บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดลหุโทษ

บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดลหุโทษ

กฎหมายได้บัญญัติให้นำหลักเกณฑ์ทั่วไปของกฎหมายอาญาในลักษณะ 1 มาใช้กับความผิดลหุโทษด้วย เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษในมาตรา 104,105 และ 106 ซึ่งกฎหมายได้บัญัติให้แตกต่างไปจากความผิดสามัญ

อายุความอาญา

อายุความอาญา

การฟ้องคดีและฟ้องขอให้กักกันผู้กระทำความผิดต่อศาลนั้น จะต้องกระทำภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นจะฟ้องร้องผู้นั้นไม่ได้

การลงโทษผู้กระทำความผิดตามคำพิพากษาของศาล จะต้องกระทำภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

การบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัยจะต้องกระทำภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

กระทำความผิดอีก

การกระทำความผิดอีก

ผู้ที่เคยถูกลงโทษจำคุกมาแล้ว หากได้กระทำความผิดอีกภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและศาลจะลงโทษจำคุก
ผู้นั้นอาจถูกเพิ่มโทษให้หนักขึ้นอีกหนึ่งในสามได้

ผู้ที่เคยถูกลงโทษจำคุกไม่น้อยกว่า 6 เดือนมาแล้ว หากได้กระทำความผิดซ้ำในความผิดประเภทเดียวกันอีก ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและศาลจะลงโทษจำคุก ผู้นั้นอาจจะถูกเพิ่มโทษให้นักขึ้นอีกกึ่งหนึ่งได้

ความผิดที่กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ และความผิดซึ่งกระทำในขณะมีอายุยังไม่เกิน 18 ปี ไม่ถือเป็นเหตุเพิ่มโทษ

ประธานทนายความ-48-49-50-แสดงความยินดี-ดร-ถวัลย์-รุยาพร

เปิดอบรมวิชาว่าความภาคทฤษฎี รุ่น 52

17 พฤษภาคม 2562 วันแรกของการเปิดการฝึกอบรมวิชาว่าความภาคทฤษฎี รุ่นที่ 52 ในโอกาสนี้ ประธานทนายความ รุ่น 48,49,50 เข้าแสดงความยินดีกับ ดร.ถวัลย์ รุยาพร ที่ชนะการเลือกตั้งเป็นนายกสภาทนายความอีกสมัยหนึ่ง

การกระทำความผิดหลายบทหรืหลายกระทง

การกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทง

มาตรา 90
เมื่อการกระทำใดอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด
มาตรา 91
เมื่อปรากฎว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนด ดังต่อไปนี้

(1) สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี

(2) ยี่สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี

(3) ห้าสิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสิบปีขึ้นไป เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต

ตัวการและผู้สนันสนุน

ตัวการและผู้สนับสนุน

ตัวการในการกระทำความผิด คือ บุคคลที่มีการกระทำร่วมและเจตนาร่วมกับบุคคลอื่นในการกระทำความผิดอาญา

ผู้ใช้ คือ บุคคลที่ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด โดยที่ตนเองมิได้มีส่วนร่วมกระทำความผิดนั้นด้วย ผู้ใช้อาจเจาะจงให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือใช้วิธีโฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปก็ได้

ผู้สนับสนุน เป็นผู้ที่ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำผิดก่อนหรือในขณะกระทำความผิด

พยายามกระทำความผิด

มาตรา 80
ผู้ใดลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอด หรือกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล ผู้นัันพยายามกระทำความผิด
มาตรา 81
ผู้ใดกระทำการโดยมุ่งต่อผลซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด แต่การกระทำนั้นไม่สามารถจะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำหรือเหตุแห่งวัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อให้ถือว่าผู้นั้นพยายามกระทำความผิดแต่ให้ลงโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
ถ้าการกระทำดังกล่าวในวรรคแรกได้กระทำไปโดยความเชื่ออย่างงมงาย ศาลจะไม่ลงโทษก็ได้
มาตรา 82
ผู้ใดพยายามกระทำความผิด หากยับยั้งเสียเองไม่กระทำการให้ตลอด หรือกลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทำนั้นบรรลุผล ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับการพยายามกระทำความผิดนั้น แต่ถ้าการที่ได้กระทำไปแล้วต้องตามบทกฎหมายที่บัญญัติเป็นความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้นๆ

ประมวลกฎหมายอาญา-โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย

โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย

หมวด 3 โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย
– ส่วนที่ 1 โทษ (18-38)
– ส่วนที่ 2 วิธีการเพื่อความปลอดภัย (39-50)
– ส่วนที่ 3 วิธีเพิ่มโทษ ลดโทษ และการรอการลงโทษ (51-58)

ประมวลกฎหมายอาญา-มาตรา-1-นาวิน-ขำแป้น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 บทนิยาม

(1) “โดยทุจริต”
(2) “ทางสาธารณะ ”
(3) “สาธารณสถาน”
(4) “เคหสถาน”
(5) “อาวุธ”
(6) “ใช้กำลังประทุษร้าย”
(7) “เอกสาร”
(8) “เอกสารราชการ”
(9) “เอกสารสิทธิ”
(10) “ลายมือชื่อ”
(11) “กลางคืน”
(12) “คุมขัง”
(13) “ค่าไถ่”
(14) “บัตรอิเล็กทรอนิกส์”
(15) “หนังสือเดินทาง”
(16) “เจ้าพนักงาน”
(17) “สื่อลามกอนาจารเด็ก”
(18) “กระทำชำเรา”

ไม่มีความผิด-ไม่มีโทษ-ถ้าไม่มีกฎหมาย

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ ถ้าไม่มีกฎหมาย

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2
บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้ารับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง

10369-2559-ลักทรัพย์นายจ้าง-ทนายความ-นาวิน-ขำแป้น

ลักทรัพย์นายจ้าง คำพิพากษาฎีกาที่ 10369/2559

จำเลยขายสินค้าของผู้เสียหายได้รับเงินค่าสินค้ามา แทนที่จำเลยจะรวบรวมนำส่งเงินไปฝากธนาคาร แต่จำเลยนำเงินนั้นไปเป็นของจำเลยแล้วใช้วิธีการเปลี่ยนแปลงรายการสินค้าในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้ยอดสินค้าในระบบคอมพิวเตอร์ตรงกับจำนวนเงินที่ผู้เสียหายควรได้รับมาจากการจำหน่าย #อันเป็นวิธีการที่ผู้เสียหายจะไม่ทราบว่าจำเลยไม่ได้นำส่งเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้เสียหาย ต่อเมื่อตรวจสอบสต๊อกสินค้าแล้วจึงจะทราบว่าจำนวนสินค้าไม่ตรงกับจำนวนเงินที่มีการจำหน่าย ดังนี้เงินที่จำเลยรับมาจากลูกค้าซึ่งได้จากการจำหน่ายสินค้า #เป็นการรับเงินไว้ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะของลูกจ้างของผู้เสียหาย เพียงแต่ให้จำเลยยึดถือไว้ชั่วคราวอำนาจในการครอบครองควบคุมดูแลทรัพย์สินยังเป็นของนายจ้างผู้เสียหายไม่ได้ส่งมอบการครอบครองให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยเอาเงินของผู้เสียหายไป #จึงเป็นการเอาเงินไปโดยเจตนาทุจริตเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ของผู้เสียหายที่เป็นนายจ้างตาม ป.อ. มาตรา 335(11) วรรคแรก มิใช่ความผิดฐานยักยอก

กฎหมายอาญา มาตรา 352 ยักยอกทรัพย์

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ความผิดฐานยักยอก

ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่นหรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใดหรือเป็นทรัพย์สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระวางโทษแต่เพียงกึ่งหนึ่ง

ประมวลกฎหมายอาญา-ภาค-2-ความผิด-นาวิน-ขำแป้น

ประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ความผิด

ลักษณะ 1 ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
ลักษณะ 1/1 ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย
ลักษณะ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง
ลักษณะ 3 ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม
ลักษณะ 4 ความผิดเกี่ยวกับศาสนา
ลักษณะ 5 ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน
ลักษณะ 6 ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน
ลักษณะ 7 ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง
ลักษณะ 8 ความผิดเกี่ยวกับการค้า
ลักษณะ 9 ความผิดเกี่ยวกับเพศ
ลักษณะ 10 ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
ลักษณะ 11 ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง
ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
ลักษณะ 13 ความผิดเกี่ยวกับศพ

ประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป

ลักษณะ 1 : บทบัญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป
หมวด 1 บทนิยาม (1)
หมวด 2 การใช้กฎหมายอาญา (2-17)
หมวด 3 โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย
– ส่วนที่ 1 โทษ (18-38)
– ส่วนที่ 2 วิธีการเพื่อความปลอดภัย (39-50)
– ส่วนที่ 3 วิธีเพิ่มโทษ ลดโทษ และการรอการลงโทษ (51-58)
หมวด 4 ความรับผิดในทางอาญา (59-79)
หมวด 5 การพยายามกระทำความผิด (80-82)
หมวด 6 ตัวการและผู้สนับสนุน (83-89)
หมวด 7 การกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทง (90-91)
หมวด 8 การกระทำความผิดอีก (92-94)
หมวด 9 อายุความ (95-101)
ลักษณะ 2 : บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดลหุโทษ (102-106)

ประมวลกฎหมายอาญา มี 3 ภาค

ประมวลกฎหมายอาญา มี 3 ภาค

ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป – (มาตรา 1-106)

ภาค 2 ความผิด – (มาตรา 107-366/4)

ภาค 3 ลหุโทษ – (มาตรา 367-398)

ฟ้อง-รับเด็กเป็นบุตร-ทนายความ-นาวิน-ขำแป้น

การฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตร

การฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรเป็นกรณีที่ฝ่ายเด็กประสงค์จะให้เด็กนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาผู้ให้กำเนิด ซึ่งอาจเป็นกรณีที่บิดาไม่เต็มใจที่จะรับเด็กนั้นไว้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายทั้งที่เด็กนั้นเป็นบุตรของตนหรือกรณีที่บิดาตายก่อนที่จะสมรสกับมารดา หรือก่อนจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร

ปิดการลงชื่อเพื่อเข้าร่วมงาน สังสรรค์ ทนายความ

ลงชื่อเพื่อร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์ปีใหม่ทนายความ 2562 ในวันที่ 1 มีนาคม 2562

ลงชื่อเพื่อเข้าร่วมงานเลียงสังสรรค์ 2562 สำหรับทนายความ (ฟรี)

สวัสดีปีใหม่-อ-รัตนา-ปืนแก้ว

ทนายความ 49 กราบขอบพระคุณ และ ขอพรปีใหม่จาก ท่านอาจารย์รัตนา ปืนแก้ว แห่งสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์

คณะกรรมการผู้ผ่านการสอบวิชาว่าความ รุ่นที่ 49 เข้ากราบคารวะ สวัสดีปีใหม่ 2562 และ ขอพรปีใหม่จาก ท่านอาจารย์รัตนา ปืนแก้ว แห่งสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์

สวัสดีปีใหม่-ดร-ถวัลย์-รุยาพร

ทนายความ 49 สวัสดีปีใหม่ 2562 ท่านนายกสภาทนายความฯ

เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2562 คณะกรรมการผู้สอบผ่านวิชาว่าความภาคปฏิบัติ รุ่นที่ 49 นำโดย นายนาวิน ขำแป้น ประธานผู้สอบผ่านวิชาว่าความภาคปฏิบัติ รุ่นที่ 49 นำกระเช้าของขวัญเข้า สวัสดีปีใหม่ และ ขอพรปีใหม่จาก ท่านว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร

อบรม-วิชาว่าความ-001

ทนายความ 49 ร่วมอำนวยความสะดวก การอบรมวิชาว่าความ

กิจกรรม คณะกรรมการผู้ผ่านการสอบวิชาว่าความภาคปฏิบัติ รุ่นที่ 49 เข้าร่วมประสานงานและอำนวยความสะดวกให้ผู้เข้ารับการอบรม ภาคทฤษฎี รุ่นที่ 51 ณ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ชั้น 5

ทนายความ-รุ่น-49

ทนายความ 49 รับประกาศนียบัตร

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2561 สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ แห่งสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดให้มีพิธีมอบประกาศนียบัตร ผู้ผ่านการอบรมวิชาว่าความ รุ่นที่ 49 และผู้ผ่านการทดสอบกรณีฝึกหัดงานในสำนักงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ประจำปี พ.ศ. 2561 ครั้งที่ 2/2561 และครั้งที่ 3/2561 โดยจัดขึ้น ณ หอประชุมอาคารภัทรมหาราช มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ในช่วงเช้า สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความฯ ได้จัดให้มีการอบรมจริยธรรม ในหัวข้อ “จริยธรรมในการประกอบวิชาชีพทนายความ” โดย พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ และว่าที่ ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ อบรม หัวข้อ “จริยธรรมมรรยาททนายความ” ให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมฯ ได้รับทราบถึงการปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบของจริยธรรม และศีลธรรมอันดีของวิชาชีพทนายความและผดุงความยุติธรรม เพื่อรับใช้ประชาชน และในช่วงบ่ายมีพิธีมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ผ่านการอบรมวิชาว่าความฯ โดยมี ศาสตราจารย์ (พิเศษ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ องคมนตรี ให้เกียรติมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ผ่านการอบรมวิชาว่าความฯ พร้อมด้วยว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ, ว่าที่พันตรี สมบัติ วงศ์กำแหง ผู้อำนวยการสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ แห่งสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์, นายดำรงศักดิ์ เครือแก้ว อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ, นายเกษม รังสุวรรณ์ เหรัญญิก/รองเลขาธิการ, นายชัยวัธน์ ประจงใจ นายทะเบียน, นางสาวเสาวรียา ไชยยังธัญทวี กรรมการฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย/ปฏิคม, นายเกียรติศักดิ์ เหลืองอังกูร กรรมการสวัสดิการ, ดร.สมพงษ์ สิงห์สมบุญ กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 1, นายนิพนธ์ จันทเวช กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 6, นายนุกูล สิริสุวรรณ์ กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 7 และคณะกรรมการสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความฯ เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้มีผู้ผ่านการฝึกอบรมวิชาว่าความ รุ่นที่ 49 และผู้รักษาสถานภาพฯ มีจำนวน 739 คน กรณีผู้ผ่านการฝึกหัดงานในสำนักงานแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ประจำปี พ.ศ. 2561 ครั้งที่ 2/2561 จำนวน 25 คน และครั้งที่ 3/2561 จำนวน 198 คน และกรณีสมทบ 42 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,004 คน.

ติวสอบทนายความ-รุ่น-49

ติวสอบ ทนายความ 49 (7 กันยายน 2561)

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2561 คณะกรรมการทนายความ รุ่นที่ 49 ได้จัดติวผู้อบรมวิชาว่าความภาคปฏิบัติ ณ ห้อง 3202 ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ มหาวิทยาลัยเกริก

มาตรา-264-ทำเอกสารปลอม

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 ความผิดฐานปลอมเอกสาร

ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใดเติมหรือตัดทอนข้อความหรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในเอกสารที่แท้จริง หรือประทับตราปลอมหรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสาร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดกรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม หรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อื่นนั้น ถ้าได้กระทำเพื่อนำเอาเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชน ให้ถือว่าผู้นั้นปลอมเอกสารต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

คำฟ้อง-กู้ยืมเงิน

คำฟ้อง กู้ยืมเงิน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 653
การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว

กระทำความผิดด้วยความจำเป็น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 กระทำความผิดด้วยความจำเป็น เพื่อให้ผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึง ไม่ต้องรับโทษ

ผู้ใดกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
(1) เพราะอยู่ในที่บังคับ หรือภายใต้อำนาจ ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ
(2) เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ เมื่อภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน
ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุแล้ว ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

คำร้องขอให้เป็นคนสาบสูญ

คำร้องขอให้เป็นคนสาบสูญ

คำร้องขอให้เป็นคนสาบสูญ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 61 บัญญัติว่า
“ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลำเนาเดิมหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ตลอดระยะเวลา 5 ปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญก็ได้
ระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ลดเหลือ 2 ปี
(1) นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบหรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว
(2) นับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปาง ถูกทำลายหรือสูญหายไป
(3) นับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) หรือ (2) ได้ผ่านพ้นไป ถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น”

ผู้จัดการมรดก

คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้ว จึงจะขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ แต่การจะขอตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก ผู้ที่มีสิทธิจะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก คือ ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกที่มีสิทธิรับมรดก เช่น บุตร บิดา มารดา คู่สมรสของเจ้ามรดก ผู้รับพินัยกรรมของเจ้ามรดก หรืออาจเป็นบุคคลภายนอก ผู้มีส่วนได้เสียก็ได้ เช่น เจ้าของร่วมในทรัพย์สินของเจ้ามรดก หรือพนักงานอัยการ

ผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดก ต้องบรรลุนิติภาวะแล้ว และไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ และไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย

การยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ต้องยื่นคำร้องที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลนั้นในขณะถึงแก่ความตายแต่ในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไทย ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตอำนาจศาล

ผู้จัดการมรดก เป็นตัวแทนของทายาททั้งหมด มีหน้าที่ในการรวบรวมทรัพย์มรดก แบ่งให้กับทายาท ทั้งมีอำนาจในการดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญา ต่อผู้ที่กระทำความเสียหายแก่กองมรดกด้วย

คำร้องขอให้ชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย

คำขอให้ชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย

หลักกฎหมาย ประมวลกฎหมายวิธีพิจ […]

คำร้องขอฟ้องคดีโดยยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล

คำร้องขอฟ้องคดีโดยยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล (อย่างคนอนาถา)

คำร้องขอฟ้องคดีโดยยกเว้นค่าธรร […]

คำร้องขอในเหตุฉุกเฉิน

คำร้องขอในเหตุฉุกเฉิน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 266

คำร้องขอในเหตุฉุกเฉิน ตามประมว […]

คำร้องขอหมายเรียกพยานบุคคล

คำร้องขอหมายเรียกพยานบุคคล คดีแพ่ง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ […]

คำร้องขอแก้ไขชื่อจำเลย

คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง

หลักการบรรยาย

1. คดีอยู่ในขั้นตอนใด
2. ขอแก้ข้อความจากคำฟ้องหน้าที่เท่าไร บรรทัดที่เท่าไร
3. ข้อความเดิมมีว่าอย่างไร
4. นอกจากที่แก้ไขใหม่ ให้คงเป็นไปตามคำฟ้องเดิมทุกประการ
5. เป็นการแก้ไขคำฟ้องเล็กน้อยเนื่องจากเหตุผลใด เช่น พิมพ์ผิดพลาด หรือ คำนวนตัวเลขผิดพลาด

คำร้องขอให้ชนะคดีโดยขาดนัด

คำร้องขอให้ชนะคดีโดยขาดนัด

การพิจารณาโดยขาดนัด อยู่ใน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ภาค 2 วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น
ลักษณะ 2 วิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้น
หมวด 2 การพิจารณาโดยขาดนัด
ส่วนที่ 1 การขาดนัดยื่นคำให้การ

คำร้องขอเรียกคู่ความเข้ามาแทนที่คู่ความผู้มรณะ

คำร้องขอเรียกคู่ความเข้ามาแทนที่คู่ความผู้มรณะ

หลักการบรรยาย
1. โจทก์หรือจำเลยถึงแก่กรรมเมื่อไร
2. ทายาทของโจทก์หรือจำเลยผู้มรณะคือไคร
3. ขอให้ศาลหมายเรียกทายาทของโจทก์หรือจำเลยผู้มรณะเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่

คำร้องของคุ้มครองชั่วคราว

คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 254

คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว ตามปร […]

คำแถลงขอให้ปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง

คำแถลงขอให้ปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ […]

คำแถลงขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม

ป้องกัน: คำแถลงขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม

ไม่มีคำเกริ่นนำเพราะว่านี่เป็นเรื่องที่ถูกป้องกัน

คำแถลงขอคัดคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล

คำแถลงขอคัดคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147
    “คำพิพากษาหรือคำสั่งใด ซึ่งตามกฎหมายจะอุทธรณ์หรือฎีกาหรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้นั้น ให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านเป็นต้นไป
     คำพิพากษาหรือคำสั่งใด ซึ่งอาจอุทธรณ์ฎีกา หรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ได้นั้นถ้ามิได้อุทธรณ์ฎีกา หรือร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายในเวลาที่กำหนดไว้ ให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาเช่นว่านั้นได้สิ้นสุดลง ถ้าได้มีอุทธรณ์ฎีกา หรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาหรือศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาคดีเรื่องนั้นใหม่ มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 132 คำพิพากษาหรือคำสั่งเช่นว่านั้น ให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่วันที่มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ
     คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาคดีนั้น ให้ออกใบสำคัญแสดงว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว”

คำแถลงขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องทางไปรษณีย์

คำแถลงขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องทางไปรษณีย์

คำแถลงขอให้ส่งหมายเรียกและสำเน […]

หมายเรียกพยานบุคคล-01

คำร้องขอหมายเรียกพยานบุคคล

ตัวอย่างการเขียน หมายเรียกพยาน […]

ขอเข้าเป็นโจทก์-ร่วมกับพนักงานอัยการ

ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ

ขอถอนฟ้องเพื่อเข้าเป็นโจทก์ร่ว […]

คำร้องทุกข์-นาวิน-ขำแป้น

แจ้งความร้องทุกข์ (คำร้องทุกข์)

สาระสำคัญของคำร้องทุกข์ที่ลืมไม่ได้ คือ ต้องให้พนักงานสอบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หากเพียงมาแจ้งความไว้เป็นหลักฐานไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์

พินัยกรรม-โดย-นาวิน-ขำแป้น

พินัยกรรม

พินัยกรรมแบ่งออกเป็น 6 แบบ คือ
1. พินัยกรรมแบบธรรมดา
2. พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
3. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
5. พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา
6. พินัยกรรมแบบทำตามกฎหมายต่างประเทศ

สัญญาประนีประนอมยอมความ-นอกศาล-โดย-นาวิน-ขำแป้น

สัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 850, 851, 852

    สัญญาประนีประนอม […]

สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง

สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาต […]

มาตรา-1382-ครอบครองปรปักษ์-by-นาวิน-ขำแป้น

การเขียนคำร้องขอให้ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์

ประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 1382
” บุคคลใดครองครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ โดยความสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ “

สัญญาประนีประนอมยอมความในศาล [แบบพิมพ์ศาล หมายเลข (๒๙)]

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๓๘ บัญญัติว่า
” ในคดีที่คู่ความตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดี โดยมิได้มีการถอนคำฟ้องนั้น และข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความกันนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ให้ศาลจดรายงานพิสดารแสดงข้อความแห่งข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความเหล่านั้นไว้แล้วพิพากษาไปตามนั้น

ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาเช่นว่านี้ เว้นแต่ในเหตุต่อไปนี้

(๑) เมื่อมีข้อกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล

(๒) เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

(๓) เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่ามิได้เป็นไปตามข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความ

ถ้าคู่ความตกลงกันเพียงแต่ให้เสนอคดีต่ออนุญาโตตุลาการ ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับ “

ถอดเทป-บรรยาย-ปฏิบัติ-48-by-นาวิน-ขำแป้น

ป้องกัน: ถอดเทปจากการบรรยายการฝึกอบรมเพื่อ สอบ ทนายความ ภาคปฏิบัติรุ่น 48

ไม่มีคำเกริ่นนำเพราะว่านี่เป็นเรื่องที่ถูกป้องกัน

ระยะเวลาแจ้งผู้ค้ำประกัน-นาวิน-ขำแป้น

ป้องกัน: ระยะเวลาการทำหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 686

ไม่มีคำเกริ่นนำเพราะว่านี่เป็นเรื่องที่ถูกป้องกัน

ป-วิแพ่ง-มาตรา-88-นาวิน-ขำแป้น

ป้องกัน: การยื่นบัญชีระบุพยาน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88

ไม่มีคำเกริ่นนำเพราะว่านี่เป็นเรื่องที่ถูกป้องกัน

สัญญากู้เงิน-นาวิน-ขำแป้น

สัญญากู้เงิน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 653  การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
         ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว

หนังสือ-ให้คำปรึกษากฎหมาย-นาวิน-ขำแป้น

ป้องกัน: หนังสือให้คำปรึกษากฎหมาย

ไม่มีคำเกริ่นนำเพราะว่านี่เป็นเรื่องที่ถูกป้องกัน

notice-หนังสือ-บอกกล่าว-ทวงถาม-ติวทนาย-นาวิน-ขำแป้น

ป้องกัน: หนังสือบอกกล่าวทวงถาม

ไม่มีคำเกริ่นนำเพราะว่านี่เป็นเรื่องที่ถูกป้องกัน

ผลสอบภาคปฏิบัติทนายความรุ่นที่ 47

ผลสอบภาคปฏิบัติทนายความรุ่นที่ […]

คำฟ้อง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(3) “คำฟ้อง”

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ […]

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(6) "คำแถลงการณ์"

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(6) “คำแถลงการณ์”

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ […]

กระบวนพิจารณา

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(7) “กระบวนพิจารณา”

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ […]

ป-วิ-อ-มาตรา-150

ผู้มีหน้าที่ชันสูตรพลิกศพ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150

ผู้มีหน้าที่ชันสูตรพลิกศพ&nbsp […]

อาญา-มาตรา-371-นาวิน-ขำแป้น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 พาอาวุธไปในเมือง

ผู้ใดพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผย หรือโดยไม่มีเหตุสมควร หรือพาไปในชุมนุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริงหรือการอื่นใด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท และให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบอาวุธนั้น

ป-อาญา-มาตรา-393-นาวิน-ขำแป้น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 ดูหมิ่นซึ่งหน้า (คำพูดที่ผิดกฎหมาย)

ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า หรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ