ป-อาญา-มาตรา-68

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

ภาค 1, ประมวลกฎหมายอาญา, ประมวลกฎหมาย, กฎหมายอาญา1, กฎหมายอาญา

 

ภาค ๑ บทบัญญัติทั่วไป

ลักษณะ ๑ บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป

มาตรา ๖๘

หมวด ๔ ความรับผิดในทางอาญา

ลักษณะ ๑ บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป

หมวด ๔ ความรับผิดในทางอาญา

 

     มาตรา ๖๘  ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด



คำพิพากษาศาลฎีกา ประกอบ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4686/2545

ก่อนเกิดเหตุผู้ตายกับครอบครัวจำเลยมีเรื่องทะเลาะกันอย่างรุนแรง ต่อมาผู้ตายได้มาโต้เถียงกับจำเลยเป็นเวลานาน จำเลยย่อมจะมีความโกรธเคืองผู้ตายเป็นอย่างมากถึงกับมีการท้าทายให้ไปตกลงกันที่ฟากคลองฝั่งตรงกันข้าม และจำเลยได้ถือมีดปลายแหลมขนาดใหญ่ออกเดินนำหน้าไปก่อนอันถือได้ว่าจำเลยได้สมัครใจเข้าวิวาทและต่อสู้กับผู้ตาย เป็นการเข้าสู้ภัยโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ แม้ผู้ตายถือจอบขนาดใหญ่เดินตามจำเลยและได้ทำร้ายจำเลยก่อนก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะที่จำเลยกับผู้ตายสมัครใจวิวาทกัน ดังนั้น จำเลยจึงไม่อาจที่จะอ้างสิทธิป้องกันได้ตามกฎหมาย และเมื่อจำเลยสมัครใจที่จะไปต่อสู้กับผู้ตายเอง จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงไม่อาจอ้างเหตุบันดาลโทสะได้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2541 เวลากลางวันจำเลยได้พาอาวุธมีดปลายแหลมยาวประมาณ 24 นิ้ว ความกว้างของตัวมีดประมาณ 3 นิ้ว ติดตัวไปในเมืองหมู่บ้าน ทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุสมควร และจำเลยได้ใช้มีดดังกล่าวเป็นอาวุธฟันนายสุนทร ชิวภักดี โดยเจตนาฆ่าที่บริเวณลำคอซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญหลายครั้งเป็นเหตุให้เส้นเลือดแดงดำและกล้ามเนื้อบริเวณลำคอของนายสุนทรขาด ทำให้สมองขาดเลือดและถึงแก่ความตาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 288, 371
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ประกอบมาตรา 72, 371 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานฆ่าผู้อื่น โดยบันดาลโทสะ จำคุก 4 ปี ฐานพกอาวุธมีดไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุสมควร ปรับ 100 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 29, 30
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 72 จำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นการแก้บทกฎหมายที่ลงโทษโดยไม่ได้แก้โทษเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งที่จำเลยฎีกาว่าไม่ได้ประสงค์ให้ผู้ตายถึงแก่ความตายหรืออีกนัยหนึ่งคือไม่มีเจตนาฆ่าผู้ตายและขอให้ศาลฎีกาลงโทษสถานเบากับรอการลงโทษนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ คดีคงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นการกระทำโดยเหตุบันดาลโทสะหรือไม่ ซึ่งในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้ว จากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222 ซึ่งศาลอุทธรณ์รับฟังมาว่าบ้านพักของนางบุญศรีทองกรรณ แม่ยายของจำเลยกับบ้านพักของนายสุนทร ชิวภักดี ผู้ตายอยู่ติดกันมีเพียงรั้วกั้นอยู่เท่านั้น และผู้ตายกับนางบุญศรีมีเรื่องไม่ถูกกันโดยมักจะมีเรื่องทะเลาะดุด่ากันอยู่เนือง ๆ ในวันเกิดเหตุตั้งแต่เวลา 8 นาฬิกา นายบุญศรีกับจำเลยพร้อมญาติของจำเลยพากันไปซ่อมรั้วบ้านที่กันบริเวณบ้านของนางบุญศรีกับบ้านผู้ตายโดยนำแผ่นสังกะสีมาตีปะเข้ากับรั้วไม้เดิม ผู้ตายกลับมาจากภายนอกบ้านมาพบก็เกิดความไม่พอใจ ผู้ตายมีอาการมึนเมาสุรามาด้วยจึงได้เข้าไปต่อว่าและดุด่านางบุญศรี นอกจากนี้ผู้ตายยังได้ใช้มือเขย่ารั้วสังกะสีอย่างแรงจนรั้วจะพัง แม้นางบุญศรีจะได้ว่ากล่าวห้ามปราม แต่ผู้ตายก็ไม่ยอมเชื่อฟังจนนางบุญศรีขู่ว่าจะไปแจ้งความแก่เจ้าพนักงานตำรวจ ครั้นนางบุญศรีออกไปข้างนอกผู้ตายกลับมีปากเสียงโต้เถียงกับจำเลยแทน จำเลยกับผู้ตายโต้เถียงกันเป็นเวลานาน ในที่สุดก็เกิดการท้าทายกันขึ้นโดยให้ไปตกลงกันที่ฟากคลองแสนแสบฝั่งตรงกันข้ามด้านหน้าวัดพิชัยซึ่งต้องเดินข้ามสะพานไป จำเลยเดินถือมีดปลายแหลมขนาดใหญ่นำหน้าไป ส่วนผู้ตายถือจอบสำหรับดายหญ้าด้ามยาวประมาณ1.5 เมตร เดินตามไปห่างจำเลยประมาณ 1 เมตร ขณะคนทั้งสองเดินลงสะพานผู้ตายอยู่ในระดับที่สูงกว่าจำเลย ผู้ตายได้พูดขึ้นว่า "กูเอามึงก่อนนะ" พร้อมกับยกจอบขึ้นฟันจำเลยถูกที่ศรีษะบริเวณกกหูด้านซ้าย จำเลยซึ่งได้ยินคำพูดของผู้ตายได้ใช้มีดปลายแหลมที่ถืออยู่ฟันสวนไปทันทีถูกที่บริเวณลำคอของผู้ตาย คมมีดตัดเส้นเลือดดำและแดงที่ลำคอผู้ตายล้มลงและถึงแก่ความตายในอีก 2 วันต่อมา เห็นว่า ก่อนเกิดเหตุผู้ตายกับครอบครัวจำเลยมีเรื่องทะเลาะกันอย่างรุนแรง ต่อมาผู้ตายก็ได้มาโต้เถียงกับจำเลยโดยตรงเป็นเวลานาน ซึ่งก็เป็นที่เข้าใจว่าจำเลยย่อมมีความโกรธเคืองผู้ตายเป็นอย่างมากถึงกับมีการท้าทายให้ไปตกลงกันที่ฟากคลองฝั่งตรงกันข้าม และจำเลยได้ถือมีดปลายแหลมขนาดใหญ่ออกเดินนำหน้าไปก่อนอันถือได้ว่า จำเลยได้สมัครใจเข้าวิวาทและต่อสู้กับผู้ตายเป็นการที่จำเลยเข้าสู้ภัยโดยที่ไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ แม้ผู้ตายถือจอบขนาดใหญ่เดินตามจำเลยและได้ทำร้ายจำเลยก่อนก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะที่จำเลยกับผู้ตายสมัครใจวิวาทกัน ดังนั้น จำเลยจึงไม่อาจที่จะอ้างสิทธิป้องกันได้ตามกฎหมาย และเมื่อจำเลยสมัครใจที่จะไปต่อสู้กับผู้ตายเอง จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมจึงไม่อาจอ้างเหตุบันดาลโทสะได้เช่นเดียวกัน ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น"
พิพากษายืน

ผู้พิพากษา
วิบูลย์ มีอาสา
ศุภชัย ภู่งาม
วีระศักดิ์ รุ่งรัตน์



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10497/2553

คำพิพากษาย่อสั้น
ผู้ตายเมาสุราก่อเหตุขึ้นก่อน โดยพูดจาทำนองหาเรื่องจำเลยเมื่อจำเลยเดินหนีไม่ตอบโต้ ผู้ตายยังเดินตามและใช้ไม้ตีจำเลยที่หลัง 1 ครั้ง แล้วผู้ตายจะใช้ไม่ตีจำเลยอีก นับเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ การที่จำเลยหันกลับมาชกผู้ตายซึ่งอยู่ในระยะประชิดเพื่อป้องกันตัวแม้จะเป็นการชกโดยแรงแต่ก็เป็นการชกเพียงครั้งเดียว และเมื่อจำเลยชกผู้ตายล้มลงจำเลยก็ไม่ได้ชกผู้ตายซ้ำอีก การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุและไม่เกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน ไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92, 290 เพิ่มโทษจำเลยตามกฎหมาย
จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 (ที่ถูก มาตรา 290 วรรคแรก) ประกอบมาตรา 69 ลงโทษจำคุก 3 ปี เพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็นจำคุก 4 ปี คำเบิกความของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 2 ปี 8 เดือน
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "...พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยไม่ฎีกาโต้แย้งฟังยุติว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุดังฟ้อง ขณะนายสุชาติผู้ตายนั่งดื่มสุราอยู่ที่ร้านก๋วยเตี๋ยวใกล้ที่เกิดเหตุ จำเลยเดินมาในร้านก๋วยเตี๋ยว นายอำพร ซึ่งนั่งอยู่ในร้านก๋วยเตี๋ยวใกล้กับผู้ตายถามจำเลยว่าไปไหนมา จำเลยบอกว่าพาพ่อไปหาหมอมา ผู้ตายหันหน้ามาทางจำเลยแล้วพูดว่าสงสัยใกล้ตายแล้ว ข้องใจหรือไง จำเลยพูดกับนายอำพรว่าไม่กินแล้วจากนั้นก็เดินออกจากร้านก๋วยเตี๋ยวไป ผู้ตายเดินตามจำเลยไปเมื่อใกล้จะทันผู้ตายหยิบท่อนไม้ที่พื้นถนน เป็นไม้ระแนงบาง ๆ ยาวประมาณ 1 ศอกตีที่หลังจำเลย 1 ครั้ง แล้วเงื้อไม้จะตีจำเลยอีก จำเลยหันกลับมาและชกบริเวณปากของผู้ตายทำให้ผู้ตายล้มลง ศีรษะกระแทกพื้นหมดสติไป จำเลยใช้เท้าเขี่ยผู้ตาย จากนั้น จำเลยขึ้นรถจักรยานยนต์รับจ้างหนีไป ต่อมาผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากเนื้อสมองช้ำ เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันหรือไม่ เห็นว่า ผู้ตายเมาสุราก่อเหตุขึ้นก่อนโดยพูดจาทำนองหาเรื่องจำเลยเมื่อจำเลยเดินหนีไม่ตอบโต้ ผู้ตายยังเดินตามและใช้ไม้ตีจำเลยที่หลัง 1 ครั้ง แล้วผู้ตายจะใช้ไม้ตีจำเลยอีก นับเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ การที่จำเลยหันกลับมาชกผู้ตายซึ่งอยู่ในระยะประชิดเพื่อป้องกันตัวแม้จะเป็นการชกโดยแรงแต่ก็เป็นการชกเพียงครั้งเดียว และเมื่อจำเลยชกผู้ตายล้มลง จำเลยก็ไม่ได้ชกต่อยผู้ตายซ้ำอีก การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุและไม่เกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น"
พิพากษายืน

ผู้พิพากษา
กรองเกียรติ คมสัน
เฉลิมเกียรติ ชาญศิลป์
โสภณ โรจน์อนนท์


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1597/2562

จำเลย ทำปืนลั่นขึ้นขณะที่กอดปล้ำกันกับผู้ตายโดยไม่มีเจตนาฆ่าผู้ตาย เป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นจำเลยจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ เป็นการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย อันเป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง แต่ข้อแตกต่างนั้น มิใช่ข้อสาระสำคัญ และทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
การกระทำซึ่งจะเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ต้องเป็นการกระทำโดยเจตนา จำเลยเอาอาวุธปืนออกมายิงขู่ผู้ตายในนัดแรก และเมื่อกอดปล้ำกัน กระสุนปืนลั่นถูกผู้ตาย 2 นัดโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ไม่ใช่เป็นการกระทำโดยเจตนาจึงไม่ใช่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5299/2562

การที่ผู้เสียหายกับพวกขว้างปาขวดสุราและไม้เข้าไปยังบริเวณที่จำเลยและ ว. หลบซ่อนอยู่ โดยจำเลยและ ว. มิได้ก่อเหตุขึ้นก่อน ย่อมเป็นเหตุทำให้จำเลยสำคัญผิดว่าผู้เสียหายกับพวกซึ่งมีจำนวนมากกว่ามีเจตนาประทุษร้ายจำเลยและ ว. อันเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยจึงมีสิทธิกระทำการป้องกันเพื่อให้พ้นจากภยันตรายดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายกับพวกมีอาวุธร้ายแรงอื่นใดอีก การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายกับพวกย่อมไม่ได้สัดส่วนกับการป้องกันตัวของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุโดยสำคัญผิด เมื่อกระสุนปืนที่จำเลยยิงถูกผู้เสียหายเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บเป็นอันตรายสาหัส จำเลยมีความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นอันเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุโดยสำคัญผิด


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4083/2562

การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตามความใน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ต้องเป็นภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง หากภยันตรายยังไม่ใกล้จะถึงเสียแล้วย่อมไม่อาจกระทำการเพื่อป้องกันได้
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังว่า ว. เพียงเอาอาวุธปืนชูขึ้นเหนือศีรษะและยิงขึ้นฟ้า 1 นัด ซึ่งเห็นชัดเจนว่าเป็นการข่มขู่จำเลยกับพวกเท่านั้น การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงไปยังรถกระบะที่ ว. นั่งอยู่ทันที โดยไม่ปรากฏว่า ว. กระทำการอื่นใดในลักษณะจะทำร้ายพวกจำเลย จึงยังถือไม่ได้ว่าภยันตรายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงเกิดขึ้น อันจะเป็นเหตุให้จำเลยอ้างเหตุป้องกันได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1756/2564

(พนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส โจทก์ นายรูสลี ดาโอ๊ะ จำเลย)

จำเลยขับรถจักรยานยนต์ตามผู้ตายไปถึงบ้านที่เกิดเหตุ สาเหตุมาจากที่ผู้ตายกับจำเลยเคยมีสาเหตุไม่พอใจกันมาก่อนจำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าการตามไปเช่นนี้ต้องมีเรื่องทะเลาะวิวาทอย่างใดอย่างหนึ่งกับผู้ตายแน่นอน เมื่อจำเลยมีอาวุธปืนติดตัวไปด้วยแสดงว่าจำเลยต้องการมีเรื่องทะเลาะวิวาทกับผู้ตายไม่ใช่เพียงต้องการไปถามเรื่องที่ผู้ตายตะโกนใส่จำเลย การกระทำของจำเลยเป็นการสมัครใจทะเลาะวิวาทกับผู้ตาย แม้จำเลยอ้างว่าผู้ตายใช้มีดแรมโบ้จะฟันทำร้ายจำเลยก่อน ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 การที่จำเลยใช้อาวุธปืนที่พกติดตัวมายิงไปที่ผู้ตาย จึงหาอาจอ้างเหตุว่าเป็นการกระทำเพื่อป้องกันตัวเองได้ไม่ เมื่อจำเลยยิงไปที่ผู้ตายถึง 3 นัด กระสุนปืนถูกผู้ตายบริเวณศีรษะ แขนซ้าย หน้าอก และลำตัว อันเป็นการเลือกยิงไปที่อวัยวะส่วนสำคัญของร่างกาย เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตามฟ้อง

 

ข้อสอบเก่า เนติบัณฑิต

(อาญา สมัยที่ 57)

 

การสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 57 ปีการศึกษา 2547
กฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

วันอาทิตย์ 3 ตุลาคม 2547

 

คำถาม


ข้อ 3.   นายอ้วนกับนายผอมเคยมีเรื่องทะเลาะวิวาทกันมาก่อน วันเกิดเหตุนายอ้วนไปท้าทายนายผอมโดยพูดว่า "มึงออกมาต่อยกับกูตัวต่อตัวถ้าแน่จริง" นายผอมเดินออกจากบ้านไปพบนายอ้วนโดยพกอาวุธปืนสั้นไปด้วยนายอ้วนชักมีดออกมาเพื่อจัวงแทงนายผอม จึงถูกนายผอมใช้อาวุธปืนดังกล่าวยิงในระยะ 2 เมตร ถูกนายอ้วนที่หน้าอกจำนวน 3 นัด นายอ้วนได้รับอันตรายสาหัส
ให้วินิจฉัยว่า นายผอมมีความผิดฐานใดหรือไม่ และนายผอมจะอ้างเหตุว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือกระทำโดยบันดาลโทสะได้หรือไม่


ธงคำตอบ

  นายผอมใช้อาวุธปืนยิงในระยะ 2 เมตร ถูกนายอ้วนที่หน้าอก 3 นัด ถือว่ามีเจตนาฆ่านายอ้วน แต่นายอ้วนไม่ถึงแก่ความตาย
นายผอมจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบ มาตรา 80 การที่นายอ้วนไปพูดท้าทายและนายผอมออกไปพบนายอ้วนโดยพกอาวุธปืนสั้นไปด้วย แสดงว่านายผอมสมัครใจเข้าวิวาทและต่อสู้กับนายอ้วน เป็นการเข้าสู่ภัยโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจ แม้นายอ้วนชักมีดเพื่อจ้วงแทงก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการทะเลาะวิวาทกัน นายผอมไม่มีสิทธิใช้อาวุธปืนยิง
นายอ้วน โดยอ้างเหตุว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 การที่นายอ้วนพูดท้าทายให้นายผอมออกไปชกต่อยกันตัวต่อตัว ยังมิใช่เป็นการข่มเหงนายผอมอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมต่อนายผอม และแม้นายอ้วนชักมีดเพื่อจ้วงแทงก็เนื่องมาจากการที่นายผอมสมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้กับนายอ้วน จึงไม่อาจอ้างว่าเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 (เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3089/2541 และ 4686/2545)

 

ข้อสอบเก่า เนติบัณฑิต

(อาญา สมัยที่ 61)

 

การสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 61 ปีการศึกษา 2551
กฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

วันอาทิตย์ 22 กันยายน 2551

 

คำถาม


ข้อ 2.  นายเอกต้องการฆ่านายโทจึงเล็งปืนจ้องจะยิงนายโททางด้านหลัง นายตรีและนายจัตวาเห็นเหตุการณ์ จึงเข้าช่วยนายโทมิให้ถูกยิง โดยนายตรีใช้ปืนยิงนายเอก กระสุนถูกนายเอกบาดเจ็บ ส่วนนายจัตวาช่วยนายโท ด้วยการผลักนายโทล้มลงทําให้นายโทศีรษะแตก หลังจากนั้นนายจัตวาเข้าไปประคองนายโท นายโทเข้าใจผิดว่า นายจัตวาแกล้งผลักตนล้มลงจึงแสดงอาการโกรธ นายจัตวาเห็นนายโทโกรธจึงตกใจวิ่งหนี นายโทซึ่งยังโกรธอยู่ วิ่งไล่ติดตามไปทันทีและใช้ไม้ตีทําร้ายนายจัตวาเป็นเหตุให้นายจัตวาศีรษะแตก
ให้วินิจฉัยว่า นายตรี นายจัตวา และนายโทมีความรับผิดฐานใดหรือไม่


ธงคำตอบ

     นายตรี ใช้ปืนยิงนายเอกบาดเจ็บเพื่อช่วยนายโทมิให้ถูกนายเอกยิง นายตรีอ้างป้องกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ได้ และเป็นการกระทําที่พอสมควรแก่เหตุ นายตรีจึงไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่านายเอก ตามมาตรา 288 ประกอบกับมาตรา 80
    นายจัตวา ผลักนายโทล้มลงเพื่อมิให้ถูกนายเอกยิง นายจัตวาจะอ้างป้องกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ไม่ได้ เพราะมิได้กระทําต่อนายเอกผู้ก่อภัย แต่นายจัตวาอ้างว่าเป็นการกระทําโดยจําเป็นเพื่อให้ผู้อื่นพ้นภยันตรายตามมาตรา 67 (2) ได้ เมื่อเป็นการกระทําที่พอสมควรแก่เหตุ นายจัตวาจึงไม่ต้องรับโทษ ในความผิดฐานทําร้ายร่างกายนายโทตามมาตรา 295
    นายโท ใช้ไม้ตีนายจัตวาศีรษะแตกในขณะที่นายโทโกรธโดยตีเมื่อนายจัตวาวิ่งหนีไปแล้ว จึงไม่เป็นการกระทําโดยป้องกันแต่เป็นการกระทําโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 และสําคัญผิดในข้อเท็จจริงตามมาตรา 62 เพราะเข้าใจผิดไปว่านายจัตวาข่มเหงตนอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมโดยการแกล้งผลักตนล้มลง ศาลจึงอาจลงโทษนายโทน้อยกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดฐานทําร้ายร่างกาย นายจัตวาตามมาตรา 295 เพียงใดก็ได้

 

ข้อสอบเก่า เนติบัณฑิต

(อาญา สมัยที่ 64)

 

การสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 64 ปีการศึกษา 2554
กฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

วันอาทิตย์ 25 กันยายน 2554

 

คำถาม


ข้อ 2.   นายเสือเข้าไปลวนลามนางหญิงในบ้านของนางหญิงโดยกระทําต่อหน้านายสิงห์สามีของนางหญิง และต่อหน้านายกระทิงเพื่อนสนิทของนายสิงห์ เมื่อนายเสือเห็นว่านายสิงห์โกรธที่ตนกระทําเช่นนั้นจึงเดินหนีออกจากบ้านโดยได้ขโมยกําไลข้อมือของนางหญิงที่วางอยู่บนโต๊ะติดมือไปด้วย นายสิงห์และนายกระทิง จึงต่างติดตามนายเสือไปทันที เมื่อตามทันนายกระทิงใช้ไม้ตีมือนายเสือ เพื่อจะเอากําไลคืน นายเสือถูกตีบาดเจ็บจึงทิ้งกําไลลงที่พื้นและเดินหนีไป นายกระทิงหยิบกําไลนั้นได้แล้วนํากลับไปคืนให้นางหญิงทันที ส่วนนายสิงห์ซึ่งยังโกรธนายเสืออยู่ได้หยิบปืนขึ้นมายิงนายเสือที่เดินหนีหลายนัด นายเสือถูกยิงได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้กระสุนยังแฉลบไปถูกนายไก่ และแฉลบไปถูกนายเป็ดซึ่งยืนอยู่ข้างหลังนายไก่ด้วย ซึ่งขณะนั้นทั้งสองคนยืนอยู่ห่างออกไปจากนายเสือ ทําให้นายไก่และนายเป็ดได้รับบาดเจ็บ
ให้วินิจฉัยว่า นายกระทิงและนายสิงห์มีความผิดฐานใดหรือไม่


ธงคำตอบ

  นายกระทิงไม่มีความผิดฐานทําร้ายร่างกายนายเสือ เพราะเป็นการกระทําโดยป้องกันสิทธิของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 แม้ว่าขณะที่นายกระทิงทําร้ายร่างกายนายเสื้อ ความผิดฐานลักทรัพย์จะสําเร็จไปแล้ว แต่ภยันตรายแห่งการพาเอาทรัพย์นั้นไปยังคงมีอยู่ตลอดเวลาที่นายเสือกําลังพาทรัพย์หนีไป การที่นายกระทิงทําร้ายร่างกายนายเสือ เพื่อติดตามเอากําไลข้อมือนั้นคืนในทันทีทันใด จึงเป็นการกระทําโดยป้องกันพอสมควรแก่เหตุตามมาตรา 68 (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 729/2541 และ 6490/2548)
นายสิงห์มีความผิดฐานพยายามฆ่านายเสือตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 โดยจะอ้างป้องกันตามมาตรา 68 ไม่ได้ เพราะขณะที่นายสิงห์ยิงนายเสือนั้น ภยันตรายที่เกิดจากการกระทําของนายเสือได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่นายสิงห์อ้างบันดาลโทสะตามมาตรา 72 ได้ เพราะถูกนายเสือข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมและได้กระทําความผิดต่อนายเสือในระยะเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกับการข่มเหงนั้นเอง (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 900/2553)
นายสิงห์มีความผิดฐานพยายามฆ่านายไก่และนายเป็ด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบ มาตรา 80 โดยเป็นเจตนาฆ่าโดยพลาด ตามมาตรา 60 แต่นายสิงห์อ้างบันดาลโทสะตามมาตรา 72 ในการกระทําความผิดต่อนายไก่และนายเป็ดได้เช่นกัน (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 1682/2 509)

 

ข้อสอบเก่า เนติบัณฑิต

(อาญา สมัยที่ 64)

 

การสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 64 ปีการศึกษา 2554
กฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

วันอาทิตย์ 25 กันยายน 2554

 

คำถาม


ข้อ 2.   นายเสือเข้าไปลวนลามนางหญิงในบ้านของนางหญิงโดยกระทําต่อหน้านายสิงห์สามีของนางหญิง และต่อหน้านายกระทิงเพื่อนสนิทของนายสิงห์ เมื่อนายเสือเห็นว่านายสิงห์โกรธที่ตนกระทําเช่นนั้นจึงเดินหนีออกจากบ้านโดยได้ขโมยกําไลข้อมือของนางหญิงที่วางอยู่บนโต๊ะติดมือไปด้วย นายสิงห์และนายกระทิง จึงต่างติดตามนายเสือไปทันที เมื่อตามทันนายกระทิงใช้ไม้ตีมือนายเสือ เพื่อจะเอากําไลคืน นายเสือถูกตีบาดเจ็บจึงทิ้งกําไลลงที่พื้นและเดินหนีไป นายกระทิงหยิบกําไลนั้นได้แล้วนํากลับไปคืนให้นางหญิงทันที ส่วนนายสิงห์ซึ่งยังโกรธนายเสืออยู่ได้หยิบปืนขึ้นมายิงนายเสือที่เดินหนีหลายนัด นายเสือถูกยิงได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้กระสุนยังแฉลบไปถูกนายไก่ และแฉลบไปถูกนายเป็ดซึ่งยืนอยู่ข้างหลังนายไก่ด้วย ซึ่งขณะนั้นทั้งสองคนยืนอยู่ห่างออกไปจากนายเสือ ทําให้นายไก่และนายเป็ดได้รับบาดเจ็บ
ให้วินิจฉัยว่า นายกระทิงและนายสิงห์มีความผิดฐานใดหรือไม่


ธงคำตอบ

  นายกระทิงไม่มีความผิดฐานทําร้ายร่างกายนายเสือ เพราะเป็นการกระทําโดยป้องกันสิทธิของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 แม้ว่าขณะที่นายกระทิงทําร้ายร่างกายนายเสื้อ ความผิดฐานลักทรัพย์จะสําเร็จไปแล้ว แต่ภยันตรายแห่งการพาเอาทรัพย์นั้นไปยังคงมีอยู่ตลอดเวลาที่นายเสือกําลังพาทรัพย์หนีไป การที่นายกระทิงทําร้ายร่างกายนายเสือ เพื่อติดตามเอากําไลข้อมือนั้นคืนในทันทีทันใด จึงเป็นการกระทําโดยป้องกันพอสมควรแก่เหตุตามมาตรา 68 (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 729/2541 และ 6490/2548)
นายสิงห์มีความผิดฐานพยายามฆ่านายเสือตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 โดยจะอ้างป้องกันตามมาตรา 68 ไม่ได้ เพราะขณะที่นายสิงห์ยิงนายเสือนั้น ภยันตรายที่เกิดจากการกระทําของนายเสือได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่นายสิงห์อ้างบันดาลโทสะตามมาตรา 72 ได้ เพราะถูกนายเสือข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมและได้กระทําความผิดต่อนายเสือในระยะเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกับการข่มเหงนั้นเอง (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 900/2553)
นายสิงห์มีความผิดฐานพยายามฆ่านายไก่และนายเป็ด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบ มาตรา 80 โดยเป็นเจตนาฆ่าโดยพลาด ตามมาตรา 60 แต่นายสิงห์อ้างบันดาลโทสะตามมาตรา 72 ในการกระทําความผิดต่อนายไก่และนายเป็ดได้เช่นกัน (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 1682/2 509)

 

ข้อสอบเก่า เนติบัณฑิต

(อาญา สมัยที่ 64)

 

การสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 64 ปีการศึกษา 2554
กฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

วันอาทิตย์ 25 กันยายน 2554

 

คำถาม


ข้อ 2.   นายเสือเข้าไปลวนลามนางหญิงในบ้านของนางหญิงโดยกระทําต่อหน้านายสิงห์สามีของนางหญิง และต่อหน้านายกระทิงเพื่อนสนิทของนายสิงห์ เมื่อนายเสือเห็นว่านายสิงห์โกรธที่ตนกระทําเช่นนั้นจึงเดินหนีออกจากบ้านโดยได้ขโมยกําไลข้อมือของนางหญิงที่วางอยู่บนโต๊ะติดมือไปด้วย นายสิงห์และนายกระทิง จึงต่างติดตามนายเสือไปทันที เมื่อตามทันนายกระทิงใช้ไม้ตีมือนายเสือ เพื่อจะเอากําไลคืน นายเสือถูกตีบาดเจ็บจึงทิ้งกําไลลงที่พื้นและเดินหนีไป นายกระทิงหยิบกําไลนั้นได้แล้วนํากลับไปคืนให้นางหญิงทันที ส่วนนายสิงห์ซึ่งยังโกรธนายเสืออยู่ได้หยิบปืนขึ้นมายิงนายเสือที่เดินหนีหลายนัด นายเสือถูกยิงได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้กระสุนยังแฉลบไปถูกนายไก่ และแฉลบไปถูกนายเป็ดซึ่งยืนอยู่ข้างหลังนายไก่ด้วย ซึ่งขณะนั้นทั้งสองคนยืนอยู่ห่างออกไปจากนายเสือ ทําให้นายไก่และนายเป็ดได้รับบาดเจ็บ
ให้วินิจฉัยว่า นายกระทิงและนายสิงห์มีความผิดฐานใดหรือไม่


ธงคำตอบ

  นายกระทิงไม่มีความผิดฐานทําร้ายร่างกายนายเสือ เพราะเป็นการกระทําโดยป้องกันสิทธิของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 แม้ว่าขณะที่นายกระทิงทําร้ายร่างกายนายเสื้อ ความผิดฐานลักทรัพย์จะสําเร็จไปแล้ว แต่ภยันตรายแห่งการพาเอาทรัพย์นั้นไปยังคงมีอยู่ตลอดเวลาที่นายเสือกําลังพาทรัพย์หนีไป การที่นายกระทิงทําร้ายร่างกายนายเสือ เพื่อติดตามเอากําไลข้อมือนั้นคืนในทันทีทันใด จึงเป็นการกระทําโดยป้องกันพอสมควรแก่เหตุตามมาตรา 68 (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 729/2541 และ 6490/2548)
นายสิงห์มีความผิดฐานพยายามฆ่านายเสือตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 โดยจะอ้างป้องกันตามมาตรา 68 ไม่ได้ เพราะขณะที่นายสิงห์ยิงนายเสือนั้น ภยันตรายที่เกิดจากการกระทําของนายเสือได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่นายสิงห์อ้างบันดาลโทสะตามมาตรา 72 ได้ เพราะถูกนายเสือข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมและได้กระทําความผิดต่อนายเสือในระยะเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกับการข่มเหงนั้นเอง (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 900/2553)
นายสิงห์มีความผิดฐานพยายามฆ่านายไก่และนายเป็ด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบ มาตรา 80 โดยเป็นเจตนาฆ่าโดยพลาด ตามมาตรา 60 แต่นายสิงห์อ้างบันดาลโทสะตามมาตรา 72 ในการกระทําความผิดต่อนายไก่และนายเป็ดได้เช่นกัน (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 1682/2 509)

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68

ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่น ให้พ้นจากภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด

ป-อาญา-มาตรา-68
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่น ให้พ้นจากภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด

สารบัญ ประมวลกฎหมายอาญา

5 1 vote
Article Rating
(Visited 2,899 times, 2 visits today)
Subscribe
Notify of
guest
2 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
trackback
4 years ago

[…] มาตรา 68      ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ไ… […]