คลังข้อสอบเก่า เนติบัณฑิต

(อาญา สมัยที่ 61)

การสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 61 ปีการศึกษา 2551
กฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

วันอาทิตย์ 22 กันยายน 2551

คำถาม 10 ข้อ ให้เวลาตอบ 4 ชั่วโมง (14.00 น. ถึง 18.00 น.) ให้ยกเหตุผลประกอบคำตอบด้วย


ข้อ 1.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 772/2536
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 772/2536
คำพิพากษาย่อสั้น
หลังจากจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยได้เข้ามอบตัวต่อพันตำรวจโท บ. พันตำรวจโท บ. สอบปากคำจำเลยจำเลยขออนุญาตกลับไปเปลี่ยนเสื้อผ้าที่บ้าน เพราะเสื้อผ้าเปื้อนเลือด พันตำรวจโท บ. ขับรถยนต์ไปส่งจำเลยที่บ้าน เมื่อไปถึงบ้านของจำเลย จำเลยเดินเข้าไปในบ้าน พันตำรวจโท บ. นั่งคอยจำเลยอยู่ที่ห้องรับแขก กับมีเจ้าพนักงานตำรวจอีก 2 คน คอยอยู่นอกบ้านแม้ไม่ปรากฏว่าพันตำรวจโท บ. ทำบันทึกการมอบตัวหรือแจ้งข้อหาแก่จำเลย แต่ก็ถือได้ว่าพันตำรวจโท บ. ได้คุมขังจำเลยไว้เพื่อทำการสืบสวนสอบสวนต่อไปตามอำนาจหน้าที่แล้ว การที่จำเลยไม่กลับมาพบพันตำรวจโท บ. แล้วหลบหนีออกทางประตูหลังบ้านไป ถือได้ว่าจำเลยได้หลบหนีไปจากความควบคุมของพันตำรวจโท บ. เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 190 แล้ว แม้ก่อนเกิดเหตุจำเลยเคยไปเก็บเงินค่าสินค้าที่ต่างอำเภอและถูกคนร้ายชิงทรัพย์ก็ตาม การที่จำเลยพาอาวุธปืนไปเก็บเงินที่อำเภอดังกล่าวในวันเกิดเหตุก็ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ เพราะไม่แน่ว่าจะมีเหตุร้ายเกิดขึ้น จำเลยจึงมีความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวโดยไม่ได้รับอนุญาตแต่พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นกรณีที่สมควรลงโทษจำเลยสถานเบา
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยพาอาวุธปืนพกติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านและทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว กับใช้อาวุธปืนดังกล่าวยิงนายสุภาพ งามวงศ์ ผู้เสียหาย โดยเจตนาฆ่า แต่กระสุนปืนไม่ถูกผู้เสียหาย และยิงพระมหาสีทันดรหรือพระมหาสีทัน บุญญาโสผู้ตายหลายนัดโดยเจตนาและโดยไตร่ตรองไว้ก่อน กระสุนปืนถูกผู้ตายที่ต้นคอด้านขวาและซ้ายถึงแก่ความตาย หลังเกิดเหตุพันตำรวจโทบุญสม เพชรรุ่ง พนักงานสอบสวนควบคุมตัวจำเลยไว้ จำเลยได้หลบหนีไปจากการควบคุมของพันตำรวจโทบุญสม ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 190, 288, 289, 371, 376, 33, 80, 91 พระราชบัญญัติอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ, 72 ทวิ และริบของกลาง
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 เป็นการกระทำกรรมเดียวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 376 ลงโทษบทหนักตามมาตรา 288 จำคุก 18 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 190 วรรคแรก จำคุก 4 เดือน ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง กับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงโทษบทหนักตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ จำคุก 20 วันรวมจำคุก 18 ปี 4 เดือน 20 วัน ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง ลดโทษให้หนึ่งในสี่ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 คงจำคุก 13 ปี 9 เดือน 15 วัน ริบของกลาง ข้อหาอื่นให้ยก
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องในข้อหาพาอาวุธปืนติดตัวด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์และจำเลยฎีกา
ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตายโดยเจตนา แล้ววินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่า ที่จำเลยฎีกาว่า หลังเกิดเหตุจำเลยไปพบพันตำรวจโทบุญสม เพชรรุ่งสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเลิงนกทา พันตำรวจโทบุญสมมิได้ทำบันทึกการมอบตัวหรือแจ้งข้อหาแก่จำเลย ถือว่าจำเลยยังไม่ถูกคุมขัง จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานหลบหนีไประหว่างที่ถูกคุมขังของพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญานั้นข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติว่า หลังเกิดเหตุจำเลยได้เข้ามอบตัวต่อพันตำรวจโทบุญสม เมื่อพันตำรวจโทบุญสมสอบปากคำจำเลยได้ประมาณ4-5 นาที จำเลยขออนุญาตกลับไปเปลี่ยนเสื้อผ้าที่บ้านจำเลย เนื่องจากเสื้อผ้าเปื้อนเลือด พันตำรวจโทบุญสมได้พาจำเลยขึ้นรถยนต์ของเจ้าพนักงานตำรวจไปส่งจำเลยที่บ้านจำเลยโดยมีเจ้าพนักงานตำรวจขับรถยนต์ไปคนหนึ่ง ส่วนอีกคนหนึ่งขับรถจักรยานยนต์ตามไป เมื่อไปถึงบ้านจำเลย จำเลยเดินเข้าไปในบ้าน พันตำรวจโทบุญสมเข้าไปนั่งคอยที่ห้องรับแขก ส่วนเจ้าพนักงานตำรวจอีก 2 คน คอยอยู่นอกบ้านภายหลังทราบว่าจำเลยหลบหนีไป ศาลฎีกาเห็นว่า แม้จะไม่ปรากฏว่าพันตำรวจโทบุญสมได้ทำบันทึกการมอบตัวหรือแจ้งข้อหาแก่จำเลยก็ตามแต่ก็ถือได้ว่าพันตำรวจโทบุญสมได้คุมขังจำเลยไว้เพื่อทำการสืบสวนสอบสวนต่อไปตามอำนาจหน้าที่แล้ว การที่จำเลยไม่กลับมาหาพันตำรวจโทบุญสมอีก แล้วหลบหนีออกทางประตูหลังบ้านไป ถือได้ว่าจำเลยได้หลบหนีไปจากความควบคุมของพันตำรวจโทบุญสม การกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดแล้ว
ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยมีความผิดฐานพาอาวุธปืนไปโดยฝ่าฝืนกฎหมายนั้น ข้อเท็จจริงได้ความว่า อาวุธปืนของจำเลยเป็นอาวุธปืนที่จำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้ได้ตามกฎหมาย จำเลยเคยได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานให้มีอาวุธปืนติดตัว แต่ใบอนุญาตพกพาอาวุธปืนของจำเลยหมดอายุตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2524 ขณะเกิดเหตุจำเลยไม่มีใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว พระราชบัญญัติอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคแรก บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เว้นแต่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์" ดังนั้นแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ดังที่จำเลยนำสืบว่า ก่อนเกิดเหตุจำเลยไปเก็บเงินค่าขายสินค้าที่อำเภอกุดชุม ห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ30 กิโลเมตร และจำเลยเคยถูกคนร้ายชิงทรัพย์ก็ตาม การที่จำเลยพาอาวุธปืนไปดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ เพราะไม่แน่ว่าจะมีเหตุร้ายเกิดขึ้น แต่เป็นกรณีที่สมควรลงโทษจำเลยในสถานเบา
ศาลฎีกาพิเคราะห์ถึงมูลเหตุที่ทำให้เกิดคดีนี้ และพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ข้อเท็จจริงได้ความจากคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยและของนางสุลีพร จงเจริญเวทย์ ภริยาจำเลยว่า เดิมจำเลยและนางสุลีพรมีความเคารพนับถือผู้ตายซึ่งเป็นพระภิกษุ และได้ช่วยเหลือผู้ตายสร้างวัดใหม่ขึ้นวัดหนึ่งคือวัดปาวังน้ำทิพย์จำเลยกับนางสุลีพรบริจาคเงินในการก่อสร้างประมาณ 100,000 บาทต่อมาจำเลยกับนางสุลีพรเห็นว่าผู้ตายเป็นพระภิกษุที่ไม่รักษาสัจจะและแสดงความเป็นคนเจ้าชู้กับนางสุลีพร และหญิงอื่นอีกหลายรายจนถึงกับมีปากเสียงกับจำเลยและนางสุลีพร วันเกิดเหตุเมื่อจำเลยด่าว่าผู้ตาย แทนที่ผู้ตายจะให้อภัยไม่ต่อล้อต่อเถียงด้วยตามวิสัยของพระภิกษุ แต่ผู้ตายกลับลงจากรถเดินไปหาจำเลยจึงเกิดเหตุเป็นคดีนี้ นับว่าผู้ตายมีส่วนที่ทำให้เกิดเหตุคดีนี้ด้วย จำเลยควรได้รับโทษสถานเบา ที่ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำเลยมานั้นหนักเกินไปศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดโทษเสียใหม่
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคแรก,72 ทวิ วรรคสอง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 อีกข้อหาหนึ่งให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ซึ่งเป็นบทหนักที่สุด จำคุก15 วัน ส่วนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ให้จำคุก 15 ปีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 190 วรรคแรก จำคุก 3 เดือนรวมจำคุก 15 ปี 3 เดือน 15 วัน ทางนำสืบของจำเลยและคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีอยู่บ้าง ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 10 ปี 2 เดือน10 วัน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1
ผู้พิพากษา
มานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ
จองทรัพย์ เที่ยงธรรม
สังเวียน รัตนมุง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 2401/2545
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 2401/2545
การกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น เป็นความผิดที่เกิดขึ้นและมีอยู่ต่อเนื่องกันไปตลอดเวลา นับตั้งแต่เมื่อบุคคลผู้นั้นได้ยึดถือเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจนกระทั่งขนเคลื่อนย้ายไป คดีนี้ปรากฎว่าคนร้ายซึ่งมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองมาจ้างจำเลยให้ขับรถยนต์ไปส่งยังจุดหมายปลายทาง โดยจำเลยรู้จักคนร้ายเป็นอย่างดีและรู้ว่าเมทแอมเฟตามีนของกลาง 1,000 เม็ดคนร้ายจะนำไปจำหน่ายที่จังหวัดเชียงใหม่ การที่จำเลยรับจ้างขับรถยนต์เพื่อส่งคนร้ายโดยมียาเสพติดให้โทษนั้นอยู่ในความยึดถือหรือความปกครองดูแลของจำเลยด้วยถือว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครอง เมื่อจำเลยกับคนร้ายกระทำร่วมกันเพื่อให้บรรลุตามความประสงค์โดยการกระทำแต่ละขั้นตอนเป็นสาระสำคัญก่อให้เกิดเป็นความผิดขึ้น การกระทำของจำเลยจึงถือได้ว่าเป็นตัวการมิไช่เป็นผู้สนับสนุน
การที่จำเลยขับรถยนต์มาถึงด่านตรวจ เจ้าพนักงานตำรวจให้สัญญาณหยุดรถเพื่อขอตรวจค้น จำเลยไม่ยอมหยุดและขับรถเลยไปจนต้องมีการไล่ติดตามเพื่อสกัดจับและจำเลยดิ้นรนเพื่อให้หลุดพ้นจากการจับกุม เป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งของการจะหลบหนี เมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยกระทำอื่นใดนอกเหนือไปจากนี้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138


ข้อ 2.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 3.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 4.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 2918/2535
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 2918/2535
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ไปแจ้งความต่อ ห.กำนันตำบลสระเยาว์ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ ให้จดข้อความอันเป็นเท็จลงในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร.17 จำเลยฎีกาว่า ห.เป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำความผิดเสียเอง มิใช่เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ ทั้งยังใช้จำเลยเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด ดังนี้ ฎีกาของจำเลยเท่ากับเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยเป็นยุติไว้แล้ว เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า ห.เป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่หรือไม่จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ห.เป็นนายทะเบียนมีหน้าที่รับแจ้งการย้าย และได้ลงชื่อเป็นผู้รับแจ้งข้อความตามที่ปรากฏในเอกสารใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร.17 ซึ่งเป็นข้อความเท็จตามที่จำเลยมาแจ้งแล้วการกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิด การที่ ห.จะใช้ให้บุคคลใดเป็นผู้เขียนหรือจดข้อความลงในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร.17 แทน ห. หาใช่เป็นสาระสำคัญอันจะทำให้การกระทำของจำเลยขาดองค์ประกอบ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 แต่อย่างใดไม่


ข้อ 5.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 600/2544
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 600/2544
คำพิพากษาย่อสั้น
เมื่อผู้เสียหายเห็นจำเลยทั้งสองกำลังลักเอามะม่วงอยู่ และกำลังจะนำมะม่วงที่เด็ดจากขั้วไว้แล้วออกไปนอกสวน ผู้เสียหายจึงเข้าจับกุมตัวจำเลยที่ 1 เห็นได้ว่าเหตุการณ์ตอนนี้การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ยังดำเนินอยู่ไม่ขาดตอน จำเลยที่ 2 ซึ่งในตอนแรกได้วิ่งหลบหนีไปสักครู่เดียวก็กลับมาพร้อมกับถือท่อนไม้ไผ่ตรงเข้าเงื้อจะตีทำร้ายผู้เสียหาย และในทันทีนั้นได้พูดขู่ผู้เสียหายว่า "วางเมียผมเดี๋ยวนี้ หากไม่วางจะตีพ่อใหญ่ให้ตาย" ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้พูดขู่เข็ญผู้เสียหายว่า ในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เสียหายปล่อยตัวจำเลยที่ 1 ให้พ้นจากการจับกุมอันเป็นการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์
คำพิพากษาย่อยาว
คดีนี้เดิมศาลชั้นต้นสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกันกับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2065/2541 ของศาลชั้นต้น โดยให้เรียกจำเลยในคดีดังกล่าว จำเลยที่ 1 และเรียกจำเลยในสำนวนนี้ว่า จำเลยที่ 2 แต่คดีสำหรับจำเลยที่ 1 ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 คงขึ้นมาสู่ศาลฎีกาเฉพาะคดีนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองสำนวน ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339, 83 ริบไม้ไผ่ของกลาง
จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 83 จำคุกคนละ 10 ปี จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กึ่งหนึ่งคงจำคุกคนละ 5 ปี ริบไม้ไผ่ของกลาง
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1)(3)(7)(12) วรรคสาม (ที่ถูกวรรคสอง)ให้จำคุก 1 ปี จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กึ่งหนึ่ง คงจำคุก6 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 2 ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2ประการแรกว่า จำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้องหรือไม่ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่า ขณะที่จำเลยทั้งสองกำลังลักเอามะม่วงของผู้เสียหายอยู่นั้น ผู้เสียหายเห็นการกระทำจึงได้ตรงเข้าจับกุมตัวจำเลยที่ 1 ไว้ได้จากนั้นได้ลากตัวจำเลยที่ 1 มายังที่ที่มีสายไฟฟ้าวางอยู่เพื่อจะใช้สายไฟฟ้ามัดตัวไว้ส่วนจำเลยที่ 2 ได้วิ่งหลบหนีไปได้ประมาณ 15 เมตรแล้ววิ่งกลับมายังที่ที่ผู้เสียหายกำลังจับตัวจำเลยที่ 1 ไว้ ในมือจำเลยที่ 2 ถือท่อนไม้ไผ่ยาว 175 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว เงื้อจะตีผู้เสียหายพร้อมกับพูดว่า "วางเมียผมเดี๋ยวนี้ หากไม่วางจะตีพ่อใหญ่ให้ตาย" เห็นว่า เมื่อผู้เสียหายเห็นจำเลยทั้งสองกำลังลักเอามะม่วงอยู่นั้นและกำลังจะนำมะม่วงที่เด็ดจากขั้วไว้แล้วนั้นออกไปนอกสวน ผู้เสียหายเห็นการกระทำจึงเข้าจับกุมตัวจำเลยที่ 1 จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์ตอนนี้การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ยังดำเนินอยู่ยังไม่ขาดตอน จำเลยที่ 2 ซึ่งในตอนแรกได้วิ่งหลบหนีไปสักครู่เดียวก็กลับมาพร้อมกับถือท่อนไม้ไผ่ตรงเข้าเงื้อจะตีทำร้ายผู้เสียหาย และในทันทีนั้นได้พูดขู่ผู้เสียหายขึ้นว่า "วางเมียผมเดี๋ยวนี้ หากไม่วางจะตีพ่อใหญ่ให้ตาย" ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ขู่เข็ญผู้เสียหายว่า ในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายทั้งนี้เพื่อให้ผู้เสียหายปล่อยตัวจำเลยที่ 1 ให้พ้นจากการจับกุมอันเป็นการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 ได้บัญญัติถึงเจตนาของผู้กระทำไว้หลายประการด้วยกันที่จะถือว่าเป็นการชิงทรัพย์ หาใช่เป็นเพียงแต่การใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์ หรือพาทรัพย์นั้นไปหรือให้พ้นจากการจับกุมเท่านั้นไม่ ยังมีเจตนาในประการอื่นอีก หาเป็นดังที่จำเลยที่ 2 ฎีกาไม่ ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าคำเบิกความของจ่าสิบตำรวจละม้าย สกลพิทักษ์เกี่ยวกับขนาดของไม้ไผ่ท่อนที่ใช้เป็นอาวุธแตกต่างกันเป็นพยานที่เชื่อถือไม่ได้นั้น เห็นว่า คำเบิกความดังกล่าวเป็นเพียงการเบิกความถึงรายละเอียดเล็กน้อยเป็นพลความ หาใช่สาระสำคัญไม่
ปัญหาวินิจฉัยประการต่อไปมีว่า คดีมีเหตุอันควรที่จะลงโทษจำเลยที่ 2ในสถานเบาหรือรอการลงโทษหรือไม่ เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรคสอง กำหนดโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงสิบห้าปี ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนดสิบปีอันเป็นอัตราโทษขั้นต่ำสุดแล้วจึงไม่อาจลดโทษจำคุกแก่จำเลยที่ 2 ได้อีก ส่วนปัญหาในเรื่องการรอการลงโทษนั้น เมื่อศาลล่างทั้งสองได้ลงโทษจำคุกแก่จำเลยที่ 2 ในชั้นที่สุดมีกำหนด 5 ปี เช่นนี้เป็นการลงโทษจำคุกเกินสองปีจึงไม่อาจรอการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 แก่จำเลยที่ 2 ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น"
พิพากษายืน
ผู้พิพากษา
วิบูลย์ มีอาสา
สุวัฒน์ สุขเกษม
วีระศักดิ์ รุ่งรัตน์


ข้อ 6.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 2034/2530
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 2034/2530
คำพิพากษาย่อสั้น
การที่จำเลยให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการซึ่งผู้บังคับบัญชาของจำเลยแต่งตั้งขึ้นเพื่อสืบสวนหาข้อเท็จจริงกรณีที่มีผู้กล่าวหา ส. ว่าประพฤติและปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยกล่าวว่า จำเลยได้ยิน ข่าวเล่าลือว่า ส. กับโจทก์เดินด้วยกันนอกโรงเรียนและมีความสัมพันธ์ถึงขั้นได้เสียกับโจทก์นั้น เป็นการกล่าวในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปให้ถ้อยคำเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการอันเป็นส่วนรวม และเป็นการกล่าวไปตามข่าวลือ ไม่ยืนยันว่าเป็นความจริง และไม่ตั้งใจให้ผู้ฟังเชื่อว่าโจทก์มีพฤติกรรมตามข่าวลือนั้น จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326.
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ศาลลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วประทับฟ้องไว้พิจารณา
จำเลยปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีมีปัญหาชั้นฎีกาว่าการกระทำของจำเลยตามคำฟ้องของโจทก์ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 หรือไม่
พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ที่จำเลยกล่าวว่าเห็นนายเสนาะ จันทร์สุริยา ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดมกุฎกษัตริย์อยู่ในห้องผู้อำนวยการโรงเรียนกับโจทก์ตามลำพังในเวลาเช้า เย็น และหลังเวลาราชการบ่อย ๆ ...จำเลยได้ยินข่าวเล่าลือกันว่า นายเสนาะ จันทร์สุริยา กับโจทก์เดินด้วยกันนอกโรงเรียน และเคยได้ยินครูและนักเรียนพูดกันว่า นายเสนาะ จันทร์สุริยา มีความสัมพันธ์ถึงขึ้นได้เสียกับโจทก์นั้น เป็นการกล่าวในการให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการที่อธิบดีกรมสามัญศึกษาแต่งตั้งขึ้นเพื่อสืบสวนหาข้อเท็จจริงกรณีที่มีกล่าวหาว่านายเสนาะ จันทร์สุริยา ประพฤติและปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดมกุฏกษัตริย์เป็นกรณีที่จำเลยกล่าวในฐานะที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาถูกถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปให้ถ้อยคำเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการอันเป็นส่วนรวม ทั้งข้อความที่จำเลยกล่าวเป็นการกล่าวตามข่าวลือไม่ยืนยันว่าเป็นความจริง ส่อแสดงว่าจำเลยไม่ได้ตั้งใจจะให้ผู้ฟังเชื่อว่าโจทก์มีพฤติกรรมดังข่าวลือนั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ตามฟ้องโจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้องโจทก์ชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น"
พิพากษายืน.
ผู้พิพากษา
คำนึง อุไรรัตน์
ดุสิต วราโห
สวัสดิ์ รอดเจริญ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 3520/2543
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 3520/2543 (ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาย่อสั้น
ข้อความที่ตีพิมพ์โฆษณาว่า ผู้เสียหายอนุมัติให้จัดจ้างโดยวิธีพิเศษฝ่าฝืนมติที่ประชุมคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคครั้งล่าสุดห้ามไม่ให้ผู้เสียหายดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ และข้อความว่าผู้เสียหายเจตนากำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาที่ปรากฏอยู่ในเงื่อนไขทั่วไป ส่อเจตนาไปในทางเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชนรายหนึ่งที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับผู้เสียหายมานานข้อความทั้งสองประการดังกล่าวไม่ได้อ้างถึงข้อความจริงอันเป็นการแสดงความคิดเห็น แต่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงให้ผู้อ่านหนังสือพิมพ์เชื่อว่า ผู้เสียหายอนุมัติให้จัดจ้างโดยวิธีพิเศษฝ่าฝืนต่อมติที่ประชุมคณะกรรมการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และผู้เสียหายเจตนากำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาส่อเจตนาไปในทางเอื้อประโยชน์แก่เอกชนที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับผู้เสียหาย ซึ่งจำเลยที่ 2 ก็รับมาในฎีกาว่าเป็นข้อความที่คลาดเคลื่อนไปจริง ข้อความทั้งสองประการดังกล่าวจึงเป็นข้อความที่ยืนยันข้อเท็จจริงใส่ความผู้เสียหายด้วยการเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์โดยประการที่ น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง หาใช่เป็น การแสดงข้อความโดยสุจริตติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชน ย่อมกระทำไม่ จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้เสียหาย โดยการโฆษณาด้วยเอกสาร
เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 แล้วไม่จำต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 326 อีก
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลและเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันร่วมกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ดังกล่าว เขียนและโฆษณาตีพิมพ์ข้อความใส่ความหมิ่นประมาทนายจุลพงศ์ จุลเกศผู้เสียหายต่อประชาชนโดยทั่วไปลงในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันฉบับประจำวันที่ 4 เมษายน 2539 ความว่า "จุลพงศ์" หน้ามืดไม่สนคุก หวังพ้นผิดเอาใจเทศบาลเชียงใหม่ลงนามป้อนโรงไฟฟ้าถึงขั้นไม่กลัวอาญา งบจ้างเหมาเคเบิล 92.2 ล้านบาท อนุมัติเกินอำนาจพบไม่โปร่งใสเพียบทุกอย่างแล้วเสร็จภายในวันเดียว ไม่แคร์มติบอร์ดห้ามจัดซื้อจัดจ้างพิเศษ และมีรายละเอียดประกอบว่าเมื่อวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา นายจุลพงศ์ จุลเกศ ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้อนุมัติให้มีการดำเนินการจ้างเหมาก่อสร้างปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้ารอบคูเมืองจังหวัดเชียงใหม่ด้วยวิธีพิเศษในลักษณะ TURN KEY ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนมติที่ประชุมของคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคครั้งล่าสุด ห้ามมิให้นายจุลพงศ์จัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษโดยเด็ดขาด แต่ปรากฏว่านายจุลพงศ์ ไม่ยอมปฏิบัติแต่อย่างใด ฯลฯ ทั้งนี้โครงการดังกล่าวไม่อยู่ในแผนการลงทุนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคปี 2539 แต่อย่างใด แต่นายจุลพงศ์พยายามผลักดันโดยการให้สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 ภาคเหนือ เป็นผู้เสนอโครงการขึ้นมาโดยอ้างเหตุผลว่าเป็นความต้องการเร่งด่วน และยังมีการหมกเม็ดโดยการเขียนบันทึกในการอนุมัติว่าอนุมัติในหลักการเสนอคณะกรรมการบริหารการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (บอร์ดเล็ก) เพื่อเลี่ยงมิให้บอร์ดยับยั้งโครงการนี้ รายงานข่าวแจ้งต่อไปว่าได้มีการเสนอหลักการและเหตุผลของโครงการนี้ว่าเป็นความร่วมมือเทศบาลนครเชียงใหม่ในการฉลองวาระครบ 700 ปี ของเมืองเชียงใหม่ในปี 2539 โดยใช้งบประมาณในการดำเนินการ 92.2 ล้านบาท รายงานข่าวแจ้งว่ายังมีการกำหนดวงเงินค่าก่อสร้างจำนวน 92.2 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าประมาณการในชั้นต้นประมาณ 70 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งมีส่วนต่างกันถึง 22 ล้านบาทเศษ นอกจากนี้ยังมีการกำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาที่ปรากฏอยู่ในเงื่อนไขทั่วไปที่เป็นเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนคู่สัญญาตามเงื่อนไขข้อ 1.4 จะต้องมีประวัติเป็นคู่สัญญากับทางราชการหรือองค์การของรัฐหรือผู้รับจ้างช่วงโดยมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท เท่ากับเป็นการปิดทางเอกชนรายอื่น ๆ ที่มีประสบการณ์ในงานวางระบบเคเบิลใต้ดิน แต่ไม่เคยมีประวัติในฐานะคู่สัญญาของหน่วยราชการมาก่อน และส่อเจตนาไปในทางเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนรายหนึ่งที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับนายจุลพงศ์มายาวนานยังมีข้อสังเกตอีกประการหนึ่งว่าในวันที่ 22 มีนาคม 2539 เป็นวันที่นายชาญ ถิระศุภะ ผู้อำนวยการฝ่ายเร่งรัดโครงการได้รับหนังสือจากกองจัดการโครงการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแล้วอนุมัติเสนอต่อนายจุลพงศ์ แล้วมีการลงนามในวันเดียวกันโดยไม่มีขั้นตอนในการพิจารณารอบคอบแต่อย่างใด รายละเอียดข้อความดังกล่าวปรากฏในสำเนาภาพถ่ายหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันเอกสารท้ายฟ้อง หนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวได้วางจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วราชอาณาจักร ข้อความดังกล่าวมีความหมายเป็นการใส่ความผู้เสียหายต่อบุคคลที่สามว่าผู้เสียหายซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ผิดระเบียบ มีเงื่อนงำ เร่งรัดจ้างเหมาโดยวิธีพิเศษ กำหนดประมาณการวงเงินค่าก่อสร้างปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้ารอบคูเมืองจังหวัดเชียงใหม่สูงผิดปกติ เป็นการอนุมัติวงเงินเกินอำนาจโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและกำหนดเงื่อนไขพิเศษต่างหากเพื่อให้โอกาสกับบริษัทเอกชนที่เป็นพรรคพวกได้รับงานประมูลการก่อสร้างดังกล่าว ซึ่งไม่เป็นความจริงทำให้ผู้เสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ทั้งทางด้านส่วนตัวและทางการปฏิบัติหน้าที่ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 326,328 พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 48
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484มาตรา 48 จำคุก 2 เดือน ปรับ 10,000 บาท จำเลยที่ 2 ไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน และประกอบอาชีพการงานเป็นหลักแหล่ง เห็นควรให้โอกาสแก่จำเลยที่ 2โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยที่ 2 ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ปัญหาตามฎีกาจำเลยที่ 2 ประการสุดท้ายว่าจำเลยที่ 2กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้เสียหายโดยการโฆษณาด้วยเอกสารหรือไม่ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าขณะเกิดเหตุผู้เสียหายดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุได้มีข้อความเรื่องการอนุมัติโครงการก่อสร้างปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้ารอบคูเมืองจังหวัดเชียงใหม่ของผู้เสียหายตามฟ้องตีพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา สำหรับข้อความที่ตีพิมพ์โฆษณาว่าผู้เสียหายอนุมัติโครงการเกินวงเงินที่ผู้เสียหายมีอำนาจ งบจ้างเหมาเคเบิลพิเศษ 92.2ล้านบาท สูงกว่าประมาณการขั้นต้นประมาณ 70 ล้านบาทเท่านั้น โครงการนี้ไม่อยู่ในแผนการลงทุนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคปี 2539 แต่ผู้เสียหายพยายามผลักดันเพื่อเลี่ยงมิให้บอร์ดยับยั้งโครงการและการอนุมัติของผู้เสียหายเป็นการดำเนินการที่เกินอำนาจตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายชัดเจนผู้เสียหายไม่มีอำนาจดำเนินการอนุมัติการจัดซื้อ จัดจ้างในวงเงิน 92.2 ล้านบาทโดยไม่ผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนั้น เป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่า ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท คงมีปัญหาวินิจฉัยเฉพาะข้อความที่ตีพิมพ์โฆษณาว่า ผู้เสียหายอนุมัติให้จัดจ้างโดยวิธีพิเศษฝ่าฝืนมติที่ประชุมคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคครั้งล่าสุดห้ามไม่ให้ผู้เสียหายดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้างโดยวิธีพิเศษ และข้อความว่าผู้เสียหายเจตนากำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาที่ปรากฏอยู่ในเงื่อนไขทั่วไป ส่อเจตนาไปในทางเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชนรายหนึ่งที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับผู้เสียหายมานานจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยหรือไม่เห็นว่า ข้อความทั้งสองประการดังกล่าว มิได้อ้างถึงข้อความจริงอันเป็นการแสดงความคิดเห็น แต่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงให้ผู้อ่านหนังสือพิมพ์เชื่อว่าผู้เสียหายอนุมัติให้จัดจ้างโดยวิธีพิเศษฝ่าฝืนต่อมติที่ประชุมคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และผู้เสียหายเจตนากำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาส่อเจตนาไปในทางเอื้อประโยชน์แก่เอกชนที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับผู้เสียหายซึ่งจำเลยที่ 2 ก็รับมาในฎีกาว่าเป็นข้อความที่คลาดเคลื่อนไปจริง ข้อความทั้งสองประการดังกล่าวจึงเป็นข้อความที่ยืนยันข้อเท็จจริงใส่ความผู้เสียหายด้วยการเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง หาใช่เป็นการแสดงข้อความโดยสุจริตติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำไม่ ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าพนักงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพูดกันว่า คณะกรรมการเคยมีมติห้ามผู้ว่าการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ จำเลยที่ 2 ในฐานะสื่อมวลชนต้องการเสนอข่าวโดยฉับไวและเข้าใจว่าคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีมติห้ามผู้ว่าการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษเป็นการเข้าใจคลาดเคลื่อนเพราะฝ่ายบริหารของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพยายามปกปิดข้อมูลนั้น เห็นว่า แม้จำเลยที่ 2 จะต้องเสนอข่าวโดยฉับไว แต่ข้อความที่ตีพิมพ์โฆษณาก็ต้องอยู่บนพื้นฐานของความจริง จำเลยที่ 2 มิได้ตีพิมพ์โฆษณาว่าพนักงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพูดกันว่าคณะกรรมการการไฟฟ้าภูมิภาคเคยมีมติห้ามผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษเท่าที่ได้ข่าวมา แต่กลับตีพิมพ์โฆษณายืนยันข้อเท็จจริงว่าผู้เสียหายอนุมัติให้จัดจ้างโดยวิธีพิเศษฝ่าฝืนต่อมติคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ไม่เป็นการตีพิมพ์โฆษณาโดยเข้าใจคลาดเคลื่อนดังที่อ้างและที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าจำเลยที่ 2 ตีพิมพ์โฆษณาข้อความว่าผู้เสียหายเจตนาจัดทำคุณสมบัติผู้เสนอราคาส่อเจตนาไปในทางเอื้อประโยชน์แก่เอกชนที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับผู้เสียหาย จากพฤติกรรมการอนุมัติโครงการก่อสร้างปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้ารอบคูเมืองจังหวัดเชียงใหม่ของผู้เสียหายที่บกพร่องต่อหน้าที่ ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนและขัดต่อระเบียบข้อบังคับของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนั้น เห็นว่าข้อเท็จจริงที่ผู้เสียหายจัดทำคุณสมบัติผู้เสนอราคาเป็นการกระทำคนละส่วนกับการอนุมัติโครงการก่อสร้าง การที่จำเลยที่ 2 ตีพิมพ์โฆษณาข้อความว่าผู้เสียหายเจตนาจัดทำคุณสมบัติผู้เสนอราคาส่อเจตนาไปในทางเอื้อประโยชน์แก่เอกชนที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับผู้เสียหาย โดยไม่มีข้อมูลหรือข้อเท็จจริงชี้ให้เห็นว่าผู้เสียหายได้กระทำดังที่ตีพิมพ์โฆษณาจริงย่อมเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่ามุ่งประสงค์ใส่ความผู้เสียหาย ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้เสียหายโดยการโฆษณาด้วยเอกสารเฉพาะข้อความสองประการดังที่วินิจฉัยมานั้นชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้นแต่เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 กระทำผิดเฉพาะข้อความสองประการจากที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเป็นความผิดทุกข้อความตามฟ้องเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 เป็นผลร้ายน้อยกว่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาการใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษจำเลยที่ 2 ก็ควรเปลี่ยนไปในทางลดลงจากที่ศาลชั้นต้นกำหนดมาด้วย แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ศาลฎีกาก็แก้ไขโดยกำหนดโทษให้เหมาะสมได้
อนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 มาด้วยนั้น เห็นว่า ยังไม่ถูกต้อง เพราะในความผิดฐานหมิ่นประมาทเมื่อจำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามมาตรา 328 แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องยกมาตรา 326 ขึ้นปรับบทลงโทษอีก"
พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 ลงโทษจำเลยที่ 2 จำคุก 1 เดือนและปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ผู้พิพากษา
สมศักดิ์ เนตรมัย
กนก พรรณรักษา
ปรีดี รุ่งวิสัย


ข้อ 7.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 8.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 9.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง


ข้อ 10.
 คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

ธงคำตอบ

คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ

คำอธิบาย

...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

Visitor Statistics
» 1 Online
» 32 Today
» 24 Yesterday
» 116 Week
» 384 Month
» 1634 Year
» 68615 Total
Record: 15081 (20.04.2022)
Free PHP counter