พินัยกรรม-โดย-นาวิน-ขำแป้น

พินัยกรรม

พินัยกรรม, ติวสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ
พินัยกรรม-โดย-นาวิน-ขำแป้น
พินัยกรรม โดย นาวิน ขำแป้น ทนายความ

พินัยกรรมแบ่งออกเป็น 6 แบบ คือ

1.พินัยกรรมแบบธรรมดา

2.พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ

  2.1 ต้องเขียนด้วยลายมือตัวเองทั้งฉบับ จะพิมพ์ไม่ได้

  2.2 ลงวันที่-เดือน-ปี ที่ทำพินัยกรรมด้วยลายมือตัวเอง ลงลายมือชื่อโดยไม่ต้องมีพยาน

3.พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง

  3.1 ทำที่ อำเภอ หรือ สำนักงานเขต

  3.2 เจ้าหน้าที่จะจดข้อความตามที่ผู้ทำพินัยกรรมบอก

  3.3 ต้องมีพยานอย่างน้อย 2 คน พร้อมกัน

  3.4 เจ้าหน้าที่จะอ่านข้อความให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยาน 2 คน ฟัง

  3.5 ผู้ทำพินัยกรรมและพยาน 2 คน ลงลายมือชื่อ

  3.6 เจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อ พร้อมลง วันที่-เดือน-ปี และประทับตราตำแหน่ง

4.พินัยกรรมแบบเอกสารลับ

  4.1 เขียน หรือ พิมพ์ ลงลายมือชื่อตัวเองในพินัยกรรม

  4.2 ผนึกพินัยกรรมใส่ซองและลงลายมือชื่อตัวเองทับรอยที่ผนึก

  4.3 นำซองพินัยกรรมไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ที่สำนักงานเขตหรืออำเภอ พร้อมพยาน 2 คน และแจ้งเจ้าหน้าที่ว่า เป็นพินัยกรรมของตน

  4.4 เจ้าหน้าที่จดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรม ลงวันที่-เดือน-ปี ที่ทำพินัยกรรม ไว้บนซอง และประทับตราตำแหน่ง

  4.5 เจ้าหน้าที่และพยาน 2 คน ลงลายมือชื่อบนซอง

5.พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา

6.พินัยกรรมแบบทำตามกฎหมายต่างประเทศ

 

พินัยกรรมที่ทำกันเป็นส่วนใหญ่ คือ พินัยกรรมแบบธรรมดา 

  • ต้องทำเป็นหนังสือ จะเขียนหรือพิมพ์ก็ได้
  • ต้องลง วัน เดือน ปี ที่ทำ
  • ลงลายมือชื่อ หรือ พิมพ์ลายนิ้วมือ ต่อหน้าพยาน อย่างน้อย 2 คน
  • พยานต้องลงชื่อรับรอง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 1656 บัญญัติว่า

            “พินัยกรรมนั้นจะทำตามแบบดังนี้ก็ได้ กล่าวคือ ต้องทำเป็นหนังสือลงวัน เดือนปี ในขณะที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนนั้น ต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น

            การขูด ลบ ตก เติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่น ซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามแบบอย่างเดียวกับการทำพินัยกรรมตามมาตรานี้”

 

 

 

พินัยกรรมมีหลายแบบ พินัยกรรมแบบนี้เป็นพินัยกรรมแบบธรรมดาซึ่งต้องมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน มิฉะนั้น มิชอบด้วยกฎหมาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 วรรค 1

 

ผู้เขียนและพยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 1653 วรรค 1

ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 1653 วรรค 1

        “ผู้เขียน หรือพยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้”

       

 

รูปแบบพินัยกรรมแบบธรรมดาต้องมี

(1) ทำที่

(2) วันที่ทำ

(3) เนื้อหาพินัยกรรม

(4) ลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรม

(5) ลายมือชื่อพยาน 2 คน

 

พินัยกรรมต้องมีข้อความสำคัญคือแสดงเจตนาไว้ก่อนตายว่าเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายประสงค์จะยกทรัพย์มรดกให้แก่ใครบ้าง ถ้าไม่มีข้อความนี้อยู่ อาจกลายเป็นหนังสือยกให้ไม่ใช่พินัยกรรมก็ได้

 

พินัยกรรมแบบธรรมดา
ผู้เขียนหรือพยาน รวมทั้งคู่สมรสของผู้เขียนหรือพยาน
ในพินัยกรรม จะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้
ดังนั้น หากผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไปลงชื่อเป็นผู้เขียน/พยาน พินัยกรรมนั้น ย่อมตกเป็นโมฆะ เฉพาะส่วนของผู้รับทรัพย์เท่านั้น
เทียบ ฎ.336/2506, ฎ.121/2527
รายละเอียดไฟล์แนบ  กฤษณพงศ์-คนหาญ-พินัยกรรม
รายละเอียดไฟล์แนบ
กฤษณพงศ์-คนหาญ-พินัยกรรม

 

 

 

Sheet-สรุป-แบบฝึกหัด-สอบทนายความ
Sheet-สรุป-แบบฝึกหัด-สอบทนายความ

______________________________

นับถอยหลัง สอบทนายความภาคทฤษฎี รุ่นที่ 63

กำหนดสอบวันที่ 4 สิงหาคม 2567

______________________________

5 2 votes
Article Rating
(Visited 11,945 times, 1 visits today)
Subscribe
Notify of
guest
1 Comment
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments