คลังข้อสอบเก่า เนติบัณฑิต

(อาญา สมัยที่ 57)

การสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 57 ปีการศึกษา 2547
กฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

วันอาทิตย์ 3 ตุลาคม 2547

คำถาม 10 ข้อ ให้เวลาตอบ 4 ชั่วโมง (14.00 น. ถึง 18.00 น.) ให้ยกเหตุผลประกอบคำตอบด้วย


ข้อ 1.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 7695/2543
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 7695/2543
การที่จำเลยที่ 2 ร่วมเรียกและรับเงินไปจาก น. เป็นการตอบแทนโดยอ้างว่าจะนำไปใช้จูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาโดยวิธีการอันทุจริตให้กระทำการในหน้าที่พิพากษาคดีโดยรอการลงโทษจำคุกให้แก่ น. ในคดีอาญาที่ น. ถูกฟ้องนั้น ครบองค์ประกอบตามผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 แล้ว แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ไปจูงใจผู้พิพากษาให้กระทำการในหน้าที่ให้เป็นคุณแก่ น. ก็ยังครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 143 แม้คำเบิกความของ น. ไม่ได้ระบุชื่อผู้พิพากษาซึ่งมีหน้าที่พิจารณาคดีอาญาที่ น. ถูกฟ้อง ก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นความผิดเพราะขาดองค์ประกอบความผิดไปแต่อย่างใด

คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันเรียกเงินจำนวน 20,000 บาท จากนายนพรัตน์ พุ่มร่มไทรย์ ซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย โดยจำเลยที่ 2 ขณะเกิดเหตุเป็นลูกจ้างชั่วคราวของสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดอ่างทอง และจำเลยที่ 1 ซึ่งอ้างว่าตนเป็นพนักงานอัยการจังหวัดอ่างทองเรียกเงินจำนวนดังกล่าวสำหรับตนเองและผู้อื่น เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย โดยวิธีอันทุจริตหรือผิดกฎหมายให้กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณแก่นายนพรัตน์ โดยให้พิพากษารอการลงโทษจำคุกไว้และนายนพรัตน์หลงเชื่อจะจ่ายให้ แต่ต่อรองเหลือเพียง 13,000 บาท โดยจ่ายงวดแรกเป็นเงิน 7,000 บาท แก่จำเลยทั้งสองแล้วต่อมาทราบว่าจำเลยที่ 1 มิใช่พนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง จึงแจ้งเจ้าพนักงานตำรวจวางแผนจับกุม ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 143, 83

จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ ระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 1 ขอถอนคำให้การเดิมโดยให้การใหม่เป็นรับสารภาพ ศาลชั้นต้นให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีใหม่

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 143 ประกอบด้วยมาตรา 83 ให้จำคุก 2 ปี

จำเลยที่ 2 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน

จำเลยที่ 2 ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงฟังได้ในเบื้องต้นว่า จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 อยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ขณะเกิดเหตุคดีนี้จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างชั่วคราวทำงานในตำแหน่งพนักงานคุมประพฤติสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดอ่างทอง ซึ่งได้รับมอบหมายให้สืบเสาะและพินิจในคดีที่นายนพรัตน์ พุ่มร่มไทรย์ ซึ่งถูกฟ้องข้อหาทำร้ายร่างกายในคดีอาญาหมายเลขที่ 1144/2540 ของศาลชั้นต้นส่วนจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษโดยวินิจฉัยว่าเป็นผู้เรียกรับหรือยอมจะรับเงินจากนายนพรัตน์ สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นโดยวิธีอันทุจริตผิดกฎหมายให้กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณแก่นายนพรัตน์อันเป็นความผิดตามฟ้อง ซึ่งคดีถึงที่สุดไปแล้ว มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 เพียงว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดดังกล่าวด้วยหรือไม่โจทก์มีนายนพรัตน์ พุ่มร่มไทรย์ นายบุญลือ พุ่มร่มไทรย์ บิดานายนพรัตน์และร้อยตำรวจโทสมนึก สุปิยะพาณิชย์ พนักงานสอบสวนคดีนี้เป็นพยานเบิกความประกอบกัน เห็นว่าพยานโจทก์ทั้งสามไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยที่ 2 มาก่อน และไม่มีเหตุอื่นที่จะร่วมกันสร้างพยานหลักฐานและมาเบิกความปรักปรำกลั่นแกล้งจำเลยที่ 2 และคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสามก็สอดคล้องกันในข้อสาระสำคัญ ประกอบกับลำดับของเหตุการณ์ก็เชื่อมโยงกันอย่างสมเหตุผล อีกทั้งจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำให้การต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2541 มีรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยที่ 2 ว่าเป็นผู้ใช้ให้จำเลยที่ 1 ไปติดต่อเรียกรับเงินจากนายนพรัตน์และรายละเอียดอื่นสอดคล้องกับคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสาม จึงเชื่อได้ว่าพยานโจทก์ทั้งสามเบิกความตามที่รู้เห็นและประสบมาจริง ที่จำเลยที่ 2 นำสืบและฎีกาว่าจำเลยที่ 2 นำสำนวนการสืบเสาะนายนพรัตน์ไปทำที่บ้านเพราะมีงานมาก เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 แอบนำสำนวนการสืบเสาะดังกล่าวไปเรียกร้องเอาเงินจากนายนพรัตน์โดยจำเลยที่ 2 มิได้รู้เห็นเกี่ยวข้องด้วยนั้น ก็มีแต่คำเบิกความลอย ๆ ของจำเลยทั้งสอง ทั้งขัดแย้งกับที่จำเลยที่ 1 เคยยื่นคำให้การไว้ต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2541 ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 เรียกและรับเงินจากนายนพรัตน์เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นโดยวิธีอันทุจริตผิดกฎหมายให้กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณแก่นายนพรัตน์ในคดีอาญาที่นายนพรัตน์ถูกฟ้อง ส่วนที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ตามคำเบิกความของนายนพรัตน์ที่เบิกความว่า จำเลยที่ 1 เรียกและรับเงินจากนายนพรัตน์โดยอ้างว่าจะไปวิ่งเต้นผู้พิพากษาเพื่อให้พิจารณารอการลงโทษในคดีที่นายนพรัตน์ถูกฟ้อง นายนพรัตน์ไม่ได้ระบุชื่อผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งมีหน้าที่พิจารณาคดีดังกล่าวโดยเฉพาะไม่ได้ระบุว่าผู้พิพากษาสองท่าน ท่านหนึ่งท่านใดที่เป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีจะให้คุณให้โทษแก่นายนพรัตน์ได้ จึงนำมารับฟังลงโทษจำเลยที่ 2 ไม่ได้ เห็นว่าการที่จำเลยที่ 2 ร่วมเรียกและรับเงินไปจากนายนพรัตน์ เป็นการตอบแทนโดยอ้างว่าจะนำไปใช้จูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นโดยวิธีการอันทุจริตให้กระทำการในหน้าที่พิพากษาคดีโดยรอการลงโทษจำคุกให้แก่นายนพรัตน์ในคดีอาญาที่นายนพรัตน์ถูกฟ้องนั้น ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 แล้ว แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ไปจูงใจผู้พิพากษาศาลชั้นต้นให้กระทำการในหน้าที่ให้เป็นคุณแก่นายนพรัตน์ ก็ยังครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 143 อยู่นั่นเองดังนั้น แม้คำเบิกความของนายนพรัตน์ไม่ได้ระบุชื่อผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งมีหน้าที่พิจารณาคดีอาญาที่นายนพรัตน์ถูกฟ้องก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นความผิดเพราะขาดองค์ประกอบความผิดไปแต่อย่างใด คำพิพากษาศาลฎีกาที่จำเลยที่ 2 อ้างมีฐานความผิดและรูปเรื่องไม่ตรงกับคดีนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันให้ลงโทษจำเลยที่ 2 นั้นชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น"
พิพากษายืน

ผู้พิพากษา
สุวัตร์ สุขเกษม
วีระศักดิ์ รุ่งรัตน์
วิบูลย์ มีอาสา


ข้อ 2.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 3.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 3089/2541
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 3089/2541
การที่ผู้เสียหายที่ 1 ไปท้าทายจำเลยโดยพูดเพียงว่า"มึงออกมาต่อยกับกูตัวต่อตัวถ้าแน่จริง" แม้จำเลยไม่มีหน้าที่ จะต้องหลบหนีก็ตาม แต่หากจำเลยไม่สมัครใจที่จะวิวาท หรือต่อสู้กับผู้เสียหายที่ 1 จำเลยก็ชอบที่จะไม่ตอบโต้ หรือ ออกไปพบผู้เสียหายที่ 1 แต่จำเลยกลับออกไปพบผู้เสียหายที่ 1 โดยพกอาวุธปืนไปด้วย แสดงว่าจำเลยสมัครใจเข้าวิวาทและต่อสู้กับผู้เสียหายที่ 1 และเข้าสู่ภัยโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจ แม้ผู้เสียหายที่ 1 จะชักมีดออกมาเพื่อจ้วงแทงจำเลย ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะวิวาทกัน จำเลยไม่มีสิทธิ ใช้ไม้ตีผู้เสียหายทั้งสองและใช้ปืนยิงผู้เสียหายที่ 1 โดยอ้างเหตุป้องกันตามกฎหมาย ทั้งการที่ผู้เสียหายที่ 1มาเรียกจำเลยให้ออกไปชกต่อยกันตัวต่อตัว ไม่เป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงไม่อาจอ้างเหตุบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 จำเลยใช้ไม้กลมยาวประมาณ 1 ศอก ตีที่ศีรษะ ผู้เสียหายที่ 2 เป็นเหตุให้มีรอยช้ำที่บริเวณท้ายทอยใช้เวลารักษาประมาณ 5 วัน เป็นการใช้อาวุธทำร้ายที่บริเวณอวัยวะสำคัญ เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายแก่กาย เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33, 80, 288, 295, 297 และริบของกลาง
จำเลยให้การต่อสู้อ้างเหตุป้องกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 80, 295, 297 ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 1 และฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 1 เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80 อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 10 ปี และความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 จำคุก 6 เดือน รวมจำคุก 10 ปี 6 เดือน จำเลยให้การเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 6 ปี 12 เดือน ริบของกลาง
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงในเบื้องต้นฟังได้ว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุดังกล่าวในฟ้อง จำเลยได้ใช้ไม้ของกลางตีศีรษะนายวีระชัย หลำวรรณะ ผู้เสียหายที่ 1และนายกิจจา หลำวรรณะ ผู้เสียหายที่ 2 และใช้อาวุธปืนสั้นยิงผู้เสียหายที่ 1 จำนวน 3 นัด เป็นเหตุให้ผู้เสียหายทั้งสองได้รับบาดเจ็บ ตามผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์เอกสารหมาย จ.4และ จ.5 คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในประการแรกว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่โจทก์มีผู้เสียหายทั้งสองเป็นพยานเบิกความฟังประกอบกันว่าจำเลยกับผู้เสียหายที่ 1 และพวกเคยมีเรื่องทะเลาะวิวาทกันมาก่อนและก่อนเกิดเหตุ 1 วัน ผู้เสียหายที่ 1 ได้ไปยืนท้าทายจำเลยให้ออกมาต่อสู้กัน แต่จำเลยไม่ออกมา ในวันเกิดเหตุนายสุทัน ลัดลอยพี่จำเลยมาเรียกผู้เสียหายที่ 1 ให้ออกไปต่อสู้กัน โดยพูดว่า"มึงต้องมาเอากับกูนี่" เมื่อผู้เสียหายที่ 1 เดินตามออกไปถึงหน้าบ้านมารดาจำเลยและพูดกับนายสุทันว่าเรื่องนี้ให้เลิกกันเสียที จำเลยซึ่งอยู่ในบ้านดังกล่าวก็ถือไม้ของกลางวิ่งออกมาตีศีรษะผู้เสียหายที่ 1 จนล้มลงแล้วใช้อาวุธปืนที่พกติดตัวมายิงผู้เสียหายที่ 1 จำนวน 3 นัด ส่วนจำเลยอ้างตนเองเป็นพยานเบิกความว่า ในวันเวลาเกิดเหตุ ขณะที่จำเลยยืนอยู่หน้าบ้านจำเลย ผู้เสียหายที่ 1 ได้เดินมาที่หน้าบ้านดังกล่าวและพูดท้าทายจำเลย จำเลยจึงหยิบไม้ของกลางวิ่งออกไปตีศีรษะผู้เสียหายที่ 1 เมื่อผู้เสียหายที่ 2 วิ่งเข้ามาจะทำร้าย จำเลยจึงใช้ไม้นั้นตีศีรษะผู้เสียหายที่ 2 จนล้มลง ผู้เสียหายที่ 2เตะรวบเท้าจำเลยล้มลงบ้าง ผู้เสียหายที่ 1 ชักมีดซึ่งมีลักษณะคล้ายมีดปอกผลไม้ยาวประมาณ 1 คืบ ออกมาจะจ้วงแทงจำเลยจำเลยไม่สามารถหลบหลีกได้จึงใช้อาวุธปืนที่พกติดตัวมายิงผู้เสียหายที่ 1 จำนวน 3 นัด โดยมีนายสุทันเป็นพยานเบิกความสนับสนุน ดังนี้ เห็นว่า ผู้เสียหายที่ 1 กับพวกเคยทะเลาะวิวาทกับจำเลยมาก่อน และก่อนเกิดเหตุเพียง 1 วัน ผู้เสียหายที่ 1ก็ได้ไปยืนหน้าบ้านมารดาจำเลยและท้าทายจำเลยให้ออกมาต่อสู้กันครั้งหนึ่งแล้วการที่ผู้เสียหายที่ 1 ไปยังบริเวณที่เกิดเหตุในวันเกิดเหตุอีก เชื่อว่าเป็นการไปท้าทายให้จำเลยออกมาต่อสู้กันตามทางนำสืบของจำเลยมากกว่า มิใช่ตามไปพูดกับนายสุทันเพื่อขอเลิกราต่อกันตามทางนำสืบของโจทก์ การที่ผู้เสียหายที่ 1ไปท้าทายจำเลยโดยพูดเพียงว่า "มึงออกมาต่อยกับกูตัวต่อตัวถ้าแน่จริง" ตามคำเบิกความของนายสุทันพยานจำเลยนั้น แม้จำเลยไม่มีหน้าที่จะต้องหลบหนีก็ตาม แต่หากจำเลยไม่สมัครใจที่จะวิวาทหรือต่อสู้กับผู้เสียหายที่ 1 จำเลยก็ชอบที่จะไม่ตอบโต้หรือออกไปพบผู้เสียหายที่ 1 เพราะคำพูดดังกล่าวไม่ร้ายแรงอะไรแต่จำเลยกลับออกไปพบผู้เสียหายที่ 1 โดยพกอาวุธปืนไปด้วยซึ่งอาวุธปืนดังกล่าวนี้จำเลยเบิกความตอบโจทก์ถามค้านว่าในวันเกิดเหตุจำเลยพกอาวุธปืนเนื่องจากทราบว่าผู้เสียหายทั้งสองจะมาทำร้ายจำเลย ซึ่งเป็นการตระเตรียมเพื่อจะวิวาทต่อสู้กับพวกผู้เสียหายที่ 1 มาแต่ต้น พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยสมัครใจเข้าวิวาทและต่อสู้กับผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งมีลักษณะเป็นการสมัครใจก่อและเข้าสู้ภัยโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจ แม้ผู้เสียหายที่ 1จะชักมีดออกมาเพื่อจ้วงแทงจำเลยตามทางนำสืบของจำเลย ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะวิวาทกัน จำเลยไม่มีสิทธิใช้ไม้ของกลางตีผู้เสียหายทั้งสองและใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายที่ 1 โดยอ้างเหตุป้องกันตามกฎหมาย ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้นชอบแล้ว
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการต่อไปมีว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะหรือไม่ เห็นว่า การกระทำโดยบันดาลโทสะนั้นประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72บัญญัติว่า "ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้" ซึ่งหมายความว่า จำเลยจะอ้างเหตุบันดาลโทสะได้ต่อเมื่อถูกผู้เสียหายทั้งสองข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมเท่านั้น แต่ข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่า ผู้เสียหายที่ 1มาเรียกจำเลยให้ออกไปชกกันตัวต่อตัวโดยไม่มีพฤติการณ์อื่นซึ่งมิใช่เป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงแต่อย่างใด และด้วยเหตุเพียงเท่านั้นจำเลยถึงกับใช้ไม่ของกลางทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 ก่อนการที่ผู้เสียหายทั้งสองทำร้ายจำเลยบ้างจึงเป็นเหตุที่เกิดในขณะสมัครใจวิวาทต่อสู้กัน ไม่ใช่เป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงตามบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยไม่อาจอ้างเหตุบันดาลโทสะได้
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการต่อไปมีว่าจำเลยทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 หรือไม่เห็นว่าการที่จำเลยใช้ไม้ของกลางซึ่งเป็นไม้กลมยาวประมาณ 1 ศอกตีที่ศีรษะผู้เสียหายที่ 2 เป็นเหตุให้มีรอยช้ำที่บริเวณท้ายทอยต้องใช้เวลารักษาประมาณ 5 วัน ตามรายงานผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์เอกสารหมาย จ.5 นั้น เป็นการใช้อาวุธทำร้ายที่บริเวณอวัยวะสำคัญเป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายแก่กาย อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295คำพิพากษาฎีกาที่จำเลยกล่าวอ้างมาในฎีกาของจำเลยเป็นเรื่องทำร้ายโดยไม่ใช้อาวุธและผู้เสียหายได้รับบาดเจ็ดเพียงเล็กน้อยข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดีนี้
พิพากษายืน

ผู้พิพากษา
บุรินทร์ โชคเกิด
บุญธรรม อยู่พุก
ไชยวัฒน์ สัตยาประเสริฐ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 4686/2545
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 4686/2545
ก่อนเกิดเหตุผู้ตายกับครอบครัวจำเลยมีเรื่องทะเลาะกันอย่างรุนแรง ต่อมาผู้ตายได้มาโต้เถียงกับจำเลยเป็นเวลานาน จำเลยย่อมจะมีความโกรธเคืองผู้ตายเป็นอย่างมากถึงกับมีการท้าทายให้ไปตกลงกันที่ฟากคลองฝั่งตรงกันข้าม และจำเลยได้ถือมีดปลายแหลมขนาดใหญ่ออกเดินนำหน้าไปก่อนอันถือได้ว่าจำเลยได้สมัครใจเข้าวิวาทและต่อสู้กับผู้ตาย เป็นการเข้าสู้ภัยโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ แม้ผู้ตายถือจอบขนาดใหญ่เดินตามจำเลยและได้ทำร้ายจำเลยก่อนก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะที่จำเลยกับผู้ตายสมัครใจวิวาทกัน ดังนั้น จำเลยจึงไม่อาจที่จะอ้างสิทธิป้องกันได้ตามกฎหมาย และเมื่อจำเลยสมัครใจที่จะไปต่อสู้กับผู้ตายเอง จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงไม่อาจอ้างเหตุบันดาลโทสะได้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2541 เวลากลางวันจำเลยได้พาอาวุธมีดปลายแหลมยาวประมาณ 24 นิ้ว ความกว้างของตัวมีดประมาณ 3 นิ้ว ติดตัวไปในเมืองหมู่บ้าน ทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุสมควร และจำเลยได้ใช้มีดดังกล่าวเป็นอาวุธฟันนายสุนทร ชิวภักดี โดยเจตนาฆ่าที่บริเวณลำคอซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญหลายครั้งเป็นเหตุให้เส้นเลือดแดงดำและกล้ามเนื้อบริเวณลำคอของนายสุนทรขาด ทำให้สมองขาดเลือดและถึงแก่ความตาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 288, 371
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ประกอบมาตรา 72, 371 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานฆ่าผู้อื่น โดยบันดาลโทสะ จำคุก 4 ปี ฐานพกอาวุธมีดไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุสมควร ปรับ 100 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 29, 30
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 72 จำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นการแก้บทกฎหมายที่ลงโทษโดยไม่ได้แก้โทษเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งที่จำเลยฎีกาว่าไม่ได้ประสงค์ให้ผู้ตายถึงแก่ความตายหรืออีกนัยหนึ่งคือไม่มีเจตนาฆ่าผู้ตายและขอให้ศาลฎีกาลงโทษสถานเบากับรอการลงโทษนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ คดีคงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นการกระทำโดยเหตุบันดาลโทสะหรือไม่ ซึ่งในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้ว จากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222 ซึ่งศาลอุทธรณ์รับฟังมาว่าบ้านพักของนางบุญศรีทองกรรณ แม่ยายของจำเลยกับบ้านพักของนายสุนทร ชิวภักดี ผู้ตายอยู่ติดกันมีเพียงรั้วกั้นอยู่เท่านั้น และผู้ตายกับนางบุญศรีมีเรื่องไม่ถูกกันโดยมักจะมีเรื่องทะเลาะดุด่ากันอยู่เนือง ๆ ในวันเกิดเหตุตั้งแต่เวลา 8 นาฬิกา นายบุญศรีกับจำเลยพร้อมญาติของจำเลยพากันไปซ่อมรั้วบ้านที่กันบริเวณบ้านของนางบุญศรีกับบ้านผู้ตายโดยนำแผ่นสังกะสีมาตีปะเข้ากับรั้วไม้เดิม ผู้ตายกลับมาจากภายนอกบ้านมาพบก็เกิดความไม่พอใจ ผู้ตายมีอาการมึนเมาสุรามาด้วยจึงได้เข้าไปต่อว่าและดุด่านางบุญศรี นอกจากนี้ผู้ตายยังได้ใช้มือเขย่ารั้วสังกะสีอย่างแรงจนรั้วจะพัง แม้นางบุญศรีจะได้ว่ากล่าวห้ามปราม แต่ผู้ตายก็ไม่ยอมเชื่อฟังจนนางบุญศรีขู่ว่าจะไปแจ้งความแก่เจ้าพนักงานตำรวจ ครั้นนางบุญศรีออกไปข้างนอกผู้ตายกลับมีปากเสียงโต้เถียงกับจำเลยแทน จำเลยกับผู้ตายโต้เถียงกันเป็นเวลานาน ในที่สุดก็เกิดการท้าทายกันขึ้นโดยให้ไปตกลงกันที่ฟากคลองแสนแสบฝั่งตรงกันข้ามด้านหน้าวัดพิชัยซึ่งต้องเดินข้ามสะพานไป จำเลยเดินถือมีดปลายแหลมขนาดใหญ่นำหน้าไป ส่วนผู้ตายถือจอบสำหรับดายหญ้าด้ามยาวประมาณ1.5 เมตร เดินตามไปห่างจำเลยประมาณ 1 เมตร ขณะคนทั้งสองเดินลงสะพานผู้ตายอยู่ในระดับที่สูงกว่าจำเลย ผู้ตายได้พูดขึ้นว่า "กูเอามึงก่อนนะ" พร้อมกับยกจอบขึ้นฟันจำเลยถูกที่ศรีษะบริเวณกกหูด้านซ้าย จำเลยซึ่งได้ยินคำพูดของผู้ตายได้ใช้มีดปลายแหลมที่ถืออยู่ฟันสวนไปทันทีถูกที่บริเวณลำคอของผู้ตาย คมมีดตัดเส้นเลือดดำและแดงที่ลำคอผู้ตายล้มลงและถึงแก่ความตายในอีก 2 วันต่อมา เห็นว่า ก่อนเกิดเหตุผู้ตายกับครอบครัวจำเลยมีเรื่องทะเลาะกันอย่างรุนแรง ต่อมาผู้ตายก็ได้มาโต้เถียงกับจำเลยโดยตรงเป็นเวลานาน ซึ่งก็เป็นที่เข้าใจว่าจำเลยย่อมมีความโกรธเคืองผู้ตายเป็นอย่างมากถึงกับมีการท้าทายให้ไปตกลงกันที่ฟากคลองฝั่งตรงกันข้าม และจำเลยได้ถือมีดปลายแหลมขนาดใหญ่ออกเดินนำหน้าไปก่อนอันถือได้ว่า จำเลยได้สมัครใจเข้าวิวาทและต่อสู้กับผู้ตายเป็นการที่จำเลยเข้าสู้ภัยโดยที่ไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ แม้ผู้ตายถือจอบขนาดใหญ่เดินตามจำเลยและได้ทำร้ายจำเลยก่อนก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะที่จำเลยกับผู้ตายสมัครใจวิวาทกัน ดังนั้น จำเลยจึงไม่อาจที่จะอ้างสิทธิป้องกันได้ตามกฎหมาย และเมื่อจำเลยสมัครใจที่จะไปต่อสู้กับผู้ตายเอง จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมจึงไม่อาจอ้างเหตุบันดาลโทสะได้เช่นเดียวกัน ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น"
พิพากษายืน

ผู้พิพากษา
วิบูลย์ มีอาสา
ศุภชัย ภู่งาม
วีระศักดิ์ รุ่งรัตน์


ข้อ 4.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 769/2540
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 769/2540
จำเลยเป็นผู้ทำสัญญากู้ยืมเงิน รวมทั้งลายมือชื่อ ส.ผู้ให้สัญญาด้วยตนเองเมื่อปี 2536 ภายหลังที่ ส.ถึงแก่ความตายไปแล้วในปี 2533 และลงวันที่ย้อนหลังไปว่าได้ทำสัญญาดังกล่าวขึ้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2531 ทำให้เห็นว่าสัญญาดังกล่าวทำขึ้นระหว่าง ส.กับจำเลยในขณะที่ ส.ยังมีชีวิตอยู่ และใจความของสัญญาดังกล่าวที่ว่า ส.กู้ยืมเงินจำเลย 100,000 บาท ถ้า ส.ไม่คืนเงินจำนวนดังกล่าว ส.ยอมโอนที่ดินสวนยางพารา เนื้อที่ 14 ไร่ 1 งานแก่จำเลยนั้น นอกจากไม่เป็นความจริงแล้ว ยังน่าจะเกิดความเสียหายแก่ทายาทของ ส.อีกด้วย และเหตุที่จำเลยทำเอกสารดังกล่าวขึ้นเพื่อจะใช้อ้างกับ ด.ว่าที่ดินของ ส.เป็นของจำเลย และจะได้เรียกร้องค่าเสียหายต่อไป ซึ่งทำให้เห็นได้ว่าการที่จำเลยกระทำดังกล่าวเพื่อให้ ด.หลงเชื่อว่าเอกสารสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นเอกสารที่แท้จริง ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิตาม ป.อ.มาตรา 265
ข้อความที่ว่า "โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน" ตาม ป.อ.มาตรา 264 นั้น ไม่ใช่การกระทำโดยแท้ และไม่ใช่เจตนาพิเศษ จึงไม่เกี่ยวกับเจตนา แต่เป็นพฤติการณ์ที่ประกอบการกระทำที่น่าจะเกิดความเสียหายได้ แม้จะไม่เกิดความเสียหายขึ้นจริงก็เป็นองค์ประกอบความผิดที่พิจารณาได้จากความคิดธรรมดาของบุคคลทั่วไปในลักษณะเดียวกับจำเลยส่วนคำว่าผู้หนึ่งผู้ใดในข้อความที่ว่า "ได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง" นั้น แสดงว่านอกจากเป็นการกระทำโดยเจตนาแล้วยังต้องมีเจตนาพิเศษในการกระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงด้วย โดยมิได้เจาะจงผู้ที่ถูกกระทำให้หลงเชื่อไว้โดยเฉพาะว่าจะต้องเป็นผู้ใด ดังนั้น การที่จำเลยเจตนากระทำเอกสารปลอมขึ้นเพื่อให้ ด.หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงก็เป็นความผิดแล้ว แม้จำเลยยังมิได้นำเอกสารดังกล่าวไปใช้แสดงต่อ ด.ก็ตาม ทั้งบุคคลที่จะถูกทำให้หลงเชื่อนี้กฎหมายมิได้กำหนดว่าจำต้องเกี่ยวโยงเป็นบุคคลกลุ่มเดียวกับบุคคลที่น่าจะเกิดความเสียหายเพราะการกระทำของจำเลย คือทายาทของ ส. แต่อย่างใด แต่อาจเป็นบุคคลใดบุคคลหนึ่งก็ได้
เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 265 แล้ว กรณีไม่จำต้องปรับบทด้วย ป.อ. มาตรา 264 อีก
ผู้พิพากษา
ดำรุพงศ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
ทวีชัย เจริญบัณฑิต
พิชัย เตโชพิทยากูล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 2022/2531
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 2022/2531
จำเลยเป็นลูกจ้างของห้างโจทก์เมื่อรับเช็คที่บุคคลภายนอกจ่ายให้โจทก์ จำเลยต้องนำไปมอบให้หุ้นส่วนผู้จัดการห้างโจทก์ แต่จำเลยกลับนำเช็คนั้นไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารโดยจำเลยลงลายมือชื่อของจำเลยและประทับตราสำคัญของห้างโจทก์ ดังนี้แม้จะเป็นการลงลายมือชื่อของจำเลยเอง แต่ก็เป็นการกระทำเพื่อลวงให้ธนาคารหลงเชื่อว่าเป็นการลงลายมือชื่อโดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ.

คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264, 265,334, 335
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 คำขออื่นให้ยก
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ ให้ยกฟ้องข้อหาปลอมเอกสารตามมาตรา 264,265 ด้วย
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ประมูลการจ้างเหมาก่อสร้างสะพานจากกรมชลประทานได้แล้ว นำไปจ้างผู้อื่นรับเหมาช่วงจำเลยเป็นเพียงลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่ติดต่อและลงนามในสัญญากับหน่วยราชการและเอกชนที่โจทก์รับเหมาก่อสร้างเท่านั้น จำเลยรับเงินค่าก่อสร้างจากกรมชลประทานมาแล้ว 3 งวดรวมเป็นเงินประมาณ 5,000,000 บาทก็ได้นำมาให้นางแตงกวาซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ทุกงวด ซึ่งการรับเงินดังกล่าวกรมชลประทานได้สั่งจ่ายเงินเป็นเช็คของธนาคารแห่งประเทศไทยเช่นดังที่สั่งจ่ายเงินค่าก่อสร้างงวดที่ 4 ตามเช็คเอกสารหมาย จ.2 ฉะนั้นแม้จำเลยจะมีอำนาจรับเงินหรือเช็คจากกรมชลประทานแทนโจทก์ได้ดังกล่าวแต่จำเลยก็ไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อจำเลยในเช็คตามเอกสารหมาย จ.2 ได้ จำเลยต้องนำเช็คดังกล่าวมาให้นางแตงกวาซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการลงชื่อและประทับตราห้างโจทก์เพื่อนำไปเบิกเงินจากธนาคารผู้จ่ายดังเช่นที่ได้ปฏิบัติมาใน 3 งวดแรก การที่จำเลยไม่นำเช็คดังกล่าวมามอบให้นางแตงกวาแต่กลับนำไปลงลายมือชื่อจำเลยสองชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ไว้ด้านหลังเช็คแล้วนำไปเข้าบัญชีของนายงามนั้นเป็นการทุจริต แม้จำเลยจะลงลายมือชื่อของจำเลยเองแล้วประทับตราของห้างโจทก์ แต่ก็เป็นการกระทำเพื่อลวงให้ผู้อื่น คือ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาอโศกดินแดง และธนาคารแห่งประเทศไทยหลงเชื่อว่าเป็นการลงชื่อสลักหลังเช็คโดยผู้มีอำนาจทำแทนห้างโจทก์ ทั้งจำเลยมิได้เป็นผู้แทนหรือตัวแทนของห้างโจทก์ไม่มีอำนาจลงชื่อเช่นนี้จนมีการเรียกเก็บเงินตามเช็คนี้ได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265.
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265
ผู้พิพากษา
ประชา บุญวนิช
ดุสิต วราโห
คำนึง อุไรรัตน์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 4073/2545
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 4073/2545
จำเลยที่ 1 ถ่ายสำเนารายการจดทะเบียนรถจากฉบับที่แท้จริงซึ่งเป็นเอกสารราชการ แล้วแก้ไขรายการในช่องผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าสำเนาดังกล่าวมีข้อความตรงกับต้นฉบับ และน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน เป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับ แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้แก้ไขรายการจดทะเบียนรถในเอกสารที่แท้จริง แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 ก็เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 แล้ว
การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กับพวกได้ร่วมกันปลอมสำเนารายการจดทะเบียนโดยมีเจตนาอย่างเดียวกับการปลอมแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์เพื่อให้เจ้าพนักงานเห็นว่ารถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 7 พ-6302 กรุงเทพมหานคร ได้จดทะเบียนและเสียภาษีถูกต้องเพื่อจำเลยกับพวกจะได้ใช้รถยนต์นั้นโดยชอบ การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ในการปลอมรายการจดทะเบียนจึงเป็นความผิดกรรมเดียวกับความผิดฐานปลอมและใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ปลอมซึ่งจะต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคสอง ประกอบมาตรา 265 และโดยที่เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิจารณาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 และที่ 4 ที่มิได้อุทธรณ์และฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันปลอมแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ซึ่งเป็นเอกสารราชการที่กรมการขนส่งทางบกออกให้แก่รถยนต์คันหมายเลขทะเบียนผ - 7950 สุพรรณบุรี โดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงหมายเลขทะเบียนรถเป็น 7 พ - 6302 กรุงเทพมหานคร แก้ไขวันสิ้นอายุจากเดิมวันที่ 3 เมษายน 2542 เป็นวันที่ 1 สิงหาคม 2542 อันเป็นการแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในเอกสารราชการและจำเลยทั้งสี่ร่วมกันปลอมแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งเป็นเอกสารราชการของกรมการประกันภัย โดยนำแผ่นป้ายซึ่งกรมการประกันภัยออกให้แก่ยานพาหนะอื่น มาแก้ไขหมายเลขทะเบียนรถจากเดิมเป็นหมายเลขทะเบียน 7 พ - 6302 กรุงเทพมหานครอันเป็นการแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในเอกสารราชการนอกจากนี้จำเลยทั้งสี่ยังร่วมกันปลอมเอกสารราชการสำเนารายการจดทะเบียนรถขึ้นทั้งฉบับแล้วจำเลยทั้งสี่ร่วมกันนำแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์และแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถซึ่งเป็นเอกสารราชการที่จำเลยทั้งสี่ทำปลอมขึ้นไปติดไว้ที่กระจกด้านหน้ารถยนต์คันหมายเลขทะเบียน ผ - 7950 สุพรรณบุรี ซึ่งติดแผ่นป้ายทะเบียน 7 พ - 6302 กรุงเทพมหานคร ของรถคันอื่นแล้วใช้อ้างแสดงต่อร้อยตำรวจโทมนต์ชัย พุ่มพูน กับพวกต่อมาเจ้าพนักงานจับจำเลยทั้งสี่ได้พร้อมยึดแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถและสำเนารายการจดทะเบียนรถยนต์ที่จำเลยทั้งสี่ทำปลอมขึ้นดังกล่าวเป็นของกลาง ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264, 265, 268, 91, 83, 33 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 41, 42 และริบของกลาง
จำเลยที่ 3 ให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์แยกฟ้องมาเป็นคดีใหม่
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264, 265, 268, 91, 83, 33 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 41, 42 ให้ลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมตามมาตรา 268 เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำคุกกระทงละ2 ปี รวม 3 กระทง จำคุกคนละ 6 ปี จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้คนละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คงจำคุกคนละ 3 ปี ริบของกลาง
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า เรียงกระทงลงโทษฐานปลอมและใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ปลอม ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 268 วรรคสอง ประกอบมาตรา 265 จำคุกคนละ 2 ปี ฐานปลอมและใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปลอม ลงโทษตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 42 วรรคสอง ประกอบมาตรา 41 จำคุกคนละ 2 ปีฐานปลอมสำเนารายการจดทะเบียนรถ ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265จำคุกคนละ 2 ปี ลดโทษให้คนละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้วคงจำคุกกระทงละ 1 ปี รวมโทษทุกกระทงแล้วจำคุกคนละ 3 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีคงมีปัญหาแต่เฉพาะข้อกฎหมายมาสู่ศาลฎีกา ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222 สำหรับคดีนี้จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ จึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยประการแรกมีว่า การที่จำเลยที่ 1 ถ่ายสำเนารายการจดทะเบียนรถจากฉบับที่แท้จริงซึ่งเป็นเอกสารราชการแล้วแก้ไขรายการเจ้าของรถในสำเนาเอกสารดังกล่าวในช่องผู้ถือกรรมสิทธิ์จากเดิมเป็นชื่อผู้อื่นเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการหรือไม่ เห็นว่า ความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 ได้แยกการกระทำเป็น 2 ประการ คือ การทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใดประการหนึ่ง และการเติมหรือตัดทอนข้อความหรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในเอกสารที่แท้จริง อีกประการหนึ่งการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใดไม่จำต้องกระทำลงในเอกสารที่แท้จริง ต่างไปจากการเติมหรือตัดทอนข้อความหรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ซึ่งต้องกระทำในเอกสารที่แท้จริงเท่านั้นจึงจะเป็นความผิด จำเลยที่ 1 ถ่ายสำเนารายการจดทะเบียนรถจากฉบับที่แท้จริงซึ่งเป็นเอกสารราชการแล้วจำเลยที่ 1 แก้ไขรายการในช่องผู้ถือกรรมสิทธิ์ เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าสำเนาดังกล่าวมีข้อความตรงกับต้นฉบับ และน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน เป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้แก้ไขรายการจดทะเบียนรถในเอกสารที่แท้จริง การกระทำของจำเลยที่ 1 ก็เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 แล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 1ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปมีว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดกรรมเดียวหรือไม่ โดยจำเลยที่ 1 ฎีกาว่า การปลอมและใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ปลอม แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปลอม และปลอมสำเนารายการจดทะเบียนรถ แม้เอกสารทั้ง 3 รายการ จะเป็นเอกสารคนละประเภทแต่จำเลยมีเจตนาประการเดียวคือเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าเป็นเอกสารสำหรับใช้ประกอบกับรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 7 พ - 6302 กรุงเทพมหานคร การกระทำดังกล่าวจึงเป็นความผิดกรรมเดียวนั้น เห็นว่า สำหรับการปลอมแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ตามคำฟ้องของโจทก์นั้นปรากฏชัดเจนว่าเป็นการปลอมขึ้นสำหรับใช้กับรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 7 พ - 6302 กรุงเทพมหานคร แต่การปลอมสำเนารายการจดทะเบียนรถโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องระบุให้เห็นชัดเจนเช่นในข้อหาอื่นว่าเป็นการทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการใช้รถยนต์คันดังกล่าวหรือต่างคันกันแต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาคำฟ้องโจทก์ทั้งฉบับแล้วก็พอจะแปลคำฟ้องของโจทก์ได้ว่าเป็นการปลอมสำเนารายการจดทะเบียนรถหรือสำเนาใบคู่มือจดทะเบียนรถเพื่อใช้กับรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 7 พ - 6302กรุงเทพมหานคร นั่นเอง ทั้งนี้เพราะการจะใช้รถยนต์คันนี้ได้นอกจากจะต้องติดแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์แล้ว ตามกฎหมายผู้ขับรถหรือควบคุมรถจะต้องมีสำเนาใบคู่มือจดทะเบียนรถด้วยเพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานได้ทันที ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 4 ในคดีนี้กับพวกได้ร่วมกันปลอมสำเนารายการจดทะเบียนรถจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาอย่างเดียวกันกับการปลอมแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ เพื่อให้เจ้าพนักงานเห็นว่ารถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 7 พ - 6302 กรุงเทพมหานคร ได้จดทะเบียนและเสียภาษีถูกต้องเพื่อจำเลยดังกล่าวกับพวกจะได้ใช้รถยนต์นั้นโดยชอบการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ในการปลอมรายการจดทะเบียนจึงเป็นความผิดกรรมเดียวกับความผิดฐานปลอมและใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ปลอมซึ่งจะต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคสอง ประกอบมาตรา 265และโดยที่เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาข้อนี้ให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 และที่ 4 ที่มิได้อุทธรณ์และฎีกาขึ้นมาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225 ส่วนการปลอมและใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถนั้น เห็นได้ว่าก็เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่ามีการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 อันเป็นการกระทำความผิดต่างกรรมกันดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยไว้อย่างละเอียดแล้ว ศาลฎีกาไม่ต้องกล่าวซ้ำอีกข้อนี้ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยกับข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฎีกาของจำเลยที่ 1 ฟังขึ้นบางส่วน"
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 มีความผิดฐานปลอมแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ ฐานปลอมสำเนารายการจดทะเบียนรถ และฐานใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ปลอม ความผิดของจำเลยทั้งสามฐานนี้เป็นกรรมเดียวกันให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 265 จำคุกคนละ 2 ปี ลดโทษให้คนละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คงจำคุกคนละ 1 ปี เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วจำคุกคนละ 2 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 225

ผู้พิพากษา
ประเสริฐ เขียนนิลศิริ
สุเมธ ตังคจิวางกูร
ชวลิต ยอดเณร
ฎีกาน่าสนใจ


ข้อ 5.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 6.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 4066/2545
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 4066/2545
การที่จำเลยที่ 1 เปลือยกายถืออาวุธมีดเข้าไปหาผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งนอนอยู่บนเตียงภายในห้องนอนของผู้เสียหายที่ 1 พอดีผู้เสียหายที่ 1 รู้สึกตัวลืมตาขึ้นมาเห็นจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 พูดขู่มิให้ร้อง ผู้เสียหายที่ 1 ร้องกรี๊ดสุดเสียง จำเลยที่ 1 จึงชกปากผู้เสียหายที่ 1 และเอามือซ้ายยัดเข้าไปในปากของผู้เสียหายที่ 1 ผู้เสียหายที่ 1 จึงกัดนิ้วของจำเลยที่ 1 และดิ้นจนตกจากเตียงนอน ระหว่างนั้นผู้เสียหายที่ 1 ถูกอาวุธมีดของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ถือมาบาดที่ข้อมือซ้าย ถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำการอันไม่สมควรทางเพศแก่ผู้เสียหายที่ 1 โดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย และใช้กำลังประทุษร้ายแล้ว จึงเป็นความผิดฐานกระทำอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 และเป็นการบุกรุกเข้าไปในเคหสถานของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันควรในเวลากลางคืนโดยมีอาวุธและใช้กำลังประทุษร้าย อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (1) (2) (3) ประกอบมาตรา 364 หลังจากนั้นเมื่อผู้เสียหายที่ 3 เข้ามาในห้องนอนของผู้เสียหายที่ 1 ก็ถูกจำเลยที่ 1 ทำร้าย และหยิบเอากระเป๋าที่มีอาวุธปืนของผู้เสียหายที่ 2 เก็บไว้ ซึ่งผู้เสียหายที่ 3 นำมาด้วย และตกอยู่ที่พื้นไป ก่อนจะหลบหนี จำเลยที่ 1 วิ่งชนผู้เสียหายที่ 3 และยังใช้มีดฟันผู้เสียหายที่ 3 ได้รับบาดเจ็บ จึงเป็นการลักอาวุธปืนของผู้เสียหายที่ 2 ไปโดยทุจริต โดยใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อสะดวกในการพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุมและเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย จึงเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม

คำพิพากษาย่อยาว
คดีนี้เดิมศาลชั้นต้นสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกันกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 14746/2542 ของศาลชั้นต้น โดยให้เรียกจำเลยสำนวนนี้ว่าจำเลยที่ 1 และเรียกจำเลยในคดีดังกล่าวว่าจำเลยที่ 2 แต่คดีสำหรับจำเลยที่ 2 ยุติแล้ว ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คงขึ้นมาสู่ศาลฎีกาเฉพาะสำนวนนี้
โจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278, 295, 339, 364, 365, 86, 90, 91
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278, 339 วรรคสาม, 365 (1) (2) และ (3) ประกอบมาตรา 364 การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานบุกรุกในเวลากลางคืนโดยมีอาวุธโดยใช้กำลังประทุษร้ายและกระทำอนาจารโดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานกระทำอนาจารโดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 6 ปี ฐานชิงทรัพย์ เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย จำคุก 14 ปี รวมจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 20 ปี จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278, 365 (1) (2) (3) ประกอบมาตรา 364, 86 การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานสนับสนุนการกระทำอนาจารโดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 ประกอบมาตรา 86 อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 4 ปี ข้อหาอื่นให้ยก
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
พิเคราะห์แล้ว คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ โจทก์มี ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 3 เป็นประจักษ์พยานเบิกความว่า เหตุเกิดเวลาประมาณ 2 นาฬิกา คนร้ายที่ก่อเหตุคือจำเลยที่ 1 โดยผู้เสียหายที่ 1 เริ่มเห็นคนร้ายตั้งแต่ขณะที่ผู้เสียหายที่ 1 ยังนอนไม่หลับและรู้สึกว่ามีคนมายืนอยู่ปลายเท้าชิดเตียงนอนแล้วเดินขึ้นมาถึงบริเวณไหล่ของผู้เสียหายที่ 1 เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ลืมตาขึ้นก็เห็นชายคนหนึ่งไม่สวมเสื้อ ผมหยิกฟู จมูกโด่งเหมือนแขก มีผ้ายืดสีขาวคาดอยู่ที่บริเวณปากและพูดขู่มิให้ร้องโดยพูดว่าอย่าร้องนะ ผู้เสียหายที่ 1 ร้องกรี๊ดสุดเสียง จึงถูกคนร้ายชกที่ปากและเอามือข้างซ้าย 4 นิ้ว ยัดเข้าไปในปากผู้เสียหายที่ 1 เพื่อกดลิ้นมิให้ผู้เสียหายที่ 1 ร้องได้ ผู้เสียหายที่ 1 กัดนิ้วของคนร้ายและดิ้นจนตกเตียงนอนก็ถูกอาวุธมีดของคนร้ายที่ถือมาบาดที่ข้อมือซ้าย จากนั้นผู้เสียหายที่ 3 ก็เข้าไปช่วยผู้เสียหายที่ 1 ทำให้ผู้เสียหายที่ 1 วิ่งหนีลงไปที่ห้องโถงได้ ในคืนเดียวกันหลังเกิดเหตุ ผู้เสียหายที่ 1 ได้ระบุยืนยันกับเจ้าพนักงานตำรวจว่าจำเลยที่ 1 คือคนร้าย ต่อมาในวันที่ 26 เดือนเดียวกันเจ้าพนักงานตำรวจจัดให้ชี้ตัวคนร้าย ผู้เสียหายที่ 1 ก็ชี้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนร้าย ส่วนผู้เสียหายที่ 3 เบิกความว่าเมื่อได้ยินเสียงผู้เสียหายที่ 1 ร้อง ก็รีบออกจากห้องนอนพร้อมหยิบกระเป๋าที่มีอาวุธปืนของผู้เสียหายที่ 2 เก็บไว้ไปยังห้องนอนของผู้เสียหายที่ 1 ครั้นเปิดประตูห้องนอนของผู้เสียหายที่ 1 ได้ และเข้าไป ก็พบชายคนร้ายเปลือยกายกำลังทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 คนร้ายหันหน้ามาทางผู้เสียหายที่ 3 และวิ่งสวนผู้เสียหายที่ 3 กระเป๋าที่มีอาวุธปืนเก็บไว้ตกลงไปอยู่ที่พื้นห้องนอนของผู้เสียหายที่ 1 จากนั้นได้เกิดต่อสู้กันขึ้น โดยผู้เสียหายที่ 3 พยายามใช้มือดึงอวัยวะเพศของคนร้าย จึงได้เห็นบริเวณเหนือข้อเท้าด้านหลังขวาของคนร้ายมีรอยด่าง แต่ผู้เสียหายที่ 3 ก็ถูกคนร้ายใช้อาวุธมีดฟันถูกที่ บริเวณมือขวา ระหว่างต่อสู้กันผ้าที่คนร้ายคาดไว้ที่ปากได้หลุดออก ผู้เสียหายที่ 3 เห็นหน้าคนร้ายได้ชัดเจน เห็นว่า จากพยานหลักฐานโจทก์ที่ปรากฏ ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 3 เป็นสตรี มีวุฒิภาวะและสถานะทางสังคมที่ดี เนื่องจากประกอบวิชาชีพเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ ไม่เคยรู้จักกับจำเลยที่ 1 มาก่อน ย่อมไม่มีเหตุผลใดที่จะรับฟังว่าปรักปรำใส่ร้ายจำเลยที่ 1 และสำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นผู้เสียหายที่ 1 และที่ 3 ก็มีช่วงเวลาเผชิญหน้ากับคนร้ายนานพอควร โดยเฉพาะผู้เสียหายที่ 3 ได้ต่อสู้โดยพยายยามดึงอวัยวะเพศของคนร้ายซึ่งเป็นจุดอ่อนของเพศชายเนื่องจากคนร้ายเปลือยกาย ภายในห้องนอนของผู้เสียหายที่ 1 ก็มีแสงไฟสปอทไลท์ซึ่งติดอยู่หน้าบ้านใกล้กับหน้าต่างห้องนอนของผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งมีม่านบาง ๆ ส่องให้ภายในห้องนอนสว่างอยู่บ้าง กับแสงไฟฟ้าภายในห้องน้ำที่ผู้เสียหายที่ 3 เปิดตามไฟไว้ ซึ่งเป็นบริเวณที่ผู้เสียหายที่ 3 ต่อสู้กับคนร้าย ประกอบกับที่บริเวณเหนือข้อเท้าด้านหลังขวาของจำเลยที่ 1 ก็มีรอยด่างเป็นทำนองเดียวกับที่ผู้เสียหายที่ 3 เบิกความ ปรากฏต่อศาลตามที่ศาลชั้นต้นได้บันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 13 มีนาคม 2541 ดังนี้ เมื่อพิเคราะห์รวมไปถึงพฤติการณ์อันเป็นพิรุธของจำเลยที่ 2 และการที่คนร้ายเข้าไปภายในบ้านของผู้เสียหายทั้งสามได้โดยง่าย ย่อมมีเหตุผลให้รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยที่ 1 คือคนร้ายที่ก่อเหตุคดีนี้ พยานจำเลยที่ 1 ที่นำสืบอ้างฐานที่อยู่ล้วนเป็นเครือญาติหรือเพื่อนบ้านกับจำเลยที่ 1 มีข้อน่าระแวงสงสัยว่าเบิกความเพื่อช่วยเหลือจำเลยที่ 1 จึงไม่มีน้ำหนักเพียงพอรับฟังหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวที่จำเลยที่ 1 เปลือยกายถืออาวุธมีดเข้าไปหาผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งนอนอยู่บนเตียงนอนในห้องนอนของผู้เสียหายที่ 1 ในเวลากลางคืน พอดีผู้เสียหายที่ 1 รู้สึกตัวลืมตาขึ้นมาเห็นจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 พูดขู่มิให้ร้อง ผู้เสียหายที่ 1 ร้องกรี๊ดสุดเสียง จำเลยที่ 1 จึงชกปากผู้เสียหายที่ 1 และเอามือซ้ายยัดเข้าไปในปากผู้เสียหายที่ 1 ผู้เสียหายที่ 1 จึงกัดนิ้วของจำเลยที่ 1 และดิ้นจนตกจากเตียงนอน และระหว่างนั้นผู้เสียหายที่ 1 ถูกอาวุธมีดของจำเลยที่ 1 ที่ถือมาบาดที่ข้อมือซ้าย ถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำการอันไม่สมควรทางเพศแก่ผู้เสียหายที่ 1 โดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายและได้ใช้กำลังประทุษร้ายแล้ว จึงเป็นความผิดฐานกระทำอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 และเป็นการบุกรุกเข้าไปในเคหสถานของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันควรในเวลากลางคืนโดยมีอาวุธและใช้กำลังประทุษร้ายอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (1) (2) และ (3) ประกอบมาตรา 364 หลังจากนั้น เมื่อผู้เสียหายที่ 3 เข้ามาที่ห้องนอนของผู้เสียหายที่ 1 ก็ถูกจำเลยที่ 1 ทำร้าย และจำเลยที่ 1 หยิบกระเป๋าที่มีอาวุธปืนของผู้เสียหายที่ 2 เก็บไว้ ซึ่งผู้เสียหายที่ 3 นำมาด้วย และตกอยู่ที่พื้นไป ก่อนจะหลบหนี จำเลยที่ 1 วิ่งชนผู้เสียหายที่ 3 และยังใช้อาวุธมีดฟันผู้เสียหายที่ 3 ได้รับบาดเจ็บจึงเป็นการลักอาวุธปืนของผู้เสียหายที่ 2 ไปโดยทุจริตโดยใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อสะดวกในการพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุมและเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย อันเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบานั้น เห็นว่า ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำเลยที่ 1 เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ต้องกันมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน.

ผู้พิพากษา
สมชาย จุลนิติ์
ดวงมาลย์ ศิลปอาชา
ชวลิต ตุลยสิงห์


ข้อ 7.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 8.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 9.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 10.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

Visitor Statistics
» 2 Online
» 27 Today
» 24 Yesterday
» 111 Week
» 379 Month
» 1629 Year
» 68610 Total
Record: 15081 (20.04.2022)
Free PHP counter