ประมวลกฎหมายอาญา-67-68-72-นาวิน-ขำแป้น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 มาตรา 68 มาตรา 72

ภาค 1, ประมวลกฎหมายอาญา, กฎหมายอาญา1, กฎหมายอาญา, กฎหมาย

 

ภาค ๑ บทบัญญัติทั่วไป

ลักษณะ ๑ บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป

มาตรา ๖๗

หมวด ๔ ความรับผิดในทางอาญา

ลักษณะ ๑ บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป

หมวด ๔ ความรับผิดในทางอาญา

 

     มาตรา ๖๗  ผู้ใดกระทำความผิดด้วยความจำเป็น

    (๑) เพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ

    (๒) เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้เมื่อภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน

    ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุแล้ว ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

ภาค ๑ บทบัญญัติทั่วไป

ลักษณะ ๑ บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป

มาตรา ๖๘

หมวด ๔ ความรับผิดในทางอาญา

ลักษณะ ๑ บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป

หมวด ๔ ความรับผิดในทางอาญา

 

     มาตรา ๖๘  ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด

ภาค ๑ บทบัญญัติทั่วไป

ลักษณะ ๑ บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป

มาตรา ๗๒

หมวด ๔ ความรับผิดในทางอาญา

ลักษณะ ๑ บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป

หมวด ๔ ความรับผิดในทางอาญา

 

     มาตรา ๗๒  ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้



คำอธิบาย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67


กระทำความผิดด้วยความจำเป็น เพราะเพื่อให้พ้นจากภยันตราย

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 (2) การกระทำความผิดด้วยความจำเป็นอีกลักษณะหนึ่งซึ่งมีข้อความว่า

“ผู้ใดกระทำความผิดด้วยความจำเป็นเพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ เมื่อภยันตรายนั้นตนไม่ได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุแล้ว ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ”

การกระทำความผิดด้วยความจำเป็นตามมาตรา 67 ( 2) นั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นความจำเป็นสำหรับใจ (พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ กฎหมายอาญาพิสดาร หน้า 150) หรือความจำเป็นทางใจ เพราะบุคคลผู้นั้นมีอิสระทางกายทุกประการไม่ตกอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจใดๆ จะเคลื่อนไหวร่างกายอย่างใดก็ได้ แต่ความจำเป็นได้เกิดขึ้นที่ใจของเขาเพราะมีภยันตรายเกิดขึ้นและใกล้จะถึงตัวเขาหรือบุคคลอื่นแล้ว เขาไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ จึงตัดสินกระทำความผิดลงไปด้วยความจำเป็น ถ้าภยันตรายนั้นเขามิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของเขาเอง และเป็นการกระทำไม่เกินสมควรแก่เหตุแล้ว กฎหมายยกเว้นโทษให้

(1) ต้องกระทำเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตราย
(2) เป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง
(3) ไม่สามารถหลีกเลี่ยงภยันตรายให้พ้นโดยวิธีอื่นได้
(4) ภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน
(5) ได้กระทำไปไม่เกินสมควรแก่เหตุ


คำพิพากษาศาลฎีกา ประกอบ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4686/2545

ก่อนเกิดเหตุผู้ตายกับครอบครัวจำเลยมีเรื่องทะเลาะกันอย่างรุนแรง ต่อมาผู้ตายได้มาโต้เถียงกับจำเลยเป็นเวลานาน จำเลยย่อมจะมีความโกรธเคืองผู้ตายเป็นอย่างมากถึงกับมีการท้าทายให้ไปตกลงกันที่ฟากคลองฝั่งตรงกันข้าม และจำเลยได้ถือมีดปลายแหลมขนาดใหญ่ออกเดินนำหน้าไปก่อนอันถือได้ว่าจำเลยได้สมัครใจเข้าวิวาทและต่อสู้กับผู้ตาย เป็นการเข้าสู้ภัยโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ แม้ผู้ตายถือจอบขนาดใหญ่เดินตามจำเลยและได้ทำร้ายจำเลยก่อนก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะที่จำเลยกับผู้ตายสมัครใจวิวาทกัน ดังนั้น จำเลยจึงไม่อาจที่จะอ้างสิทธิป้องกันได้ตามกฎหมาย และเมื่อจำเลยสมัครใจที่จะไปต่อสู้กับผู้ตายเอง จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงไม่อาจอ้างเหตุบันดาลโทสะได้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2541 เวลากลางวันจำเลยได้พาอาวุธมีดปลายแหลมยาวประมาณ 24 นิ้ว ความกว้างของตัวมีดประมาณ 3 นิ้ว ติดตัวไปในเมืองหมู่บ้าน ทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุสมควร และจำเลยได้ใช้มีดดังกล่าวเป็นอาวุธฟันนายสุนทร ชิวภักดี โดยเจตนาฆ่าที่บริเวณลำคอซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญหลายครั้งเป็นเหตุให้เส้นเลือดแดงดำและกล้ามเนื้อบริเวณลำคอของนายสุนทรขาด ทำให้สมองขาดเลือดและถึงแก่ความตาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 288, 371
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ประกอบมาตรา 72, 371 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานฆ่าผู้อื่น โดยบันดาลโทสะ จำคุก 4 ปี ฐานพกอาวุธมีดไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุสมควร ปรับ 100 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 29, 30
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 72 จำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นการแก้บทกฎหมายที่ลงโทษโดยไม่ได้แก้โทษเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งที่จำเลยฎีกาว่าไม่ได้ประสงค์ให้ผู้ตายถึงแก่ความตายหรืออีกนัยหนึ่งคือไม่มีเจตนาฆ่าผู้ตายและขอให้ศาลฎีกาลงโทษสถานเบากับรอการลงโทษนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ คดีคงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นการกระทำโดยเหตุบันดาลโทสะหรือไม่ ซึ่งในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้ว จากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222 ซึ่งศาลอุทธรณ์รับฟังมาว่าบ้านพักของนางบุญศรีทองกรรณ แม่ยายของจำเลยกับบ้านพักของนายสุนทร ชิวภักดี ผู้ตายอยู่ติดกันมีเพียงรั้วกั้นอยู่เท่านั้น และผู้ตายกับนางบุญศรีมีเรื่องไม่ถูกกันโดยมักจะมีเรื่องทะเลาะดุด่ากันอยู่เนือง ๆ ในวันเกิดเหตุตั้งแต่เวลา 8 นาฬิกา นายบุญศรีกับจำเลยพร้อมญาติของจำเลยพากันไปซ่อมรั้วบ้านที่กันบริเวณบ้านของนางบุญศรีกับบ้านผู้ตายโดยนำแผ่นสังกะสีมาตีปะเข้ากับรั้วไม้เดิม ผู้ตายกลับมาจากภายนอกบ้านมาพบก็เกิดความไม่พอใจ ผู้ตายมีอาการมึนเมาสุรามาด้วยจึงได้เข้าไปต่อว่าและดุด่านางบุญศรี นอกจากนี้ผู้ตายยังได้ใช้มือเขย่ารั้วสังกะสีอย่างแรงจนรั้วจะพัง แม้นางบุญศรีจะได้ว่ากล่าวห้ามปราม แต่ผู้ตายก็ไม่ยอมเชื่อฟังจนนางบุญศรีขู่ว่าจะไปแจ้งความแก่เจ้าพนักงานตำรวจ ครั้นนางบุญศรีออกไปข้างนอกผู้ตายกลับมีปากเสียงโต้เถียงกับจำเลยแทน จำเลยกับผู้ตายโต้เถียงกันเป็นเวลานาน ในที่สุดก็เกิดการท้าทายกันขึ้นโดยให้ไปตกลงกันที่ฟากคลองแสนแสบฝั่งตรงกันข้ามด้านหน้าวัดพิชัยซึ่งต้องเดินข้ามสะพานไป จำเลยเดินถือมีดปลายแหลมขนาดใหญ่นำหน้าไป ส่วนผู้ตายถือจอบสำหรับดายหญ้าด้ามยาวประมาณ1.5 เมตร เดินตามไปห่างจำเลยประมาณ 1 เมตร ขณะคนทั้งสองเดินลงสะพานผู้ตายอยู่ในระดับที่สูงกว่าจำเลย ผู้ตายได้พูดขึ้นว่า "กูเอามึงก่อนนะ" พร้อมกับยกจอบขึ้นฟันจำเลยถูกที่ศรีษะบริเวณกกหูด้านซ้าย จำเลยซึ่งได้ยินคำพูดของผู้ตายได้ใช้มีดปลายแหลมที่ถืออยู่ฟันสวนไปทันทีถูกที่บริเวณลำคอของผู้ตาย คมมีดตัดเส้นเลือดดำและแดงที่ลำคอผู้ตายล้มลงและถึงแก่ความตายในอีก 2 วันต่อมา เห็นว่า ก่อนเกิดเหตุผู้ตายกับครอบครัวจำเลยมีเรื่องทะเลาะกันอย่างรุนแรง ต่อมาผู้ตายก็ได้มาโต้เถียงกับจำเลยโดยตรงเป็นเวลานาน ซึ่งก็เป็นที่เข้าใจว่าจำเลยย่อมมีความโกรธเคืองผู้ตายเป็นอย่างมากถึงกับมีการท้าทายให้ไปตกลงกันที่ฟากคลองฝั่งตรงกันข้าม และจำเลยได้ถือมีดปลายแหลมขนาดใหญ่ออกเดินนำหน้าไปก่อนอันถือได้ว่า จำเลยได้สมัครใจเข้าวิวาทและต่อสู้กับผู้ตายเป็นการที่จำเลยเข้าสู้ภัยโดยที่ไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ แม้ผู้ตายถือจอบขนาดใหญ่เดินตามจำเลยและได้ทำร้ายจำเลยก่อนก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะที่จำเลยกับผู้ตายสมัครใจวิวาทกัน ดังนั้น จำเลยจึงไม่อาจที่จะอ้างสิทธิป้องกันได้ตามกฎหมาย และเมื่อจำเลยสมัครใจที่จะไปต่อสู้กับผู้ตายเอง จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมจึงไม่อาจอ้างเหตุบันดาลโทสะได้เช่นเดียวกัน ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น"
พิพากษายืน

ผู้พิพากษา
วิบูลย์ มีอาสา
ศุภชัย ภู่งาม
วีระศักดิ์ รุ่งรัตน์



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10497/2553

คำพิพากษาย่อสั้น
ผู้ตายเมาสุราก่อเหตุขึ้นก่อน โดยพูดจาทำนองหาเรื่องจำเลยเมื่อจำเลยเดินหนีไม่ตอบโต้ ผู้ตายยังเดินตามและใช้ไม้ตีจำเลยที่หลัง 1 ครั้ง แล้วผู้ตายจะใช้ไม่ตีจำเลยอีก นับเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ การที่จำเลยหันกลับมาชกผู้ตายซึ่งอยู่ในระยะประชิดเพื่อป้องกันตัวแม้จะเป็นการชกโดยแรงแต่ก็เป็นการชกเพียงครั้งเดียว และเมื่อจำเลยชกผู้ตายล้มลงจำเลยก็ไม่ได้ชกผู้ตายซ้ำอีก การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุและไม่เกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน ไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92, 290 เพิ่มโทษจำเลยตามกฎหมาย
จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 (ที่ถูก มาตรา 290 วรรคแรก) ประกอบมาตรา 69 ลงโทษจำคุก 3 ปี เพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็นจำคุก 4 ปี คำเบิกความของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 2 ปี 8 เดือน
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "...พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยไม่ฎีกาโต้แย้งฟังยุติว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุดังฟ้อง ขณะนายสุชาติผู้ตายนั่งดื่มสุราอยู่ที่ร้านก๋วยเตี๋ยวใกล้ที่เกิดเหตุ จำเลยเดินมาในร้านก๋วยเตี๋ยว นายอำพร ซึ่งนั่งอยู่ในร้านก๋วยเตี๋ยวใกล้กับผู้ตายถามจำเลยว่าไปไหนมา จำเลยบอกว่าพาพ่อไปหาหมอมา ผู้ตายหันหน้ามาทางจำเลยแล้วพูดว่าสงสัยใกล้ตายแล้ว ข้องใจหรือไง จำเลยพูดกับนายอำพรว่าไม่กินแล้วจากนั้นก็เดินออกจากร้านก๋วยเตี๋ยวไป ผู้ตายเดินตามจำเลยไปเมื่อใกล้จะทันผู้ตายหยิบท่อนไม้ที่พื้นถนน เป็นไม้ระแนงบาง ๆ ยาวประมาณ 1 ศอกตีที่หลังจำเลย 1 ครั้ง แล้วเงื้อไม้จะตีจำเลยอีก จำเลยหันกลับมาและชกบริเวณปากของผู้ตายทำให้ผู้ตายล้มลง ศีรษะกระแทกพื้นหมดสติไป จำเลยใช้เท้าเขี่ยผู้ตาย จากนั้น จำเลยขึ้นรถจักรยานยนต์รับจ้างหนีไป ต่อมาผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากเนื้อสมองช้ำ เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันหรือไม่ เห็นว่า ผู้ตายเมาสุราก่อเหตุขึ้นก่อนโดยพูดจาทำนองหาเรื่องจำเลยเมื่อจำเลยเดินหนีไม่ตอบโต้ ผู้ตายยังเดินตามและใช้ไม้ตีจำเลยที่หลัง 1 ครั้ง แล้วผู้ตายจะใช้ไม้ตีจำเลยอีก นับเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ การที่จำเลยหันกลับมาชกผู้ตายซึ่งอยู่ในระยะประชิดเพื่อป้องกันตัวแม้จะเป็นการชกโดยแรงแต่ก็เป็นการชกเพียงครั้งเดียว และเมื่อจำเลยชกผู้ตายล้มลง จำเลยก็ไม่ได้ชกต่อยผู้ตายซ้ำอีก การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุและไม่เกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น"
พิพากษายืน

ผู้พิพากษา
กรองเกียรติ คมสัน
เฉลิมเกียรติ ชาญศิลป์
โสภณ โรจน์อนนท์


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1597/2562

จำเลย ทำปืนลั่นขึ้นขณะที่กอดปล้ำกันกับผู้ตายโดยไม่มีเจตนาฆ่าผู้ตาย เป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นจำเลยจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ เป็นการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย อันเป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง แต่ข้อแตกต่างนั้น มิใช่ข้อสาระสำคัญ และทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
การกระทำซึ่งจะเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ต้องเป็นการกระทำโดยเจตนา จำเลยเอาอาวุธปืนออกมายิงขู่ผู้ตายในนัดแรก และเมื่อกอดปล้ำกัน กระสุนปืนลั่นถูกผู้ตาย 2 นัดโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ไม่ใช่เป็นการกระทำโดยเจตนาจึงไม่ใช่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5299/2562

การที่ผู้เสียหายกับพวกขว้างปาขวดสุราและไม้เข้าไปยังบริเวณที่จำเลยและ ว. หลบซ่อนอยู่ โดยจำเลยและ ว. มิได้ก่อเหตุขึ้นก่อน ย่อมเป็นเหตุทำให้จำเลยสำคัญผิดว่าผู้เสียหายกับพวกซึ่งมีจำนวนมากกว่ามีเจตนาประทุษร้ายจำเลยและ ว. อันเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยจึงมีสิทธิกระทำการป้องกันเพื่อให้พ้นจากภยันตรายดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายกับพวกมีอาวุธร้ายแรงอื่นใดอีก การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายกับพวกย่อมไม่ได้สัดส่วนกับการป้องกันตัวของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุโดยสำคัญผิด เมื่อกระสุนปืนที่จำเลยยิงถูกผู้เสียหายเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บเป็นอันตรายสาหัส จำเลยมีความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นอันเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุโดยสำคัญผิด


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4083/2562

การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตามความใน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ต้องเป็นภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง หากภยันตรายยังไม่ใกล้จะถึงเสียแล้วย่อมไม่อาจกระทำการเพื่อป้องกันได้
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังว่า ว. เพียงเอาอาวุธปืนชูขึ้นเหนือศีรษะและยิงขึ้นฟ้า 1 นัด ซึ่งเห็นชัดเจนว่าเป็นการข่มขู่จำเลยกับพวกเท่านั้น การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงไปยังรถกระบะที่ ว. นั่งอยู่ทันที โดยไม่ปรากฏว่า ว. กระทำการอื่นใดในลักษณะจะทำร้ายพวกจำเลย จึงยังถือไม่ได้ว่าภยันตรายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงเกิดขึ้น อันจะเป็นเหตุให้จำเลยอ้างเหตุป้องกันได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1756/2564

(พนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส โจทก์ นายรูสลี ดาโอ๊ะ จำเลย)

จำเลยขับรถจักรยานยนต์ตามผู้ตายไปถึงบ้านที่เกิดเหตุ สาเหตุมาจากที่ผู้ตายกับจำเลยเคยมีสาเหตุไม่พอใจกันมาก่อนจำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าการตามไปเช่นนี้ต้องมีเรื่องทะเลาะวิวาทอย่างใดอย่างหนึ่งกับผู้ตายแน่นอน เมื่อจำเลยมีอาวุธปืนติดตัวไปด้วยแสดงว่าจำเลยต้องการมีเรื่องทะเลาะวิวาทกับผู้ตายไม่ใช่เพียงต้องการไปถามเรื่องที่ผู้ตายตะโกนใส่จำเลย การกระทำของจำเลยเป็นการสมัครใจทะเลาะวิวาทกับผู้ตาย แม้จำเลยอ้างว่าผู้ตายใช้มีดแรมโบ้จะฟันทำร้ายจำเลยก่อน ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 การที่จำเลยใช้อาวุธปืนที่พกติดตัวมายิงไปที่ผู้ตาย จึงหาอาจอ้างเหตุว่าเป็นการกระทำเพื่อป้องกันตัวเองได้ไม่ เมื่อจำเลยยิงไปที่ผู้ตายถึง 3 นัด กระสุนปืนถูกผู้ตายบริเวณศีรษะ แขนซ้าย หน้าอก และลำตัว อันเป็นการเลือกยิงไปที่อวัยวะส่วนสำคัญของร่างกาย เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตามฟ้อง



คำพิพากษาศาลฎีกา ประกอบ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6936/2562

แม้ก่อนเกิดเหตุ ผู้ตายทำร้ายจำเลยฝ่ายเดียวด้วยการชกต่อยและบีบคอจำเลย อันถือว่าภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายได้เกิดขึ้นแล้วก็ตาม แต่หลังจากเด็กชาย ช. วิ่งออกจากบ้านเข้ามาดึงแยกจำเลยออกจากผู้ตายแล้ว จำเลยก็วิ่งเข้าไปในบ้าน ส่วนผู้ตายวิ่งไปที่รถจักรยานยนต์ ถือได้ว่าภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายดังกล่าวที่มีต่อจำเลยได้หมดไปแล้ว จำเลยจะใช้อ้างเพื่อกระทำการป้องกันสิทธิของตนย่อมหมดไปด้วย แม้ขณะที่จำเลยวิ่งกลับเข้าไปภายในบ้านจะได้ยินผู้ตายตะโกนพูดว่า มึงตายแน่ และเมื่อกลับออกมาก็เห็นผู้ตายยืนเปิดเบาะล้วงเข้าไปหยิบของในกล่องใต้เบาะรถจักรยานยนต์ก็ตาม แต่จำเลยกลับออกมาพร้อมถืออาวุธปืนมาด้วยแล้วใช้อาวุธปืนยิงไปที่ผู้ตาย 1 นัดทันที โดยไม่ปรากฏว่าผู้ตายได้กระทำการใดเลย จำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุความสำคัญผิดในข้อเท็จจริงโดยเข้าใจว่ากล่องใต้เบาะรถจักรยานยนต์ของผู้ตายมีอาวุธปืนอยู่และผู้ตายล้วงลงไปเพื่อนำอาวุธปืนออกมายิงจำเลยได้ แต่การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องจากการที่ถูกผู้ตายชกต่อยและบีบคอฝ่ายเดียว ซึ่งถือว่าเป็นการข่มเหงจำเลยด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมย่อมก่อให้เกิดโทสะแก่จำเลย การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8882/2561

การกระทำโดยบันดาลโทสะตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 เป็นกรณีที่ผู้กระทำถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ส่วนการกระทำโดยพลาดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 60 เป็นกรณีที่ผู้กระทำเจตนากระทำต่อบุคคลคนหนึ่งแต่ผลของการกระทำเกิดแก่ อีกบุคคลหนึ่งโดยพลาดไป สำหรับการกระทำโดยเจตนาย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น ผู้กระทำต้องเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นแล้วว่า จะทำให้ผู้ถูกกระทำได้รับผลนั้น ซึ่งเป็นผลที่เห็นได้ชัดว่า จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ผู้เสียหายที่ 1 กับพวกขับรถจักรยานยนต์เที่ยวเล่นตั้งแต่เวลาประมาณ 21 นาฬิกา โดย พ. นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ผู้เสียหายที่ 1 ส่วน ข. นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ ท. ไม่ปรากฏว่า ผู้ตายทั้งสองได้ร่วมทำร้ายหรือมีพฤติการณ์ใดที่แสดงให้เห็นว่า มีเจตนาที่ร่วมกับผู้เสียหายที่ 1 กับพวกทำร้ายจำเลย แม้ผู้ตายทั้งสองจะอยู่ในที่เกิดเหตุแต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีการยุยงส่งเสริมสนับสนุนหรือให้กำลังใจเพื่อให้ผู้เสียหายที่ 1 กับพวก เกิดความฮึกเหิมรุมทำร้ายจำเลยกับพวก หลังเกิดเหตุผู้ตายทั้งสองไปกับผู้เสียหายที่ 1 กับพวกก็คงเป็นเพราะนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์มาด้วยกัน พฤติการณ์ของผู้ตายทั้งสองฟังไม่ได้ว่า ผู้ตายทั้งสองข่มเหงหรือร่วมกับผู้เสียหายที่ 1 กับพวกข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยขับรถกระบะซึ่งมีขนาดใหญ่และมีแรงประทะมากกว่ารถจักรยานยนต์หลายเท่าฝ่าเข้าไปหรือพุ่งชนกลุ่มรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 1 กับพวกโดยแรงแม้กระทำเพียงครั้งเดียวก็เห็นได้ว่า จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่า ทั้งคนขับและคนนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่ถูกชนจะถึงแก่ความตายได้ จึงถือว่าจำเลยมีเจตนากระทำต่อผู้ตายทั้งสองโดยตรง ไม่ใช่กรณีที่จำเลยเจตนาที่จะกระทำต่อกลุ่มคนที่รุมทำร้ายจำเลย แต่ผลของการกระทำเกิดแก่ผู้ตายทั้งสองโดยพลาดไป เมื่อผู้ตายทั้งสองมิได้ข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การกระทำความผิดต่อผู้ตายทั้งสองจึงไม่อาจอ้างเหตุบันดาลโทสะได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5486/2560

จำเลยเห็นผู้ตายขณะมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาจำเลย จึงเข้าไปชกต่อยและต่อสู้กับผู้ตาย เมื่อจำเลยเพลี่ยงพล้ำ ภรรยาจำเลยและผู้ตายรีบสวมใส่กางเกงแล้วภรรยาจำเลยไปติดเครื่องรถจักรยานยนต์และเรียกผู้ตายขึ้นรถ ผู้ตายก็รีบวิ่งไปนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่ภริยาจำเลยขับออกไป เช่นนี้ภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายได้ผ่านพ้นไปแล้ว การที่จำเลยวิ่งตามไปทันทีแล้วใช้ไม้และเสียมตีผู้ตายจึงไม่อาจอ้างว่าเป็นการป้องกันสิทธิของตนได้ แต่เป็นการกระทำต่อเนื่องกระชั้นชิดกับเหตุการณ์ที่จำเลยเห็นผู้ตายมีเพศสัมพันธ์กับภริยาจำเลย ถือได้ว่าจำเลยถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยใช้ไม้และเสียมตีผู้ตายในขณะนั้นจึงเป็นการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 72


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1437/2565

ในวันเกิดเหตุผู้ตายทะเลาะกับจําเลย โดยผู้ตายขอมีภริยาน้อย พูดจาดูถูกเหยียดหยามบุพการีจําเลย ไล่จําเลยให้ออกจากบ้านและผู้ตายทําร้ายร่างกายจําเลย ซึ่งการที่ผู้ตายด่าว่าจําเลยที่เป็นภริยาในลักษณะดูถูกเหยียดหยามและขอมีภริยาน้อยทั้งด่าไปถึงบุพการีของจําเลยและทําร้ายจําเลยเช่นนั้น ย่อมทําให้จําเลยรู้สึกแค้นเคืองเป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นการข่มเหงจําเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จําเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย โดยขณะ พ. เข้ามาช่วยผู้ตาย จําเลยยังพูดกับ พ. ว่า “ไม่ต้องไปช่วยมัน”
จึงเป็นการกระทําความผิดขณะบันดาลโทสะอยู่ จําเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 72 ซึ่งศาลจะลงโทษจําเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
นอกจากนั้น เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ตายมีส่วนก่อให้จําเลยกระทําความผิด ผู้ตายจึงมีส่วนในการกระทําความผิดอยู่ด้วย ผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) นาย ม. โดย นาง ส. ผู้แทนเฉพาะคดี ย่อมไม่มีอํานาจจัดการแทนผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 (2) และไม่มีอํานาจเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม มาตรา 30
ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้นาย ม. โดย นาง ส. ผู้แทนเฉพาะคดี เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอํานาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225

 

ข้อสอบเก่า เนติบัณฑิต

(อาญา สมัยที่ 58)

 

การสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 58 ปีการศึกษา 2548
กฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

วันอาทิตย์ 25 กันยายน 2548

 

คำถาม


ข้อ 3.   นายหนึ่งปลูกข้าวไว้ในที่นาของตนซึ่งอยู่ติดกับถนนสาธารณะ ขณะนั้นเป็นฤดูฝน นายหนึ่งเกรงว่าหากฝนตกหนักน้ำจะท่วมที่นาของตนทำให้ข้าวที่ปลูกไว้ตาย นายหนึ่งจึงขุดถนนสาธารณะข้างที่นาของตนเพื่อทำเป็นทางระบายน้ำจากที่นาลงหนองน้ำสาธารณะ นอกจากนั้น นายหนึ่งยังถ่อเรือเข้าไปตัดใบบัวที่งอกขึ้นเองในหนองน้ำนั้นเพื่อให้น้ำไหลสะดวกหากฝนตก และนายหนึ่งเห็นอยู่แล้วว่ามีต้นข้าวขึ้นสูงจะออกรวงอยู่แล้วปะปนอยู่ระหว่างกอบัวและนายหนึ่งทราบดีว่านายสองผู้เป็นชาวนาเป็นคนปลูกตันข้าวนั้น ปรากฎว่าต้นข้าวของนายสองถูกนายหนึ่งตัดขาดไปหลายต้น
ให้วินิจฉัยว่า นายหนึ่งมีความรับผิดฐานใดหรือไม่


ธงคำตอบ

  การที่นายหนึ่งขุดถนนสาธารณะเพื่อทำเป็นทางระบายน้ำ นายหนึ่งมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360 ฐานทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ โดยนายหนึ่งจะอ้างว่าเป็นการกระทำความผิดด้วยความจำเป็นเพื่อให้ตนพ้นจากภยันตรายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 (2) ไม่ได้ เพราะขณะที่นายหนึ่งขุดถนน ฝนยังไม่ตก น้ำจึงยังไม่ท่วมต้นข้าวของนายหนึ่ง จึงไม่มีภยันตรายที่ใกล้จะถึงชึ่งนายหนึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงด้วยการขุดถนน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2529)
การที่นายหนึ่งถ่อเรือเข้าไปตัดใบบัวโดยเห็นต้นข้าวชึ่งตนทราบอยู่แล้วว่านายสองเป็นผู้ปลูกขึ้นปะปนอยู่กับกอบัว แม้นายหนึ่งจะมีเจตนาประสงค์ต่อผลในการตัดใบบัว แต่ก็ย่อมเล็งเห็นผลอยู่ว่าการถ่อเรือเข้าไปตัดใบบัวดังกล่าวจะทำความเสียหายให้แก่ต้นข้าวของนายสองได้ จึงถือว่ามีเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 ในการทำให้เสียทรัพย์ของนายสอง นายหนึ่งจึงมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ซึ่งเป็นพืชผลของกสิกร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 359 (เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1155/2520 ) โดยนายหนึ่งจะอ้างว่าเป็นการกระทำความผิดด้วยความจำเป็นเพื่อให้ตนพ้นภยันตรายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 (2) ไม่ได้ เพราะไม่ใช่ภยันตรายที่ใกล้จะถึง

 

ข้อสอบเก่า เนติบัณฑิต

(อาญา สมัยที่ 61)

 

การสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 61 ปีการศึกษา 2551
กฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

วันอาทิตย์ 22 กันยายน 2551

 

คำถาม


ข้อ 2.  นายเอกต้องการฆ่านายโทจึงเล็งปืนจ้องจะยิงนายโททางด้านหลัง นายตรีและนายจัตวาเห็นเหตุการณ์ จึงเข้าช่วยนายโทมิให้ถูกยิง โดยนายตรีใช้ปืนยิงนายเอก กระสุนถูกนายเอกบาดเจ็บ ส่วนนายจัตวาช่วยนายโท ด้วยการผลักนายโทล้มลงทําให้นายโทศีรษะแตก หลังจากนั้นนายจัตวาเข้าไปประคองนายโท นายโทเข้าใจผิดว่า นายจัตวาแกล้งผลักตนล้มลงจึงแสดงอาการโกรธ นายจัตวาเห็นนายโทโกรธจึงตกใจวิ่งหนี นายโทซึ่งยังโกรธอยู่ วิ่งไล่ติดตามไปทันทีและใช้ไม้ตีทําร้ายนายจัตวาเป็นเหตุให้นายจัตวาศีรษะแตก
ให้วินิจฉัยว่า นายตรี นายจัตวา และนายโทมีความรับผิดฐานใดหรือไม่


ธงคำตอบ

     นายตรี ใช้ปืนยิงนายเอกบาดเจ็บเพื่อช่วยนายโทมิให้ถูกนายเอกยิง นายตรีอ้างป้องกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ได้ และเป็นการกระทําที่พอสมควรแก่เหตุ นายตรีจึงไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่านายเอก ตามมาตรา 288 ประกอบกับมาตรา 80
    นายจัตวา ผลักนายโทล้มลงเพื่อมิให้ถูกนายเอกยิง นายจัตวาจะอ้างป้องกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ไม่ได้ เพราะมิได้กระทําต่อนายเอกผู้ก่อภัย แต่นายจัตวาอ้างว่าเป็นการกระทําโดยจําเป็นเพื่อให้ผู้อื่นพ้นภยันตรายตามมาตรา 67 (2) ได้ เมื่อเป็นการกระทําที่พอสมควรแก่เหตุ นายจัตวาจึงไม่ต้องรับโทษ ในความผิดฐานทําร้ายร่างกายนายโทตามมาตรา 295
    นายโท ใช้ไม้ตีนายจัตวาศีรษะแตกในขณะที่นายโทโกรธโดยตีเมื่อนายจัตวาวิ่งหนีไปแล้ว จึงไม่เป็นการกระทําโดยป้องกันแต่เป็นการกระทําโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 และสําคัญผิดในข้อเท็จจริงตามมาตรา 62 เพราะเข้าใจผิดไปว่านายจัตวาข่มเหงตนอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมโดยการแกล้งผลักตนล้มลง ศาลจึงอาจลงโทษนายโทน้อยกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดฐานทําร้ายร่างกาย นายจัตวาตามมาตรา 295 เพียงใดก็ได้

 

ข้อสอบเก่า เนติบัณฑิต

(อาญา สมัยที่ 63)

 

การสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 63 ปีการศึกษา 2553
กฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

วันอาทิตย์ 26 กันยายน 2553

 

คำถาม


ข้อ 3.   นายเบี้ยวจ้างนายแบนไปฆ่านายทอง นายแบนไปที่บ้านนายทองเห็นนายทองกําลังยืนคุยกับนายเงิน แต่นายแบนไม่เคยรู้จักนายทองมาก่อน จึงถามนายทองว่าคนไหนคือนายทอง นายทองรู้ว่านายแบนเป็นมือปืนรับจ้างจะมาฆ่าตน จึงชี้ไปที่นายเงินและบอกว่านี่คือนายทอง นายแบนสําคัญผิดว่านายเงินคือนายทอง จึงชักปืนยิงนายเงินถึงแก่ความตาย
ให้วินิจฉัยว่า นายแบน นายทอง และนายเบี้ยวมีความผิดฐานใดหรือไม่


ธงคำตอบ

  การที่นายแบนยิงนายเงินโดยเข้าใจผิดว่าเป็นนายทอง ต้องถือว่านายแบนมีเจตนาฆ่านายเงิน โดยนายแบนจะยกเอาความสําคัญผิดว่านายเงินคือนายทองเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้กระทําโดยเจตนาต่อนายเงินไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 61 เมื่อนายแบนรับจ้างมาฆ่าเป็นการฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน จึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามมาตรา 289 (4)
การที่นายทองบอกนายแบนว่านายเงินคือนายทอง จึงทําให้นายแบนฆ่านายเงินเป็นการก่อให้นายแบน กระทําความผิดต่อนายเงินด้วยวิธีอื่นใด เพราะนายแบนไม่มีเจตนาจะฆ่านายเงินมาก่อน นายทองจึงเป็นผู้ใช้ให้นายแบนกระทําความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 วรรคหนึ่ง เมื่อนายแบนผู้ถูกใช้ได้กระทําความผิดตามที่ใช้ นายทองผู้ใช้จึงต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการตามมาตรา 84 วรรคสอง นายทองจึงมีความผิดตามมาตรา 289 (4) โดยเป็นผู้ใช้ตามมาตรา 84
นายทองจะอ้างว่าการกระทําของตนเป็นการกระทําความผิดด้วยความจําเป็นเพื่อให้ตนเองพ้นจากภยันตราย ที่ใกล้จะถึงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 (2) ไม่ได้ เพราะนายทองสามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นภยันตรายโดยวิธีอื่นใดได้ (เช่น อ้างว่าไม่รู้จักนายทองฯ)
นายเบี้ยวจ้างนายแบนไปฆ่านายทอง เป็นการก่อให้นายแบนกระทําความผิดโดยการจ้าง จึงเป็นผู้ใช้ให้ กระทําความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 เมื่อนายแบนฆ่านายเงินโดยสําคัญผิดว่าเป็นนายทอง ถือว่าผู้ถูกใช้ได้กระทําความผิดตามที่ใช้ นายเบี้ยวผู้ใช้จึงต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ ตามมาตรา 84 วรรคสอง กรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าผู้ถูกใช้กระทําเกินขอบเขตที่ใช้ ตามมาตรา 87 นายเบี้ยวจึงมีความผิดตามมาตรา 289 (4) โดยเป็นผู้ใช้ตามมาตรา 84

 

ข้อสอบเก่า เนติบัณฑิต

(อาญา สมัยที่ 70)

 

การสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560
กฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

วันอาทิตย์ 24 กันยายน 2560

 

คำถาม


ข้อ 3.   นายสมต้องการฆ่านางใส จึงคิดวางแผนฆ่านางใส ด้วยการหาซื้อยาเบื่อหนู เมื่อได้มาแล้วได้เอายาเบื่อหนูใส่ในโอ่งน้ำดื่มของนางใส นายสองน้องชายของนางใสเห็นเหตุการณ์โดยตลอด จึงตะโกนร้องบอกนางใสพี่สาวในทันทีไม่ให้ดื่มน้ำในโอ่งนั้น นายสมตกใจที่ความแตก จึงรีบวิ่งหนี นายสองโกรธที่นายสมกระทํากับพี่สาวของตนเช่นนั้น จึงวิ่งไล่ยิงนายสมไปทันที ขณะที่นายสมวิ่งหนีไปตามทางแคบๆ มีรถจักรยายของนายเหลืองจอดขวางทางอยู่ นายสมจึงวิ่งชนรถนั้นเพื่อไม่ให้โดนยิง ทําให้รถล้มลงและได้รับความเสียหาย โดยนายสองยิงถูกนายสมได้รับบาดเจ็บสาหัส
ให้วินิจฉัยว่า นายสมและนายสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใด


ธงคำตอบ

  นายสมมีเจตนาฆ่านางใส การเอายาเบื่อหนูใส่ในโอ่งน้ำดื่มของนางใส เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการดําเนินการในการฆ่านางใส อันเป็นการกระทําที่ใกล้ชิดต่อความผิดสําเร็จที่จะเกิดขึ้น จึงมีความผิดฐานพยายามฆ่านางใสโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 80 และมีความผิดฐานปลอมปนเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อบุคคลอื่นเสพหรือใช้ และการปลอมปนนั้นน่าจะเป็นเหตุเกิดอันตรายแก่สุขภาพ ตามมาตรา 236 ด้วย (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 2143/2536)
นายสองมีความผิดฐานพยายามฆ่านายสม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 แต่อ้างเหตุบันดาลโทสะตามมาตรา 72 ได้ เพราะการที่นายสม ลงมือฆ่านางใสเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมต่อนางใส และต่อนายสองน้องชาย ซึ่งเห็นเหตุการณ์โดยตลอดด้วย (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 1597/2497)
นายสมมีความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์ของนายเหลือง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 โดยจะอ้างว่าเป็นการกระทําความผิดด้วยความจําเป็นตามมาตรา 67 (2) เพื่อให้ตนพ้นจากภยันตรายจากการถูกไล่ยิงไม่ได้ เพราะภยันตรายนั้นนายสมเป็นผู้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของนายสมเอง

 

ข้อสอบเก่า เนติบัณฑิต

(อาญา สมัยที่ 57)

 

การสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 57 ปีการศึกษา 2547
กฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

วันอาทิตย์ 3 ตุลาคม 2547

 

คำถาม


ข้อ 3.   นายอ้วนกับนายผอมเคยมีเรื่องทะเลาะวิวาทกันมาก่อน วันเกิดเหตุนายอ้วนไปท้าทายนายผอมโดยพูดว่า "มึงออกมาต่อยกับกูตัวต่อตัวถ้าแน่จริง" นายผอมเดินออกจากบ้านไปพบนายอ้วนโดยพกอาวุธปืนสั้นไปด้วยนายอ้วนชักมีดออกมาเพื่อจัวงแทงนายผอม จึงถูกนายผอมใช้อาวุธปืนดังกล่าวยิงในระยะ 2 เมตร ถูกนายอ้วนที่หน้าอกจำนวน 3 นัด นายอ้วนได้รับอันตรายสาหัส
ให้วินิจฉัยว่า นายผอมมีความผิดฐานใดหรือไม่ และนายผอมจะอ้างเหตุว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือกระทำโดยบันดาลโทสะได้หรือไม่


ธงคำตอบ

  นายผอมใช้อาวุธปืนยิงในระยะ 2 เมตร ถูกนายอ้วนที่หน้าอก 3 นัด ถือว่ามีเจตนาฆ่านายอ้วน แต่นายอ้วนไม่ถึงแก่ความตาย
นายผอมจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบ มาตรา 80 การที่นายอ้วนไปพูดท้าทายและนายผอมออกไปพบนายอ้วนโดยพกอาวุธปืนสั้นไปด้วย แสดงว่านายผอมสมัครใจเข้าวิวาทและต่อสู้กับนายอ้วน เป็นการเข้าสู่ภัยโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจ แม้นายอ้วนชักมีดเพื่อจ้วงแทงก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการทะเลาะวิวาทกัน นายผอมไม่มีสิทธิใช้อาวุธปืนยิง
นายอ้วน โดยอ้างเหตุว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 การที่นายอ้วนพูดท้าทายให้นายผอมออกไปชกต่อยกันตัวต่อตัว ยังมิใช่เป็นการข่มเหงนายผอมอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมต่อนายผอม และแม้นายอ้วนชักมีดเพื่อจ้วงแทงก็เนื่องมาจากการที่นายผอมสมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้กับนายอ้วน จึงไม่อาจอ้างว่าเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 (เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3089/2541 และ 4686/2545)

 

ข้อสอบเก่า เนติบัณฑิต

(อาญา สมัยที่ 61)

 

การสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 61 ปีการศึกษา 2551
กฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

วันอาทิตย์ 22 กันยายน 2551

 

คำถาม


ข้อ 2.  นายเอกต้องการฆ่านายโทจึงเล็งปืนจ้องจะยิงนายโททางด้านหลัง นายตรีและนายจัตวาเห็นเหตุการณ์ จึงเข้าช่วยนายโทมิให้ถูกยิง โดยนายตรีใช้ปืนยิงนายเอก กระสุนถูกนายเอกบาดเจ็บ ส่วนนายจัตวาช่วยนายโท ด้วยการผลักนายโทล้มลงทําให้นายโทศีรษะแตก หลังจากนั้นนายจัตวาเข้าไปประคองนายโท นายโทเข้าใจผิดว่า นายจัตวาแกล้งผลักตนล้มลงจึงแสดงอาการโกรธ นายจัตวาเห็นนายโทโกรธจึงตกใจวิ่งหนี นายโทซึ่งยังโกรธอยู่ วิ่งไล่ติดตามไปทันทีและใช้ไม้ตีทําร้ายนายจัตวาเป็นเหตุให้นายจัตวาศีรษะแตก
ให้วินิจฉัยว่า นายตรี นายจัตวา และนายโทมีความรับผิดฐานใดหรือไม่


ธงคำตอบ

     นายตรี ใช้ปืนยิงนายเอกบาดเจ็บเพื่อช่วยนายโทมิให้ถูกนายเอกยิง นายตรีอ้างป้องกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ได้ และเป็นการกระทําที่พอสมควรแก่เหตุ นายตรีจึงไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่านายเอก ตามมาตรา 288 ประกอบกับมาตรา 80
    นายจัตวา ผลักนายโทล้มลงเพื่อมิให้ถูกนายเอกยิง นายจัตวาจะอ้างป้องกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ไม่ได้ เพราะมิได้กระทําต่อนายเอกผู้ก่อภัย แต่นายจัตวาอ้างว่าเป็นการกระทําโดยจําเป็นเพื่อให้ผู้อื่นพ้นภยันตรายตามมาตรา 67 (2) ได้ เมื่อเป็นการกระทําที่พอสมควรแก่เหตุ นายจัตวาจึงไม่ต้องรับโทษ ในความผิดฐานทําร้ายร่างกายนายโทตามมาตรา 295
    นายโท ใช้ไม้ตีนายจัตวาศีรษะแตกในขณะที่นายโทโกรธโดยตีเมื่อนายจัตวาวิ่งหนีไปแล้ว จึงไม่เป็นการกระทําโดยป้องกันแต่เป็นการกระทําโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 และสําคัญผิดในข้อเท็จจริงตามมาตรา 62 เพราะเข้าใจผิดไปว่านายจัตวาข่มเหงตนอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมโดยการแกล้งผลักตนล้มลง ศาลจึงอาจลงโทษนายโทน้อยกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดฐานทําร้ายร่างกาย นายจัตวาตามมาตรา 295 เพียงใดก็ได้

 

ข้อสอบเก่า เนติบัณฑิต

(อาญา สมัยที่ 64)

 

การสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 64 ปีการศึกษา 2554
กฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

วันอาทิตย์ 25 กันยายน 2554

 

คำถาม


ข้อ 2.   นายเสือเข้าไปลวนลามนางหญิงในบ้านของนางหญิงโดยกระทําต่อหน้านายสิงห์สามีของนางหญิง และต่อหน้านายกระทิงเพื่อนสนิทของนายสิงห์ เมื่อนายเสือเห็นว่านายสิงห์โกรธที่ตนกระทําเช่นนั้นจึงเดินหนีออกจากบ้านโดยได้ขโมยกําไลข้อมือของนางหญิงที่วางอยู่บนโต๊ะติดมือไปด้วย นายสิงห์และนายกระทิง จึงต่างติดตามนายเสือไปทันที เมื่อตามทันนายกระทิงใช้ไม้ตีมือนายเสือ เพื่อจะเอากําไลคืน นายเสือถูกตีบาดเจ็บจึงทิ้งกําไลลงที่พื้นและเดินหนีไป นายกระทิงหยิบกําไลนั้นได้แล้วนํากลับไปคืนให้นางหญิงทันที ส่วนนายสิงห์ซึ่งยังโกรธนายเสืออยู่ได้หยิบปืนขึ้นมายิงนายเสือที่เดินหนีหลายนัด นายเสือถูกยิงได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้กระสุนยังแฉลบไปถูกนายไก่ และแฉลบไปถูกนายเป็ดซึ่งยืนอยู่ข้างหลังนายไก่ด้วย ซึ่งขณะนั้นทั้งสองคนยืนอยู่ห่างออกไปจากนายเสือ ทําให้นายไก่และนายเป็ดได้รับบาดเจ็บ
ให้วินิจฉัยว่า นายกระทิงและนายสิงห์มีความผิดฐานใดหรือไม่


ธงคำตอบ

  นายกระทิงไม่มีความผิดฐานทําร้ายร่างกายนายเสือ เพราะเป็นการกระทําโดยป้องกันสิทธิของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 แม้ว่าขณะที่นายกระทิงทําร้ายร่างกายนายเสื้อ ความผิดฐานลักทรัพย์จะสําเร็จไปแล้ว แต่ภยันตรายแห่งการพาเอาทรัพย์นั้นไปยังคงมีอยู่ตลอดเวลาที่นายเสือกําลังพาทรัพย์หนีไป การที่นายกระทิงทําร้ายร่างกายนายเสือ เพื่อติดตามเอากําไลข้อมือนั้นคืนในทันทีทันใด จึงเป็นการกระทําโดยป้องกันพอสมควรแก่เหตุตามมาตรา 68 (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 729/2541 และ 6490/2548)
นายสิงห์มีความผิดฐานพยายามฆ่านายเสือตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 โดยจะอ้างป้องกันตามมาตรา 68 ไม่ได้ เพราะขณะที่นายสิงห์ยิงนายเสือนั้น ภยันตรายที่เกิดจากการกระทําของนายเสือได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่นายสิงห์อ้างบันดาลโทสะตามมาตรา 72 ได้ เพราะถูกนายเสือข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมและได้กระทําความผิดต่อนายเสือในระยะเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกับการข่มเหงนั้นเอง (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 900/2553)
นายสิงห์มีความผิดฐานพยายามฆ่านายไก่และนายเป็ด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบ มาตรา 80 โดยเป็นเจตนาฆ่าโดยพลาด ตามมาตรา 60 แต่นายสิงห์อ้างบันดาลโทสะตามมาตรา 72 ในการกระทําความผิดต่อนายไก่และนายเป็ดได้เช่นกัน (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 1682/2 509)

 

ข้อสอบเก่า เนติบัณฑิต

(อาญา สมัยที่ 64)

 

การสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 64 ปีการศึกษา 2554
กฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

วันอาทิตย์ 25 กันยายน 2554

 

คำถาม


ข้อ 2.   นายเสือเข้าไปลวนลามนางหญิงในบ้านของนางหญิงโดยกระทําต่อหน้านายสิงห์สามีของนางหญิง และต่อหน้านายกระทิงเพื่อนสนิทของนายสิงห์ เมื่อนายเสือเห็นว่านายสิงห์โกรธที่ตนกระทําเช่นนั้นจึงเดินหนีออกจากบ้านโดยได้ขโมยกําไลข้อมือของนางหญิงที่วางอยู่บนโต๊ะติดมือไปด้วย นายสิงห์และนายกระทิง จึงต่างติดตามนายเสือไปทันที เมื่อตามทันนายกระทิงใช้ไม้ตีมือนายเสือ เพื่อจะเอากําไลคืน นายเสือถูกตีบาดเจ็บจึงทิ้งกําไลลงที่พื้นและเดินหนีไป นายกระทิงหยิบกําไลนั้นได้แล้วนํากลับไปคืนให้นางหญิงทันที ส่วนนายสิงห์ซึ่งยังโกรธนายเสืออยู่ได้หยิบปืนขึ้นมายิงนายเสือที่เดินหนีหลายนัด นายเสือถูกยิงได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้กระสุนยังแฉลบไปถูกนายไก่ และแฉลบไปถูกนายเป็ดซึ่งยืนอยู่ข้างหลังนายไก่ด้วย ซึ่งขณะนั้นทั้งสองคนยืนอยู่ห่างออกไปจากนายเสือ ทําให้นายไก่และนายเป็ดได้รับบาดเจ็บ
ให้วินิจฉัยว่า นายกระทิงและนายสิงห์มีความผิดฐานใดหรือไม่


ธงคำตอบ

  นายกระทิงไม่มีความผิดฐานทําร้ายร่างกายนายเสือ เพราะเป็นการกระทําโดยป้องกันสิทธิของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 แม้ว่าขณะที่นายกระทิงทําร้ายร่างกายนายเสื้อ ความผิดฐานลักทรัพย์จะสําเร็จไปแล้ว แต่ภยันตรายแห่งการพาเอาทรัพย์นั้นไปยังคงมีอยู่ตลอดเวลาที่นายเสือกําลังพาทรัพย์หนีไป การที่นายกระทิงทําร้ายร่างกายนายเสือ เพื่อติดตามเอากําไลข้อมือนั้นคืนในทันทีทันใด จึงเป็นการกระทําโดยป้องกันพอสมควรแก่เหตุตามมาตรา 68 (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 729/2541 และ 6490/2548)
นายสิงห์มีความผิดฐานพยายามฆ่านายเสือตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 โดยจะอ้างป้องกันตามมาตรา 68 ไม่ได้ เพราะขณะที่นายสิงห์ยิงนายเสือนั้น ภยันตรายที่เกิดจากการกระทําของนายเสือได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่นายสิงห์อ้างบันดาลโทสะตามมาตรา 72 ได้ เพราะถูกนายเสือข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมและได้กระทําความผิดต่อนายเสือในระยะเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกับการข่มเหงนั้นเอง (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 900/2553)
นายสิงห์มีความผิดฐานพยายามฆ่านายไก่และนายเป็ด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบ มาตรา 80 โดยเป็นเจตนาฆ่าโดยพลาด ตามมาตรา 60 แต่นายสิงห์อ้างบันดาลโทสะตามมาตรา 72 ในการกระทําความผิดต่อนายไก่และนายเป็ดได้เช่นกัน (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 1682/2 509)

 

ข้อสอบเก่า เนติบัณฑิต

(อาญา สมัยที่ 64)

 

การสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 64 ปีการศึกษา 2554
กฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

วันอาทิตย์ 25 กันยายน 2554

 

คำถาม


ข้อ 2.   นายเสือเข้าไปลวนลามนางหญิงในบ้านของนางหญิงโดยกระทําต่อหน้านายสิงห์สามีของนางหญิง และต่อหน้านายกระทิงเพื่อนสนิทของนายสิงห์ เมื่อนายเสือเห็นว่านายสิงห์โกรธที่ตนกระทําเช่นนั้นจึงเดินหนีออกจากบ้านโดยได้ขโมยกําไลข้อมือของนางหญิงที่วางอยู่บนโต๊ะติดมือไปด้วย นายสิงห์และนายกระทิง จึงต่างติดตามนายเสือไปทันที เมื่อตามทันนายกระทิงใช้ไม้ตีมือนายเสือ เพื่อจะเอากําไลคืน นายเสือถูกตีบาดเจ็บจึงทิ้งกําไลลงที่พื้นและเดินหนีไป นายกระทิงหยิบกําไลนั้นได้แล้วนํากลับไปคืนให้นางหญิงทันที ส่วนนายสิงห์ซึ่งยังโกรธนายเสืออยู่ได้หยิบปืนขึ้นมายิงนายเสือที่เดินหนีหลายนัด นายเสือถูกยิงได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้กระสุนยังแฉลบไปถูกนายไก่ และแฉลบไปถูกนายเป็ดซึ่งยืนอยู่ข้างหลังนายไก่ด้วย ซึ่งขณะนั้นทั้งสองคนยืนอยู่ห่างออกไปจากนายเสือ ทําให้นายไก่และนายเป็ดได้รับบาดเจ็บ
ให้วินิจฉัยว่า นายกระทิงและนายสิงห์มีความผิดฐานใดหรือไม่


ธงคำตอบ

  นายกระทิงไม่มีความผิดฐานทําร้ายร่างกายนายเสือ เพราะเป็นการกระทําโดยป้องกันสิทธิของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 แม้ว่าขณะที่นายกระทิงทําร้ายร่างกายนายเสื้อ ความผิดฐานลักทรัพย์จะสําเร็จไปแล้ว แต่ภยันตรายแห่งการพาเอาทรัพย์นั้นไปยังคงมีอยู่ตลอดเวลาที่นายเสือกําลังพาทรัพย์หนีไป การที่นายกระทิงทําร้ายร่างกายนายเสือ เพื่อติดตามเอากําไลข้อมือนั้นคืนในทันทีทันใด จึงเป็นการกระทําโดยป้องกันพอสมควรแก่เหตุตามมาตรา 68 (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 729/2541 และ 6490/2548)
นายสิงห์มีความผิดฐานพยายามฆ่านายเสือตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 โดยจะอ้างป้องกันตามมาตรา 68 ไม่ได้ เพราะขณะที่นายสิงห์ยิงนายเสือนั้น ภยันตรายที่เกิดจากการกระทําของนายเสือได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่นายสิงห์อ้างบันดาลโทสะตามมาตรา 72 ได้ เพราะถูกนายเสือข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมและได้กระทําความผิดต่อนายเสือในระยะเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกับการข่มเหงนั้นเอง (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 900/2553)
นายสิงห์มีความผิดฐานพยายามฆ่านายไก่และนายเป็ด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบ มาตรา 80 โดยเป็นเจตนาฆ่าโดยพลาด ตามมาตรา 60 แต่นายสิงห์อ้างบันดาลโทสะตามมาตรา 72 ในการกระทําความผิดต่อนายไก่และนายเป็ดได้เช่นกัน (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 1682/2 509)

 

ข้อสอบเก่า เนติบัณฑิต

(อาญา สมัยที่ 57)

 

การสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 57 ปีการศึกษา 2547
กฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

วันอาทิตย์ 3 ตุลาคม 2547

 

คำถาม


ข้อ 3.   นายอ้วนกับนายผอมเคยมีเรื่องทะเลาะวิวาทกันมาก่อน วันเกิดเหตุนายอ้วนไปท้าทายนายผอมโดยพูดว่า "มึงออกมาต่อยกับกูตัวต่อตัวถ้าแน่จริง" นายผอมเดินออกจากบ้านไปพบนายอ้วนโดยพกอาวุธปืนสั้นไปด้วยนายอ้วนชักมีดออกมาเพื่อจัวงแทงนายผอม จึงถูกนายผอมใช้อาวุธปืนดังกล่าวยิงในระยะ 2 เมตร ถูกนายอ้วนที่หน้าอกจำนวน 3 นัด นายอ้วนได้รับอันตรายสาหัส
ให้วินิจฉัยว่า นายผอมมีความผิดฐานใดหรือไม่ และนายผอมจะอ้างเหตุว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือกระทำโดยบันดาลโทสะได้หรือไม่


ธงคำตอบ

  นายผอมใช้อาวุธปืนยิงในระยะ 2 เมตร ถูกนายอ้วนที่หน้าอก 3 นัด ถือว่ามีเจตนาฆ่านายอ้วน แต่นายอ้วนไม่ถึงแก่ความตาย
นายผอมจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบ มาตรา 80 การที่นายอ้วนไปพูดท้าทายและนายผอมออกไปพบนายอ้วนโดยพกอาวุธปืนสั้นไปด้วย แสดงว่านายผอมสมัครใจเข้าวิวาทและต่อสู้กับนายอ้วน เป็นการเข้าสู่ภัยโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจ แม้นายอ้วนชักมีดเพื่อจ้วงแทงก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการทะเลาะวิวาทกัน นายผอมไม่มีสิทธิใช้อาวุธปืนยิง
นายอ้วน โดยอ้างเหตุว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 การที่นายอ้วนพูดท้าทายให้นายผอมออกไปชกต่อยกันตัวต่อตัว ยังมิใช่เป็นการข่มเหงนายผอมอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมต่อนายผอม และแม้นายอ้วนชักมีดเพื่อจ้วงแทงก็เนื่องมาจากการที่นายผอมสมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้กับนายอ้วน จึงไม่อาจอ้างว่าเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 (เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3089/2541 และ 4686/2545)

 

ข้อสอบเก่า เนติบัณฑิต

(อาญา สมัยที่ 61)

 

การสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 61 ปีการศึกษา 2551
กฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

วันอาทิตย์ 22 กันยายน 2551

 

คำถาม


ข้อ 2.  นายเอกต้องการฆ่านายโทจึงเล็งปืนจ้องจะยิงนายโททางด้านหลัง นายตรีและนายจัตวาเห็นเหตุการณ์ จึงเข้าช่วยนายโทมิให้ถูกยิง โดยนายตรีใช้ปืนยิงนายเอก กระสุนถูกนายเอกบาดเจ็บ ส่วนนายจัตวาช่วยนายโท ด้วยการผลักนายโทล้มลงทําให้นายโทศีรษะแตก หลังจากนั้นนายจัตวาเข้าไปประคองนายโท นายโทเข้าใจผิดว่า นายจัตวาแกล้งผลักตนล้มลงจึงแสดงอาการโกรธ นายจัตวาเห็นนายโทโกรธจึงตกใจวิ่งหนี นายโทซึ่งยังโกรธอยู่ วิ่งไล่ติดตามไปทันทีและใช้ไม้ตีทําร้ายนายจัตวาเป็นเหตุให้นายจัตวาศีรษะแตก
ให้วินิจฉัยว่า นายตรี นายจัตวา และนายโทมีความรับผิดฐานใดหรือไม่


ธงคำตอบ

     นายตรี ใช้ปืนยิงนายเอกบาดเจ็บเพื่อช่วยนายโทมิให้ถูกนายเอกยิง นายตรีอ้างป้องกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ได้ และเป็นการกระทําที่พอสมควรแก่เหตุ นายตรีจึงไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่านายเอก ตามมาตรา 288 ประกอบกับมาตรา 80
    นายจัตวา ผลักนายโทล้มลงเพื่อมิให้ถูกนายเอกยิง นายจัตวาจะอ้างป้องกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ไม่ได้ เพราะมิได้กระทําต่อนายเอกผู้ก่อภัย แต่นายจัตวาอ้างว่าเป็นการกระทําโดยจําเป็นเพื่อให้ผู้อื่นพ้นภยันตรายตามมาตรา 67 (2) ได้ เมื่อเป็นการกระทําที่พอสมควรแก่เหตุ นายจัตวาจึงไม่ต้องรับโทษ ในความผิดฐานทําร้ายร่างกายนายโทตามมาตรา 295
    นายโท ใช้ไม้ตีนายจัตวาศีรษะแตกในขณะที่นายโทโกรธโดยตีเมื่อนายจัตวาวิ่งหนีไปแล้ว จึงไม่เป็นการกระทําโดยป้องกันแต่เป็นการกระทําโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 และสําคัญผิดในข้อเท็จจริงตามมาตรา 62 เพราะเข้าใจผิดไปว่านายจัตวาข่มเหงตนอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมโดยการแกล้งผลักตนล้มลง ศาลจึงอาจลงโทษนายโทน้อยกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดฐานทําร้ายร่างกาย นายจัตวาตามมาตรา 295 เพียงใดก็ได้

 

ข้อสอบเก่า เนติบัณฑิต

(อาญา สมัยที่ 64)

 

การสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 64 ปีการศึกษา 2554
กฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

วันอาทิตย์ 25 กันยายน 2554

 

คำถาม


ข้อ 2.   นายเสือเข้าไปลวนลามนางหญิงในบ้านของนางหญิงโดยกระทําต่อหน้านายสิงห์สามีของนางหญิง และต่อหน้านายกระทิงเพื่อนสนิทของนายสิงห์ เมื่อนายเสือเห็นว่านายสิงห์โกรธที่ตนกระทําเช่นนั้นจึงเดินหนีออกจากบ้านโดยได้ขโมยกําไลข้อมือของนางหญิงที่วางอยู่บนโต๊ะติดมือไปด้วย นายสิงห์และนายกระทิง จึงต่างติดตามนายเสือไปทันที เมื่อตามทันนายกระทิงใช้ไม้ตีมือนายเสือ เพื่อจะเอากําไลคืน นายเสือถูกตีบาดเจ็บจึงทิ้งกําไลลงที่พื้นและเดินหนีไป นายกระทิงหยิบกําไลนั้นได้แล้วนํากลับไปคืนให้นางหญิงทันที ส่วนนายสิงห์ซึ่งยังโกรธนายเสืออยู่ได้หยิบปืนขึ้นมายิงนายเสือที่เดินหนีหลายนัด นายเสือถูกยิงได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้กระสุนยังแฉลบไปถูกนายไก่ และแฉลบไปถูกนายเป็ดซึ่งยืนอยู่ข้างหลังนายไก่ด้วย ซึ่งขณะนั้นทั้งสองคนยืนอยู่ห่างออกไปจากนายเสือ ทําให้นายไก่และนายเป็ดได้รับบาดเจ็บ
ให้วินิจฉัยว่า นายกระทิงและนายสิงห์มีความผิดฐานใดหรือไม่


ธงคำตอบ

  นายกระทิงไม่มีความผิดฐานทําร้ายร่างกายนายเสือ เพราะเป็นการกระทําโดยป้องกันสิทธิของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 แม้ว่าขณะที่นายกระทิงทําร้ายร่างกายนายเสื้อ ความผิดฐานลักทรัพย์จะสําเร็จไปแล้ว แต่ภยันตรายแห่งการพาเอาทรัพย์นั้นไปยังคงมีอยู่ตลอดเวลาที่นายเสือกําลังพาทรัพย์หนีไป การที่นายกระทิงทําร้ายร่างกายนายเสือ เพื่อติดตามเอากําไลข้อมือนั้นคืนในทันทีทันใด จึงเป็นการกระทําโดยป้องกันพอสมควรแก่เหตุตามมาตรา 68 (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 729/2541 และ 6490/2548)
นายสิงห์มีความผิดฐานพยายามฆ่านายเสือตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 โดยจะอ้างป้องกันตามมาตรา 68 ไม่ได้ เพราะขณะที่นายสิงห์ยิงนายเสือนั้น ภยันตรายที่เกิดจากการกระทําของนายเสือได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่นายสิงห์อ้างบันดาลโทสะตามมาตรา 72 ได้ เพราะถูกนายเสือข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมและได้กระทําความผิดต่อนายเสือในระยะเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกับการข่มเหงนั้นเอง (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 900/2553)
นายสิงห์มีความผิดฐานพยายามฆ่านายไก่และนายเป็ด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบ มาตรา 80 โดยเป็นเจตนาฆ่าโดยพลาด ตามมาตรา 60 แต่นายสิงห์อ้างบันดาลโทสะตามมาตรา 72 ในการกระทําความผิดต่อนายไก่และนายเป็ดได้เช่นกัน (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 1682/2 509)

 

ข้อสอบเก่า เนติบัณฑิต

(อาญา สมัยที่ 67)

 

การสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 67 ปีการศึกษา 2557
กฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

วันอาทิตย์ 28 กันยายน 2557

 

คำถาม


ข้อ 2.   นายหนุ่มสามีนางสวยเป็นคนขี้หึง และเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่า นายหนุ่ม มักจะไปก่อเหตุทำร้ายร่างกายชายอื่นที่นายหนุ่มเข้าใจว่ามาข้องแวะกับนางสวยอยู่เสมอ นางสวยแอบไปยืมเงินนายช้างมาเล่นการพนันโดยไม่บอกให้นายหนุ่มทราบ วันหนึ่งนายช้างมาทวงเงินยืมจากนางสวย นางสวยไม่พอใจมากที่ถูกทวงหนี้ และขอผิดผ่อนไปก่อน ขณะที่นางสวยกำลังเจรจากับนายช้าง นายหนุ่มกลับมาถึงบ้านพอดี นางสวยจึงหลอกนายหนุ่มว่า นายช้างแอบเข้ามาในบ้านและทำอนาจารตน โดยนางสวยต้องการให้นายหนุ่มโกรธและทำร้ายนายช้าง นายหนุ่มได้ยินเช่นนั้นก็โกรธนายช้างและรีบร้อนเข้าทำร้ายร่างกายนายช้างทันทีจนได้รับอันตรายสาหัสโดยมิได้ใช้ความระมัดระวังพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อนว่าเรื่องเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
ให้วินิจฉัยว่า นายหนุมและนางสวยมีความผิดฐานใดหรือไม่


ธงคำตอบ

  นายหนุ่มมีความผิดฐานทําร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้นายช้างได้รับอันตรายสาหัส ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 ซึ่งหากเป็นกรณีที่นายช้างทําอนาจารนางสวยจริง ก็ย่อมเป็นการข่มเหงนายหนุ่มอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม นายหนุ่มจึงอ้างว่ากระทําความผิดโดยเหตุบันดาลโทสะตามมาตรา 72 ได้ (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 853/2502) แต่เมื่อความจริงนายช้างมิได้ทําอนาจารนางสวย จึงเป็นกรณีสําคัญผิดในข้อเท็จจริงใด ซึ่งถ้ามีอยู่จริงจะทําให้ผู้กระทําได้รับโทษน้อยลงตามมาตรา 62 วรรคแรก นายหนุ่มจึงมีความผิดตามมาตรา 297 ประกอบมาตรา 72 และมาตรา 62 วรรคแรก ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้เพียงใดก็ได้
นายหนุ่มรีบร้อนไปทําร้ายร่างกายนายช้างทันที โดยมิได้ใช้ความระมัดระวังพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อนว่า เรื่องเกิดขึ้นมาได้อย่างไร จึงเป็นการสําคัญผิดในข้อเท็จจริงโดยประมาท เมื่อเป็นผลทําให้นายช้างได้รับอันตรายสาหัส นายหนุ่มจึงมีความผิดฐานกระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้นายช้างรับอันตรายสาหัส ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 อีกบทหนึ่ง โดยผลของมาตรา 62 วรรคสองด้วย (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 4968/2551) ซึ่งนายหนุ่มไม่อาจอ้างว่ากระทําความผิดโดยเหตุบันดาลโทสะสําหรับความผิดตามมาตรา 300 นี้ได้ เพราะการกระทําความผิดที่อาจอ้างเหตุบันดาลโทสะต้องเป็นการกระทําความผิดโดยเจตนาเท่านั้น
นายหนุ่มไม่เคยมีเจตนาที่จะทําร้ายร่างกายนายช้างมาก่อน เมื่อนางสวยหลอกว่าถูกนายช้างกระทําอนาจารโดยนางสวยต้องการให้นายหนุ่มโกรธและไปทําร้ายร่างกายนายช้าง จึงเป็นการก่อให้นายหนุ่มกระทําความผิดฐานทําร้ายร่างกายนายช้างด้วยวิธีอื่นใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 วรรคแรก เมื่อนายหนุ่ม ได้ทําร้ายร่างกายนายช้างและต้องรับโทษตามมาตรา 297 นางสวยจึงมีความผิด ตามมาตรา 297 โดยเป็นผู้ใช้และรับโทษเสมือนเป็นตัวการ ทั้งนี้ ตามมาตรา 84 วรรคสอง

 

ข้อสอบเก่า เนติบัณฑิต

(อาญา สมัยที่ 70)

 

การสอบข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560
กฎหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

วันอาทิตย์ 24 กันยายน 2560

 

คำถาม


ข้อ 3.   นายสมต้องการฆ่านางใส จึงคิดวางแผนฆ่านางใส ด้วยการหาซื้อยาเบื่อหนู เมื่อได้มาแล้วได้เอายาเบื่อหนูใส่ในโอ่งน้ำดื่มของนางใส นายสองน้องชายของนางใสเห็นเหตุการณ์โดยตลอด จึงตะโกนร้องบอกนางใสพี่สาวในทันทีไม่ให้ดื่มน้ำในโอ่งนั้น นายสมตกใจที่ความแตก จึงรีบวิ่งหนี นายสองโกรธที่นายสมกระทํากับพี่สาวของตนเช่นนั้น จึงวิ่งไล่ยิงนายสมไปทันที ขณะที่นายสมวิ่งหนีไปตามทางแคบๆ มีรถจักรยายของนายเหลืองจอดขวางทางอยู่ นายสมจึงวิ่งชนรถนั้นเพื่อไม่ให้โดนยิง ทําให้รถล้มลงและได้รับความเสียหาย โดยนายสองยิงถูกนายสมได้รับบาดเจ็บสาหัส
ให้วินิจฉัยว่า นายสมและนายสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใด


ธงคำตอบ

  นายสมมีเจตนาฆ่านางใส การเอายาเบื่อหนูใส่ในโอ่งน้ำดื่มของนางใส เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการดําเนินการในการฆ่านางใส อันเป็นการกระทําที่ใกล้ชิดต่อความผิดสําเร็จที่จะเกิดขึ้น จึงมีความผิดฐานพยายามฆ่านางใสโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 80 และมีความผิดฐานปลอมปนเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อบุคคลอื่นเสพหรือใช้ และการปลอมปนนั้นน่าจะเป็นเหตุเกิดอันตรายแก่สุขภาพ ตามมาตรา 236 ด้วย (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 2143/2536)
นายสองมีความผิดฐานพยายามฆ่านายสม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 แต่อ้างเหตุบันดาลโทสะตามมาตรา 72 ได้ เพราะการที่นายสม ลงมือฆ่านางใสเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมต่อนางใส และต่อนายสองน้องชาย ซึ่งเห็นเหตุการณ์โดยตลอดด้วย (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 1597/2497)
นายสมมีความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์ของนายเหลือง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 โดยจะอ้างว่าเป็นการกระทําความผิดด้วยความจําเป็นตามมาตรา 67 (2) เพื่อให้ตนพ้นจากภยันตรายจากการถูกไล่ยิงไม่ได้ เพราะภยันตรายนั้นนายสมเป็นผู้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของนายสมเอง

มาตรา 67      กระทำความผิดด้วยความจำเป็น ไม่ต้องรับโทษ

มาตรา 68      ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีความผิด

มาตรา 72       บันดาลโทสะ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงไดก็ได้

 

 

ประมวลกฎหมายอาญา-67-68-72
ประมวลกฎหมายอาญา-67-68-72

สารบัญ ประมวลกฎหมายอาญา

0 0 votes
Article Rating
(Visited 12,206 times, 1 visits today)
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments