ข้อบังคับสภาทนายความ
ว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. ๒๕๒๙

หมวด ๕

มรรยาทในการแต่งกาย

 

     ข้อ ๒๐  ในเวลาว่าความ ทนายความจะต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อยตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้

    (๑) ทนายความชาย แต่งตามแบบสากลนิยม เป็นชุดสีขาว หรือสีอื่นที่ไม่ฉูดฉาด เชิ้ตขาวผ้าผูกคอสีดำหรือสีอื่นที่สุภาพไม่ฉูดฉาดแบบเงื่อนกะลาสี หรือแต่งเสื้อชุดไทยแบบแขนสั้นหรือยาวสีสุภาพ ไม่มีลวดลาย แทนเสื้อชุดสากลก็ได้ รองเท้าหุ้มส้นสีขาว น้ำตาลหรือดำ ถุงเท้าสีคล้ายคลึงกับรองเท้า

    *(๒) ทนายความหญิงแต่งกายตามแบบสากลนิยม กระโปรงหรือกางเกงขายาวสีขาว กรมท่า ดำ หรือสีอื่น ซึ่งเป็นสีเข้มและไม่ฉูดฉาด โดยมีรูปแบบที่เหมาะสม เสื้อสีขาวหรือสีตามกระโปรงหรือกางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้นสีขาว น้ำตาลหรือดำ เข้าชุดกันกับเครื่องแต่งกาย

    (๓) ทนายความที่มีสิทธิแต่งเครื่องแบบราชการ จะแต่งเครื่องแบบราชการก็ได้

    (๔) ในขณะว่าความ ทนายความที่มีสิทธิ สวมเสื้อครุยเนติบัณฑิต ต้องสวมเสื้อครุยนั้นด้วย

* ข้อ (๒)  แก้ไขโดย ข้อ ๓ แห่งข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๖๖ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑๕๑ ง หน้า ๓๘ วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๖)

คำอธิบาย

การแต่งกายที่กล่าวถึงนี้ หมายถึงการแต่งกายในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ทนายความในศาล ในการพิจารณาคดีความต่างๆ ถือว่า ศาลเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ผู้หนึ่งผู้ใดจะกระทำการใดภายในศาลต้องทำด้วยความคารวะสูงสุดและด้วยความเคารพยำเกรง การแต่งกายไปศาลเป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งถึงการเคารพต่อศาล ทนายความซึ่งทำหน้าที่เป็นทนายความให้แก่ประชาชน เป็นตัวแทนของประชาชนที่เขาให้ความเคารพนับถือ ย่อมต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในการที่จะต้องแสดงออกถึงการให้ความเคารพยำเกรงต่อศาล ดังนั้นการแต่งกายจึงต้องแต่งให้ดูสุภาพเรียบร้อยตามข้อบังคับในข้อนี้ ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดี ทำให้ประชาชนผู้ไปศาลได้เห็นว่าทนายความที่แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ดูงามสง่าภูมิฐาน น่าเชื่อถือทุกคน ดังนั้นทนายความจะต้องมีความระมัดระวังในการแต่งกายให้มาก ถึงแม้ว่าตนเองจะอยู่ในห้องพิจารณาคดีหรือไม่ก็ตาม การแต่งกายที่สุภาพเรียบร้อยเป็นการให้เกียรติต่อสถาบันศาล และสถาบันทนายความ จะทำให้เป็นที่เลื่องลือและเป็นที่ยกย่องนับถือของผู้ร่วมวิชาชีพและบุคคลทั่วไป
-------------------
การแต่งกายของทนายความชาย ตามข้อบังคับคังกล่าว กำหนดให้แต่งกายสองแบบคือ
1. แต่งกายตามสากลนิยม ซึ่งหมายความว่า ต้องแต่งกายตามแบบอย่างของชาวตะวันตกประกอบด้วยเสื้อนอกคอแบะ หรือที่เรียกกันว่า "เสื้อสูท" กางเกงขายาว ซึ่งเสื้อนอกและกางเกงดังกล่าวจะเป็นชุดสีขาว หรือสีอื่นที่ไม่ฉูดฉาดก็ได้
-------------------
คำว่า "สีอื่นที่ไม่ฉูดฉาด" ในที่นี้หมายถึงว่าหากเป็นสีอื่นต้องไม่ใช่สีที่สดใสบาดตา หรือสีจัดจ้ากว่าปกติ เช่น สีแดง สีเหลือง เป็นต้น เสื้อสูท และกางเกงนี้ควรเป็นสีเดียวกัน ส่วนเสื้อคอเชิ้ตต้องใช้สีขาวเท่านั้น จะใช้สีอื่นไม่ได้ ใช้ผ้าผูกคอสีดำ หรือสีอื่นที่สุภาพ แบบเงื่อนกลาสี ซึ่งก็คือเนคไทนั่นเอง จะใช้ผ้าผูกคอสีสดใสจัดจ้าไม่ได้
-------------------
2. แต่งกายด้วยเสื้อชุดไทยแบบแขนสั้นหรือยาว ซึ่งหมายถึง ชุดที่เรียกกันว่า "ชุดพระราชทาน" จะเป็นเสื้อแขนยาวหรือแขนสั้นก็ได้ แต่สีต้องสุภาพ ไม่ฉูดฉาด และต้องไม่มีลวดลายส่วนกางเกงควรเป็นกางเกงขายาวตามสากลนิยม
-------------------
การแต่งกายของทนายความชายทั้งสองแบบดังกล่าว ต้องสวมรองเท้าหุ้มสันสีขาว น้ำตาล หรือสีดำ เท่านั้น ถุงเท้าสีคล้ายดถึงกับรองเท้า แม้ว่าในข้อบังคับจะมิได้ระบุชนิดของรองเท้าก็ตามแต่ในการแต่งกายชุดสากลนิยมต้องใช้รองเท้าหนังเท่านั้น
-------------------
การแต่งกายของทนายความหญิง ต้องแต่งกายตามแบบสากลนิยม ซึ่งในที่นี้ มีความหมายสองนัย
- ความหมายแรก คำว่า "แบบสากลนิยม" เป็นคำเฉพาะเช่นเดียวกับความหมายของคำว่า "สากลนิยม" ของทนายความชายที่กล่าวมาข้างตัน คือ เป็นเสื้อนอกคอแบะ แบบทนายความชาย หรือที่เรียกกันว่า "เสื้อสูท" นุ่งกระโปรงหรือกางเกงขายาวสีขาว
- อีกความหมายหนึ่งเป็นความหมายทั่วๆไป หมายถึงการแต่งกายตามแบบผู้หญิงตะวันตกที่นิยมกัน คือ สวมเสื้อนุ่งกระโปรงหรือกางเกงขายาว ไม่ต้องมีเสื้อนอกหรือเสื้อสูทก็ได้ ตามข้อบังคับมิได้ระบุความยาวของกระโปรง ดังนั้นกระโปรงจะยาวถึงข้อเท้าหรือสั้นเหนือเข่าก็ได้ แต่ให้ดูสุภาพพอเหมาะพอควร ไม่ควรสั้นจนเกินงามหรือยาวจนรุ่มร่าม หรือถ้าจะใส่กางเกง ต้องเป็นกางเกงขายาวสีขาว สีกรมท่า สีดำ หรือสีอื่นๆ ซึ่งเป็นสีเข้มและไม่ฉูดฉาด โดยมีรูปแบบที่เหมาะสม สุภาพ ไม่ใช้สีสดใสบาดตา หรือสีจัดจ้ากว่าปกติ
--------------------
ตามข้อบังคับกำหนดว่า เสื้อต้องเป็นสีสุภาพ เสื้อสีขาวหรือสีตามกระโปรงหรือกางเกงขายาว ไม่ใช้สีเสื้อฉูดฉาด ซึ่งหมายถึงเสื้อนอกและเสื้อที่ถูกสวมทับโดยเสื้อนอกต้องไม่ใช้สีสดใสบาดตา หรือสีจัดจ้ากว่าปกติ ส่วนรองเท้าตามข้อบังคับระบุเป็นรองเท้าหุ้มส้น สีขาว น้ำตาลหรือดำ เข้าชุดกันกับเครื่องแต่งกาย ไม่ได้ระบุว่าส้นรองเท้าต้องสูงหรือต่ำขนาดใด ดังนั้น จะเป็นส้นเตี้ยหรือส้นสูงก็ได้ แต่ควรเหมาะสมแก่การประกอบวิชาชีพอันมีเกียรติ
--------------------
ทนายความที่มีสิทธิแต่งเครื่องแบบราชการ จะแต่งเครื่องแบบราชการ หรือแต่งกายที่กล่าวมาข้างตันก็ได้ ซึ่งตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 35 (10) กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตทนายความไว้ว่า "ไม่เป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีเงินเดือนและตำแหน่งประจำ "เวันแต่ข้าราชการการเมือง" ดังนั้น ข้าราชการทั่วไป พนักงานส่วนท้องถิ่น ไม่มีสิทธิขึ้นทะเบียนเป็นทนายความ คงมีแต่ข้าราชการการเมืองที่จะมีสิทธิขึ้นทะเบียนเป็นทนายความได้ ข้าราชการการเมืองที่ได้รับอนุญาตจากสภาทนายความให้เป็นทนายความ จะแต่งเครื่องแบบราชการมาว่าความก็ได้
--------------------
ในขณะว่าความ ทนายความที่มีสิทธิสวมเสื้อครุยเนติบัณฑิตต้องสวมเสื้อครุยด้วย ทนายความที่มีสิทธิสวมเสื้อครุยเนติบัณฑิต ตามข้อบังคับเนติบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2507 ข้อ 17 วรรคหนึ่ง ได้แก่ ทนายความที่เป็นสามัญสมาชิก สมาชิกวิสามัญ และสมาชิกกิตติมศักดิ์ แห่งเนติบัณฑิตยสภา ซึ่งบุคคลเหล่านี้ต้องสวมเสื้อครุยในขณะว่าความด้วย ถ้าขณะว่าความไม่สวมเสื้อครุยก็ถือว่าผิดข้อบังคับนี้
--------------------
ทนายความบางท่านแต่งกายไม่เป็นไปตามข้อบังคับนี้ เช่น ใส่เสื้อผ้าสีฉูดฉาด มีลวดลายสีตัดกัน ทนายความหญิงบางท่านสวมใส่กระโปรงสั้นมากจนดูน่าเกลียด ถึงแม้จะสวมเสื้อครุยทับแล้วก็ตาม แต่ก่อนเข้าห้องพิจารณาทนายความยังไม่ได้สวมเสื้อครุย จึงทำให้ดูไม่เหมาะสม การแต่งกายควรให้เหมาะสมกับสถานที่ที่ควรเคารพ การแต่งกายที่ไม่เรียบร้อยเป็นการแสดงออกถึงการไม่ให้ความเคารพต่อศาล ซึ่งบางกรณีอาจถือได้ว่าเป็นการละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การแต่งกายของทนายความที่มิได้ระบุไว้ในข้อบังคับ ทนายความก็ต้องใช้วิจารณญาณแต่งกายให้เหมาะสมกับบุคคลผู้ใด้รับการศึกษาอบรมมาอย่างดี ประกอบวิชาชีพอันทรงเกียรติ เป็นสุภาพชน เป็นชนชั้นผู้ดี จะแต่งกายให้ดูเสื่อมเสียกับวิชาชีพไม่ได้ เช่น ทนายความชายไม่ควรไว้ผมประบ่า หรือถักเปีย หรือตัดผมเป็นลวดลายติดหนังศีรษะ หรือทำผมทรงเม่น หรือทำผมสีแดง สีฟ้า หรือสีแปลกๆ หรือทนายความหญิงไม่ควรสวมเสื้อเกาะอก เสื้อสายเดี่ยว หรือสวมใส่เสื้อสั้นจนเห็นสะดือ หรือใช้ผ้าบางจนมองทะลุเห็นร่างกาย หรือใส่กระโปรงสั้นมากจนเหมือนหญิงประกอบอาชีพอย่างอื่น เป็นต้น ซึ่งถือได้ว่า เป็นการแต่งกายที่ไม่สุภาพเรียบร้อยตามข้อบังคับนี้ เพราะข้อบังคับนี้กำหนดสาระสำคัญไว้ว่า ทนายความต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อย
--------------------
นอกจากนี้การแต่งกายผิดข้อบังคับดังที่กล่าวมานี้ ยังถือได้ว่าเป็นการประพฤติตนอันเป็นการฝ่าฝืนต่อศีลธรรมอันดี หรือเป็นการเสื่อมเสียศักดิ์ศรีและเกียรติคุณของทนายความตามข้อบังดับข้อ 18 ด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อบังคับที่ครอบคลุมถึงการกระทำผิดมรรยาททนายความเกือบทุกประเภทด้วย
--------------------
เคยมีคดีที่ศาลได้แจ้งกล่าวหามาว่า ทนายความแต่งชุดซาฟารีไปว่าความที่ศาล ขอให้สภาทนายความพิจารณาลงโทษตามความผิดในข้อบังคับมรรยาททนายความ ทนายความยอมรับว่าเป็นความจริง แต่เกิดขึ้นเพราะไปธุระที่ต่างจังหวัดกลับบ้านเพื่อเปลี่ยนเสื้อผ้าไม่ทัน สภาทนายความก็ได้พิจารณาลงโทษไปแล้ว

คำสั่งสภานายกพิเศษ

แสดงความคิดเห็น

บันทึกส่วนตัว

Visitor Statistics
» 1 Online
» 3 Today
» 0 Yesterday
» 3 Week
» 8 Month
» 204 Year
» 1352 Total
Record: 163 (03.11.2023)
Free PHP counter