คลังข้อสอบเก่า เนติบัณฑิต

(อาญา สมัยที่ 56)

 

การสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 56 ปีการศึกษา 2546
กฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

วันอาทิตย์ 5 ตุลาคม 2546

คำถาม 10 ข้อ ให้เวลาตอบ 4 ชั่วโมง (14.00 น. ถึง 18.00 น.) ให้ยกเหตุผลประกอบคำตอบด้วย

 


ข้อ 2.  คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 1654/2532
พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ลงจากบ้านของ ช. ผู้ตายไปแล้วประมาณ 20 นาที จึงได้กลับมาใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหายดังกล่าวทันทีโดยมิได้พูดจากับใครอีกแสดงว่าจำเลยที่ 1 ตระเตรียมวางแผนมายิงผู้ตายและผู้เสียหาย จึงเป็นการกระทำโดย ไตร่ตรองไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289(4)
ส่วนการที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหายต่อเนื่องกันทีละคนโดยไม่มีพฤติการณ์ที่เป็นการทารุณโหดร้ายแต่ละคนนั้น แม้จะมีผู้ถึงแก่ความตายเพราะถูกจำเลยยิงถึง 7 คน ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำทารุณโหดร้าย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289(5)
เมื่อลงโทษประหารชีวิตจำเลยแล้ว ก็ไม่อาจนำโทษจำคุกมารวมอีกได้ คงให้ประหารชีวิตจำเลยสถานเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 980/2502
กรณีที่จะปรับด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 81 นั้น เกี่ยวกับปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำผิดไม่สามารถจะกระทำให้บรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เช่น ใช้ปืนที่มิได้มีกระสุนบรรจุอยู่เลยยิงคน โดยเข้าใจผิดคิดว่ามีกระสุนบรรจุอยู่พร้อมแล้ว ซึ่งอย่างไร ก็ย่อมจะทำให้ผู้ถูกยิงได้รับอันตรายจากการยิงมิได้เลย ดังนี้ จึงจะถือได้ว่า เป็นกรณีที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้
จำเลยใช้ปืนที่มีกระสุนบรรจุอยู่ถึง 7 นัดยิงโจทก์ร่วม กระสุนนัดแรกด้านไม่ระเบิดออก ซึ่งอาจเป็นเพราะกระสุนเสื่อมคุณภาพหรือเพราะเหตุบังเอิญอย่างใดไม่ปรากฏ มิฉะนั้นแล้ว กระสุนก็ต้องระเบิดออกและอาจเกิดอันตรายแก่โจทก์ร่วมได้ หาเป็นการแน่แท้ไม่ว่าจะไม่สามารถกระทำให้ผู้ถูกยิงได้รับอันตรายจากการยิงของจำเลยเช่นนั้น กรณีนี้ต้องปรับด้วย มาตรา 80 ไม่ใช่มาตรา 81 และถ้าหากไม่มีคนเข้าขัดขวางจำเลยไว้ทันท่วงที จำเลยอาจยิงโจทก์ร่วมด้วยกระสุนที่ยังเหลือบรรจุอยู่นั้นต่อไปอีกก็ได้ ย่อมเห็นชัดว่า ไม่ใช่กรณีที่ปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำผิดไม่สามารถจะกระทำให้บรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตามความหมายใน มาตรา 81

คำพิพากษาย่อยาว
ได้ความว่า จำเลยใช้ปืนที่มีกระสุนบรรจุอยู่ 7 นัด ยิงโจทก์ร่วม กระสุนนัดแรกด้าน นายช้อยกับนายทอง จึงเข้าขัดขวางจำเลยไว้
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลทั้งสองว่า จำผิดฐานพยายามฆ่าคนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80 จำคุก 10 ปี
ข้อวินิจฉัยของศาลฎีกามีว่า ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยฐานพยายามกระทำความผิดตาม มาตรา 80 หาชอบไม่ ควรต้องปรับด้วย มาตรา 81 แห่งประมวลกฎหมายอาญา นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า เป็นเรื่องที่จำเลยเข้าใจกฎหมายไม่ถูกต้อง เพราะกรณีที่จะปรับด้วยมาตรา 81 นั้น เกี่ยวกับปัจจัยซึ่งในการกระทำผิดไม่สามารถจะกระทำให้บรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เช่น ใช้ปืนที่มิได้มีกระสุนบรรจุอยู่เลยยิงคน โดยเข้าใจผิดคิดว่ามีกระสุนอยู่พร้อมแล้ว ซึ่งอย่างไร ก็จะทำให้ผู้ถูกยิงได้รับอันตรายจากการยิงมิได้เลย ดังนี้ จึงจะถือได้ว่า เป็นกรณีที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ แต่สำหรับคดีนี้มิใช่เช่นนั้น กล่าวคือ จำเลยใช้ปืนที่มีกระสุนบรรจุอยู่ถึง 7 นัด ยิงโจทก์ร่วม กระสุนนักแรกด้าน ไม่ระเบิดออก ซึ่งอาจเป็นเพราะกระสุนเสื่อมคุณภาพ หรือเพราะเหตุบังเอิญอย่างใดก็ได้ ไม่ปรากฏ มิฉะนั้นแล้วกระสุนก็ต้องระเบิดออก และอาจเกิดอันตรายแก่โจทก์ร่วมได้ หาเป็นการแน่แท้ไม่ว่าจะไม่สามารถกระทำให้ผู้ถูกยิงได้รับอันตรายจากการยิงของจำเลยเช่นนั้น กรณีจึงต้องปรับด้วย มาตรา 80 ไม่ใช่ มาตรา 81 และถ้าหากนายช้อยกับนายทองพยานโจทก์ไม่เข้าขัดขวางจำเลยไว้ทันท่วงที จำเลยอาจยิงโจทก์ร่วมด้วยกระสุนที่ยังเหลือบรรจุอยู่นั้นต่อไปอีกก็ได้ จึงยิ่งเห็นชัดว่า ไม่ใช่กรณีที่ปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำผิดไม่สามารถจะกระทำให้บรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตามความหมายใน มาตรา 81


ผู้พิพากษา
การุณย์ นราทร
สารนัย ประสาสน์

Visitor Statistics
» 1 Online
» 20 Today
» 47 Yesterday
» 253 Week
» 173 Month
» 1938 Year
» 68919 Total
Record: 15081 (20.04.2022)
Free PHP counter