ผู้จัดการมรดก

คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, คดีไม่มีข้อพิพาท, ติวสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ
ผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดก
ตั้งผู้จัดการมรดก
ตั้งผู้จัดการมรดก

 

ขอตั้งผู้จัดการมรดก-หลักกฎหมาย
ขอตั้งผู้จัดการมรดก-หลักกฎหมาย
ตั้งผู้จัดการมรดก
ตั้งผู้จัดการมรดก
ตั้งผู้จัดการมรดก
ตั้งผู้จัดการมรดก
ตั้งผู้จัดการมรดก
ตั้งผู้จัดการมรดก

       เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้ว จึงจะขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ แต่การจะขอตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก ผู้ที่มีสิทธิจะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก คือ ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกที่มีสิทธิรับมรดก เช่น บุตร บิดา มารดา คู่สมรสของเจ้ามรดก ผู้รับพินัยกรรมของเจ้ามรดก หรืออาจเป็นบุคคลภายนอก ผู้มีส่วนได้เสียก็ได้ เช่น เจ้าของร่วมในทรัพย์สินของเจ้ามรดก หรือพนักงานอัยการ

     ผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดก ต้องบรรลุนิติภาวะแล้ว  และไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ และไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย

  การยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ต้องยื่นคำร้องที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลนั้นในขณะถึงแก่ความตายแต่ในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไทย ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตอำนาจศาล

  ผู้จัดการมรดก เป็นตัวแทนของทายาททั้งหมด มีหน้าที่ในการรวบรวมทรัพย์มรดก แบ่งให้กับทายาท เช่น เปลี่ยนชื่อกรรมสิทธิ์ในที่ดินจากชื่อผู้ตายให้เป็นชื่อของทายาท การเบิกเงินในบัญชีของผู้ตายจากธนาคารแล้วมาแบ่งปันให้ทายาท เปลี่ยนชื่อจากไฟแนนซ์ที่เป็นชื่อของผู้ตายเป็นชื่อของทายาท ฯลฯ (จัดการโอนทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตาย ให้ทายาทหรือปู้มีส่วนได้เสีย)  ผู้จัดการมรดก ต้องชำระหนี้กองมรดกให้เสร็จสิ้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งมีอำนาจในการดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญา ต่อผู้ที่กระทำความเสียหายแก่กองมรดกด้วย

  • ผู้จัดการมรดก จะตั้งขึ้นโดยพินัยกรรม ซึ่งผู้ทำพินัยกรรมกำหนดไว้ หรือ จะตั้งขึ้นโดยคำสั่งศาล เมื่อมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก โดยผู้ทำพินัยกรรม หรือ ศาล อาจกำหนดจำนวนผู้จัดการมรดกได้ตามที่เห็นสมควร ในกรณีที่มีผู้จัดการมรดกหลายคน ผู้จัดการมรดกทั้งหมดต้องจัดการร่วมกันโดยเสียงข้างมาก
  • ผู้จัดการมรดก มีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดโดยทั่วไป ในฐานะผู้แทนตามกฎหมายของทายาท กับมีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดโดยเฉพาะที่กฎหมายหรือพินัยกรรมกำหนดไว้เป็นพิเศษด้วย
  • ผู้จัดการมรดก ต้องจัดการ รวบรวม แบ่งปัน ทรัพย์มรดก และชำระหนี้กองมรดกให้เสร็จสิ้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้

 

คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 

หลักกฎหมาย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 บัญญัติว่า

“ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้

(1) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์

(2) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก

(3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใด ๆ

การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร”

 

บุคคลที่จะเป็นผู้จัดการมรดกได้ ต้องเป็นบคคลที่กฎหมายไม่ได้ห้ามไว้

 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 บัญญัติว่า

“บุคคลต่อไปนี้จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้

(1) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ

(2) บุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ

(3) บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย”

 

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 บัญญัติว่า

“คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกให้เสนอต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตาย

 ในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตศาล

  • การเป็นผู้จัดการมรดกเริ่มเมื่อบุคคลนั้นยอมรับเป็นผู้จัดการมรดกในกรณีที่เป็นผู้จัดการมรดกที่ตั้งโดยพินัยกรรม หรือเมื่อถือว่าได้ทราบคำสั่งศาลในกรณีที่เป็นผู้จัดการมรดกที่ตั้งโดยคำสั่งศาล
  • การเป็นผู้จัดการมรดกย่อมสิ้นสุดลงเมื่อการจัดการมรดกเสร็จสิ้นลง หรือผู้จัดการมรดกลาออกโดยได้รับอนุญาตจากศาล หรือถูกศาลสั่งถอน หรือผู้จัดการมรดกตาย หรือตกเป็นผู้ต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดก

หลักการบรรยาย

  1. ผู้ร้องมีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียกับผู้ตายอย่างไร
  2. ผู้ตายถึงแก่ความตายที่ไหน เมื่อไร
  3. ขณะถึงแก่ความตาย ผู้ตายมีภูมิลำเนาอยู่ที่ใด
  4. ผู้ตายมีทายาทกี่คน ใครบ้าง
  5. ผู้ตายทำพินัยกรรมไว้หรือไม่ และ มีทรัพย์มรดกอะไรบ้าง
  6. มีเหตุขัดข้องอย่างไรในการจัดการมรดก
  7. ผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้จัดการมรดก
  8. ขอให้ตั้งใครเป็นผู้จัดการมรดก
  9. คำลงท้าย

ตัวอย่างการบรรยาย

นางสอง มกรา ร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ นายเอก มกรา ผู้ตาย

ข้อ 1 ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายเอก มกรา ผู้ตาย จดทะเบียนสมรสกันที่ สำนักงานเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2520 รายละเอียดปรากฏตามสำเนาใบสำคัญการสมรส เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข 1

ข้อ 2 ผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2558 โดยแพทย์ลงความเห็นว่า หัวใจวายเนื่องจากเส้นเลือดอุดตันที่โรงพยาบาลสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา รายละเอียดปรากฏตามรายงานของแพทย์และสำเนาใบมรณบัตร เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข 2 และ 3

ข้อ 3 ขณะถึงแก่ความตายผู้ตายมีภูมิลำเนาอยู่ที่ บ้านเลขที่ 1 หมู่ที่ 1 ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาปรากฏตามสำเนาทะเบียนบ้าน เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข 4

ข้อ 4 ผู้ตายเป็นบุตรของนายหนึ่ง มกรา และนางโท มกรา รายละอียดปรากฏตามสำเนาสูติบัตร เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข 5  บิดาของผู้ตายได้ถึงแก่ความตายไปก่อนแล้วปรากฏตามสำเนาใบมรณบัตร เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข 6

ผู้ร้องกับผู้ตายมีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ นายสาม มกรา รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสูติบัตร เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข 7

ขณะถึงแก่ความตาย ผู้ตายจึงมีทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกรวม 3 คน คือ นางโท มกรา มาดา นายสาม มกรา บุตร และผู้ร้อง รายละเอียดปรากฏตามบัญชีเครือญาติ เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข 8

ข้อ 5 ก่อนถึงแก่ความตาย ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ผู้ตายมีทรัพย์มรดกดังนี้คือ

  1. บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาสงขลา บัญชีเลขที่ 100000000 จำนวนเงิน 1,000,000 บาท รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสมุดคู่ฝากธนาคาร เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข 9
  2. กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 1 เลขที่ดิน 2 ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เนื้อที่ 60 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านไม้ 2 ชั้น เลขที่ 1 รายละเอียดปรากฏตามสำเนาโฉนดที่ดิน เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข 10

ข้อ 6 ผู้ร้องมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก กล่าวคือ หลังจากผู้ตายถึงแก่ความตายผู้ร้องได้ไปติดต่อธนาคารและเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอถอนเงินในบัญชีธนาคารของผู้ตายและจดทะเบียนโอนที่ดินแบ่งให้แก่ทายาทแต่ไม่อาจทำได้เนื่องจากพนักงานธนาคารและเจ้าพนักงานที่ดินแจ้งว่า ต้องให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกเสียก่อนจึงจะดำเนินการให้ได้

ผู้ร้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต ไม่เป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถและไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

ด้วยเหตุดังกล่าวดังได้ประทานกราบเรียนมาข้างต้น ขอศาลได้โปรดมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของนายหนึ่ง มกรา ผู้ตาย เพื่อให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายต่อไป

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

 

คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก-หน้าแรก
คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก-หน้าแรก

 

 

คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก-หน้าหลัง
คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก-หน้าหลัง

 

คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก-40ก
คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก-40ก

 

กรณีทำคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ใช้แบบพิมพ์ศาล หมายเลข 7

Sheet-สรุป-แบบฝึกหัด-สอบทนายความ
Sheet-สรุป-แบบฝึกหัด-สอบทนายความ

______________________________

นับถอยหลัง สอบทนายความภาคทฤษฎี รุ่นที่ 63

กำหนดสอบวันที่ 4 สิงหาคม 2567

______________________________

นับถอยหลัง สอบทนายความภาคปฏิบัติ รุ่นที่ 61

กำหนดสอบวันที่ 19 พฤษภาคม 2567

______________________________

นับถอยหลัง สอบทนายความ สำหรับผู้ผ่านการฝึกหัดงานในสำนักงานทนายความมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ครั้งที่ 1/2567

กำหนดสอบวันที่ 10 มีนาคม 2567

______________________________

ข้อสังเกต

1.การตั้งผู้จัดการมรดก ผู้ร้องอาจขอให้ศาลตั้งผู้ร้องหรือบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดกก็ได้ และอาจตั้งผู้จัดการมรดกคนเดียวหรือหลายคนก็ได้

ถ้าขอให้ตั้งบุคคลอื่นเช่น นายดำ เป็นผู้จัดการมรดก ต้องบรรยายคำร้องว่าบุคคลผู้นั้นคือ นายดำ (ไม่ใช่ผู้ร้อง) ไม่ขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้จัดการมรดก คือ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต ไม่เป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นคนล้มละลาย เป็นต้น

2.ขณะถึงแก่ความตาย ผู้ตายมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลใด ต้องยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกที่ศาลนั้น

3.เหตุขัดข้องในการจัดการมรดก เป็นสาระสำคัญของคำร้อง ถ้าหลงลืมไม่บรรยาย ศาลยกคำร้องโดยไม่ต้องไต่สวนคำร้อง

เหตุขัดข้อง เช่น ไปที่ดิน เจ้าหน้าที่บอกว่าต้องยื่นคำร้องขอจัดการมรดกก่อน ถึงจะสามารถเปลี่ยนชื่อกรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้ตายไปเป็นของทายาทได้ หรือ ไปที่ธนาคาร ธนาคารบอกว่าต้องไปยื่นคำร้องขอจัดการมรดกก่อน ถึงจะเบิกเงินในบัญชีธนาคารของผู้ตายได้ หรือไปที่ไฟแนนซ์ ไฟแนนซ์บอกว่าต้องไปยื่นคำร้องขอจัดการมรดกก่อนถึงจะทำเรื่องขอผ่อนรถต่อจากผู้ตายได้ เป็นต้น

4.ในการตอบข้อสอบลงชื่อ “ผู้เรียง/ผู้เขียน” ส่วนในทางปฏิบัติลงชื่อ “ผู้เรียง/ผู้พิมพ์”

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2518

คำพิพากษาย่อสั้น

คดีร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก มิใช่เป็นการฟ้องคดีเพื่อใช้สิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของกองมรดก ไม่อยู่ในอายุความ 1 ปี แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754

คำพิพากษาย่อยาว

ผู้ร้องทั้งสองคนยื่นคำร้องว่า นางเฮี๊ยะ แซ่เอี๊ยว เจ้ามรดกได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2514 มิได้ทำพินัยกรรมหรือการจัดการมรดกไว้ นางเฮี๊ยะไม่มีทายาทอื่น คงมีแต่ทายาทชั้นหลาน ผู้ร้องทั้งสองเป็นหลานอยู่ในฐานะทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของนายเฮี๊ยะ โดยเหตุที่จะต้องรวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันกันในระหว่างทายาท ผู้ร้องทั้งสองไม่สามารถดำเนินการได้โดยลำพัง จึงขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องทั้งสองร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกของนายเฮี๊ยะ แซ่เอี๊ยว

นายซ่งเง็ก แซ่เอี๊ยว ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านเป็นหลาน ผู้ร้องทั้งสองชอบเล่นการพนัน มีหนี้สินล้นพ้นตัว มิได้มีคุณสมบัติต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1718 ทรัพย์มรดกของนางเฮี๊ยะอยู่ในความครอบครองของผู้คัดค้านตลอดมาเป็นเวลาเกิน 1 ปี พ้นระยะเวลาที่ผู้ร้องทั้งสองและทายาทอื่นจะใช้สิทธิเรียกร้องแล้ว

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ร้องเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของนางเฮี๊ยะ แซ่เอี๊ยว ผู้ตายมีคุณสมบัติและสมควรเป็นผู้จัดการมรดกได้ การยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าร้องเกิน 1 ปีไม่ได้ กรณีนี้ไม่ใช่เป็นการฟ้องคดีมรดกไม่อยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 คดีไม่ขาดอายุความ มีคำสั่งตั้งให้ผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกของนายเฮี๊ยะ แซ่เอี๊ยวร่วมกัน

ผู้คัดค้านอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

ผู้คัดค้านฎีกา

ศาลฎีกาเห็นว่า คดีนี้ผู้ร้องทั้งสองได้ร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้ร้องทั้งสองร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย การร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกนั้นมิใช่เป็นการฟ้องคดีเพื่อใช้สิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของกองมรดก ไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 คดีของผู้ร้องจึงไม่ขาดอายุความ

พิพากษายืน

ตั้งผู้จัดการมรดก
ตั้งผู้จัดการมรดก

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นขอเป็นผู้จัดการมรดก (ต้นฉบับและสำเนาเอกสารอย่างละ 4 ชุด)

1. ทะเบียนบ้านของผู้ตาย และทะเบียนบ้านของผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก กรณีผู้ร้องขอฯ อยู่คนละบ้านกับผู้ตาย

2. ใบมรณบัตรของผู้ตาย

3. ใบมรณบัตรของบิดามารดา กรณีบิดามารดาของผู้ตาย (เจ้ามรดก) ถึงแก่ความตายก่อนแล้ว

4. ทะเบียนสมรสของสามีหรือภริยาของผู้ตาย

5. ทะเบียนสมรสพร้อมด้วยทะเบียนการหย่าของภริยาของผู้ตาย

6. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัวชื่อสกุล ของทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย

7. สูติบัตรของบุตรของผู้ตาย กรณีบุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือไม่สามารถให้ความยินยอมได้

8. บัตรประจำตัวข้าราชการ บัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ร้องขอฯ

9. พินัยกรรมของผู้ตาย

10. หนังสือให้ความยินยอมในการร้องขอจัดการมรดกและบัญชีเครือญาติ

11. เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย เช่น โฉนดที่ดิน และสัญญาจำนอง ทะเบียนรถจักรยานยนต์ ทะเบียนรถยนต์ อาวุธปืน สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ใบหุ้น และอื่นๆ เป็นต้น

12. บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านของผู้ให้ความยินยอมทุกคน

13. คำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก ในกรณีที่เคยยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว แต่ผู้จัดการมรดกถึงแก่ความตาย

  • เอกสารทุกรายการต้องรับรองสำเนาถูกต้อง
  • กรณีผู้ร้องลงชื่อไม่ได้ จึงพิมพ์ลายนิ้วมือแทน ให้มีพยานลงชื่อรับรองอย่างน้อยสองคน
  • ห้ามขีดคร่อมเอกสารที่รับรอง

__________________________________________

หนังสือให้ความยินยอมในการร้องขอจัดการมรดก

____________________________________

บัญชีเครือญาติ

______________________________

นับถอยหลัง สอบทนายความภาคทฤษฎี รุ่นที่ 63

กำหนดสอบวันที่ 4 สิงหาคม 2567

______________________________

นับถอยหลัง สอบทนายความภาคปฏิบัติ รุ่นที่ 61

กำหนดสอบวันที่ 19 พฤษภาคม 2567

______________________________

นับถอยหลัง สอบทนายความ สำหรับผู้ผ่านการฝึกหัดงานในสำนักงานทนายความมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ครั้งที่ 1/2567

กำหนดสอบวันที่ 10 มีนาคม 2567

______________________________

ติวสอบทนายความ

 


   เมื่อยื่นคำร้องต่อศาลแล้ว จะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน ศาลจะนัดวัน เวลาเพื่อทำการไต่สวนคำร้อง โดยผู้ที่ร้องขอให้ตนเองเป็นผู้จัดการมรดกต้องเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมถึงพยานบุคคล (ถ้าหากมี) ไปขึ้นศาลกับทนายความในวันไต่สวน หรือจะร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลไต่สวนผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ หลังจากไต่สวนเสร็จแล้วจะใช้เวลาอีกประมาณ 1 เดือน ผู้ร้องหรือทนายความ จึงสามารถไปขอคัดคำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดก และ ใบสำคัญคดีถึงที่สุด 
  เมื่อได้คำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดก และ ใบสำคัญคดีถึงที่สุดมาแล้วจึงนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง เช่นเบิกเงินในบัญชีธนาคาร หรือการโอนทรัพย์สินต่างๆ เช่น เจ้าพนักงานที่ดินให้เปลี่ยนชื่อกรรมสิทธิ์ในโฉนด



 
ยื่นคำคู่ความ-อิเล็กทรอนิกส์-โดยประชาชนทั่วไป-01
ยื่นคำคู่ความ-อิเล็กทรอนิกส์-โดยประชาชนทั่วไป-01
ยื่นคำคู่ความ-อิเล็กทรอนิกส์-โดยประชาชนทั่วไป-02
ยื่นคำคู่ความ-อิเล็กทรอนิกส์-โดยประชาชนทั่วไป-02

การไต่สวนคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์

Sheet-สรุป-แบบฝึกหัด-สอบทนายความ
Sheet-สรุป-แบบฝึกหัด-สอบทนายความ

______________________________

นับถอยหลัง สอบทนายความภาคทฤษฎี รุ่นที่ 63

กำหนดสอบวันที่ 4 สิงหาคม 2567

______________________________

นับถอยหลัง สอบทนายความภาคปฏิบัติ รุ่นที่ 61

กำหนดสอบวันที่ 19 พฤษภาคม 2567

______________________________

นับถอยหลัง สอบทนายความ สำหรับผู้ผ่านการฝึกหัดงานในสำนักงานทนายความมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ครั้งที่ 1/2567

กำหนดสอบวันที่ 10 มีนาคม 2567

______________________________

แบบพิมพ์ศาลที่ออกสอบบ่อย และใช้ฝึกในการสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความภาคปฏิบัติ

ชีตสรุป แบบฝึกหัด สอบทนายความ ภาคทฤษฎี

ทบทวน สรุปย่อ สอบทนายความ ภาคปฏิบัติ

0 0 votes
Article Rating
(Visited 119,021 times, 1 visits today)
Subscribe
Notify of
guest
17 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
trackback
5 years ago

[…] คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก […]

trackback
5 years ago

[…] คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก (Visited 81 times, 4 visits today) Tagged ยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ระบบอิเล็กทรอนิกส์ e Filling of the Heritage Management Csae […]

นายชวัลวิทย์ มั่นศักดิ์
นายชวัลวิทย์ มั่นศักดิ์
4 years ago

อยากได้แบบฟอร์มคำร้องตั้งผู้จัดการมรดก ตามพินัยกรรม ขอบคุณครับ

ประวิทย์
ประวิทย์
4 years ago

ผู้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ต้อง เป็นทนายความ เท่านั้นมั้ยครับ
หรือคนบุคลทั่วไป ทุกอาชีพ สามารถ ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ และยื่นเรื่องเองได้

พงษ์สธร
พงษ์สธร
4 years ago

สอบถามครับ
ในกรณี บิดามาร เจ้ามรดก เสียไปนานแล้ว แต่ไม่มีใบมรณะบัตร​ต้องเขียน คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกอย่างไร

บุญฑริกา
บุญฑริกา
4 years ago

จำเป็นหรือไม่คะที่ต้องระบุทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตายค่ะ เพราะบางอย่างหาเอกสารไม่เจอ และบางอย่างก็ไม่ทราบค่

จุฑามาศ
จุฑามาศ
4 years ago

กองมรดกของผู้ตาย ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ บรรพ 6 มาตรา 1600 คืออะไบ้างค๊ะ

โต่
โต่
2 years ago

เนื้อหา เป็นประโยชน์มาก ขอบคุณทนาย คอมพิวเตอร์

นาย อธิชัย ตันเซัยน
นาย อธิชัย ตันเซัยน
2 years ago

กรณีทายาทโดยธรรมลำดับที่3 มีอายุมากแล้วและต้องการให้หลานชายเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกซึ่งเสียชีวิตไปแล้วโดยครองสถานะโสดไม่เคยสมรสทั้งในสมรสและนอกสมรส และไม่มีบุตรผู้สืบสันดาน จนกระทั่งถึงแก่ความตาย ไม่ได้ทำพินัยกรรมเอาไว้ หลานชายของทายาทโดยธรรมลำดับที่3 สามารถรับมอบอำนาจจากทายาทโดยธรรมเพื่อร้องต่อศาลให้แต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้หรือไม่ ถ้าได้ต้องใช้แบบฟอร์มอะไรบ้างครับ