คลังข้อสอบเก่า เนติบัณฑิต

(อาญา สมัยที่ 56)

การสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 56 ปีการศึกษา 2546
กฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

วันอาทิตย์ 5 ตุลาคม 2546

คำถาม 10 ข้อ ให้เวลาตอบ 4 ชั่วโมง (14.00 น. ถึง 18.00 น.) ให้ยกเหตุผลประกอบคำตอบด้วย


ข้อ 1.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 2.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 1654/2532
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 1654/2532
พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ลงจากบ้านของ ช. ผู้ตายไปแล้วประมาณ 20 นาที จึงได้กลับมาใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหายดังกล่าวทันทีโดยมิได้พูดจากับใครอีกแสดงว่าจำเลยที่ 1 ตระเตรียมวางแผนมายิงผู้ตายและผู้เสียหาย จึงเป็นการกระทำโดย ไตร่ตรองไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289(4)
ส่วนการที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหายต่อเนื่องกันทีละคนโดยไม่มีพฤติการณ์ที่เป็นการทารุณโหดร้ายแต่ละคนนั้น แม้จะมีผู้ถึงแก่ความตายเพราะถูกจำเลยยิงถึง 7 คน ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำทารุณโหดร้าย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289(5)
เมื่อลงโทษประหารชีวิตจำเลยแล้ว ก็ไม่อาจนำโทษจำคุกมารวมอีกได้ คงให้ประหารชีวิตจำเลยสถานเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 980/2502
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 980/2502
กรณีที่จะปรับด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 81 นั้น เกี่ยวกับปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำผิดไม่สามารถจะกระทำให้บรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เช่น ใช้ปืนที่มิได้มีกระสุนบรรจุอยู่เลยยิงคน โดยเข้าใจผิดคิดว่ามีกระสุนบรรจุอยู่พร้อมแล้ว ซึ่งอย่างไร ก็ย่อมจะทำให้ผู้ถูกยิงได้รับอันตรายจากการยิงมิได้เลย ดังนี้ จึงจะถือได้ว่า เป็นกรณีที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้
จำเลยใช้ปืนที่มีกระสุนบรรจุอยู่ถึง 7 นัดยิงโจทก์ร่วม กระสุนนัดแรกด้านไม่ระเบิดออก ซึ่งอาจเป็นเพราะกระสุนเสื่อมคุณภาพหรือเพราะเหตุบังเอิญอย่างใดไม่ปรากฏ มิฉะนั้นแล้ว กระสุนก็ต้องระเบิดออกและอาจเกิดอันตรายแก่โจทก์ร่วมได้ หาเป็นการแน่แท้ไม่ว่าจะไม่สามารถกระทำให้ผู้ถูกยิงได้รับอันตรายจากการยิงของจำเลยเช่นนั้น กรณีนี้ต้องปรับด้วย มาตรา 80 ไม่ใช่มาตรา 81 และถ้าหากไม่มีคนเข้าขัดขวางจำเลยไว้ทันท่วงที จำเลยอาจยิงโจทก์ร่วมด้วยกระสุนที่ยังเหลือบรรจุอยู่นั้นต่อไปอีกก็ได้ ย่อมเห็นชัดว่า ไม่ใช่กรณีที่ปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำผิดไม่สามารถจะกระทำให้บรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตามความหมายใน มาตรา 81

คำพิพากษาย่อยาว
ได้ความว่า จำเลยใช้ปืนที่มีกระสุนบรรจุอยู่ 7 นัด ยิงโจทก์ร่วม กระสุนนัดแรกด้าน นายช้อยกับนายทอง จึงเข้าขัดขวางจำเลยไว้
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลทั้งสองว่า จำผิดฐานพยายามฆ่าคนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80 จำคุก 10 ปี
ข้อวินิจฉัยของศาลฎีกามีว่า ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยฐานพยายามกระทำความผิดตาม มาตรา 80 หาชอบไม่ ควรต้องปรับด้วย มาตรา 81 แห่งประมวลกฎหมายอาญา นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า เป็นเรื่องที่จำเลยเข้าใจกฎหมายไม่ถูกต้อง เพราะกรณีที่จะปรับด้วยมาตรา 81 นั้น เกี่ยวกับปัจจัยซึ่งในการกระทำผิดไม่สามารถจะกระทำให้บรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เช่น ใช้ปืนที่มิได้มีกระสุนบรรจุอยู่เลยยิงคน โดยเข้าใจผิดคิดว่ามีกระสุนอยู่พร้อมแล้ว ซึ่งอย่างไร ก็จะทำให้ผู้ถูกยิงได้รับอันตรายจากการยิงมิได้เลย ดังนี้ จึงจะถือได้ว่า เป็นกรณีที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ แต่สำหรับคดีนี้มิใช่เช่นนั้น กล่าวคือ จำเลยใช้ปืนที่มีกระสุนบรรจุอยู่ถึง 7 นัด ยิงโจทก์ร่วม กระสุนนักแรกด้าน ไม่ระเบิดออก ซึ่งอาจเป็นเพราะกระสุนเสื่อมคุณภาพ หรือเพราะเหตุบังเอิญอย่างใดก็ได้ ไม่ปรากฏ มิฉะนั้นแล้วกระสุนก็ต้องระเบิดออก และอาจเกิดอันตรายแก่โจทก์ร่วมได้ หาเป็นการแน่แท้ไม่ว่าจะไม่สามารถกระทำให้ผู้ถูกยิงได้รับอันตรายจากการยิงของจำเลยเช่นนั้น กรณีจึงต้องปรับด้วย มาตรา 80 ไม่ใช่ มาตรา 81 และถ้าหากนายช้อยกับนายทองพยานโจทก์ไม่เข้าขัดขวางจำเลยไว้ทันท่วงที จำเลยอาจยิงโจทก์ร่วมด้วยกระสุนที่ยังเหลือบรรจุอยู่นั้นต่อไปอีกก็ได้ จึงยิ่งเห็นชัดว่า ไม่ใช่กรณีที่ปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำผิดไม่สามารถจะกระทำให้บรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตามความหมายใน มาตรา 81


ผู้พิพากษา
การุณย์ นราทร
สารนัย ประสาสน์


ข้อ 3.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 4.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 4/2486
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 4/2486
ผู้รับมอบอำนาจแปลข้อความในใบมอบอำนาจ ซึ่งทำเป็นภาษาอังกฤษออกเป็นภาษาไทย เติมข้อความในคำแปลลงไปอีกว่า “มอบฉันทะให้ขายที่ดินโดยเร็ว” ดังนี้ แม้ข้อความดังกล่าวไม่มีในต้นฉบับก็ไม่เป็นความผิดเพราะเอกสารคำแปลนั้นเป็นของผู้แปลเอง ผู้ที่เห็นเอกสารนั้นไม่มีใครเข้าใจว่าเป็นใบมอบอำนาจของผู้มอบอำนาจ


ข้อ 5.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 704/2493
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 704/2493
สร้อยคอทองคําของเจ้าทรัพย์ขาดหรือหลุดตกลงไปในกระเชอมะปรางของจําเลยที่ 1 จําเลยที่ 1 เก็บเอา เจ้าทรัพย์ขอคืนก็ไม่ยอมให้ เป็นความผิดฐานลักทรัพย์สําเร็จแล็ว จําเลยที่ 1 เดินเอาสร้อยไปส่งให้จําเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ห่าง 4 วา จําเลยที่ 2 พาหนีไป ดังนี้จําเลยที่ 1 มีความผิดฐานลักทรัพย์ ส่วนจําเลยที่ 2 ผิดฐานรับของโจร เนื่องจากการที่จําเลยที่ 2 รับเอาทรัพย์นั้นไว้จากจําเลยที่ 1 หาใช่เป็นผู้ลักทรัพย์ด้วยไม่ เพราะการลักทรัพย์เกิดขึ้นสําเร็จขาดตอนไปแล้ว


ข้อ 6.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 5554/2545
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 5554/2545
การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันพรากเด็กอายุ 6 ปีเศษ ไปจากบิดามารดาผู้ปกครองเพื่อหากำไรและร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังเด็กไว้เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ โดยจำเลยทั้งสองมุ่งประสงค์เรียกค่าไถ่เป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทคือ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 313 วรรคแรก บทหนึ่ง และตามมาตรา 317 วรรคสาม อีกบทหนึ่ง ต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 313 วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 หาใช่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันไม่
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ฎีกาในประเด็นดังกล่าวขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225 และมีอำนาจวินิจฉัยตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ได้ฎีกาขึ้นมาด้วย เนื่องจากเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 225

คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 313, 317
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ แต่หลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้นแล้ว จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 313 วรรคหนึ่ง , 317 วรรคสาม ประกอบมาตรา 83 เป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่เอาตัวเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไป ให้จำคุก 15 ปี ฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี เพื่อหากำไร ให้จำคุก 5 ปี รวมจำคุกคนละ 20 ปี จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพในชั้นสืบพยานจำเลย เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กระทงละสองในห้าส่วน คงจำคุกคนละ 12 ปี
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยแล้ว สำหรับความผิดฐานเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่เอาตัวเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไปนั้น เห็นว่า การที่จำเลยที่ 2 ร่วมกันเอาตัวเด็กอายุเพียง 6 ปีเศษ ไปจากบิดามารดาแล้วเรียกค่าไถ่จากบิดามารดาเด็กเช่นนี้ เป็นพฤติการณ์ที่อุกอาจโดยไม่ยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมืองเป็นการทรมานจิตใจผู้ที่เป็นบิดามารดา อีกทั้งก่อให้เกิดความหวาดเกรงแก่ประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 313 วรรคแรก กำหนดโทษสำหรับความผิดฐานเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่เอาตัวเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไป ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องต่อศาล ศาลชั้นต้นอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยที่ 2 ฟัง และถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ แสดงว่า จำเลยที่ 2 มิได้รู้สำนึกในการกระทำความผิดแต่อย่างใด ทั้งหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้นแล้ว จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่เอาตัวเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไปจำคุก 15 ปี จึงเป็นการลงโทษจำคุกในอัตราขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนดโทษไว้ อีกทั้งไม่มีเหตุที่จะลดมาตราส่วนโทษให้ ประกอบกับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้ลดโทษในความผิดฐานนี้ให้สองในห้าส่วนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานนี้เพียง 9 ปี จึงนับว่าเป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 มากแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้เรียงกระทงลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดทั้งสองข้อหาดังกล่าวนั้น เห็นว่า การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กไปจากบิดามารดาผู้ปกครองและหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายไว้เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ โดยจำเลยทั้งสองมุ่งประสงค์เรียกค่าไถ่เป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 313 วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด เพียงบทเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 หาใช่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษมาไม่ แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ฎีกาในประเด็นดังกล่าวขึ้นมาก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และมีอำนาจวินิจฉัยตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ได้ฎีกาขึ้นมาด้วย เนื่องจากเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
พิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่เอาตัวเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 313 วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้จำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 15 ปี จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้นแล้ว เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้สองในห้าส่วน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกคนละ 9 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์.

ผู้พิพากษา
วรนาถ ภูมิถาวร
ปัญญา ถนอมรอด
สุเทพ เจตนาการณ์กุล


ข้อ 7.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 8.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 9.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 10.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

Visitor Statistics
» 2 Online
» 27 Today
» 24 Yesterday
» 111 Week
» 379 Month
» 1629 Year
» 68610 Total
Record: 15081 (20.04.2022)
Free PHP counter