มาตรา 334 | ประมวลกฎหมายอาญา |

 

ประมวลกฎหมาย
อาญา
ภาค ๒ ความผิด

ภาค ๒ ความผิด

ลักษณะ ๑๒ ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์

หมวด ๑ ความผิดฐานลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์

หน้าก่อน

 

     มาตรา ๓๓๔  ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท

* มาตรา ๓๓๔  แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ.๒๕๖๐ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๓๒ ก หน้า ๖๑ วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐)

หนังสือประมวลกฎหมายอาญา
ข้อสอบเก่าเนติบัณฑิต
คำอธิบาย

  • นาวิน_ขำแป้น_1591689625_5.png
    นาวิน ขำแป้น
    [ทนายความ]

    วันที่บันทึก : วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 03:14:26
    วันที่ปรับปรุง : วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 23:10:52


    องค์ประกอบภายนอก
    1.เอาไป
    2.ทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย

    องค์ประกอบภายใน
    1.เจตนา
    2.โดยทุจริต



    กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!

  • นาวิน_ขำแป้น_1591689625_5.png
    นาวิน ขำแป้น
    [ทนายความ]

    วันที่บันทึก : วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 03:18:18
    วันที่ปรับปรุง : วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 01:39:32


    คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญาภาคความผิด มาตรา 288 ถึง มาตรา 366 พิมพ์ครั้งที่ 3 จัดพิมพ์โดย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา 2550 ของ อาจารย์ ไกรฤกษ์ เกษมสันต์ ดังนี้

    ความผิดฐานลักทรัพย์มีข้อควรพิจารณาเบื้องต้น 3 ประการ คือ

    ประการแรก
    การแย่งการครอบครอง คือ การเอาไปจากความครอบครองของผู้อื่น ต้องมีการแย่งการครอบครอง เพราะการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปอันจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์นั้น ทรัพย์ต้องอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่น ถ้าทรัพย์อยู่ในความครอบครองของผู้กระทำ หรือเป็นทรัพย์ที่ไม่มีผู้ครอบครอง เช่น ทรัพย์สินหาย แม้มีการเอาทรัพย์ดังกล่าวไปโดยทุจริตก็ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แต่อาจเป็นความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352

    ประการที่สอง
    การพาเอาทรัพย์เคลื่อนที่ไป คือ การเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปจะต้องมีการทำให้ทรัพย์เคลื่อนที่ไปจากที่เดิม โดยแม้ทรัพย์เคลื่อนที่ไปเพียงเล็กน้อย ก็ถือว่าเป็นการเอาไปแล้ว แต่บางกรณีแม้ทรัพย์เคลื่อนที่ไปแล้ว ก็อาจไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์สำเร็จ โดยหากปรากฏว่าผู้กระทำไม่ได้ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้พร้อมจะเอาไปแม้ทรัพย์เคลื่อนที่ไปจากที่เดิม ผู้กระทำก็จะมีความผิดเพียงชั้นพยายามกระทำความผิดเท่านั้น

    ประการที่สาม
    การเอาทรัพย์ไปในลักษณะเป็นการตัดกรรมสิทธิ์ คือ เป็นการเอาไปเลย ไม่ใช่เป็นการเอาไปเพียงชั่วคราว เช่น ลักลอบเอารถยนต์ของผู้อื่นไปขับเที่ยวเล่น แล้วนำรถยนต์กลับมาส่งคืนเจ้าของ เช่นนี้ อาจไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์



    กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!

คำพิพากษาศาลฎีกา

แสดงความคิดเห็น

    ...

บันทึกส่วนตัว

Visitor Statistics
» 1 Online
» 21 Today
» 369 Yesterday
» 839 Week
» 21 Month
» 114224 Year
» 1365629 Total
Record: 10208 (10.06.2023)
Free PHP counter

ทบทวน สรุปย่อ สอบทนายความ ภาคทฤษฎี"
Sheet-สรุป-แบบฝึกหัด-สอบทนายความ

ทบทวน สรุปย่อ สอบทนายความ ภาคปฏิบัติ"