในรถยนต์ให้จำเลยครอบครองแต่อย่างใด ฉะนั้นกรณีนี้จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ครอบครองรถยนต์และน้ำมันเบนซินในรถยนต์นั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ผิดฐานยักยอก ส่วนจำเลยที่ 3 ศาลฎีกาเชื่อว่าจำเลยที่ 3 รู้ว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ลักเอาน้ำมันของเทศบาลนครกรุงเทพไปขายให้จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงมีความผิดฐานรับของโจร พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นว่า นายสมควรจำเลยที่ 1 และนายชมจำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7) และ (11)ให้จำคุกคนละ 1 ปี จำเลยที่ 3 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 ให้จำคุก 6 เดือน นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ผู้พิพากษา
มณี ชุติวงศ์
ไฉน บุญยก
โกวิท ถิระวัฒน์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 1092/2505
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 1092/2505
คำพิพากษาย่อสั้น
จำเลยเป็นผู้คุมตรี มีหน้าที่ควบคุมดูแลนักโทษ และยังมีหน้าที่ขับรถยนต์ของเรือนจำด้วย พัศดีเรือนจำให้จำเลยเอารถยนต์ของเรือนจำไปบรรทุกแกลบ จำเลยก็ขับไป เมื่อจำเลยมีหน้าที่ขับรถยนต์ก็มีหน้าที่ต้องดูแลรักษารถยนต์ตลอดถึงน้ำมันรถยนต์ด้วย การที่จำเลยเบียดบังเอาน้ำมันในรถยนต์จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยรับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญตำแหน่งผู้คุมตรีเรือนจำจังหวัดอุตรดิตถ์ มีหน้าที่ควบคุมนักโทษและขับรถยนต์ของเรือนจำและรักษาน้ำมันที่บรรจุอยู่ในรถ พัศดีเรือนจำสั่งให้จำเลยนำรถยนต์ไปขนแกลบ จำเลยได้เบียดบังยักยอกเอาน้ำมันที่บรรจุอยู่ในรถซึ่งจำเลยมีหน้าที่ดูแลรักษานั้นเป็นประโยชน์ส่วนตนเสีย 5 ลิตร ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 พระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2502 มาตรา 3
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหน้าที่จัดการหรือรักษารถยนต์หรือน้ำมันของเรือนจำ พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมิได้เป็นคนเอาน้ำมันไปพิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเอาน้ำมันรถไปจริง แล้ววินิจฉัยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ว่า จำเลยรับราชการตำแหน่งผู้คุมตรี เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายมีหน้าที่ควบคุมดูแลนักโทษและยังมีหน้าที่ขับรถยนต์ของเรือนจำด้วย พัศดีเรือนจำซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลย ให้จำเลยเอารถยนต์ของเรือนจำไปบรรทุกแกลบ จำเลยก็ขับรถยนต์ไป เห็นได้ว่าจำเลยขับรถไปตามหน้าที่ของจำเลย เมื่อมีหน้าที่ขับรถก็เห็นได้อยู่ในตัวว่าจำเลยมีหน้าที่ต้องดูแลรักษารถยนต์ตลอดถึงน้ำมันรถยนต์ด้วย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147
ผู้พิพากษา
คร้าม สิวายะวิโรจน์
ชวน สิงหลกะ
อนุสสรนิติสาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 1082/2549
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 1082/2549
คำพิพากษาย่อสั้น
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกน้ำมันของผู้เสียหายเข้ามาจอดที่บริเวณบ้านของจำเลยที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขายน้ำมันที่จำเลยที่ 1 จะดูดออกจากถังน้ำมันของรถยนต์บรรทุกให้แก่จำเลยที่ 2 ขณะที่จำเลยที่ 1 ใช้คีมตัดลวดและซีลซึ่งใช้ปิดฝาถังน้ำมันเพื่อเปิดฝาถังน้ำมันออก โดยจำเลยที่ 2 ถือถังน้ำมันเตรียมไว้รองรับน้ำมันที่จำเลยที่ 1 จะลักมาขายให้ก็ถูกเจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุม การที่จำเลยที่ 2 เตรียมถังน้ำมันไว้รองรับน้ำมันที่จำเลยที่ 1 จะลักจากรถยนต์บรรทุกน้ำมัน จำเลยที่ 2 ได้กระทำไปโดยมีเจตนาจะรับซื้อน้ำมันจากจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่อาจถือได้ว่าการที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 นำรถยนต์บรรทุกน้ำมันเข้ามาจอดในบริเวณบ้านของตนเป็นการกระทำโดยเจตนาช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 ในการลักทรัพย์
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335, 80, 83, 33 และริบของกลาง
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (3) วรรคแรก, 80 จำคุก 1 ปี คำให้การจำเลยที่ 1 ชั้นจับกุมเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้จำเลยที่ 1 หนึ่งในสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 9 เดือน ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 รีบคีมของกลาง คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (3) วรรคแรก, 80, 86 จำคุก 8 เดือน จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพชั้นจับกุม เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 6 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า ในวันเวลา และสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกน้ำมันคันเกิดเหตุบรรทุกน้ำมันของบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ผู้เสียหาย มาจอดที่บ้านที่เกิดเหตุ ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจได้จับกุมจำเลยทั้งสองขณะจำเลยที่ 1 กำลังพยายามลักน้ำมันจากถังน้ำมันบนรถยนต์บรรทุกดังกล่าว คดีในส่วนของจำเลยที่ 1 ยุติ คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาลงโทษมาหรือไม่ โจทก์นำสืบโดยมีร้อยตำรวจตรีสมศักดิ์ วงศ์พรหม เบิกความว่า พยานเป็นผู้จับกุมจำเลยทั้งสอง โดยพยานเห็นรถยนต์บรรทุกน้ำมันคันที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับแล่นเลี้ยวลงไปที่ถนนข้างทางตรงไปที่บ้านของจำเลยที่ 2 พยานจึงลงจากรถไปแอบซุ่มดู เนื่องจากโดยปกติรถยนต์บรรทุกน้ำมันจะไม่จอดแวะที่ใดหากไม่ใช่สถานีบริการน้ำมัน พยานเห็นจำเลยที่ 1 ปีนรถขึ้นไปบนถังน้ำมันเพื่อเปิดฝาถังน้ำมัน โดยการใช้คีมตัดลวดและซีลซึ่งใช้ปิดฝาถังน้ำมันออก และขณะนั้นพยานพบจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านที่เกิดเหตุถือถังน้ำมันเดินมาจากข้างรถ เพื่อนำถังมารองรับน้ำมัน พยานจึงจับกุมจำเลยทั้งสองและแจ้งข้อหาว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 พยายามลักทรัพย์โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองทรัพย์ จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ ตามบันทึกการจับกุมเอกสารหมาย ป.จ.2 เห็นว่า ข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวได้ความเพียงว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกน้ำมันของผู้เสียหายเข้ามาจอดที่บริเวณบ้านของจำเลยที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขายน้ำมันที่จำเลยที่ 1 จะดูดออกจากถังน้ำมันของรถยนต์บรรทุกให้แก่จำเลยที่ 2 ขณะที่จำเลยที่ 1 ใช้คีมตัดลวดและซีลซึ่งใช้ปิดฝาถังน้ำมันเพื่อเปิดฝาถังน้ำมันออก โดยจำเลยที่ 2 ถือถังน้ำมันเตรียมไว้รองรับน้ำมันที่จำเลยที่ 1 จะลักมาขายให้ก็ถูกเจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุม การที่จำเลยที่ 2 เตรียมถังน้ำมันไว้รองรับน้ำมันที่จำเลยที่ 1 จะลักจากรถยนต์บรรทุกน้ำมัน จำเลยที่ 2 ได้กระทำไปโดยมีเจตนาจะรับซื้อน้ำมันจากจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่อาจจะถือได้ว่าการที่จำลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 นำรถยนต์บรรทุกน้ำมันเข้ามาจอดในบริเวณบ้านของตนเป็นการกระทำโดยเจตนาช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 ในการลักทรัพย์ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยมา พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาช่วยเหลือหรือให้สะดวกในการที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ก่อนหรือขณะกระทำความผิด ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดฐานพยายามลักทรัพย์นั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยที่ 2 ฟังขึ้น"
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ผู้พิพากษา
พรเพชร วิชิตชลชัย
รุ่งโรจน์ รื่นเริงวงศ์
ปราโมทย์ พิพัทธ์ปราโมทย์


ข้อ 7.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 8.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 9.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 10.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

Visitor Statistics
» 1 Online
» 16 Today
» 24 Yesterday
» 100 Week
» 368 Month
» 1618 Year
» 68599 Total
Record: 15081 (20.04.2022)
Free PHP counter