คลังข้อสอบเก่า เนติบัณฑิต

(อาญา สมัยที่ 73)

การสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 73 ปีการศึกษา 2563
กฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

วันอาทิตย์ 11 ตุลาคม 2563

คำถาม 10 ข้อ ให้เวลาตอบ 4 ชั่วโมง (14.00 น. ถึง 18.00 น.) ให้ยกเหตุผลประกอบคำตอบด้วย


ข้อ 1.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 692/2561
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 692/2561
    ความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 มิใช่เป็นความผิดแต่เฉพาะตัวของเจ้าพนักงานคนใดคนหนึ่งในขณะปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันเท่านั้น หากมีการต่อสู้หรือขัดขวางจากคนร้ายเกิดขึ้น เจ้าพนักงานที่ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ในครั้งนั้นต่างต้องได้รับผลร้ายหรือผลกระทบยากลำบากจากการปฏิบัติงานที่ไม่สะดวกราบรื่นทั้งสิ้น จึงเป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานชุดที่ปฏิบัติหน้าที่ทุกคน
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 บัญญัติให้การต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เป็นความผิดและมีโทษนั้นก็เพื่อให้ประชาชน ผู้เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานเพื่อความสะดวกราบรื่นในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน แม้ไม่ใช่ประชาชนผู้ถูกเจ้าพนักงานกล่าวหาว่ากระทำความผิดก็ตาม
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140 วรรคสาม บัญญัติให้ผู้กระทำความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยมีอาวุธปืน ต้องได้รับโทษหนักกว่าโทษตามที่กฎหมายบัญญัติในสองวรรคก่อนกึ่งหนึ่ง ก็เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่
    จำเลยที่ 1 ขับรถคันเกิดเหตุพุ่งใส่เจ้าพนักงานตำรวจที่อยู่ด้านหน้ากับรถตราโล่ของเจ้าพนักงานตำรวจที่จอดปิดกั้นจราจรจนเจ้าพนักงานตำรวจต้องกระโดดหลบและเฉียวชนรถของประชาชน และรถตราโล่ของเจ้าพนักงานตำรวจที่อยู่ด้านหน้าและรถของประชาชนที่อยู่ด้านหลังเพื่อหลบหนี แม้อาวุธปืนที่ยึดได้จากรถคันเกิดเหตุถูกซุกซ่อนอยู่ใต้ที่นั่งด้านหน้าข้างคนขับ จำเลยที่ 1 ไม่ได้พกติดตัวหรือวางในลักษณะพร้อมหยิบฉวยได้ทันทีก็ตาม แต่เป็นอาวุธปืนที่มีกระสุนปืนบรรจุอยู่ในรังเพลิงพร้อมใช้งานได้ทันที และการมีอาวุธปืนในลักษณะเช่นนี้จำเลยที่ 1 มีโอกาสที่นำมาใช้ได้ตลอดเวลาหากต้องการใช้ นับเป็นอันตรายต่อเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติตามหน้าที่ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคสอง ประกอบมาตรา 140 วรรคสาม


ข้อ 2.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 2255/2522
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 2255/2522
คำพิพากษาย่อสั้น
บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีเจตนาจะให้รถยนต์ที่ผู้ตายขับชนกับรถโดยสารประจำทางซึ่งจำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นอยู่แล้วว่า เมื่อรถโดยสารแล่นสวนทางมาในระยะใกล้ หากจำเลยได้หยุดและหักรถหลบเข้ามาทางซ้าย ผู้ตายต้องหลบมาทางขวา จะชนกับรถโดยสารในทันที ผู้ตายและผู้โดยสารต้องถึงแก่ความตายและบาดเจ็บสาหัส และรถทั้งสองชนกันมีคนตายและบาดเจ็บสาหัสดังเจตนาของจำเลย หรือมิฉะนั้นก็ขับรถด้วยความประมาทแสดงว่าฟ้องมีความประสงค์ให้ลงโทษอย่างใดอย่างหนึ่ง หาใช่ขอให้ลงโทษทั้งสองอย่างไม่ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) และจำเลยเข้าใจฟ้องได้ดี ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1547/2511)
จำเลยขับรถปิดเส้นทางไม่ยอมให้ผู้ตายซึ่งขับรถตามหลังมาแซงขึ้นหน้า เมื่อรถโดยสารประจำทางแล่นสวนทางมา จำเลยก็แกล้งเบรคให้รถหยุดในทันที การกระทำเช่นนี้จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่าผู้ตายต้องหักรถหลบไปทางขวาและชนกับรถโดยสารนั้น ซึ่งจำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำของจำเลยได้ว่าจะมีผู้ได้รับอันตรายบาดเจ็บและตายเกิดขึ้นจากเหตุที่รถชนกันนั้น ฉะนั้นเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยผลแห่งการกระทำของจำเลยดังกล่าว จงได้ชื่อว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีเจตนาให้รถยนต์ที่ผู้ตายขับชนกับรถยนต์ประจำทาง ซึ่งจำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นอยู่แล้วว่าต้องมีคนตายและบาดเจ็บสาหัส หรือมิฉะนั้นก็ขับรถด้วยความประมาทเป็นเหตุให้มีคนตายและบาดเจ็บ เกิดเหตุแล้วจำเลยไม่กระทำการช่วยเหลือตามสมควร และแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทันที ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 291, 300, 91 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 29, 30, 66, 68 พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2508 มาตรา 7 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 59 พ.ศ.2515 ข้อ 6, 11, 13 ขอให้เพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยด้วย
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 จำคุก 20 ปี ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 30, 68 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที 59 ข้อ 6, 3 จำเลย 1 ปี เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 รวมเป็นโทษจำคุก 21 ปี ข้อหาและคำขออื่นให้ยก
จำเลยอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิด ว่าจำเลยมีเจตนาจะให้รถยนต์ที่นายจำนงค์ขับชนกับรถโดยสารประจำทางซึ่งจำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นแล้วว่าเมื่อรถโดยสารประจำทางแล่นสวนทางมาในระยะใกล้ หากจำเลยได้หยุดและหักรถหลบเข้ามาทางซ้าย นายจำนงค์ ต้องหลบมาทางขวา จะชนกับรถโดยสารประจำทางในทันที นายจำนงค์และผู้โดยสารต้องถึงแก่ความตายและบาดเจ็บสาหัส และรถยนต์ที่นายจำนงค์ขับก็ได้ชนกับรถประจำทาง มีคนตายและบาดเจ็บสาหัสสมดังเจตนาของจำเลย หรือมิฉะนั้นก็ขับชนด้วยความประมาท แสดงว่าฟ้องมีความประสงค์จะให้ลงโทษฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา หรือมิฉะนั้นก็ขอให้ลงโทษฐานทำให้คนตายโดยประมาท อย่างใดอย่างหนึ่ง หาใช่ขอให้ลงโทษทั้งสองอย่างไม่ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) และจำเลยเข้าใจฟ้องได้ดี ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ที่จำเลยขับรถปิดเส้นทางไม่ยอมให้ผู้ตายซึ่งขับรถตามหลังมาแซงขึ้นหน้า และเมื่อจำเลยเห็นรถยนต์โดยสารประจำทางแล่นสวนทาง จำเลยก็แกล้งเบรคให้รถหยุดในทันที การที่จำเลยกระทำเช่นนี้ จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่าสู้ตายต้องหักรถหลบไปทางขวาและชนกับรถโดยสารประจำทางนั้น ซึ่งจำเลยย่อมเล็งเห็นผลแห่งการกระทำของจำเลยได้ว่าจะมีผู้ได้รับอันตรายบาดเจ็บและตายเกิดขึ้นจากเหตุที่รถยนต์ชนกันนั้น ฉะนั้นเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยผลแห่งการกระทำของจำเลยดังกล่าว จึงได้ชื่อว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ปรากฏว่าได้มีพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ออกใหม่ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2522 เป็นต้นมา ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกที่ออกใช้ใหม่นี้ ได้บัญญัติถึงความผิดฐานเมื่อเกิดเหตุแล้วไม่ให้ความช่วยเหลือตามสมควรและแจ้ง เหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ในมาตรา 78 และ 160 ซึ่งในกรณีที่เป็นเหตุให้ผู้ได้รับอันตรายสาหัสหรือตาย ผู้ไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนและปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับเป็นคุณยิ่งกว่าโทษพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 477 มาตรา 30, 68 ซึ่งระวางโทษจำคุกไม่เกิดหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 98, 160 จำคุก 2 เดือน เมื่อรวมกับโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 อีกกระทงหนึ่ง คงจำคุกจำเลย รวม 20 ปี 2 เดือน นอกจากที่แก้นี้แล้วคงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

ผู้พิพากษา
พยนต์ ยาวะประภาษ
ผสม จิตรชุ่ม
สุทิน เลิศวิรุฬห์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 1547/2511
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 1547/2511 (ประชุมใหญ่)

(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2511)
คำพิพากษาย่อสั้น
ฟ้องบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีว่าจำเลยได้กระทำผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา หรือมิฉะนั้นก็กระทำผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาทโดยชัดแจ้ง แสดงว่าฟ้องมีความประสงค์จะให้ลงโทษฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาหรือมิฉะนั้นก็ขอให้ลงโทษฐานทำให้คนตายโดยประมาท ประกอบกับฟ้องได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงที่อ้างว่าจำเลยกระทำเป็นท้องเรื่องมาครบถ้วนชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย ไม่เคลือบคลุม ไม่ขัดแย้งกัน หรือเอาเปรียบจำเลย จำเลยเข้าใจฟ้องได้ดี เมื่อจำเลยรับสารภาพฐานทำให้คนตายโดยประมาทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 ก็ลงโทษจำเลยได้ (อ้างฎีกาที่ 1780/2497 และฎีกาที่ 86/2503) (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2511)
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า (ก) จำเลยบังอาจยิงปืนโดยใช่เหตุในเมืองและในหมู่บ้านอันเป็นชุมนุนชน (ข) จำเลยบังอาจใช้อาวุธปืนขู่เข็ญบังคับผู้เสียหายและผู้ตายให้นั่งอยู่กับที่ทำให้บุคคลเหล่านั้นตกใจกลัวต้องกระทำตามที่ถูกบังคับขู่เข็ญ และ (ค) ในระหว่างที่จำเลยขู่เข็ญบังคับผู้เสียหายและผู้ตายอยู่นั้น ผู้ตายได้ลุกขึ้นจากเก้าอี้ที่นั่ง จำเลยได้บังอาจใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตายโดยเจตนาจะฆ่าหรือมิฉะนั้นการที่จำเลยใช้อาวุธปืนบังคับขู่เข็ญผู้ตายกับพวกโดยมิได้มีเจตนาจะฆ่า แต่จำเลยได้จ้องเล็งอาวุธปืนนั้นโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังเป็นเหตุให้อาวุธปืนลั่นออกไปถูกผู้ตายตายขอให้ลงโทษตามมาตรา 376, 392, 288, 291, 33
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องข้อ (ก) (ข) แต่ข้อ (ค) รับสารภาพว่ากระทำโดยประมาท ปฏิเสธในข้อหาฐานใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายโดยเจตนา
คู่ความไม่สืบพยาน
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่าจำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376, 392 ให้ปรับ 200 บาท 300 บาทตามลำดับ จำเลยให้การสารภาพลดโทษให้ตามมาตรา 78 กึ่งหนึ่งคงปรับ 250 บาท ให้ยกฟ้องข้อหาฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา หรือทำให้คนตายโดยประมาทเพราะฟ้องขัดกันอย่างชัดแจ้งและเคลือบคลุม
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลาย ที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีว่า จำเลยได้กระทำผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา หรือมิฉะนั้นก็กระทำผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาทโดยชัดแจ้ง แสดงว่าฟ้องมีความประสงค์จะให้ลงโทษฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา หรือมิฉะนั้นก็ขอให้ลงโทษฐานทำให้คนตายโดยประมาท ประกอบกับฟ้องได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงที่อ้างว่าจำเลยกระทำเป็นท้องเรื่องมาครบถ้วนชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว ตามคำพิพากษาฎีกาซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ที่ 86/2503 ฟ้องของโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เคลือบคลุมไม่ขัดแย้งกัน หรือเอาเปรียบจำเลย จำเลยเข้าใจฟ้องได้ดี จึงให้การรับสารภาพว่า ทำให้คนตายโดยประมาทดังฟ้อง พิจารณาเฉพาะที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงที่มีความประสงค์จะให้ลงโทษฐานทำให้คนตายโดยประมาท ก็เป็นฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 อันสมบูรณ์ดังคำพิพากษาฎีกาที่ 1780/2497 เมื่อจำเลยรับสารภาพเกี่ยวกับความผิดฐานนี้ ก็ลงโทษจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 อีกกระทงหนึ่ง ให้จำคุก 8 ปี ลดโทษตามมาตรา 78 คงจำคุก 4 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามศาลล่าง

ผู้พิพากษา
สุธี โรจนธรรม
ไฉน บุญยก
วินัย ทองลงยา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 1780/2511
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 1780/2511
คำพิพากษาย่อสั้น
เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่า สำหรับเหตุการณ์ตอนหลังจำเลยถือเหล็กขูดชาร์ฟสามเหลี่ยมปลายแหลมวิ่งไล่แทงนายถึง ถูกบริเวณก้นกบ 1 ที ครั้นนายอุทัยไปถึงจำเลย จำเลยก็หันมาแทงนายอุทัย 1 ที ถูกที่โคนขาซ้าย แล้วจำเลยก็วิ่งหนีไป ส่วนนายอุทัยวิ่งไปได้ 3-4 ก้าวก็ล้มและไปตายที่โรงพยาบาลปราจีนบุรีเพราะโลหิตออกมาก ต้องถือว่าการกระทำของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับนายถึงเป็นการทำร้ายร่างกายถึงบาดเจ็บ และในส่วนที่เกี่ยวกับนายอุทัยแม้เหล็กขูดชาร์ฟจะใช้เป็นอาวุธร้ายได้จำเลยก็ได้แทงนายอุทัยผู้ตายส่งๆ ไปทีเดียวโดยไม่มีโอกาสได้เลือกแทงตรงไหน เผอิญไปถูกเส้นโลหิตใหญ่ที่ไปเลี้ยงส่วนขาโลหิตออกมากจึงถึงตาย เช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะทำร้ายนายอุทัยให้ถึงตาย จำเลยคงมีผิดเพียงฐานฆ่าคนโดยไม่เจตนาเท่านั้น
อนึ่ง รูปคดีหาใช่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายไม่
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจใช้เหล็กขูดชาร์ฟแทงทำร้ายนายถึง ประทังคำ 1 ปี ถูกที่ด้านหลังต่ำจากเอวเล็กน้อย ทำให้เป็นอันตรายแก่กาย และแทงทำร้ายนายอุทัย ประทังคำ ถูกที่บริเวณโคนขาซ้าย 1 ที โดยมีเจตนาฆ่า ทำให้นายอุทัยบาดเจ็บถึงตายในวันเกิดเหตุนั้นเองขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295, 288 และริบเหล็กขูดชาร์ฟของกลาง
จำเลยให้การว่า กระทำไปเพื่อป้องกันตัว
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำผิดเพราะถูกฝ่ายพวกผู้ตายทำร้าย และกระทำลงในเวลาใกล้ชิด เพราะเหตุบันดาลโทสะ จึงพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295, 288 ให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 288 ซึ่งเป็นกระทงหนักตามมาตรา 91 ประกอบด้วยมาตรา 72 จำคุก 8 ปี ของกลางริบ
จำเลยอุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุหรือหากจะฟังว่าเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุหรือบันดาลโทสะ ก็ขอให้ปล่อยจำเลยไป หรือลงโทษน้อยกว่า 8 ปีตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดโทษ
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุไม่ใช่เรื่องกระทำผิดเพราะบันดาลโทสะ พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์เหล็กขูดชาร์ฟของกลาง ให้คืนเจ้าของเพราะฟังไม่ชัดว่าเป็นของจำเลย
โจทก์ฎีกาว่า การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการป้องกัน หากแต่เป็นการกระทำที่มีเจตนาทำร้ายร่างกายนายถึง ประทังคำ และฆ่านายอุทัยทั้งให้ริบเหล็กขูดชาร์ฟของกลางซึ่งจำเลยใช้กระทำความผิด
ศาลฎีกาพิเคราะห์เห็นว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดี การกระทำของจำเลยหาใช่กระทำเพื่อป้องกันไม่ กล่าวคือ สำหรับเหตุการณ์ตอนหลังจำเลยถือเหล็กขูดชาร์ฟสามเหลี่ยมปลายแหลมวิ่งไล่แทงสามีนางหอม ซึ่งได้แก่นายถึงผู้เสียหาย จำเลยไล่ไปทันนายถึงเอาเหล็กแหลมแทงถูกบริเวณก้นกบ 1 ที พอนายอุทัยไปถึงจำเลย จำเลยก็หันมาแทงนายอุทัย 1 ที ถูกที่โคนขาซ้าย แล้วจำเลยก็วิ่งหนีไปทางเหนือ ส่วนนายอุทัยวิ่งไปทางใต้ 3-4 ก้าวก็ล้ม นายถึงจึงเข้าไปดูนายอุทัย นางหอมเข้าไปดูด้วย และช่วยส่งโรงพยาบาลปราจีนบุรี ในที่สุดนายอุทัยตายที่โรงพยาบาลนั้นเอง
การกระทำของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับนายถึงเป็นการทำร้ายร่างกายถึงบาดเจ็บ และในส่วนที่เกี่ยวกับนายอุทัย แม้เหล็กขูดชาร์ฟจะใช้เป็นอาวุธร้ายได้ จำเลยก็แทงนายอุทัยผู้ตายเพียงทีเดียว บังเอิญไปถูกเส้นโลหิตใหญ่ที่ไปเลี้ยงส่วนขา โลหิตออกมากจึงถึงตาย ประกอบกับจำเลยไม่มีโอกาสที่จะเลือกแทงที่ตรงไหนได้ จำเลยแทงผู้ตายส่ง ๆไปโดยไม่เจตนาให้ถึงตาย จำเลยคงมีความผิดเพียงฐานฆ่านายอุทัยโดยไม่เจตนาเท่านั้น
พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 และมาตรา 290 แต่ให้ลงโทษกระทงหนักตามมาตรา 290 ส่วนกำหนดโทษนั้นให้คงเป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเหล็กขูดชาร์ฟของกลางริบ

ผู้พิพากษา
แสวง ลัดพลี
ชิต บุณยประภัศร
จินตา บุณยอาคม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 86/2503
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 86/2503 (ประชุมใหญ่)

(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 18/2502)
คำพิพากษาย่อสั้น
ความผิดฐานพยายามฆ่าคนโดยเจตนากับความผิดฐานประมาททำให้คนรับอันตรายแก่กายถึงสาหัสนั้น ลักษณะการกระทำแตกต่างกัน อันถือว่าเป็นสาระสำคัญ กล่าวคือ ในความผิดที่กระทำโดยประมาทโจทก์จะต้องบรรยายฟ้องให้จำเลยทราบว่า การกระทำของจำเลยเป็นประการใดจึงเรียกว่าจำเลยกระทำโดยประมาท จำเลยจะได้ต่อสู้คดีในฐานประมาทได้ด้วย มิฉะนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยพยายามฆ่าโดยเจตนา จะลงโทษฐานประมาททำให้คนรับอันตรายแก่กายถึงสาหัสไม่ได้หากโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยฐานประมาททำให้คนรับอันตรายแก่กายถึงสาหัสด้วย โจทก์ก็ชอบที่จะบรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยเป็นท้องเรื่องมาในฟ้องอันเห็นได้ว่า หากจำเลยไม่เจตนาจำเลยก็ได้กระทำการโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์เช่นนี้ ศาลก็ยังอาจจะลงโทษจำเลยฐานทำอันตรายแก่กายถึงสาหัสโดยประมาทได้เพราะเป็นเรื่องอยู่ในฟ้องแล้ว
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าคน และมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นเห็นว่า ความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่ได้รับอนุญาต จำเลยได้รับยกเว้นโทษตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2501 มาตรา 9 ลงโทษไม่ได้ และจำเลยมีผิดฐานพยายามฆ่าคนให้จำคุก 8 ปี ตามมาตรา 288, 80, 78 ของกลางริบ
จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยประมาท ให้จำคุก 2 ปี ตามมาตรา 300 นอกนั้นยืนตาม
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้กระทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส โดยประมาท และวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ว่า ความผิดฐานพยายามฆ่าคนโดยเจตนาและความผิดฐานประมาททำให้คนรับอันตรายแก่กายถึงสาหัสนั้น ลักษณะการกระทำแตกต่างกันอันถือว่าเป็นสาระสำคัญกล่าวคือ ในความผิดที่กระทำโดยประมาท โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องให้จำเลยทราบว่า การกระทำของจำเลยเป็นประการใด จึงเรียกได้ว่าจำเลยทำโดยประมาทจำเลยจะได้ต่อสู้คดีในฐานประมาทได้ด้วย หากโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในฐานประมาททำให้คนรับอันตรายแก่กายถึงสาหัสด้วย โจทก์ชอบที่จะบรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยเป็นท้องเรื่องมาในฟ้อง อันจะเห็นได้ว่าหากจำเลยไม่เจตนา จำเลยก็ได้กระทำการโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ เช่นนี้ ศาลก็ยังอาจจะลงโทษจำเลยฐานทำอันตรายแก่กายถึงสาหัสโดยประมาทได้ เพราะเป็นเรื่องอยู่ในฟ้องแล้ว ถ้าโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานพยายามฆ่าคนโดยเจตนาลอย ๆ เท่านั้น จะให้ศาลลงโทษจำเลยฐานประมาทหาได้ไม่
พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์

ผู้พิพากษา
วิชัยนิตินาท
สัญญา ธรรมศักดิ์
การุณย์นราทร


ข้อ 3.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 10497/2553
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 10497/2553
คำพิพากษาย่อสั้น
ผู้ตายเมาสุราก่อเหตุขึ้นก่อน โดยพูดจาทำนองหาเรื่องจำเลยเมื่อจำเลยเดินหนีไม่ตอบโต้ ผู้ตายยังเดินตามและใช้ไม้ตีจำเลยที่หลัง 1 ครั้ง แล้วผู้ตายจะใช้ไม่ตีจำเลยอีก นับเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ การที่จำเลยหันกลับมาชกผู้ตายซึ่งอยู่ในระยะประชิดเพื่อป้องกันตัวแม้จะเป็นการชกโดยแรงแต่ก็เป็นการชกเพียงครั้งเดียว และเมื่อจำเลยชกผู้ตายล้มลงจำเลยก็ไม่ได้ชกผู้ตายซ้ำอีก การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุและไม่เกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน ไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92, 290 เพิ่มโทษจำเลยตามกฎหมาย
จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 (ที่ถูก มาตรา 290 วรรคแรก) ประกอบมาตรา 69 ลงโทษจำคุก 3 ปี เพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็นจำคุก 4 ปี คำเบิกความของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 2 ปี 8 เดือน
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "...พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยไม่ฎีกาโต้แย้งฟังยุติว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุดังฟ้อง ขณะนายสุชาติผู้ตายนั่งดื่มสุราอยู่ที่ร้านก๋วยเตี๋ยวใกล้ที่เกิดเหตุ จำเลยเดินมาในร้านก๋วยเตี๋ยว นายอำพร ซึ่งนั่งอยู่ในร้านก๋วยเตี๋ยวใกล้กับผู้ตายถามจำเลยว่าไปไหนมา จำเลยบอกว่าพาพ่อไปหาหมอมา ผู้ตายหันหน้ามาทางจำเลยแล้วพูดว่าสงสัยใกล้ตายแล้ว ข้องใจหรือไง จำเลยพูดกับนายอำพรว่าไม่กินแล้วจากนั้นก็เดินออกจากร้านก๋วยเตี๋ยวไป ผู้ตายเดินตามจำเลยไปเมื่อใกล้จะทันผู้ตายหยิบท่อนไม้ที่พื้นถนน เป็นไม้ระแนงบาง ๆ ยาวประมาณ 1 ศอกตีที่หลังจำเลย 1 ครั้ง แล้วเงื้อไม้จะตีจำเลยอีก จำเลยหันกลับมาและชกบริเวณปากของผู้ตายทำให้ผู้ตายล้มลง ศีรษะกระแทกพื้นหมดสติไป จำเลยใช้เท้าเขี่ยผู้ตาย จากนั้น จำเลยขึ้นรถจักรยานยนต์รับจ้างหนีไป ต่อมาผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากเนื้อสมองช้ำ เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันหรือไม่ เห็นว่า ผู้ตายเมาสุราก่อเหตุขึ้นก่อนโดยพูดจาทำนองหาเรื่องจำเลยเมื่อจำเลยเดินหนีไม่ตอบโต้ ผู้ตายยังเดินตามและใช้ไม้ตีจำเลยที่หลัง 1 ครั้ง แล้วผู้ตายจะใช้ไม้ตีจำเลยอีก นับเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ การที่จำเลยหันกลับมาชกผู้ตายซึ่งอยู่ในระยะประชิดเพื่อป้องกันตัวแม้จะเป็นการชกโดยแรงแต่ก็เป็นการชกเพียงครั้งเดียว และเมื่อจำเลยชกผู้ตายล้มลง จำเลยก็ไม่ได้ชกต่อยผู้ตายซ้ำอีก การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุและไม่เกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น"
พิพากษายืน

ผู้พิพากษา
กรองเกียรติ คมสัน
เฉลิมเกียรติ ชาญศิลป์
โสภณ โรจน์อนนท์


ข้อ 4.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 2387/2536
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 2387/2536
คำพิพากษาย่อสั้น
จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทยเข้าไปมีบทบาทในการให้คำปรึกษาแนะนำและสั่งการในการนัดหยุดงานของลูกจ้างประมาณ 300 คน การนัดหยุดงานดังกล่าวมิได้เป็นไปตามขั้นตอนและเงื่อนไขดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 แต่เพื่อต่อรองบีบบังคับให้นายจ้างรับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างกลับเข้าทำงาน เมื่อปรากฏว่า มีการปะทะและทำร้ายซึ่งกันและกันระหว่างลูกจ้างที่นัดหยุดงานและลูกจ้างที่ทำงานในโรงงานมีการปิดประตูทางเข้าออกโรงงานเพื่อมิให้ลูกจ้างส่วนหนึ่งที่ประสงค์จะเข้าทำงานเข้าออกได้ มีการขว้างปาวัตถุก้อนหินก้อนอิฐเข้าไปในโรงงาน เหตุเกิดริมถนนสาธารณะ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215, 83
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 วรรคสาม ให้ลงโทษจำคุก 1 ปี ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อน เมื่อได้คำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติอาชีพของจำเลยและสภาพความผิดแล้ว สมควรรอการลงโทษจำคุกไว้มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2532 ห้างหุ้นส่วนจำกัดวิรัฐการทอได้เลิกจ้างลูกจ้าง ซึ่งเป็นกรรมการของสหภาพแรงงานวิรัฐการทอจำนวน 6 คน วันที่ 22 เดือนเดียวกันลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานดังกล่าวประมาณ 300 คน ได้ร่วมกันนัดหยุดงานประท้วงที่บริเวณหน้าโรงงาน วันที่ 23 เดือนเดียวกัน ห้างหุ้นส่วนจำกัดวิรัฐการทอได้ประกาศเลิกจ้าง ลูกจ้างที่นัดหยุดงานอีก 425 คน เป็นเหตุให้การนัดหยุดงานประท้วงต้องยืดเยื้อต่อไปจนถึงวันที่ 7 เมษายน 2532 อันเป็นวันเวลาที่โจทก์ฟ้องกล่าวหาจำเลยเป็นคดีนี้ ซึ่งในวันดังกล่าวมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น โดยมีการปะทะและทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันระหว่างลูกจ้างที่นัดหยุดงานกับลูกจ้างที่ทำงานในโรงงาน อันเนื่องจากลูกจ้างที่นัดหยุดงานไม่ยอมให้ลูกจ้างที่ทำงานออกจากโรงงาน และมีการขว้างปาวัตถุก้อนอิฐก้อนหินเข้าไปในโรงงานด้วย วันที่ 8 เมษายน 2532 ลูกจ้างที่นัดหยุดงาน ได้ตั้งแถวปิดกั้นประตูทางเข้าโรงงานไม่ยอมให้ลูกจ้างอีกส่วนหนึ่งที่ต้องการทำงานเข้าไปในโรงงาน หลังจากนั้นได้พากันเดินขบวนไปบ้านนายสุวัฒน์สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้นเพื่อขอให้เจรจากับนายจ้างให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทยได้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์นัดหยุดงานด้วย ปัญหาวินิจฉัยในชั้นนี้มีว่า จำเลยได้กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่าเหตุที่ลูกจ้างนัดหยุดงานครั้งนี้เนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัดวิรัฐการทอเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการของสหภาพแรงงานวิรัฐการทอ ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองว่า การนัดหยุดงานมิได้เป็นไปตามขั้นตอนและเงื่อนไขดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 อันจะทำให้ลูกจ้างมีสิทธินัดหยุดงานได้ ซึ่งจำเลยก็ยอมรับในข้อนี้ คงฎีกาโต้เถียงว่า การนัดหยุดงานดังกล่าวเป็นการต่อรองเพื่อให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานเท่านั้นหามีเจตนาประสงค์จะก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองไม่เห็นว่า วิธีการนัดหยุดงานที่ลูกจ้างนำมาใช้เพื่อต่อรองกับนายจ้างครั้งนี้ นอกจากมิใช่การแก้ไขตามวิถีทางของกฎหมายที่มีอยู่ซึ่งเปิดช่องให้แล้ว ยังเป็นวิธีการซึ่งไม่น่าจะเป็นที่ยอมรับของนายจ้างโดยทั่วไป กล่าวคือ แม้ในระยะเริ่มต้นลูกจ้างจะนัดหยุดงานด้วยความสงบ ต่อมาปรากฏว่ามีการปะทะและทำร้ายซึ่งกันและกันระหว่างลูกจ้างที่นัดหยุดงานและลูกจ้างที่ทำงานในโรงงาน มีการปิดกั้นประตูทางเข้าออกโรงงานเพื่อมิให้ลูกจ้างอีกส่วนหนึ่งที่ประสงค์จะเข้าทำงานเข้าออกได้ นอกจากนี้ยังมีการขว้างปาวัตถุก้อนอิฐก้อนหินเข้าไปในโรงงานด้วย เหตุเกิดริมถนนสาธารณะอันเป็นที่สัญจรของบุคคลทั่วไป การกระทำดังกล่าวย่อมเป็นความผิดฐานก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง..."
พิพากษายืน

ผู้พิพากษา
ณรงค์ ตันติเตมิท
ก้าน อันนานนท์
ประยูร มูลศาสตร์


ข้อ 5.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 6.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 7.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 8.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 9.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 10.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

Visitor Statistics
» 1 Online
» 16 Today
» 29 Yesterday
» 99 Week
» 282 Month
» 2047 Year
» 69028 Total
Record: 15081 (20.04.2022)
Free PHP counter