20 กุมภาพันธ์ วันทนายความ

20 กุมภาพันธ์ วันทนายความ

กฎหมาย, 20 กุมภาพันธ์ วันทนายความ, ข่าวสาร, ทั่วไป

20 กุมภาพันธ์ วันทนายความ

พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528  ก่อตั้ง สภาทนายความ

วันที่ 20 กุมภาพันธ์  ของทุกปีเป็น “วันทนายความ

พ.ศ. 2500 ก่อตั้งสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยขึ้น โดยจดทะเบียนก่อตั้ง เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500

พ.ศ.2528 ออกประกาศใช้เป็นกฎหมาย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2528 และมีผลบังคับใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้

20 กุมภาพันธ์ วันทนายความ
20 กุมภาพันธ์ วันทนายความ

ประวัติความเป็นมาการก่อตั้ง “สภาทนายความ”

ความเป็นมา สภาทนายความ

 

การก่อตั้งสภาทนายความแห่งประเทศไทย

ความเจริญก้าวหน้าของวิชาชีพทนายความ ทำให้จำนวน ทนายความเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ แต่การแสดงบทบาท การเคลื่อนไหวและการรวมพลังของบรรดาทนายความยังไม่มีรูปแบบที่ เป็นเอกภาพ การรวมกลุ่มของทนายความขาดความแน่นแฟ้นเท่าที่ควร เนื่องจากขาดองค์กรหรือสถาบันในการทำหน้าที่เป็นแกนกลาง หรือเป็นศูนย์รวมอันชอบด้วยกฎหมาย จึงได้มีการริเริ่มก่อตั้ง “สมาคมทนายความ” ขึ้นจนเป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2500 เพื่อให้เป็นสถาบันอิสระทำหน้าที่เป็นตัวแทนของทนายความทั่วประเทศ ในการบำเพ็ญประโยชนต่อประชาชนและสังคมส่วนรวม ทั้งเอื้ออำนวยผลประโยชน์ ดูแลสวัสดิการแก่ทนายความด้วยกัน

ในปี พ.ศ. 2508 ได้มีการตราพระราชบัญญัติทนายความ ฉบับใหม่ขึ้นใช้โดยพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508 นี้มีการโอนอำนาจออกใบอนุญาตว่าความจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์มาให้เนติบัณฑิยสภาเป็นผู้มีอำนาจโดยเด็ดขาด เนติบัณฑิตยสภาจึงเป็นทั้งผู้ออกใบอนุญาต ผู้ควบคุมระเบียบและมรรยาททนายความ ซึ่งในขณะนั้นมีสำนักอบรมศึกษากฎหมายขึ้นในเนติบัณฑิตยสภาแล้ว อีกทั้งการควบคุมทนายความในระยะแรกๆ เนติบัณฑิตยสภามุ่งดำเนินการตามแบบเนติบัณฑิตยสภาอังกฤษ จึงกำหนดให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยต้องผ่านการสอบเป็นเนติบัณฑิตที่สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาเสียก่อนจึงจะขอจดทะเบียนเป็นทนายความชั้นหนึ่งได้ซึ่งก็หมายความว่าผู้ที่เรียนจบปริญญาตรีทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยเป็นได้เพียงทนายความชั้นสองเท่านั้นและตามบทบัญญัติให้สิทธิทนายความชั้นหนึ่งว่าความได้ทั่วราชอาณาจักร ส่วนทนายความชั้นสอง มีสิทธิว่าความได้เฉพาะต่างจังหวัดที่ได้รับใบอนุญาต ข้อกำหนดดังกล่าวเนติบัณฑิตยสภาเป็นการกดขี่และเป็นการปิดกั้นเสรีภาพของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ยิ่งก่อให้เกิดกระแสแห่งความไม่พอใจมีการเคลื่อนไหวเพื่อการต่อสู้คัดค้านกันอย่างกว้างขวางโดยใช้เวลาการต่อสู้ถึง 5 ปีเศษจึงมีการแก้ไขพระราชบัญญัติทนายความในปี พ.ศ. 2514 บัญญัติให้ผู้จบปริญญาตรีทางกฎหมายเป็นทนายความชั้นหนึ่ง มีสิทธิว่าความได้ทั่วราชอาณาจักรและยังคงให้มีทนายความชั้นสองอยู่แต่เนื่องจากในระยะเวลาต่อมามีผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเพิ่มมากขึ้นทนายความชั้นสอง จึงค่อยๆ ลดจำนวนลง

ต่อมาในปี พ. ศ. 2518 ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อสมาคมจากเดิมเป็น “สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย” ดังนั้นในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ของทุกปีจึงถือเป็น ” วันทนายความ “ อันเป็นวันสำคัญของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

                           การก่อตั้งสภาทนายความ

จากเหตุการณ์กรณีผลกระทบที่เกิดจากบทบัญญัติในพระราชบัญญัติทนายความ พ. ศ. 2508 ซึ่งเป็นการจำกัดสิทธิของทนายความทำให้เกิดผลกระทบกับบรรดาทนายความชั้นสองเองรวมถึงประชาชนที่ต้องการความรู้ความสามารถของทนายความชั้นสองก่อให้เกิดแนวความคิดประการสำคัญที่ก่อให้เกิดสถาบันของทนายความในอันที่จะทำหน้าที่ เป็นผู้ควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพทนายความเองดังเช่นที่เป็นอยู่ในนานาประเทศ สืบเนื่องจากความคิดดังกล่าวจึงมีการเคลื่อนไหวที่จะตั้งสถาบันดังกล่าวให้เป็นรูปประธรรมตามลำดับขั้นตอนกล่าวคือ

ปี พ.ศ. 2517 นายมารุต บุนนาค นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยและเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ตำแหน่งในขณะนั้น) ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติทนายความเพื่อก่อตั้งสภาทนายความเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติทนายความแต่สภานี้ได้สิ้นสภาพลง การร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงตกไปด้วย

ปีต่อมา คือปี พ. ศ. 2518 นายมงคล สุคนธขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกสภาทนายความแห่งประเทศไทยต่อจากนายมารุต บุนนาค และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา (ในขณะนั้น) พร้อมคณะได้ร่วมกันเสนอร่างพระราชบัญญัติทนายความเพื่อก่อตั้งสภาทนายความต่อสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งหนึ่งโดยในครั้งนี้สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติรับหลักการในวาระที่หนึ่งแล้วแต่รัฐบาลสมัย หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาเสียก่อนร่างพระราชบัญญัตินี้จึงตกไปอีกครั้งหนึ่ง

จนกระทั่ง พ. ศ. 2522 ซึ่งได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติทนายความขึ้นใหม่เพื่อเรียกร้องให้ได้มาซึ่งสภาทนายความ ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2533 และได้นำเสนอต่อนายชวน หลีกภัย ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีดำเนินการต่อไป ระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ติดต่อกันเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2528 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2528 เป็นต้นมา

 

 

สาระสำคัญของพระราชบัญญัติทนายความพ. ศ. 2528

ประการที่ 1 บทบัญญัติมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัตินี้บัญญัติว่า ให้มีสภาขึ้นสภาหนึ่งเรียกว่า ” สภาทนายความ” นับตั้งแต่นั้นมา

” สภาทนายความ “ จึงเป็นสถาบันนิติบุคคลของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความที่สามารถปกครองตนเอง เป็นของทนายความ เพื่อทนายความ และโดยทนายความ มาจากหลักการปกครองพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตย

ประการที่ 2 เปลี่ยนแปลงอำนาจในการจดทะเบียนและควบคุมมรรยาททนายความ จากเดิมซึ่งเป็นอำนาจของเนติบัณฑิตยสภา ให้สภาทนายความเป็นผู้มีอำนาจจดทะเบียนออกใบอนุญาตว่าความและควบคุมมรรยาททนายความ

 ประการที่ 3 กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่ประสงค์จะขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความเพิ่มเติม กล่าวคือ นอกจากจะเป็นผู้สำเร็จปริญญาตรีทางนิติศาสตร์แล้ว ยังต้องผ่านการฝึกอบรมมรรยาททนายความ หลักปฏิบัติเบื้องต้นในการว่าความ และการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการฝึกอบรมวิชาว่าความ

นอกจากนี้แล้วพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นผลให้ไม่มีทนายความชั้นสอง อีกต่อไปเนื่องจากผู้ที่เป็นทนายความชั้นสอง อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ถือว่าเป็นผู้ที่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้และมีสิทธิขอต่ออายุใบอนุญาตหรือขอจดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ได้

ประการสุดท้าย มีการกำหนดให้มีกองทุนสวัสดิการทนายความเพื่อช่วยเหลือทนายความที่ได้รับความเดือดร้อนหรือทายาทของทนายความถึงแก่ความตายซึ่งได้รับความเดือดร้อนให้ได้รับเงินสงเคราะห์จากกองทุนสวัสดิการทนายความ บทบัญญัติที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือการกำหนดให้มีคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายรวมทั้งจัดให้มีกองทุนช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายด้วย

 

วิชาชีพทนายความ เป็นวิชาชีพที่มีเกียรติเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการยุติธรรมเป็นที่พึ่งของประชาชนเป็นผู้ใช้กฎหมายที่อยู่เคียงข้างใกล้ชิดกับประชาชนและช่วยเหลือขจัดปัญหาให้แก่ประชาชนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายไม่ว่าจะเป็นในด้านการว่าต่าง แก้ต่าง การดำเนินการต่างๆ อันเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาในศาล รวมไปถึงการให้คำปรึกษาคำแนะนำด้านกฎหมายทั้งปวง ทนายความจึงต้องเป็นผู้ปฏิบัติตนและปฏิบัติงานด้วยความยึดหลักคุณธรรมพร้อมกันนั้นจะต้องมีความรับผิดชอบอย่างสูงและมีจรรยาบรรณมรรยาทอันดีงาม เพื่อนำไปสู่ความเชื่อถือศรัทธาและไว้วางใจจากสังคม

และแม้ทนายความจะมิใช่ข้าราชการก็มีส่วนอันเป็นหน้าที่ต้องปฏิบัติในราชการศาลยุติธรรม เช่นเดียวกัน เพราะเป็นสิทธิของตัวความที่จะมีทนายความในการดำเนินคดีและเป็นกิจการผูกขาดของนักกฎหมายที่จะให้บริการนั้น นักกฎหมายไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ จึงถือเป็นเจ้าหน้าที่แต่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียมิได้ ถ้าไม่มีทนายความตัวความก็ไม่สามารถได้รับผลจากกิจการศาลยุติธรรมได้ครบถ้วนบริบูรณ์เท่าที่ควร ฉะนั้นทั้งสามฝ่ายนี้ จะต้องระลึกถึงความจริงข้อนี้ไม่ใช่คำนึงถึงแต่ความสำคัญของฝ่ายตนฝ่ายเดียวต้องนึกว่าต่างก็จำเป็นและต้องอาศัยซึ่งกันและกัน ความยุติธรรมจึงจะเกิดแก่ประชาชนได้โดยสมบูรณ์ ส่วนฝ่ายใดมีหน้าที่ปฏิบัติการอย่างใดควรให้ความเคารพแก่กันและการยกย่องนับถือกันอย่างใดเป็นเรื่องของสภาพแห่งหน้าที่อันเป็นธรรมดาที่ต้องมีระดับขั้นตอนแตกต่างกันอีกส่วนหนึ่ง ฉะนั้นทั้งสามฝ่ายคือ ศาล อัยการ และทนายความ จะต้องมองกันด้วยความนับถือด้วยความเข้าใจที่จะร่วมมือกันทำงานที่จะช่วยและสนับสนุนส่งเสริมซึ่งกันและกันโดยแท้จริงด้วย

 

ที่ทำการสภาทนายความ

ที่ทำการสภาทนายความ เดิมนั้นตั้งอยู่เลขที่ 7/89 อาคาร 10 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยเช่าจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยได้เปิดดำเนินการมาเป็นเวลา 24 ปีเต็ม พื้นที่ใช้สอยบังคับแคบไม่สามารถขยับขยายต่อไปได้ คณะกรรมการบริหารสภาทนายความ (ยุคปี 2550 – 2553) จึงได้จัดซื้อที่ดินจำนวน 7 ไร่เศษ บนถนนพหลโยธิน เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร พร้อมอาคารโรงเรียนภูมิไพโรจน์พิทยา ในราคา 130 ล้านบาท เพื่อจัดสร้างที่ทำการใหม่ของสภาทนายความ

สภาทนายความได้มีหนังสือลงวันที่ 21 มกราคม 2553 ขอพระราชทานกราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการของสภาทนายความ และวันที่ 25 มกราคม 2553 สภาทนายความได้มีหนังสือขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาต รับสภาทนายความให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์

บัดนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์ มาทรงวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการสภาทนายความ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สภาทนายความอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์

สภาทนายความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น

 

ที่ทำการ-สภาทนายความ-เดิม
ที่ทำการ-สภาทนายความ-เดิม

 

 

ที่ทำการ-สภาทนายความ-แห่งใหม่
ที่ทำการ-สภาทนายความ-แห่งใหม่

 

 

https://www.keybookme.com/law/20-feb-2020-lawyer-day/
0 0 votes
Article Rating
(Visited 3,790 times, 1 visits today)
Subscribe
Notify of
guest
2 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
trackback
4 years ago

[…] 20 กุมภาพันธ์ วัน&#360… (Visited 11 times, 11 visits today) Tagged วันทนายความ […]