แนะนำการใช้งาน-ประมวลกฎหมายอาญา-ฉบับออนไลน์-r01

ใช้งาน ประมวลกฎหมายอาญา ฉบับออนไลน์

แนะนำการใช้งาน ประมวลกฎหมายอาญา ฉบับออนไลน์

ประมวลกฎหมายอาญา ฉบับออนไลน์ สามารถเพิ่ม
– คำอธิบาย
– คำพิพากษาศาลฎีกา
– แสดงความคิดเห็น
– บันทึกส่วนตัว

ลองดูขั้นตอนการใช้งาน

ดาวน์โหลด-ประมวลกฎหมายอาญา-ฉบับอิเล็กทรอนิกส์

แก้ไข ปรับปรุง และดาวน์โหลด บันทึกประมวลกฎหมายอาญา ฉบับอิเล็กทรอนิกส์

ประมวลกฎหมายอาญา เป็นกฎหมายหลักของผู้ที่ศึกษาวิชากฎหมายทุกคนจำเป็นต้องทำความเข้าใจ จดจำ จนสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ การฝึกฝน ทบทวนอย่างสม่ำเสมอ ทั้งตัวบท คำอธิบาย คำพิพากษาศาลฎีกา จึงจะทำให้ผู้นำไปใช้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม กฎหมายก็ยังต้องเปลี่ยนแปลงตามพัฒนาการของสังคม การนำเทคโนโลยีมาช่วยลดความผิดพลาด เพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำ การใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถในยุคที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น เป็นหนทางที่จะนำไปสู่การพัฒนาบนรากฐานที่มั่นคง แข็งแรง ต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

ประมวลกฎหมายอาญาฉบับนี้รวบรวมขึ้นเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาระบบการค้นคว้ารวบรวมความรู้ คำอธิบาย ความคิดเห็น คำพิพากษาศาลฎีกา แจ้งเตือนการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง มีเป้าหมายในการเชื่อมโยงผู้ใช้งานให้ร่วมกัน และยังสร้างความถูกต้อง แม่นยำ แจ้งการปรับปรุงแก้ไข ให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาผ่านสื่อกลาง Website :

“ https://www.keybookme.com/ “

นอกจากผู้จัดทำ ปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติมความถูกต้องของเนื้อหาอย่างสม่ำเสมอแล้ว ยังคิดค้นพัฒนาและนำเทคโนโลยีมาใช้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีผู้ใช้ให้เกิดประโยชน์กับสังคมต่อไป

ความผิดเกี่ยวกับศพ

ความผิดเกี่ยวกับศพ

การกระทําชําเราศพ การกระทํา
อนาจารแก่ศพ การกระทําให้ศพเสียหาย และการดูหมิ่นเหยียดหยามศพ เป็นการละเมิดต่อสิทธิของบุคคล
ในครอบครัว เกียรติยศ และชื่อเสียง กฎหมายจึงบัญญัติให้ผู้กระทำมีความผิด

ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์

ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์

– สิทธิในทรัพย์เป็นสิ่งที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง การเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นถือเป็นความผิดที่ผู้กระทำต้องรับโทษ

– การลักทรัพย์ของผู้อื่นโดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ต้องระวางโทษหนักขึ้นกว่าการลักทรัพย์โดยทั่วไป

– ความผิดฐานกรรโชกและรีดเอาทรัพย์เป็นความผิดลักษณะผสมระหว่างความผิดต่อเสรีภาพและความผิดต่อทรัพย์เป็นการข่มขืนใจผู้อื่นให้เขายอมให้ประโยชน์ในทางทรัพย์สินโดยการใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะทำอันตราย

– ความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นรูปแบบหนึ่งของความผิดฐานลักทรัพย์ซึ่งมีการใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายร่างกายด้วย ทำให้ความผิดมีลักษณะร้ายแรงขึ้น

– ความผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นรูปแบบหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ซึ่งมีผู้ร่วมกระทำความผิดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่มีลักษณะร้ายแรงที่สุด

– ความผิดฐานฉ้อโกงเป็นการประทุษร้ายต่อทรัพย์โดยที่เจ้าของทรัพย์ไม่ยินยอมส่งมอบให้ โดยผู้กระทำผิดมิได้แย่งการครอบครอง หากแต่เจ้าของส่งมอบให้เพราะถูกผู้กระทำผิดหลอกลวง

– ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองการบังคับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ เพื่อมิให้ลูกหนี้ทำการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของตน หรือทำความเสียหายแก่หลักประกันในการชำระหนี้

– ความผิดฐานยักยอกส่วนมากจะเกิดจากความไว้เนื้อเชื่อใจของเจ้าทรัพย์ที่ส่งมอบทรัพย์ให้คนอื่นครอบครองแทนและผู้ครอบครองกลับเบียดบังเอาทรัพย์นั้นไป

– ความผิดฐานฉ้อโกง ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ และความผิดฐานยักยอกมักจะมีลักษณะเป็นเรื่องส่วนตัวระหว่างผู้กระทำความผิดกับเจ้าของทรัพย์ กฎหมายจึงกำหนดให้เป็นความผิดอันอาจยอมความได้

ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง

ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง

– มนุษย์ทุกคนย่อมต้องการเสรีภาพไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพในการที่จะกระทำหรือไม่กระทำการใด หรือเสรีภาพในการเคลื่อนไหวร่างกาย ตลอดจนเสรีภาพในการเลือกที่อยู่โดยไม่ถูกจำกัด ร่วมทั้งเสรีภาพในการที่จะไม่ต้องตกเป็นทาสใคร ซึ่งเสรีภาพของบุคคลนั้นถือว่าเป็นสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่งที่กำหนดศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ รัฐจึงต้องบัญญัติกฎหมายขึ้นเพื่อคุ้มครองเสรีภาพของบุคคล โดยผู้ที่ฝ่าฝืนย่อมมีความผิด

– เนื่องจากเด็กหรือผู้เยาว์เป็นผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงต้องอยู่ในความดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครองซึ่งจะเป็นผู้กำหนดที่อยู่ของบุตรหรือผู้อยู่ใต้อำนาจปกครองด้วย การเอาเด็กหรือผู้เยาว์ไปจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลย่อมเป็นการละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดา หรือผู้ปกครองยิ่งเอาไปโดยทุจริตหรือเพื่อหากำไรหรือเพื่อการอนาจารก็ย่อมเป็นภัยต่อเด็กและผู้เยาว์นั้นด้วย ผู้กระทำจึงมีความผิด

– การเลือกถิ่นที่อยู่ของบุคคลในราชอาณาจักรย่อมได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายการเนรเทศบุคคลไปนอกราชอาณาจักรต้องกระทำตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น การพาหรือส่งคนออกไปนอกราชอาณาจักรโดยวิธีการที่มิชอบจึงเป็นความผิด

– ความลับของบุคคลที่ปกปิดในการสื่อสารถึงกันก็ดี ในการอื่นก็ดี ตลอดจนความลับเกี่ยวกับอุตสาหกรรม การค้นพบ หรือการนิมิตรในวิทยาศาสตร์ก็ดี หากเปิดเผยหรือล่วงรู้แก่บุคคลอื่นอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของความลับหรือผู้อื่น กฎหมายจึงต้องลงโทษผู้กระทำ

– การใส่ความผู้อื่นก็ดี ใส่ความผู้ตายก็ดี ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด ย่อมเป็นการล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น เพราะบุคคลมีสิทธิตามกฎหมายในการรักษาชื่อเสียงเกียรติคุณของเขาไว้ การทำให้เขาต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงเกียรติคุณถือว่าเป็นความผิดกฎหมายจึงต้องลงโทษผู้กระทำเช่นกัน

ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย

ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย

– ชีวิตของบุคคลย่อมเป็นที่หวงแหนแก่ผู้เป็นเจ้าของยิ่งกว่าทรัพย์สิน ถ้าหากบุคคลปราศจากความปลอดภัยในชีวิต ความสงบสุขในสังคมย่อมจะมีไม่ได้ นอกจากนี้ชีวิตของบุคคลย่อมมีความสำคัญต่อประเทศชาติทั้งในด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงกฎหมายจึงต้องให้ความคุ้มครอง

– ความผิดต่อชีวิตอาจเกิดจากการกระทำโดยเจตนา การกระทำโดยไม่เจตนา การกระทำโดยประมาท การกระทำอันเป็นเหตุให้ผู้อื่นฆ่าตนเองหรือพยายามฆ่าตนเองหรือการเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย กฎหมายกำหนดอัตราโทษไว้หนักเบาแตกต่างกันตามลักษณะของการกระทำความผิด

– ความปลอดภัยในร่างกายและจิตใจของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมาย การทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจเป็นความผิดและถ้าผลแห่งการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสกฎหมายกำหนดโทษหนักขึ้น

– การเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้กันถือว่าเป็นภัยต่อสังคมดังนั้นถ้ามีการเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้กันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป เป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดทั้งที่เข้าร่วมชุลมุนต่อสู้หรือไม่ได้เข้าร่วมชุลมุนต่อสู้ได้รับอันตรายสาหัสกฎหมายกำหนดโทษแก่ผู้เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้นั้นทุกคนนอกจากเข้าข้อยกเว้นที่กฎหมายกำหนดไว้

– การกระทำโดยประมาทบางกรณีมีผลกระทบต่อความปลอดภัยในร่างกายของบุคคลดังนั้นการที่บุคคลใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสกฎหมายจึงกำหนดโทษไว้ด้วย

ความผิดเกี่ยวกับเพศ

ความผิดเกี่ยวกับเพศ

– การกระทำชำเราผู้อื่นจะเป็นความผิดเมื่อผู้อื่นไม่สมัครใจเย็นยอมให้กระทำและผู้กระทำอาจต้องรับโทษหนักขึ้น หรือยอมความได้ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ในเรื่องนั้นๆโดยเฉพาะ

– การกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี เป็นความผิดที่ยอมความไม่ได้ ไม่ว่าเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่

– การกระทำอนาจารแก่หญิงหรือชายอายุเกินกว่า 15 ปี จะเป็นความผิดถ้าบุคคลนั้นไม่ยินยอมให้กระทำแต่การกระทำอนาจารกับเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ย่อมเป็นความผิดเสมอไม่ว่าเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่

– การเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาชายหรือหญิงหรือเด็กไปเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่นหรือเพื่อการอนาจารเป็นความผิด ไม่ว่าผู้นั้นจะยินยอมหรือไม่ กฎหมายลงโทษทั้งผู้กระทำ ผู้สนับสนุนการกระทำดังกล่าวและผู้รับตัวชายหรือหญิงหรือเด็กนั้นไว้

– การพาบุคคลอายุเกินกว่า 15 ปีแต่ยังไม่เกิน 18 ปีไป หรือพาเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีไป แม้ผู้นั้นจะยินยอมหรือพาผู้อื่นที่ไม่ยินยอมไป เพื่อการอนาจารเป็นความผิด กฎหมายลงโทษทั้งผู้พาและผู้ซ่อนเร้นบุคคลหรือเด็กหรือผู้อื่นนั้น

– บุคคลอายุเกินกว่า 16 ปีดำรงชีพอยู่จากรายได้ของผู้ซึ่งค้าประเวณีย่อมมีความผิด เว้นแต่ได้รับการเลี้ยงดูจากผู้นั้นตามกฎหมาย หรือตามธรรมจรรยา

– การผลิต การค้า การทำให้แพร่หลาย การโฆษณา หรือการกระทำอื่นๆ แก่วัตถุหรือสิ่งลามก อาจเป็นความผิด ถ้าได้กระทำเพื่อการค้า การแจกจ่าย การแสดงอวดแก่ประชาชนหรือเพื่อช่วยทำให้แพร่หลายซึ่งวัตถุหรือสิ่งลามกดังกล่าว

ความผิดเกี่ยวกับการค้า

ความผิดเกี่ยวกับการค้า

– การใช้หรือมีไว้ซึ่งเครื่องชั่งเครื่องตวงหรือเครื่องวัดที่ผิดอัตราจะเป็นความผิดก็ต่อเมื่อกระทำเพื่อเอาเปรียบในการค้า แต่การมีเครื่องเช่นว่านั้นไว้เพื่อขายก็ผิดเช่นกัน แม้ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ากระทำเพื่อเอาเปรียบในการค้า

– การขายของโดยหลอกลวงนั้นต้องเป็นการหลอกให้หลงเชื่อในเรื่องแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือปริมาณของของที่ขายเท่านั้น และต้องไม่ถึงขนาดเป็นความผิดฐานฉ้อโกง

– การเอาเปรียบในทางการค้าอาจทำโดยหลอกลวงให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าหรือสถานการค้าของผู้อื่น หรือโดยไขข่าวแพร่หลายข้อความเท็จเพื่อให้เสียความเชื่อถือในกิจการ

– การปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นนั้น จะเป็นความผิดได้ก็ต่อเมื่อ เป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้ว

– การนําเข้ามาในราชอาณาจักรจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความในทางการค้าหรือเครื่องหมายการค้าที่ปลอมหรือเลียนมา เป็นความผิดอาญา

ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง

ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง

– เงินตราเป็นวัตถุกลางเพื่อการแลกเปลี่ยนและการชำระหนี้โดยทั่วไปจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องตรากฎหมายขึ้นใช้บังคับโดยลงโทษผู้กระทำการอย่างใดๆ อันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับเงินตรานอกจากนี้พันธบัตรรัฐบาลก็เป็นเครื่องมือสำคัญที่รัฐจะหารายได้เพื่อจุนเจือการใช้จ่ายของประเทศถ้าผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลรัฐก็จำต้องลงโทษผู้นั้นเช่นเดียวกัน

– ดวงตรา รอยตราต่างๆ ของรัฐหรือของหน่วยงานของรัฐ พระปรมาภิไธยแสตมป์ ที่รัฐออกใช้และตั๋วที่จำหน่ายให้แก่ประชาชนทั่วไป ก็เป็นสิ่งที่รัฐจำต้องมีมาตรการลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งดังกล่าวด้วยเช่นกัน

– เอกสารคือหลักฐานแห่งความหมายซึ่งบุคคลให้ความเชื่อถือและยอมรับนับถือให้เป็นพยานหลักฐานที่ดี รัฐจึงต้องลงโทษผู้ที่ทำการปลอมหรือกระทำการอย่างอื่นต่อเอกสารซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด

– บัตรอิเล็กทรอนิกส์ มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรมต่างๆของบุคคลในสังคมปัจจุบันค่อนข้างสูง บางกรณีเป็นวัตถุที่เป็นสื่อในการชำระหนี้จึงจำเป็นที่กฎหมายต้องให้ความคุ้มครองและลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย

– หนังสือเดินทางเป็นสิ่งสำคัญสำหรับบุคคลซึ่งใช้แสดงในการเดินทางระหว่างประเทศ การกระทำความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทางบางกรณีอาจส่งผลกระทบถึงความมั่นคงของประเทศ รัฐจึงต้องลงโทษผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง

ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน

ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน

– การวางเพลิงเผาทรัพย์เป็นการเผาทรัพย์ของผู้อื่นโดยเจตนา มิใช่เผาทรัพย์ของตนเองหรือที่ตนเองเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย หรือเผาทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของกฎหมายบัญญัติให้ผู้กระทำผิดต้องรับโทษหนักขึ้นในกรณีการวางเพลิงเผาทรัพย์ที่สำคัญอันหนึ่งแม้เพียงตระเตรียมการวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น ก็ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับความผิดฐานพยายามวางเพลิง

– การทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุหรือทรัพย์ของตนเองหรือทรัพย์ไม่มีเจ้าของเป็นความผิดได้ หากการกระทำนั้นน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์ของผู้อื่น

– การทำให้เกิดระเบิดจะเป็นความผิดก็ต่อเมื่อมีลักษณะน่าจะเป็นอันตรายแก่ผู้อื่นหรือทรัพย์ของผู้อื่น

– ผู้วางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่นหรือทำให้เกิดระเบิดต้องรับโทษหนักขึ้นหากจะทำให้ผู้อื่นตายหรือรับอันตรายสาหัสผู้วางเพลิงเผาทรัพย์หรือทำให้เกิดเพลิงไหม้วัตถุหรือทำให้เกิดระเบิดต้องระวางโทษน้อยลงหากกระทำต่อทรัพย์ที่มีราคาน้อยหรือการกระทำนั้นไม่น่าจะเป็นอันตรายแก่ผู้อื่น

– การทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทจะเป็นความผิดเมื่อเป็นเหตุให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหายหรือน่าจะเป็นอันตรายแก่ชีวิตของผู้อื่น

ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน

ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน

– อังยี่ ได้แก่คณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย เมื่อบุคคลเป็นสมาชิกของอั้งยี่ ย่อมมีความผิดโดยไม่จำต้องมีการกระทำตามความมุ่งหมายนั้นแล้ว และจะต้องรับโทษหนักขึ้นถ้ามีตำแหน่งหน้าที่ในอั้งยี่นั้น

– การสมคบกันในความผิดอันเป็นซ่องโจรนั้น จะต้องมีการประชุมหารือระหว่างผู้ร่วมกระทำผิดตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปและต้องมีการตกลงในการที่จะกระทำความผิดที่บัญญัติในประมวลกฎหมายอาญาภาค 2 ที่มีโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป มิใช่เพียงแต่มาประชุมหรือหารือกัน มิได้มีการตกลงหรือตกลงกันไม่ได้

– ผู้เข้าร่วมประชุมในที่ประชุมอั้งยี่หรือซ่องโจร มีความผิดฐานเป็นอั้งยี่หรือซ่องโจรด้วยแม้ว่าจะไม่ได้เป็นสมาชิกอังยี่หรือพรรคพวกซ่องโจรก็ตาม

– ผู้ที่ช่วยเหลือหรืออุปการะอังยี่หรือซ่องโจร โดยให้ทรัพย์หรือโดยประการอื่นจัดหาที่ประชุมหรือที่พำนักช่วยจำหน่ายทรัพย์ หรือชักชวนผู้อื่นให้เข้าเป็นสมาชิกอังยี่หรือพรรคพวกซ่องโจร แม้จะมิใช่สมาชิกอังยี่หรือพรรคพวกซ่องโจรก็ตาม ต้องระวางโทษในอัตราเดียวกันกับสมาชิกหรือพรรคพวกซ่องโจร

– สมาชิกอังยี่หรือพรรคพวกซ่องโจรต้องรับโทษในความผิดที่สมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจรคนอื่นกระทำไปตามความมุ่งหมายของอั้งยี่หรือซ่องโจร แม้ว่าตนเองจะไม่ได้เป็นผู้กระทำผิดหรือร่วมกระทำความผิดนั้นก็ตาม

– การจัดหาที่พำนักที่ซ่อนเร้นหรือที่ประชุม ให้แก่ผู้กระทำผิดที่บัญญัติไว้ในมาตรา 2 ประมวลกฎหมายอาญา หากทำเป็นปกติธุระ เป็นความผิดอาญา

– การมั่วสุมจะเป็นความผิดต่อเมื่อ ได้ใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญ หรือทำให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองขึ้นแล้ว ลำพังแต่การมั่วสุมเพื่อการกระทำผิดยังไม่เป็นความผิด แต่หากเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้ว ไม่ยอมเลิก ก็เป็นความผิด แต่ต้องสั่งก่อนผู้ที่มั่วสุมจะลงมือใช้กำลังประทุษร้ายขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง

ความผิดเกี่ยวกับศาสนา

ความผิดเกี่ยวกับศาสนา

ศาสนาเป็นสถาบันที่สำคัญของสังคม กฎหมายจึงต้องให้ความคุ้มครองแก่ศาสนาและให้ความคุ้มครองโดยเท่าเทียมกันทุกศาสนา แต่การคุ้มครองนี้เป็นการคุ้มครองแก่ตัวสถาบัน มิไช่คุ้มครองตัวบุคคลโดยเฉพาะ

ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม

ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม

– ในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนนั้น เจ้าพนักงานในการยุติธรรมมีส่วนอย่างสำคัญ ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างถูกต้องรวดเร็วเป็นธรรมและทั่วถึง

– เจ้าพนักงานในการยุติธรรม เป็นเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน การกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรมผู้กระทำผิดจึงต้องมีโทษต่างจากการกระทำผิดต่อเจ้าพนักงานอื่น

– เจ้าพนักงานในการยุติธรรม เป็นเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนในด้านกฎหมายและการยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกันและเป็นธรรม การที่เจ้าพนักงานในการยุติธรรมปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบจึงต้องมีโทษหนักกว่าเจ้าพนักงานอื่น

ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

– เจ้าพนักงานเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญยิ่งต่อการบริหารงานของรัฐ รัฐจึงต้องให้ความคุ้มครองแก่เจ้าพนักงานไว้เป็นพิเศษ เช่น บัญญัติถึงการลงโทษแก่ผู้ที่ดูหมิ่น ต่อสู้ขัดขวางให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน

– โดยที่เจ้าพนักงานดังกล่าวนั้น กฎหมายได้ให้อำนาจในอันที่จะปฏิบัติตามหน้าที่ รัฐจึงจำเป็นต้องควบคุมหรือวางกรอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน มิให้ใช้อำนาจในทางที่ไม่ถูกไม่ควร โดยบัญญัติลงโทษแก่เจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือให้เกิดความเสียหาย

ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร

– กฎหมายให้ความคุ้มครองพระมหากษัตริย์ในฐานะเป็นองค์พระประมุขแห่งรัฐและคุ้มครองพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในฐานะซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อความมั่นคงของประเทศกฎหมายจึงต้องให้ความคุ้มครองเป็นพิเศษเหนือกว่าบุคคลทั่วไป

– การคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยของรัฐไม่ว่าการคุกคามนั้นจะมาจากภายในประเทศ เช่น การกบฏ หรือมาจากภายนอกประเทศ เช่น การเป็นกบฏ หรือการทำให้เอกราชของรัฐสูญสิ้น หรือเสื่อมไปกฎหมายจึงต้องบัญญัติเป็นความผิดเพื่อเป็นการคุ้มครองสวัสดิภาพของรัฐ

– กฎหมายจำต้องให้ความคุ้มครองเป็นพิเศษแก่ประมุขของรัฐต่างประเทศซึ่งมีสัมพันธไมตรีกับไทย และแก่ผู้แทนรัฐต่างประเทศที่มาประจำในราชสำนักเพื่อให้สัมพันธไมตรีกับมิตรประเทศดำเนินไปโดยราบรื่น

– การก่อการร้ายเป็นการกระทำที่รุนแรงของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลโดยมุ่งต่อผลทางจิตใจและพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมือง ศาสนา หรือลัทธิหรืออุดมการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ กฎหมายจึงต้องบัญญัติเป็นความผิดเพื่อคุ้มครองรัฐและประชาชนของรัฐ

บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดลหุโทษ

บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดลหุโทษ

กฎหมายได้บัญญัติให้นำหลักเกณฑ์ทั่วไปของกฎหมายอาญาในลักษณะ 1 มาใช้กับความผิดลหุโทษด้วย เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษในมาตรา 104,105 และ 106 ซึ่งกฎหมายได้บัญัติให้แตกต่างไปจากความผิดสามัญ

อายุความอาญา

อายุความอาญา

การฟ้องคดีและฟ้องขอให้กักกันผู้กระทำความผิดต่อศาลนั้น จะต้องกระทำภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นจะฟ้องร้องผู้นั้นไม่ได้

การลงโทษผู้กระทำความผิดตามคำพิพากษาของศาล จะต้องกระทำภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

การบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัยจะต้องกระทำภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

กระทำความผิดอีก

การกระทำความผิดอีก

ผู้ที่เคยถูกลงโทษจำคุกมาแล้ว หากได้กระทำความผิดอีกภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและศาลจะลงโทษจำคุก
ผู้นั้นอาจถูกเพิ่มโทษให้หนักขึ้นอีกหนึ่งในสามได้

ผู้ที่เคยถูกลงโทษจำคุกไม่น้อยกว่า 6 เดือนมาแล้ว หากได้กระทำความผิดซ้ำในความผิดประเภทเดียวกันอีก ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและศาลจะลงโทษจำคุก ผู้นั้นอาจจะถูกเพิ่มโทษให้นักขึ้นอีกกึ่งหนึ่งได้

ความผิดที่กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ และความผิดซึ่งกระทำในขณะมีอายุยังไม่เกิน 18 ปี ไม่ถือเป็นเหตุเพิ่มโทษ

การกระทำความผิดหลายบทหรืหลายกระทง

การกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทง

มาตรา 90
เมื่อการกระทำใดอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด
มาตรา 91
เมื่อปรากฎว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนด ดังต่อไปนี้

(1) สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี

(2) ยี่สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี

(3) ห้าสิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสิบปีขึ้นไป เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต

ตัวการและผู้สนันสนุน

ตัวการและผู้สนับสนุน

ตัวการในการกระทำความผิด คือ บุคคลที่มีการกระทำร่วมและเจตนาร่วมกับบุคคลอื่นในการกระทำความผิดอาญา

ผู้ใช้ คือ บุคคลที่ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด โดยที่ตนเองมิได้มีส่วนร่วมกระทำความผิดนั้นด้วย ผู้ใช้อาจเจาะจงให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือใช้วิธีโฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปก็ได้

ผู้สนับสนุน เป็นผู้ที่ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำผิดก่อนหรือในขณะกระทำความผิด

พยายามกระทำความผิด

มาตรา 80
ผู้ใดลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอด หรือกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล ผู้นัันพยายามกระทำความผิด
มาตรา 81
ผู้ใดกระทำการโดยมุ่งต่อผลซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด แต่การกระทำนั้นไม่สามารถจะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำหรือเหตุแห่งวัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อให้ถือว่าผู้นั้นพยายามกระทำความผิดแต่ให้ลงโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
ถ้าการกระทำดังกล่าวในวรรคแรกได้กระทำไปโดยความเชื่ออย่างงมงาย ศาลจะไม่ลงโทษก็ได้
มาตรา 82
ผู้ใดพยายามกระทำความผิด หากยับยั้งเสียเองไม่กระทำการให้ตลอด หรือกลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทำนั้นบรรลุผล ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับการพยายามกระทำความผิดนั้น แต่ถ้าการที่ได้กระทำไปแล้วต้องตามบทกฎหมายที่บัญญัติเป็นความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้นๆ

ประมวลกฎหมายอาญา-โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย

โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย

หมวด 3 โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย
– ส่วนที่ 1 โทษ (18-38)
– ส่วนที่ 2 วิธีการเพื่อความปลอดภัย (39-50)
– ส่วนที่ 3 วิธีเพิ่มโทษ ลดโทษ และการรอการลงโทษ (51-58)

ประมวลกฎหมายอาญา-มาตรา-1-นาวิน-ขำแป้น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 บทนิยาม

(1) “โดยทุจริต”
(2) “ทางสาธารณะ ”
(3) “สาธารณสถาน”
(4) “เคหสถาน”
(5) “อาวุธ”
(6) “ใช้กำลังประทุษร้าย”
(7) “เอกสาร”
(8) “เอกสารราชการ”
(9) “เอกสารสิทธิ”
(10) “ลายมือชื่อ”
(11) “กลางคืน”
(12) “คุมขัง”
(13) “ค่าไถ่”
(14) “บัตรอิเล็กทรอนิกส์”
(15) “หนังสือเดินทาง”
(16) “เจ้าพนักงาน”
(17) “สื่อลามกอนาจารเด็ก”
(18) “กระทำชำเรา”

ไม่มีความผิด-ไม่มีโทษ-ถ้าไม่มีกฎหมาย

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ ถ้าไม่มีกฎหมาย

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2
บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้ารับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง

กฎหมายอาญา มาตรา 352 ยักยอกทรัพย์

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ความผิดฐานยักยอก

ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่นหรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใดหรือเป็นทรัพย์สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระวางโทษแต่เพียงกึ่งหนึ่ง

ประมวลกฎหมายอาญา-ภาค-2-ความผิด-นาวิน-ขำแป้น

ประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ความผิด

ลักษณะ 1 ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
ลักษณะ 1/1 ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย
ลักษณะ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง
ลักษณะ 3 ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม
ลักษณะ 4 ความผิดเกี่ยวกับศาสนา
ลักษณะ 5 ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน
ลักษณะ 6 ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน
ลักษณะ 7 ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง
ลักษณะ 8 ความผิดเกี่ยวกับการค้า
ลักษณะ 9 ความผิดเกี่ยวกับเพศ
ลักษณะ 10 ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
ลักษณะ 11 ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง
ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
ลักษณะ 13 ความผิดเกี่ยวกับศพ

ประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป

ลักษณะ 1 : บทบัญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป
หมวด 1 บทนิยาม (1)
หมวด 2 การใช้กฎหมายอาญา (2-17)
หมวด 3 โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย
– ส่วนที่ 1 โทษ (18-38)
– ส่วนที่ 2 วิธีการเพื่อความปลอดภัย (39-50)
– ส่วนที่ 3 วิธีเพิ่มโทษ ลดโทษ และการรอการลงโทษ (51-58)
หมวด 4 ความรับผิดในทางอาญา (59-79)
หมวด 5 การพยายามกระทำความผิด (80-82)
หมวด 6 ตัวการและผู้สนับสนุน (83-89)
หมวด 7 การกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทง (90-91)
หมวด 8 การกระทำความผิดอีก (92-94)
หมวด 9 อายุความ (95-101)
ลักษณะ 2 : บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดลหุโทษ (102-106)

ประมวลกฎหมายอาญา มี 3 ภาค

ประมวลกฎหมายอาญา มี 3 ภาค

ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป – (มาตรา 1-106)

ภาค 2 ความผิด – (มาตรา 107-366/4)

ภาค 3 ลหุโทษ – (มาตรา 367-398)

มาตรา-264-ทำเอกสารปลอม

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 ความผิดฐานปลอมเอกสาร

ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใดเติมหรือตัดทอนข้อความหรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในเอกสารที่แท้จริง หรือประทับตราปลอมหรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสาร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดกรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม หรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อื่นนั้น ถ้าได้กระทำเพื่อนำเอาเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชน ให้ถือว่าผู้นั้นปลอมเอกสารต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

กระทำความผิดด้วยความจำเป็น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 กระทำความผิดด้วยความจำเป็น เพื่อให้ผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึง ไม่ต้องรับโทษ

ผู้ใดกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
(1) เพราะอยู่ในที่บังคับ หรือภายใต้อำนาจ ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ
(2) เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ เมื่อภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน
ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุแล้ว ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

อาญา-มาตรา-371-นาวิน-ขำแป้น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 พาอาวุธไปในเมือง

ผู้ใดพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผย หรือโดยไม่มีเหตุสมควร หรือพาไปในชุมนุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริงหรือการอื่นใด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท และให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบอาวุธนั้น

ป-อาญา-มาตรา-393-นาวิน-ขำแป้น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 ดูหมิ่นซึ่งหน้า (คำพูดที่ผิดกฎหมาย)

ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า หรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ตอบข้อสอบกฎหมายอาญา

ตอบข้อสอบกฎหมายอย่างไรให้ได้คะแนน กฎหมาย อาญา แก้ไขเพิ่มเติมล่าสุด 2560

อาจารย์ สมชาย พงษ์พัฒนาศิลป์

ท่อง-อาญา-มาตรา-86-Q

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 ผู้สนับสนุน

ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่น กระทำความผิด ก่อนหรือขณะกระทำความผิด แม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม ผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กำหนดไว้สำรับความผิดที่สนับสนุนนั้น

ประมวลกฎหมายอาญา-67-68-72-นาวิน-ขำแป้น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 มาตรา 68 มาตรา 72

มาตรา 67      กระทำความผิดด้วยความจำเป็น ไม่ต้องรับโทษ

มาตรา 68      ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีความผิด

มาตรา 72       บันดาลโทสะ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงไดก็ได้

ป-อาญา-มาตรา-72-นาวิน-ขำแป้น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 บันดาลโทสะ

ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้

ป-อาญา-มาตรา-68

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่น ให้พ้นจากภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด

ประมวลกฎหมาย-อาญา-มาตรา-67

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 กระทำความผิดด้วยความจำเป็น

ผู้ใดกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
(1) เพราะอยู่ในที่บังคับ หรือภายใต้อำนาจ ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ
(2) เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ เมื่อภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน
ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุแล้ว ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ