หนังสือ-บอกกล่าว-บังคับจำนอง-นาวิน-ขำแป้น

การเขียนหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนอง

หนังสือบอกกล่าวบังคับจำนอง, หนังสือ, ติวสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ
หนังสือ-บอกกล่าว-บังคับจำนอง
หนังสือ-บอกกล่าว-บังคับจำนอง
หนังสือบอกกล่าว-บังคับจำนอง
หนังสือบอกกล่าว-บังคับจำนอง
หนังสือ-บอกกล่าวบังคับจำนอง
หนังสือ-บอกกล่าวบังคับจำนอง

 

หนังสือบอกกล่าวบังคับจำนอง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 727/1

“ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ผู้จำนองซึ่งจำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระ ไม่ต้องรับผิดในหนี้นั้นเกินราคาทรัพย์สินที่จำนองในเวลาที่บังคับจำนองหรือเอาทรัพย์จำนองหลุด

    ข้อตกลงใดอันมีผลให้ผู้จำนองรับผิดเกินที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง หรือให้ผู้จำนองรับผิดอย่างผู้ค้ำประกัน ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ ไม่ว่าข้อตกลงนั้นจะมีอยู่ในสัญญาจำนองหรือทำเป็นข้อตกลงต่างหาก ทั้งนี้ เว้นแต่ เป็นกรณีที่นิติบุคคลเป็นลูกหนี้และบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการตามกฎหมายหรือบุคคลที่มีอำนาจควบคุมการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นเป็นผู้จำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้นั้นของนิติบุคคลและผู้จำนองได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้เป็นสัญญาต่างหาก”

ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 728

“เมื่อจะบังคับจำนองนั้น ผู้รับจำนองต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งต้องไม่น้อยกว่าหกสิบวันนับแต่วันที่ลูกหนี้ได้รับคำบอกกล่าวนั้น ถ้าและลูกหนี้ละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว ผู้รับจำนองจะฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้พิพากษาสั่งให้ยึดทรัพย์สินซึ่งจำนองและให้ขายทอดตลาดก็ได้

     ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นกรณีผู้จำนองซึ่งจำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นต้องชำระ ผู้รับจำนองต้องส่งหนังสือบอกกล่าวดังกล่าวให้ผู้จำนองทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ส่งหนังสือแจ้งให้ลูกหนี้ทราบ ถ้าผู้รับจำนองมิได้ดำเนินการภายในกำหนดเวลาสิบห้าวันนั้น ให้ผู้จำนองเช่นว่านั้นหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งลูกหนี้ค้างชำระ ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นบรรดาที่เกิดขึ้นนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาสิบห้าวันดังกล่าว”

 

 ” เมื่อจะบังคับจำนอง “ จึงจะบอกกล่าวบังคับจำนอง [ ” ถ้ายังไม่ฟ้องบังคับจำนอง ” ยังไม่ต้องบอกกล่าว ]

พระราชบัญญัติเรื่องการค้ำประกันและจำนองฉบับใหม่ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ ฉบับที่ 20) ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2557 มีผลใช้บังคับเมื่อพ้น 90 วัน คือตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 เป็นต้นไป

พระราชบัญญัตินี้ มีเจตนาแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการค้ำประกันและจำนองของไทยให้ทันสมัยและเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายมากยิ่งขึ้นโดยป้องกันไม่ให้สถาบันการเงินหรือเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืม ใช้อำนาจต่อรองที่เหนือกว่าทำสัญญาค้ำประกันและจำนองที่มีข้อตกลง ยกเว้นบทบัญญัติของกฎหมายและเอาเปรียบผู้ค้ำประกันและผู้จำนองจนเกินสมควร

ผู้จำนองไม่ต้องรับผิดในหนี้เกินกว่าราคาทรัพย์สินที่จำนองและมีสิทธิขอให้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองโดยไม่ต้องฟ้องคดี

สัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองที่ทำขึ้นก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ สามารถใช้บังคับได้ต่อไป เว้นแต่ พระราชบัญญัตินี้บัญัติไว้เป็นอย่าอื่น

ผู้จำนองต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ชั้นต้น

การจำนองเป็นการเอาทรัพย์สินตราไว้แก่ผู้รับจำนองเป็นประกันการชำระหนี้

– ไม่ได้บัญญัติให้ผู้จำนองชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ชั้นต้นไม่ชำระหนี้เหมือนสัญญาค้ำประกัน ดังนั้น ผู้จำนองจึงต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ชั้นต้น ไม่มีสิทธิเกี่ยงให้เรียกจากลูกหนี้ชั้นต้นก่อนเหมือนผู้ค้ำประกัน

– ข้อตกลงให้ผู้จำนองรับผิดเกินกว่าทรัพย์จำนอง หรืออย่างผู้ค้ำประกัน ตกเป็นโมฆะ

เดิมมักมีข้อตกลงให้ผู้รับจำนองร่วมรับผิดในส่วนที่ขาดไม่บังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ต่อมา พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557 มาตรา 727/1 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 บัญญัติให้ผู้จำนองที่นำทรัพย์สินจำนองประกันหนี้ของบุคคลอื่นไม่ต้องรับผิดในหนี้นั้นเกินราคาทรัพย์ที่จำนอง

แต่ถ้าลูกหนี้ชั้นต้นนำที่ดินมาจำนองประกันหนี้ของตนเองเช่นนี้ ไม่ไช่ผู้จำนองประกันหนี้ของบุคคลอื่น ไม่อยู่ภายไต้บังคับของบทบัญญัติมาตรา 727/1 ข้อตกลงยอมรับผิดชำระหนี้เกินกว่าทรัพย์จำนองไม่ตกเป็นโมฆะใช้บังคับได้

และมาตรา 727/1 วรรค 2 บัญญัติว่า ” ข้อตกลงใดอันมีผลให้ผู้รับจำนองรับผิดเกินที่บัญญัติไว้ใน วรรค 1 หรือให้ผู้จำนองรับผิดอย่างผู้คำ้ประกันข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ….. ”

กล่าวโดยสรุปตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ข้อตกลงให้ผู้จำนองยอมรับผิดในส่วนที่ขาด เมื่อบังคับจำนองนำทรัพย์ที่จำนองออกขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ ข้อตกลงนั้นตกเป็นโมฆะ ใช้บังคับไม่ได้

Sheet-สรุป-แบบฝึกหัด-สอบทนายความ
Sheet-สรุป-แบบฝึกหัด-สอบทนายความ

______________________________

นับถอยหลัง สอบทนายความภาคทฤษฎี รุ่นที่ 62

กำหนดสอบวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2567

______________________________

5 4 votes
Article Rating
(Visited 20,554 times, 1 visits today)
Subscribe
Notify of
guest
1 Comment
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
trackback
6 years ago

[…] หนังสือบอกกล่าวบังคับจำนอง […]