คลังข้อสอบเก่า เนติบัณฑิต

(อาญา สมัยที่ 68)

การสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 68 ปีการศึกษา 2558
กฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

วันอาทิตย์ 27 กันยายน 2558

คำถาม 10 ข้อ ให้เวลาตอบ 4 ชั่วโมง (14.00 น. ถึง 18.00 น.) ให้ยกเหตุผลประกอบคำตอบด้วย


ข้อ 1.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 2.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 3.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 4.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 5.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 6.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 112/2554
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 112/2554
คำพิพากษาย่อสั้น
การที่จำเลยโยนโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายลงไปที่ชานพักบันได จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายอาจจะเกิดความเสียหายได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามทำให้เสียทรัพย์ และแม้โจทก์จะมิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ แต่ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ก็มีความผิดฐานลักทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์รวมอยู่ด้วย จึงถือไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยหลงต่อสู้ ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานพยายามทำให้เสียทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 ประกอบมาตรา 80 ลงโทษปรับ 2,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา โดยอัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "...พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุในฟ้อง จำเลย ผู้เสียหายและนางสาวนวลวรรณ เพื่อนของผู้เสียหายไปเที่ยวที่ร้านธนบุรีคาเฟ่ ขณะที่นั่งในผับซึ่งอยู่ที่ชั้น 3 จำเลยดึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายที่เหน็บไว้ในกระเป๋ากระโปรงด้านหลังวิ่งลงมาแล้วโยนโทรศัพท์เคลื่อนที่ลงบริเวณชานพักบันได และถูกพนักงานของร้านธนบุรีคาเฟ่จับตัวส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดี มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่ โจทก์มีนางสาวรัตนา ผู้เสียหายเป็นพยานเบิกความว่า ในวันเกิดเหตุเวลาประมาณ 21 นาฬิกา พยานและนางสาวนวลวรรณ เพื่อนของพยานไปทางอาหารที่ร้าน ป. กุ้งเผา จนกระทั่งเวลาประมาณ 24 นาฬิกา พบจำเลยซึ่งไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเข้ามานั่งคุยกับนางสาวนวลวรรณ ต่อมาเวลา 24.15 นาฬิกา พยานและนางสาวนวลวรรณจะไปเที่ยวกันต่อที่ร้านธนบุรีคาเฟ่ จำเลยขอตามไปด้วย จึงพากันนั่งรถแท็กซี่ไปที่ร้านธนบุรีคาเฟ่เมื่อเข้าไปในผับที่ชั้น 3 ขณะที่กำลังหาที่นั่งจำเลยฉกฉวยโทรศัพท์เคลื่อนที่ของพยานแล้ววิ่งหนี พยานวิ่งตามและตะโกนขอความช่วยเหลือ จำเลยโยนโทรศัพท์ทิ้งที่ชานพักบันไดชั้น 3 แล้ววิ่งหนีลงไปชั้นล่างจนกระทั่งถูกจับตัวได้ เห็นว่า แม้ผู้เสียหายจะเบิกความในทำนองว่าไม่รู้จักคุ้นเคยกับจำเลย แต่ก็ได้ความจากผู้เสียหายเบิกความตอบคำถามค้านของทนายจำเลยว่า ขณะที่พยาน นางสาวนวลวรรณและจำเลยโดยสารรถแท็กซี่ไปร้านธนบุรีคาเฟ่ พยานนั่งคู่กับจำเลยที่เบาะหลังและให้จำเลยถือโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้ การที่ผู้เสียหายกับจำเลยนั่งคู่กันที่เบาะหลังโดยให้นางสาวนวลวรรณซึ่งผู้เสียหายอ้างว่าจำเลยเข้ามาที่โต๊ะเพื่อจีบนางสาวนวลวรรณนั่งที่เบาะหน้า ประกอบกับได้ความตามบันทึกคำให้การของนางสาวนวลวรรณซึ่งจัดทำขึ้นในวันเกิดเหตุว่าขณะเดินเข้าไปในผับที่ชั้น 3 ของร้านธนบุรีคาเฟ่ จำเลยเดินจับเอวผู้เสียหายเข้าไปย่อมบ่งชี้ว่าผู้เสียหายและจำเลยพูดคุยกันจนรู้จักคุ้นเคยกันตั้งแต่อยู่ที่ร้าน ป. กุ้งเผาจนถึงร้านเกิดเหตุ อีกทั้งผู้เสียหายยังให้ความสนิทสนมและไว้ใจจำเลยให้ช่วยเหลือโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้ตั้งแต่โดยสารรถแท็กซี่มาจนถึงร้านที่เกิดเหตุ แสดงให้เห็นว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายอยู่กับจำเลยเป็นเวลานานเพียงพอที่หากจำเลยมีเจตนาทุจริตต้องการเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายไปจริง จำเลยก็คงไม่รอมากระทำการในผับซึ่งเป็นสถานที่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน ทั้งยังมีพนักงานบริการและพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำอยู่ตามจุดต่างๆ ซึ่งยากที่จะเอาไปและหลบหนีไปได้อย่างปลอดภัย กรณีอาจเป็นไปได้ว่า ที่จำเลยดึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายไปจากกระเป๋ากระโปรงแล้วโยนทิ้งที่ชานพักบันไดไปนั้น ก็เพราะเกิดจากอารมณ์โกรธที่ได้ยินเสียงผู้ชายโทรศัพท์เข้ามาตามที่จำเลยนำสืบ พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมาจึงยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะรับฟังว่าจำเลยเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายไปโดยเจตนาทุจริตเพื่อต้องการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายมาเป็นของตนอันจะเป็นความผิดตามฟ้อง แต่อย่างไรก็ตาม การที่จำเลยโยนโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายลงไปที่ชายพักบันได จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายอาจจะเกิดความเสียหายได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายได้รับความเสียหายอย่างไรตามที่ผู้เสียหายเบิกความ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งแม้โจทก์จะมิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ก็ตาม แต่ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ก็มีความผิดฐานลักทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์รวมอยู่ด้วยจึงถือไม่ได้ว่า ข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยหลงต่อสู้ ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานพยายามทำให้เสียทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้นชอบแล้วศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น"
พิพากษายืน
ผู้พิพากษา
สิงห์พล ละอองมณี
อร่าม แย้มสอาด
ชุติมนต์ โพธิเดช

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 5729/2556
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 5729/2556
คำพิพากษาย่อสั้น
ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 นั้น จำเลยที่ 1 ต้องรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอก คือ (1) ผู้ใด (2) ฆ่า (3) ผู้อื่น กล่าวคือ รู้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการฆ่า และรู้ด้วยว่า วัตถุแห่งการกระทำคือผู้อื่นนั้นยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งปัญหาว่าจำเลยที่ 1 รู้หรือไม่ว่าผู้ตายถึงแก่ความตายแล้วนั้น โจทก์ไม่ได้ฎีกา และฎีกาโจทก์รับว่าจำเลยที่ 1 เข้าใจว่าผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว ทั้งข้อเท็จจริงยุติตามคำพิพากษาศาลล่างว่าจำเลยที่ 1 พยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายโดยใช้กำลังประทุษร้ายผู้ตายจนหมดสติแล้วนำไปทิ้งที่อ่างเก็บน้ำโดยเข้าใจว่าผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 มิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดว่าผู้ตายยังไม่ถึงแก่ความตาย จะถือว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลไม่ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงขาดองค์ประกอบความผิดตามความใน ป.อ. มาตรา 59 วรรคสาม
คำพิพากษาย่อpk;
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 83, 91, 276, 288, 289 (7) และริบรถจักรยานยนต์ของกลาง
จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพในข้อหาฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดหรือหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดที่ตนได้กระทำไว้ ส่วนข้อหาข่มขืนกระทำชำเราให้การปฏิเสธว่ากระทำความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราเท่านั้น
จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 80, 288 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานฆ่าผู้อื่น ลงโทษประหารชีวิต ฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเรา ลงโทษจำคุก 8 ปี จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้แต่ละกระทงกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) ฐานฆ่าผู้อื่น คงจำคุกตลอดชีวิต ฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเรา คงจำคุก 4 ปี เมื่อลงโทษจำคุกตลอดชีวิตในความผิดกระทงแรกแล้วไม่อาจนำโทษจำคุกในกระทงหลังมารวมได้อีก คงจำคุกจำเลยที่ 1 ตลอดชีวิตสถานเดียว ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 คืนรถจักรยานยนต์ของกลางแก่เจ้าของ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 แต่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ลงโทษจำคุก 10 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คงจำคุก 5 ปี รวมกับโทษจำคุก 4 ปี ในความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นจำคุก 9 ปี นอกจากนี้แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นยุติในชั้นนี้โดยคู่ความไม่โต้แย้งคัดค้านว่า นางสาวเครือวัณ ผู้ตาย เป็นภริยาของนายเงิน เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2552 เวลาประมาณ 16 นาฬิกา ผู้ตายไปร่วมวงดื่มสุราที่บ้านนายบุญสม มีผู้ร่วมดื่มสุรา คือ จำเลยทั้งสอง นางออน ภริยาของนายบุญสม ซึ่งเป็นมารดาของจำเลยที่ 1 ที่เกิดจากสามีเก่า นายดวงจันทร์และนางเหรียญ โดยนายบุญสมมาร่วมดื่มภายหลังจากกลับจากเลิกงานเพียง 2 แก้ว จนกระทั่งเวลาประมาณ 18 นาฬิกา ก็เลิกดื่มแยกย้ายกันไป จำเลยที่ 1 และผู้ตายพากันไปดื่มสุราที่บ้านนายสิงห์คำ มีนายดวงจันทร์ นางดวงจันทร์ นางสาวทิพวัลย์ และนางสอางค์ศรี พี่สาวของจำเลยที่ 2 ร่วมดื่มในวงสุราจนถึงเวลาประมาณ 20.30 นาฬิกา จึงเลิกดื่ม นายสิงห์คำบอกจำเลยที่ 1 ให้ไปส่งผู้ตาย แล้วจำเลยที่ 1 และผู้ตายออกจากบ้านไปด้วยกัน คืนนั้นผู้ตายไม่ได้กลับบ้าน รุ่งขึ้นนายเงินตามหาไม่พบและเข้าใจว่าผู้ตายไปหามารดา วันที่ 5 ตุลาคม 2552 เวลาประมาณ 13 นาฬิกา มีผู้พบศพผู้ตายในอ่างเก็บน้ำภายในรีสอร์ทเชียงใหม่ไฮแลนด์ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1 กิโลเมตร พันตำรวจโทพงษ์ศักดิ์ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรแม่ริม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ รับแจ้งเหตุแล้วได้แจ้งนายแพทย์อนุพงษ์ไปร่วมชันสูตรพลิกศพ นายแพทย์อนุพงษ์เห็นสภาพศพแล้วเชื่อว่าผู้ตายถูกทำร้ายร่างกายก่อนตาย ได้ทำรายงานไว้ตามรายงานชันสูตรพลิกศพ พันตำรวจโทพงษ์ศักดิ์ส่งศพผู้ตายไปที่แผนกนิติเวช โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่เพื่อตรวจพิสูจน์หาร่องรอยและสาเหตุการตาย นายแพทย์จาตุรงค์ได้ทำการตรวจพิสูจน์และลงความเห็นว่าผู้ตายถูกทำร้ายศีรษะด้านขวามีรอยช้ำ คอด้านขวามีรอยช้ำของกล้ามเนื้อ หน้าอกมีรอยช้ำ กระดูกซี่โครงขวาหักตั้งแต่ซี่ที่ 3 ถึงซี่ที่ 7 กระดูกซี่โครงซ้ายหักตั้งแต่ซี่ที่ 6 ถึงซี่ที่ 9 ตับมีรอยฉีกขาด พบโลหิตตกในช่องท้องประมาณ 1,300 มิลลิเมตร สันนิษฐานว่าโลหิตออกเพราะตับอักเสบ และตรวจพบสิ่งแปลกปลอมในถุงลมปอด เชื่อว่าผู้ตายสำลักน้ำ แสดงว่าขณะจมน้ำยังมีชีวิตและสำลักเอาสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในปอด รอยฟกช้ำตามร่างกายเกิดจากการถูกกระแทกด้วยของแข็งมีคม ซี่โครงหักเนื่องจากถูกกระแทกด้วยของแข็งอย่างรุนแรง รอยฟกช้ำที่คอเป็นรอยจุดเป็นจ้ำสันนิษฐานว่าเกิดจากการกดด้วยนิ้วมือ ตับฉีกขาดจากการถูกกระแทกอย่างรุนแรงที่บริเวณหน้าท้อง ไม่พบเชื้ออสุจิในช่องคลอดและไม่พบรอยฉีกขาดใหม่ของช่องคลอด ตายเนื่องจากการจมน้ำ วันที่ 6 ตุลาคม 2552 ดาบตำรวจเหรียญทองติดตามตัวจำเลยที่ 1 มาสอบถาม จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพว่าร่วมกับจำเลยที่ 2 กระทำความผิด พันตำรวจโทพงษ์ศักดิ์ได้ขอศาลชั้นต้นให้ออกหมายจับจำเลยทั้งสองและติดตามจับจำเลยที่ 2 ได้ในคืนนั้น ชั้นจับกุมจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ แต่ชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 กลับให้การรับสารภาพว่าร่วมกระทำกับจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำร้ายและกระทำชำเรา ส่วนจำเลยที่ 1 ช่วยจับขาแต่ไม่ได้กระทำชำเรา ส่วนจำเลยที่ 2 คงให้การปฏิเสธเช่นเดิม คดีสำหรับจำเลยที่ 2 ยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ให้ยกฟ้อง คดีสำหรับจำเลยที่ 1 ฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเรายุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ให้ลงโทษจำคุก 4 ปี
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 เจตนาฆ่านางสาวเครือวัณ ผู้ตาย ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสอง บัญญัติว่า "การกระทำโดยเจตนา ได้แก่การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น" วรรคสาม บัญญัติว่า "ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด จะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นมิได้" ดังนั้น การที่จะถือว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าได้นั้น จำเลยที่ 1 ต้องรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 คือ (1) ผู้ใด (2) ฆ่า และ (3) ผู้อื่น กล่าวคือ จำเลยที่ 1 ต้องรู้ข้อเท็จจริงที่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการ "ฆ่า" และรู้ด้วยว่าวัตถุแห่งการกระทำเป็น "ผู้อื่น" (หมายความว่าผู้อื่นนั้นยังมีชีวิตอยู่) หากจำเลยที่ 1 เข้าใจว่าผู้ตายถึงแก่ความตาย (เป็นศพ) แล้วก็ไม่ถือว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าผู้อื่น คดีนี้ข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นขณะเกิดเหตุ แต่ข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นยุติว่าจำเลยที่ 1 พยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายโดยใช้กำลังประทุษร้ายผู้ตายจนหมดสติแล้วนำไปทิ้งที่อ่างเก็บน้ำ โดยเข้าใจว่าผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว ซึ่งโจทก์ก็ฎีกายอมรับว่าขณะที่จำเลยที่ 1 นำผู้ตายไปทิ้งอ่างเก็บน้ำนั้นจำเลยที่ 1 สำคัญผิดว่าผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว ดังนั้นการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงถือว่ามีเจตนาฆ่าผู้ตายหาได้ไม่เพราะจำเลยที่ 1 มิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดอันจะถือว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลไม่ได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 59 วรรคสาม ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาฆ่าผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 แต่กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายตามมาตรา 291 มานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
ผู้พิพากษา
กีรติ กาญจนรินทร์
นิพนธ์ ใจสำราญ
วีระชาติ เอี่ยมประไพ


ข้อ 7.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 8.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 9.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 10.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

Visitor Statistics
» 1 Online
» 41 Today
» 83 Yesterday
» 41 Week
» 476 Month
» 1726 Year
» 68707 Total
Record: 15081 (20.04.2022)
Free PHP counter