มาตรา-1382-ครอบครองปรปักษ์-by-นาวิน-ขำแป้น

การเขียนคำร้องขอให้ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, คดีไม่มีข้อพิพาท, คำร้องขอให้ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์, ประมวลกฎหมาย, กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน, ติวสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ, กฎหมาย
มาตรา-1382-ครอบครองปรปักษ์-by-นาวิน-ขำแป้น
มาตรา-1382-ครอบครองปรปักษ์-by-นาวิน-ขำแป้น

ประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 1382

” บุคคลใดครองครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ โดยความสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ “

 

 

07-คำร้อง-ครอบครองปรปักษ์-2_Page_1

07-คำร้อง-ครอบครองปรปักษ์-2_Page_2

 

 

 

คำร้อง-ครอบครองปรปักษ์-มาตรา-1382_Page_1

 

คำร้อง-ครอบครองปรปักษ์-มาตรา-1382_Page_2

คำร้อง-ครอบครองปรปักษ์-มาตรา-1382_Page_3

 

แบบพิมพ์ศาลที่ใช้ฝึก ทนายความภาคปฏิบัติ (๗) คำร้อง / คำแถลง / คำขอ

 

แบบพิมพ์ศาลใช้งานจริง  (๗) คำร้อง / คำแถลง / คำขอ

 

 

การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ไม่ไช่สิทธิเฉพาะตัวของผู้ครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12735/2555

คำพิพากษาย่อสั้น

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ว. มารดาของผู้ร้องได้เข้าครอบครองที่ดินบางส่วนของที่ดินโฉนดเลขที่ 917 และที่ดินบางส่วนของที่ดินโฉนดที่ 918 ทางทิศตะวันตกของ ท. โดยสงบเปิดเผยและด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2529 ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานกว่า 22 ปี หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำร้องขอ ว. มารดาของผู้ร้องย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินบางส่วนทางทิศตะวันตกของที่ดินโฉนดเลขที่ 917 และโฉนดเลขที่ 918 โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 อันเป็นการได้มาซึ่งทรัพยสิทธิจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้และตกทอดแก่ผู้ร้องและทายาทอื่นที่เป็นบุตรของ ว. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และมาตรา 1600 และแม้ผู้ร้องกับทายาททั้งหมดเพิ่งทราบว่า ว. มารดาของผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองภายหลัง ก็ไม่ทำให้ทรัพยสิทธิที่มารดาของผู้ร้องได้มาและเป็นมรดกตกทอดแก่ผู้ร้องกับทายาทอื่นเสียไป ทั้งการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวของผู้ครอบครอง ประกอบกับผู้ร้องมีสิทธิที่จะขอจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกตาม ป.ที่ดิน มาตรา 81 โดยที่ดินที่ผู้ร้องอ้างว่าเจ้ามรดกได้มาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ซึ่งต้องดำเนินการขอจดทะเบียนสิทธิตามมาตรา 78 ก่อน ผู้ร้องในฐานะทายาทผู้รับมรดกจาก ว. มารดาของผู้ร้องจึงมีสิทธิตามกฎหมายที่จะยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่เป็นมรดกตกทอดมายังผู้ร้องและทายาทอื่นได้

คำพิพากษาย่อยาว

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอศาลไต่สวนและมีคำสั่งแสดงว่า ที่ดินบางส่วนของโฉนดที่ดินเลขที่ 917 และ 918 ดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนางวาสนาโดยการครอบครองปรปักษ์ เพื่อผู้ร้องและทายาทของนางวาสนารับมรดกในที่ดินดังกล่าวต่อไป
ผู้คัดค้านทั้งสองยื่นคำคัดค้าน ขอให้ยกคำร้องขอ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอ ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับผู้ร้องอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้ผู้ร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาว่าเป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งอนุญาตให้ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แต่ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาเพียงว่าสำเนาให้ผู้คัดค้านทั้งสองพร้อมอุทธรณ์ หากจะคัดค้านให้ยื่นภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันได้รับอุทธรณ์ ให้ผู้ร้องนำส่งไม่มีผู้รับให้ปิด ซึ่งแม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งอนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แต่ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ร้องพอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว และศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายของผู้ร้องต่อไป
ปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้ร้องมีว่า ผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขออ้างว่านางวาสนามารดาของผู้ร้องได้เข้าครอบครองที่ดินบางส่วนของที่ดินโฉนดเลขที่ 917 ทางทิศตะวันตกเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ 2 งาน และที่ดินบางส่วนของที่ดินโฉนดเลขที่ 918 ทางทิศตะวันตกเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ของนายเทียนฉาย โดยสงบเปิดเผยและด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2529 ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานกว่า 22 ปี ซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำร้องขอ นางวาสนามารดาของผู้ร้องย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินบางส่วนทางทิศตะวันตกของที่ดินโฉนดเลขที่ 917 และโฉนดเลขที่ 918 โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 อันเป็นการได้มาซึ่งทรัพยสิทธิจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้และตกทอดแก่ผู้ร้องและทายาทอื่นที่เป็นบุตรของนางวาสนาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 และมาตรา 1600 และแม้ผู้ร้องกับทายาททั้งหมดเพิ่งทราบว่านางวาสนามารดาของผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองภายหลังการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 11371 ให้แก่น้องชายและน้องสาวของผู้ร้อง ก็ไม่ทำให้ทรัพยสิทธิที่มารดาของผู้ร้องได้มาและเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท คือผู้ร้องกับทายาทอื่นเสียไป ทั้งการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวของผู้ครอบครองประกอบกับผู้ร้อง มีสิทธิที่จะขอจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81 โดยอสังหาริมทรัพย์คดีนี้เป็นที่ดินที่ผู้ร้องอ้างว่าเจ้ามรดกได้มาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ซึ่งต้องดำเนินการขอจดทะเบียนสิทธิตามมาตรา 78 ก่อน ผู้ร้องในฐานะทายาทผู้รับมรดกจากนางวาสนามารดาของผู้ร้องจึงมีสิทธิตามกฎหมายที่จะยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่เป็นมรดกตกทอดมายังผู้ร้องและทายาทอื่นได้ และเนื่องจากศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า นางวาสนามารดาของผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 หรือไม่ แม้ผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งสองจะได้นำสืบพยานหลักฐานมาครบถ้วนแล้ว แต่เพื่อให้การวินิจฉัยคดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาลจึงเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ว่านางวาสนามารดาของผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองหรือไม่ก่อน
พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
  • พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 78
  • พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 81

ผู้พิพากษา

สถิตย์ ทาวุฒิ
ปริญญา ดีผดุง
ธัชพันธ์ ประพุทธนิติสาร

ครอบครองที่ดินมรดกตกทอดหาใช่การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของผู้อื่นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1355/2539

คำพิพากษาย่อสั้น

คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นที่ดินมรดกตกทอดจากปู่ย่าตายายมาเป็นของจำเลยแม้จะให้การว่าได้ครอบครองที่ดินด้วยความสงบเปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของแต่ก็เป็นการครอบครองที่ดินที่อ้างว่าจำเลยมีสิทธิอยู่แล้วกรณีหาใช่การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของผู้อื่นไม่ปัญหาเรื่องการครอบครองที่ดินปรปักษ์ของผู้อื่นจึงเป็นเรื่องนอกคำให้การไม่ก่อให้เกิดประเด็นถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นกันมาในศาลชั้นต้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดเลขที่3917ของโจทก์อันเป็นหลักฐานแสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ส่วนแบบแจ้งการครอบครอง(ส.ค.1)ที่จำเลยอ้างเป็นหลักฐานว่าจำเลยที่1เป็นเจ้าของที่ดินมิใช่หลักฐานแสดงว่าเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่า

คำพิพากษาย่อยาว

คดีทั้งสามสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณารวมกันโดยให้เรียกจำเลยในสำนวนที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เป็นจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3ตามลำดับ
โจทก์ทั้งสามสำนวนฟ้องเป็นใจความทำนองเดียวกันว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ขออาศัยที่ดินเฉพาะส่วนทางทิศใต้จากมารดาโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2ปลูกบ้านลงบนที่ดินดังกล่าว และเมื่อประมาณ 3 ถึง 4 ปี จำเลยที่ 3ปลูกบ้านลงบนที่ดินดังกล่าวโดยอ้างว่าเป็นที่ดินนาง ถ. โจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยทั้งสามอยู่ในที่ดินต่อไป จึงบอกกล่าวให้จำเลยทั้งสามรื้อถอนบ้านและสิ่งปลูกสร้างออกไป แต่จำเลยทั้งสามเพิกเฉยขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสามและบริวารพร้อมทั้งรื้อถอนบ้านและสิ่งปลูกสร้างอื่นออกไปจากที่ดินของโจทก์ และให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์คนละ 100 บาท ต่อเดือนนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสามจะรื้อถอนบ้านและสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินโจทก์
จำเลยทั้งสามให้การทำนองเดียวกันว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) เดิมเป็นของนาง น.เมื่อนาง น. ตายจึงเป็นมรดกตกแก่นางอิ่ม แข่งขัน ซึ่งเป็นบุตรนางอิ่มครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา จน พ.ศ. 2497 จึงไปแจ้งการครอบครองต่อทางราชการเมื่อประมาณ 30 ปีมาแล้ว นางอิ่มยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 และนางถนอม ปานประเสริฐ ภรรยาจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นบุตร หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 และนาง ถ. ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยความสงบ เปิดเผยอย่างเป็นเจ้าของตลอดมาจนปัจจุบันที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 และนาง ถ.ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นสามีและบุตรของนาง ถ. อยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของนาง ถ. ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้ขับไล่จำเลยทั้งสามพร้อมบริวาร และให้รื้อถอนบ้าน และสิ่งปลูกสร้างอื่นของจำเลยทั้งสามออกจากที่ดิน และให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์คนละ 100 บาท ต่อเดือนนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะรื้อถอนบ้านและสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินดังกล่าว
จำเลยทั้งสามสำนวนอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง ยกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2และที่ 3
โจทก์ทั้งสามสำนวนฎีกาโดยผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติในเบื้องต้น ตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสามนำสืบรับกันว่า จำเลยทั้งสามปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินพิพาทตามแผนที่วิวาทเอกสารหมาย จ.2และศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงต้องตรงกันโดยโจทก์และจำเลยทั้งสามมิได้ฎีกาโต้เถียงว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของโฉนดเลขที่ 3917ของโจทก์ ตามเอกสารหมาย จ.1 คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยในชั้นนี้ตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสามจะต้องออกไปจากที่ดินพิพาทหรือไม่สำหรับประเด็นนี้ศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลยทั้งสามปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินโฉนดเลขที่ 3917 ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินดังกล่าว พิพากษาให้ขับไล่จำเลยทั้งสามและบริวาร ศาลอุทธรณ์เห็นว่า แม้ที่ดินพิพาทจะเป็นส่วนหนึ่งของโฉนดเลขที่ 3917 ของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.1 ก็ตาม แต่จำเลยที่ 1ก็ได้ครอบครองที่ดินดังกล่าว ด้วยความสงบ เปิดเผยและด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเกินกว่า 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์โดยอายุความครอบครองปรปักษ์แล้วพิพากษายกฟ้อง ศาลฎีกาพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การของจำเลยแล้วคดีทั้งสามสำนวนนี้ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลูกบ้านอาศัยอยู่ในที่ดินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโฉนดเลขที่ 3917ของโจทก์ ขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสามให้การทำนองเดียวกันว่าที่ดินที่จำเลยปลูกบ้านอยู่นั้นเป็นที่มรดกตกทอดมาจากปู่ ย่าตา ยาย จนถึงจำเลยที่ 1 เป็นที่ดินมีการแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) ถูกต้องตามกฎหมาย และจำเลยที่ 1 กับพวกได้ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมากว่า 30 ปีด้วยความสงบ เปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของ ศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมรดกตกทอดมาช้านานแล้ว แม้จะให้การว่าได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวมาด้วยความสงบเปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของ แต่ก็เป็นการครอบครองที่ดินที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิอยู่แล้ว กรณีหาใช่การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของผู้อื่นไม่ ปัญหาในเรื่องการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของผู้อื่นจึงเป็นเรื่องนอกคำให้การและไม่ก่อให้เกิดประเด็นถือได้ว่า เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติทั้งสอง ศาลว่า ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดเลขที่ 3917 ของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.1 อันเป็นหลักฐานแสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ส่วนแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) ที่จำเลยอ้างเป็นหลักฐานว่าจำเลยที่ 1เป็นเจ้าของที่ดินนั้น มิใช่หลักฐานแสดงว่าเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่า กรณีจึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสามได้ปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้ออกไป จำเลยจึงไม่สิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทอีกต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์นั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาโจทก์ฟังขึ้น”
พิพากษากลับให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225

ผู้พิพากษา

ยงยุทธ ธารีสาร
ยรรยง ปานุราช
นิวัตน์ แก้วเกิดเคน

 

Sheet-สรุป-แบบฝึกหัด-สอบทนายความ Sheet-สรุป-แบบฝึกหัด-สอบทนายความ

______________________________

นับถอยหลัง สอบทนายความภาคทฤษฎี รุ่นที่ 63

กำหนดสอบวันที่ 4 สิงหาคม 2567

______________________________

นับถอยหลัง สอบทนายความภาคปฏิบัติ รุ่นที่ 61

กำหนดสอบวันที่ 19 พฤษภาคม 2567

______________________________

นับถอยหลัง สอบทนายความ สำหรับผู้ผ่านการฝึกหัดงานในสำนักงานทนายความมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ครั้งที่ 1/2567

กำหนดสอบวันที่ 10 มีนาคม 2567

______________________________

ชีตสรุป แบบฝึกหัด สอบทนายความ ภาคทฤษฎี

ทบทวน สรุปย่อ สอบทนายความ ภาคปฏิบัติ

5 1 vote
Article Rating
(Visited 16,551 times, 1 visits today)
Subscribe
Notify of
guest
2 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
trackback
4 years ago

[…] การเขียนคำร้อง&#… (Visited 1 times, 1 visits today) Tagged ครอบครองปรปักษ์ […]