มาตรา 143 | ประมวลกฎหมายอาญา |

 

ประมวลกฎหมาย
อาญา
ภาค ๒ ความผิด

ภาค ๒ ความผิด

ลักษณะ ๒ ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

หมวด ๑ ความผิดต่อเจ้าพนักงาน

หน้าก่อน

 

     มาตรา ๑๔๓  ผู้ใดเรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจหรือได้จูงใจเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาลโดยวิธีอันทุจริต หรือผิดกฎหมายหรือโดยอิทธิพลของตนให้กระทำการ หรือไม่กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

* มาตรา ๑๔๓  แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ.๒๕๖๐ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๓๒ ก หน้า ๕๓ วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐)

หนังสือประมวลกฎหมายอาญา
ข้อสอบเก่าเนติบัณฑิต
คำอธิบาย

    ...

คำพิพากษาศาลฎีกา

  • นาวิน_ขำแป้น_1591689625_5.png
    นาวิน ขำแป้น
    [ทนายความ]
    วันที่เพิ่ม : วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 02:25:45
    ปรับปรุงล่าสุด : วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 02:44:01


    กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83    มาตรา ๘๓
        ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143    มาตรา ๑๔๓
        ผู้ใดเรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจหรือได้จูงใจเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาลโดยวิธีอันทุจริต หรือผิดกฎหมายหรือโดยอิทธิพลของตนให้กระทำการ หรือไม่กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 7695 / 2543
    การที่จำเลยที่ 2 ร่วมเรียกและรับเงินไปจาก น. เป็นการตอบแทนโดยอ้างว่าจะนำไปใช้จูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาโดยวิธีการอันทุจริตให้กระทำการในหน้าที่พิพากษาคดีโดยรอการลงโทษจำคุกให้แก่ น. ในคดีอาญาที่ น. ถูกฟ้องนั้น ครบองค์ประกอบตามผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 แล้ว แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ไปจูงใจผู้พิพากษาให้กระทำการในหน้าที่ให้เป็นคุณแก่ น. ก็ยังครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 143 แม้คำเบิกความของ น. ไม่ได้ระบุชื่อผู้พิพากษาซึ่งมีหน้าที่พิจารณาคดีอาญาที่ น. ถูกฟ้อง ก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นความผิดเพราะขาดองค์ประกอบความผิดไปแต่อย่างใด
    คำพิพากษาย่อยาว
    โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันเรียกเงินจำนวน 20,000 บาท จากนายนพรัตน์ พุ่มร่มไทรย์ ซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย โดยจำเลยที่ 2 ขณะเกิดเหตุเป็นลูกจ้างชั่วคราวของสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดอ่างทอง และจำเลยที่ 1 ซึ่งอ้างว่าตนเป็นพนักงานอัยการจังหวัดอ่างทองเรียกเงินจำนวนดังกล่าวสำหรับตนเองและผู้อื่น เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย โดยวิธีอันทุจริตหรือผิดกฎหมายให้กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณแก่นายนพรัตน์ โดยให้พิพากษารอการลงโทษจำคุกไว้และนายนพรัตน์หลงเชื่อจะจ่ายให้ แต่ต่อรองเหลือเพียง 13,000 บาท โดยจ่ายงวดแรกเป็นเงิน 7,000 บาท แก่จำเลยทั้งสองแล้วต่อมาทราบว่าจำเลยที่ 1 มิใช่พนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง จึงแจ้งเจ้าพนักงานตำรวจวางแผนจับกุม ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 143, 83
    จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ ระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 1 ขอถอนคำให้การเดิมโดยให้การใหม่เป็นรับสารภาพ ศาลชั้นต้นให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีใหม่
    ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 143 ประกอบด้วยมาตรา 83 ให้จำคุก 2 ปี
    จำเลยที่ 2 อุทธรณ์
    ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน
    จำเลยที่ 2 ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
    ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงฟังได้ในเบื้องต้นว่า จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 อยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ขณะเกิดเหตุคดีนี้จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างชั่วคราวทำงานในตำแหน่งพนักงานคุมประพฤติสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดอ่างทอง ซึ่งได้รับมอบหมายให้สืบเสาะและพินิจในคดีที่นายนพรัตน์ พุ่มร่มไทรย์ ซึ่งถูกฟ้องข้อหาทำร้ายร่างกายในคดีอาญาหมายเลขที่ 1144/2540 ของศาลชั้นต้นส่วนจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษโดยวินิจฉัยว่าเป็นผู้เรียกรับหรือยอมจะรับเงินจากนายนพรัตน์ สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นโดยวิธีอันทุจริตผิดกฎหมายให้กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณแก่นายนพรัตน์อันเป็นความผิดตามฟ้อง ซึ่งคดีถึงที่สุดไปแล้ว มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 เพียงว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดดังกล่าวด้วยหรือไม่โจทก์มีนายนพรัตน์ พุ่มร่มไทรย์ นายบุญลือ พุ่มร่มไทรย์ บิดานายนพรัตน์และร้อยตำรวจโทสมนึก สุปิยะพาณิชย์ พนักงานสอบสวนคดีนี้เป็นพยานเบิกความประกอบกัน เห็นว่าพยานโจทก์ทั้งสามไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยที่ 2 มาก่อน และไม่มีเหตุอื่นที่จะร่วมกันสร้างพยานหลักฐานและมาเบิกความปรักปรำกลั่นแกล้งจำเลยที่ 2 และคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสามก็สอดคล้องกันในข้อสาระสำคัญ ประกอบกับลำดับของเหตุการณ์ก็เชื่อมโยงกันอย่างสมเหตุผล อีกทั้งจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำให้การต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2541 มีรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยที่ 2 ว่าเป็นผู้ใช้ให้จำเลยที่ 1 ไปติดต่อเรียกรับเงินจากนายนพรัตน์และรายละเอียดอื่นสอดคล้องกับคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสาม จึงเชื่อได้ว่าพยานโจทก์ทั้งสามเบิกความตามที่รู้เห็นและประสบมาจริง ที่จำเลยที่ 2 นำสืบและฎีกาว่าจำเลยที่ 2 นำสำนวนการสืบเสาะนายนพรัตน์ไปทำที่บ้านเพราะมีงานมาก เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 แอบนำสำนวนการสืบเสาะดังกล่าวไปเรียกร้องเอาเงินจากนายนพรัตน์โดยจำเลยที่ 2 มิได้รู้เห็นเกี่ยวข้องด้วยนั้น ก็มีแต่คำเบิกความลอย ๆ ของจำเลยทั้งสอง ทั้งขัดแย้งกับที่จำเลยที่ 1 เคยยื่นคำให้การไว้ต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2541 ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 เรียกและรับเงินจากนายนพรัตน์เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นโดยวิธีอันทุจริตผิดกฎหมายให้กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณแก่นายนพรัตน์ในคดีอาญาที่นายนพรัตน์ถูกฟ้อง ส่วนที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ตามคำเบิกความของนายนพรัตน์ที่เบิกความว่า จำเลยที่ 1 เรียกและรับเงินจากนายนพรัตน์โดยอ้างว่าจะไปวิ่งเต้นผู้พิพากษาเพื่อให้พิจารณารอการลงโทษในคดีที่นายนพรัตน์ถูกฟ้อง นายนพรัตน์ไม่ได้ระบุชื่อผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งมีหน้าที่พิจารณาคดีดังกล่าวโดยเฉพาะไม่ได้ระบุว่าผู้พิพากษาสองท่าน ท่านหนึ่งท่านใดที่เป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีจะให้คุณให้โทษแก่นายนพรัตน์ได้ จึงนำมารับฟังลงโทษจำเลยที่ 2 ไม่ได้ เห็นว่าการที่จำเลยที่ 2 ร่วมเรียกและรับเงินไปจากนายนพรัตน์ เป็นการตอบแทนโดยอ้างว่าจะนำไปใช้จูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นโดยวิธีการอันทุจริตให้กระทำการในหน้าที่พิพากษาคดีโดยรอการลงโทษจำคุกให้แก่นายนพรัตน์ในคดีอาญาที่นายนพรัตน์ถูกฟ้องนั้น ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 แล้ว แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ไปจูงใจผู้พิพากษาศาลชั้นต้นให้กระทำการในหน้าที่ให้เป็นคุณแก่นายนพรัตน์ ก็ยังครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 143 อยู่นั่นเองดังนั้น แม้คำเบิกความของนายนพรัตน์ไม่ได้ระบุชื่อผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งมีหน้าที่พิจารณาคดีอาญาที่นายนพรัตน์ถูกฟ้องก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นความผิดเพราะขาดองค์ประกอบความผิดไปแต่อย่างใด คำพิพากษาศาลฎีกาที่จำเลยที่ 2 อ้างมีฐานความผิดและรูปเรื่องไม่ตรงกับคดีนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันให้ลงโทษจำเลยที่ 2 นั้นชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น
    พิพากษายืน

    ผู้พิพากษา
    สุวัตร์ สุขเกษม
    วีระศักดิ์ รุ่งรัตน์
    วิบูลย์ มีอาสา


    กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!

  • นาวิน_ขำแป้น_1591689625_5.png
    นาวิน ขำแป้น
    [ทนายความ]
    วันที่เพิ่ม : วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 01:47:04
    ปรับปรุงล่าสุด : วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 04:59:45


    กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143    มาตรา ๑๔๓
        ผู้ใดเรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจหรือได้จูงใจเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาลโดยวิธีอันทุจริต หรือผิดกฎหมายหรือโดยอิทธิพลของตนให้กระทำการ หรือไม่กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ : 1666 / 2562 (ประชุมใหญ่)

    จำเลยเป็นฝ่ายไปเรียกเงินจากโจทก์เพื่อเป็นการตอบแทนในการไปวิ่งเต้นให้สามีโจทก์ได้รับพระราชทานอภัยโทษ หลังจากมอบเงินให้จำเลย จำเลยไม่สามารถดำเนินการให้สามีโจทก์ได้รับพระราชทานอภัยโทษได้ เมื่อโจทก์ทวงถามจำเลยก็บ่ายเบี่ยงและไม่ยอมคืนเงินให้แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่จะวิ่งเต้นให้สามีโจทก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษหรือรู้อยู่แล้วว่าไม่สามารถวิ่งเต้นกรณีดังกล่าวได้ อันเป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือหลอกลวงโจทก์ ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความถือว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ จึงเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องคดีในข้อหานี้ได้ และกรณีฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาตั้งแต่แรกจะวิ่งเต้นให้สามีโจทก์ได้รับพระราชทานอภัยโทษ แต่โจทก์กระทำไปเพราะถูกจำเลยหลอกลวง ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด โจทก์จึงเป็น
    ผู้เสียหายโดยนิตินัย มีสิทธินำคดีมาฟ้องได้


    กดถูกใจเป็นคนแรกสิ!

แสดงความคิดเห็น

    ...

บันทึกส่วนตัว

Visitor Statistics
» 6 Online
» 177 Today
» 452 Yesterday
» 955 Week
» 2592 Month
» 116795 Year
» 1368200 Total
Record: 10208 (10.06.2023)
Free PHP counter

ทบทวน สรุปย่อ สอบทนายความ ภาคทฤษฎี"
Sheet-สรุป-แบบฝึกหัด-สอบทนายความ

ทบทวน สรุปย่อ สอบทนายความ ภาคปฏิบัติ"