คลังข้อสอบเก่า เนติบัณฑิต

(อาญา สมัยที่ 60)

 

การสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 60 ปีการศึกษา 2550
กฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

วันอาทิตย์ 30 กันยายน 2550

คำถาม 10 ข้อ ให้เวลาตอบ 4 ชั่วโมง (14.00 น. ถึง 18.00 น.) ให้ยกเหตุผลประกอบคำตอบด้วย

 


ข้อ 2.  คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 205/2516
คำพิพากษาย่อสั้น
ผู้ตาย ผู้เสียหาย และจำเลย ร่วมดื่มสุราด้วยกันจนเมาแล้วผู้ตายกับจำเลยทะเลาะกัน ผู้เสียหายจึงชวนจำเลยกลับบ้าน ผู้ตายตามมาต่อยและเตะจำเลยจนล้ม ลุกขึ้นก็ยังถูกเตะอีก เมื่อผู้ตายเตะ จำเลยก็ใช้มีดปลายแหลมที่ติดตัวไปแทงสวนไปสองสามครั้ง ถูกผู้ตาย ระหว่างนั้นผู้เสียหายเข้าขวางเพื่อห้าม จึงถูกมีดได้รับบาดเจ็บ ส่วนผู้ตายถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยต่อผู้ตายเป็นการกระทำโดยป้องกันพอสมควรแก่เหตุ แม้จะพลาดไปถูกผู้เสียหายเข้าด้วย ซึ่งตามมาตรา 60 ประมวลกฎหมายอาญา จะถือว่าจำเลยมีเจตนาแทงผู้เสียหายก็ดี แต่การกระทำของจำเลยก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากจำเลยแทงผู้ตายเพื่อป้องกันสิทธิ พอสมควรแก่เหตุอันไม่เป็นความผิด จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายด้วย
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยพาอาวุธมีดปลายแหลมไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรแล้วใช้มีดนั้นแทงนายกำพล ศรีบัว ถึงแก่ความตายและแทงนายสุเทพ ทรงวิรัชธร ผู้เสียหาย ถูกที่ใต้ไหปลาร้าขวาได้รับบาดเจ็บ จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 295, 371, 90, 91
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า จำเลยแทงผู้ตายเพื่อป้องกันพอสมควรแก่เหตุ ไม่มีความผิด จำเลยคงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย และฐานพาอาวุธไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรให้ลงโทษตามมาตรา 295 ซึ่งเป็นกระทงหนักที่สุด
โจทก์อุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันและศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตามมาตรา 295 เบาไป
ศาลอุทธรณ์คงเห็นพ้องกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยแทงผู้ตายเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ และวินิจฉัยความผิดตามมาตรา 295 ต่อไปว่า บาดแผลของผู้เสียหายอาจเกิดจากถูกมีดเอง โดยจำเลยมิได้แทงก็ได้ หรือหากเกิดจากแทงพลาดก็ถือว่าขาดเจตนาอีกทั้งเป็นกรณีเกิดจากการป้องกันตัวโดยชอบด้วย จำเลยไม่มีความผิด คงมีความผิดฐานพาอาวุธไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร
โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295
คดีมีปัญหาขึ้นมาสู่ศาลฎีกาเฉพาะข้อหาฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเพียงฐานเดียว
ศาลฎีกาเห็นว่า คืนเกิดเหตุ จำเลยกับผู้เสียหายพากันไปบ้านงานบวชนาคและจำเลยกับผู้ตายเกิดโต้เถียงกัน ผู้เสียหายจึงชวนจำเลยกลับ มาได้ประมาณ 10 เมตร ผู้ตายตามมาเรียกให้หยุด แล้วต่อยเตะจำเลย จำเลยล้มลง ลุกขึ้นก็ยังถูกเตะอีก เมื่อผู้ตายเตะ จำเลยก็ใช้มีดปลายแหลมที่ติดตัวแทงสวนไป กระทำอยู่เช่นนี้ 2-3 ครั้ง ระหว่างนั้นผู้เสียหายเข้าขวางเพื่อห้าม จึงถูกมีดได้รับบาดเจ็บการที่ผู้เสียหายถูกแทงนั้น จำเลยไม่มีเจตนาแทงผู้เสียหายโดยตรงแม้ตามมาตรา 60 แห่งประมวลกฎหมายอาญา จะถือว่าจำเลยมีเจตนาแทงผู้เสียหายก็ดี แต่การกระทำของจำเลยเป็นผลสืบเนื่องมาจากจำเลยแทงผู้ตายเพื่อป้องกันสิทธิพอสมควรแก่เหตุ อันไม่เป็นความผิดแม้ผลของการกระทำอาจเกิดแก่ผู้เสียหายโดยพลาดไป ก็ต้องถือว่าการกระทำโดยพลาดไปนั้น เป็นการป้องกันสิทธิของจำเลยพอสมควรแก่เหตุเช่นเดียวกัน จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานนี้ชอบแล้ว ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
ผู้พิพากษา
ธวัช สิทธิชัย
บุณยเกียรติ อรชุนะกะ
รัตน์ ศรีไกรวิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 892/2515
คำพิพากษาย่อสั้น
จำเลยตั้งใจยิงคนร้ายที่ปล้ำอยู่กับบุตรสาวและบุตรเขยของจำเลยในน้ำลึกถึงเอว เพื่อช่วยให้บุตรสาวและบุตรเขยพ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายที่กำลังมีอยู่ โดยไม่พินิจพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อนว่าคนไหนเป็นคนร้าย คนไหนเป็นบุตรสาวบุตรเขย คนร้ายมีอาวุธอะไรหรือไม่ เมื่อลูกกระสุนปืนที่จำเลยยิงพลาดไปถูกบุตรเขยถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานฆ่าคนโดยเจตนาเพื่อป้องกันผู้อื่นเกินสมควรแก่เหตุ
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยใช้ปืนยิงนายแดงหรือวันชัย กลิ่นขจร ลูกเขยของจำเลยโดยเจตนาฆ่า กระสุนปืนถูกนายแดงหรือวันชัยถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ริบปืนและหัวกระสุนปืนที่ใช้ทำผิด
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 จำคุก 15 ปี ริบของกลาง
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยยิงโดยเจตนาเพื่อจะป้องกันนางทวีบุตรสาวกับนายแดง บุตรเขยให้พ้นจากการถูกคนร้ายทำร้าย เป็นการกระทำการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ พิพากษากลับยกฟ้องโจทก์
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า คนร้ายขึ้นไปจี้ขู่เอาเงินจากผู้ตายกับนางทวีบนเรือ นางทวีร้องเรียกจำเลยให้ช่วย จำเลยไปช่วยเห็นนางทวีและผู้ตายกำลังปล้ำอยู่กับคนร้ายในน้ำ จำเลยจึงใช้ปืนยิงไป กระสุนปืนไปถูกผู้ตายถึงแก่ความตาย ศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยใช้ปืนยิงคนร้ายขณะที่ปล้ำกับนางทวีและผู้ตายในน้ำลึกถึงเอว เพื่อช่วยเหลือนางทวีกับผู้ตายให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายที่กำลังมีอยู่ โดยจำเลยไม่รู้ว่าคนไหนเป็นผู้ตายหรือนางทวี คนไหนเป็นคนร้าย และคนร้ายมีอาวุธอะไรหรือไม่ เพราะมืด เป็นการขาดการพินิจพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน เมื่อลูกกระสุนปืนที่จำเลยตั้งใจยิงคนร้ายพลาดไปถูกผู้ตายถึงแก่ความตาย เช่นนี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฆ่าคนโดยเจตนากระทำเพื่อป้องกันผู้อื่นเกินสมควรแก่เหตุ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาว่าจำเลยไม่มีความผิด ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย
พิพากษากลับ จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 60, 69 พฤติการณ์แห่งคดีสมควรลงโทษจำเลยสถานเบา ให้จำคุกหนึ่งปี แต่จำเลยต้องขังมาพอแก่โทษแล้ว ให้ปล่อยตัวไป
ผู้พิพากษา
อุดม เพชรคุปต์
ชวน พูนคำ
กฤษณ์ โสภิตกุล

Visitor Statistics
» 1 Online
» 22 Today
» 47 Yesterday
» 255 Week
» 175 Month
» 1940 Year
» 68921 Total
Record: 15081 (20.04.2022)
Free PHP counter